เมื่อวานนี้ (23 ธ.ค.) นายสุจิต บุญบงการ กมธ.ยกร่างรัฐธรรรมนูญ แถลงผลการประชุม กมธ.ยกร่างฯ ว่า กมธ.ยกร่างฯได้สรุปรูปแบบการเลือกนายกรัฐมนตรี โดยให้คงรูปแบบการปกครองแบบรัฐสภาเช่นเดิม ที่นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากการเลือกของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเหตุผลที่ไม่สามารถรับข้อคิดเห็นของสปช. และสนช.ที่เสนอให้เลือกนายกฯโดยตรงได้ เพราะระบบรัฐสภาเป็นระบบที่เขาคุ้นชิน และสามารถแก้ปัญหาเป็นเรื่องๆได้ เพราะแม้จะเป็นการเลือกนายกฯ ในรูปแบบเดิม แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนเพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มการเมืองเดิมใช้เสียงใช้อำนาจเสียงข้างมากคุมเสียงในสภาฯได้เบ็ดเสร็จ โดยต้องการให้พรรคการเมืองเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่ใช่เครื่องมือของนายทุน และ ส.ส.ต้องเป็นผู้แทนจากประชาชน ไม่ใช้ผู้แทนกลุ่มการเมือง ที่สำคัญจะทำอย่างไรให้มีการมียอมรับเสียงข้างน้อยด้วย โดยมีข้อเสนอให้ตำแหน่งประธานรัฐสภา มาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก ส่วนรองประธานสภาฯ คนที่ 1 และ 2 อาจมาจากพรรคที่มีคะแนนรองลงมา เพื่อไม่ให้ผูกขาดจากพรรคการเมืองใดการเมืองหนึ่ง ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ จะต้องเป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้มติพรรค ขณะที่ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎรสำคัญๆ ให้มาจากพรรคฝ่ายค้าน เพื่อให้เกิดการถ่วงดุล
" สำหรับความเห็นต่างๆ ในคณะกมธ.ยกร่างฯ ประเด็นเรื่องการเลือกนายกฯนั้น ประธานในที่ประชุมคือ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ได้สอบถามในระหว่างการประชุมถึงประเด็นดังกล่าว ซึ่งมีกมธ. ที่เคยเสนอรูปแบบเลือกนายกฯ และครม.โดยตรง ได้ขอถอดความเห็นออกไปแล้ว โดยให้ความเห็นว่า คงฝ่ากมธ.ลำบาก แต่ก็ยังมีกมธ.อีกหนึ่งคน ที่ยังขอสงวนความเห็นว่าจะอภิปรายเรื่องนี้ต่อไป" นายสุจิต กล่าว และว่า ส่วนรูปแบบการเลือกคณะรัฐมนตรี ที่มา ส.ส. - ส.ว. และระบบการเลือกตั้งรวมทั้งประเด็นว่า นายกฯ จะต้องเป็น ส.ส.หรือไม่นั้น จะได้ข้อสรุปในการประชุม กมธ.ยกร่างฯ ในวันที่ 24 ธ.ค.นี้
** "วิษณุ"แจงโรดแมปสหรัฐฯ
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังนายแพทริค เมอร์ฟี อุปทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะว่า ได้มีการชี้แจงความคืบหน้าโรดแมป ที่อยู่ในระยะที่ 2 ของการร่างรัฐธรรมนูญที่จะแล้วเสร็จเดือน ก.ย .58 บวก อีก 2 - 3 เดือน ทำกฎหมายลูกและบวกอีก 2 เดือน จัดการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นเดือนก.พ.59
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่าในรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงประชามติ ใครที่คิดจะทำประชามติ ยังทำไม่ได้ ต้องผ่านด่านการแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวก่อน ซึ่ง คสช.เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจว่าควรจะแก้ไขหรือไม่ และส่งไปให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาว่าจะแก้ไขหรือไม่ ซึ่งอยู่ที่สนช.จะลงเรือหรือไม่ คาดว่าเดือนเม.ย.58 ตอนที่กมธ.ยกร่างเสร็จ น่าจะรู้แล้วโดยต้องมีเวลาทดสอบว่า ประชาชนคิดอย่างไร แต่ตนไม่ทราบว่าหากสุดท้ายมีการตัดสินใจให้ทำประชามติ ต้องขยายเวลาเลือกตั้งออกไปนานเท่าไร เพราะขึ้นอยู่กับเวลาในการสร้างความเข้าใจกับประชาชน โดยในปี 50 ไม่ได้มีการสร้างความเข้าใจกันมากพอ เลยทำให้เป็นที่มาของการกล่าวหาว่า ไปลงประชามติกันโดยไม่รู้เรื่อง
"แต่ครั้งนี้หากรัฐธรรมนูญเสร็จเดือนก.ย.58 ถือเป็นทางสองแพร่ง ระหว่างเลี้ยวซ้ายกับเลี้ยวขวา หากไม่ทำประชามติ ก็เลี้ยวซ้ายคือ 3 เดือนหลังจากนั้นเป็นการออกกฎหมายลูก และอีก 2 เดือนสำหรับหาเสียงเลือกตั้ง แต่หากทำประชามติ ก็เลี้ยวขวาคือไม่ต้องเอาระยะเวลา 3 เดือนในการออกกฎหมายลูกกับอีก 2 เดือน ในการหาเสียงเลือกตั้งมาบวกกัน เพราะเมื่อตัดสินใจทำประชามติ ก็ออกกฎหมายลูกเร็วๆ เป็นฉบับแรก คือ กฎหมายลูกว่าด้วยการทำประชามติ จากนั้นออกกฎหมายลูกว่าด้วยการเลือกตั้ง และกฎหมายลูกว่าด้วยพรรคการเมืองไป ดังนั้น 3 เดือนหลังจากร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ เป็นเวลาที่ใช้ในการทำประชามติได้ อย่างไรก็ดี ปกติถ้าเราเลี้ยวซ้ายพ้น 3 เดือน จะสามารถประกาศเลือกตั้ง และกำหนดวันเลือกตั้งได้เลย แต่การเลี้ยวขวาทำประชามติ จะทำให้ดีเลย์ 2 เดือนที่ยังประกาศวันเลือกตั้งไม่ได้" นายวิษณุ กล่าว
นายวิษณุ ยังกล่าวถึง ข้อเสนอการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี และครม.โดยตรง ที่มีการถกเถียงกันระหว่าง นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธาน สปช.และประธานกมธ.ยกร่างฯ กับ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกมธ.ปฏิรูปการเมือง สปช. ว่า ในที่สุดกมธ.ยกร่างฯ เป็นใหญ่อยู่ดี เมื่อถามถึงกระแสข่าว คสช.เตรียมเสนอตั้งคณะกรรมการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ นายวิษณุ กล่าวว่า ยังไม่เคยได้ยิน แต่จะพูดกันไม่ให้ตนได้ยินหรือไม่นั้น ไม่ทราบ ตนเข้าประชุมหลายคณะ ไม่เห็นมีการพูดอะไร
**ขอกกต.นึกถึงความสงบเรียบร้อย
ส่วนกรณีที่นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุว่า เตรียมฟ้องเอาผิดคนทำเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 เป็นโมฆะ 3,000 ล้านบาท นั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ยังไม่ดูว่า กกต.มีอำนาจในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง ถ้า กกต.เชื่อว่ามีอำนาจตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ คสช.ได้ฟื้นอำนาจตรงนี้คืนให้ก็เดินหน้าไป มันไม่ใช่เรื่องยุ่งยากที่จะเถียงกันว่ามี หรือไม่มีอำนาจ แต่หากไปฟ้องศาล ถ้าศาลบอกไม่มีอำนาจก็จบ
"ผมเห็นว่า อะไรที่ทำ ต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน และช่วยคำนึงถึงเรื่องความสงบเรียบร้อยด้วย หน้าที่ปรองดองไม่ใช่หน้าที่ของรัฐบาลและคสช.ฝ่ายเดียว ทุกคนต้องช่วยกัน"
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตั้งข้อสังเกตหรือไม่ว่า ทำไมกกต.ถึงออกมาเล่นเรื่องนี้ในช่วงนี้ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบ เป็นมติกกต.หรือเปล่ายังไม่รู้ ตนไม่กล้าบอกแทนรัฐบาลในเรื่องนี้ ส่วนข้อเสนอยุบรวมองค์กรอิสระที่ไม่ค่อยมีบทบาทนั้น หากเห็นว่าองค์กรใดไม่มีความจำเป็นก็ยุบรวมเป็นองค์กรเดียวกัน ถ้าทำได้ควรจะทำ เพราะหากมีมากเกินไปจะทำให้สิ้นเปลืองเงินทอง และทำให้เกิดความโกลาหลขึ้นในประเทศ
**ฟังความเห็น9 กลุ่มพ่วงแรงงานต่างด้าว
ในวันเดียวกันนี้ ที่สำนักงาน กกต. ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ คณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นประชาชนประจำกรุงเทพมหานคร นำโดย นางจุรี วิจิตรวาทการ ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ ประชุมร่วมกับคณะที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการ ประกอบด้วย ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ผู้แทนฝ่ายทหารในพื้นที่ และบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะและกำหนดแนวทางและวิธีการในการรับฟังความคิดเห็นในการปฏิรูปประเทศ โดยในการประชุมอนุกรรมาธิการ ได้มีข้อเสนอว่า ควรแยกกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 9 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้นำความคิดผู้นำแต่ละด้าน , กลุ่มองค์กรธุรกิจ, กลุ่มสื่อมวลชน, กลุ่มเยาวชนการศึกษา, กลุ่มชุมชนภาคประชาสังคม, กลุ่มข้าราชการรัฐวิสาหกิจ, กลุ่มแรงงานผู้ด้อยโอกาสผู้สูงอายุ, กลุ่มธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็ก และคนทำงานอิสระ และกลุ่มสาธารณสุข โดยควรเน้นผู้สูงอายุเพราะเป็นกลุ่มที่มีเวลา มีความรู้ประสบการณ์จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับความคิดเห็นในการปฏิรูป และเน้นกลุ่มคนที่อยากแสดงความคิดเห็น แต่ไม่มีเวลา ซึ่งเวลาปกติคนเหล่านี้จะไม่ออกมา เพราะต้องทำงาน นอกจากนั้นอาจจะมีการรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มแรงงานข้ามชาติด้วย เพราะในอนาคตเศรษฐกิจ จะต้องพึ่งคนกลุ่มนี้ จึงต้องหาวิธีอยู่ร่วมกัน
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการเสนออีกว่า สถานที่ที่ควรจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น คือ ศูนย์การค้าต่างๆ สำนักงานเขต และมหาวิทยาลัย เป็นต้น นอกจากนั้น การใช้โซเชียลมีเดีย ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการรับฟังความคิดเห็นส่วนการจัดเวทีเห็นว่าควรจะจัดเวทีใหญ่ 1 ครั้งเพื่อทำให้ประชาชนรับรู้ว่า เวทีรับฟังความคิดเห็นเริ่มแล้ว จากนั้นจึงจัดเวทีย่อยรับฟังความเห็นแต่ละกลุ่ม โดยให้สื่อมวลชนร่วมกระจายข่าวเพื่อให้เกิดความตื่นตัวของคนในสังคม อย่างไรก็ตาม คณะอนุกรรมาธิการจะมีการศึกษาข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ก่อนที่จะกำหนดแนวทางในการรับฟังความคิดเห็นที่ชัดเจนในการประชุมคณะอนุกรรมาธิการ วันที่ 14 ม.ค.58 หลังจากนั้น จึงจะเริ่มเปิดเวทีรับฟังความเห็นต่อไป
" สำหรับความเห็นต่างๆ ในคณะกมธ.ยกร่างฯ ประเด็นเรื่องการเลือกนายกฯนั้น ประธานในที่ประชุมคือ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ได้สอบถามในระหว่างการประชุมถึงประเด็นดังกล่าว ซึ่งมีกมธ. ที่เคยเสนอรูปแบบเลือกนายกฯ และครม.โดยตรง ได้ขอถอดความเห็นออกไปแล้ว โดยให้ความเห็นว่า คงฝ่ากมธ.ลำบาก แต่ก็ยังมีกมธ.อีกหนึ่งคน ที่ยังขอสงวนความเห็นว่าจะอภิปรายเรื่องนี้ต่อไป" นายสุจิต กล่าว และว่า ส่วนรูปแบบการเลือกคณะรัฐมนตรี ที่มา ส.ส. - ส.ว. และระบบการเลือกตั้งรวมทั้งประเด็นว่า นายกฯ จะต้องเป็น ส.ส.หรือไม่นั้น จะได้ข้อสรุปในการประชุม กมธ.ยกร่างฯ ในวันที่ 24 ธ.ค.นี้
** "วิษณุ"แจงโรดแมปสหรัฐฯ
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังนายแพทริค เมอร์ฟี อุปทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะว่า ได้มีการชี้แจงความคืบหน้าโรดแมป ที่อยู่ในระยะที่ 2 ของการร่างรัฐธรรมนูญที่จะแล้วเสร็จเดือน ก.ย .58 บวก อีก 2 - 3 เดือน ทำกฎหมายลูกและบวกอีก 2 เดือน จัดการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นเดือนก.พ.59
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่าในรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงประชามติ ใครที่คิดจะทำประชามติ ยังทำไม่ได้ ต้องผ่านด่านการแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวก่อน ซึ่ง คสช.เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจว่าควรจะแก้ไขหรือไม่ และส่งไปให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาว่าจะแก้ไขหรือไม่ ซึ่งอยู่ที่สนช.จะลงเรือหรือไม่ คาดว่าเดือนเม.ย.58 ตอนที่กมธ.ยกร่างเสร็จ น่าจะรู้แล้วโดยต้องมีเวลาทดสอบว่า ประชาชนคิดอย่างไร แต่ตนไม่ทราบว่าหากสุดท้ายมีการตัดสินใจให้ทำประชามติ ต้องขยายเวลาเลือกตั้งออกไปนานเท่าไร เพราะขึ้นอยู่กับเวลาในการสร้างความเข้าใจกับประชาชน โดยในปี 50 ไม่ได้มีการสร้างความเข้าใจกันมากพอ เลยทำให้เป็นที่มาของการกล่าวหาว่า ไปลงประชามติกันโดยไม่รู้เรื่อง
"แต่ครั้งนี้หากรัฐธรรมนูญเสร็จเดือนก.ย.58 ถือเป็นทางสองแพร่ง ระหว่างเลี้ยวซ้ายกับเลี้ยวขวา หากไม่ทำประชามติ ก็เลี้ยวซ้ายคือ 3 เดือนหลังจากนั้นเป็นการออกกฎหมายลูก และอีก 2 เดือนสำหรับหาเสียงเลือกตั้ง แต่หากทำประชามติ ก็เลี้ยวขวาคือไม่ต้องเอาระยะเวลา 3 เดือนในการออกกฎหมายลูกกับอีก 2 เดือน ในการหาเสียงเลือกตั้งมาบวกกัน เพราะเมื่อตัดสินใจทำประชามติ ก็ออกกฎหมายลูกเร็วๆ เป็นฉบับแรก คือ กฎหมายลูกว่าด้วยการทำประชามติ จากนั้นออกกฎหมายลูกว่าด้วยการเลือกตั้ง และกฎหมายลูกว่าด้วยพรรคการเมืองไป ดังนั้น 3 เดือนหลังจากร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ เป็นเวลาที่ใช้ในการทำประชามติได้ อย่างไรก็ดี ปกติถ้าเราเลี้ยวซ้ายพ้น 3 เดือน จะสามารถประกาศเลือกตั้ง และกำหนดวันเลือกตั้งได้เลย แต่การเลี้ยวขวาทำประชามติ จะทำให้ดีเลย์ 2 เดือนที่ยังประกาศวันเลือกตั้งไม่ได้" นายวิษณุ กล่าว
นายวิษณุ ยังกล่าวถึง ข้อเสนอการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี และครม.โดยตรง ที่มีการถกเถียงกันระหว่าง นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธาน สปช.และประธานกมธ.ยกร่างฯ กับ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกมธ.ปฏิรูปการเมือง สปช. ว่า ในที่สุดกมธ.ยกร่างฯ เป็นใหญ่อยู่ดี เมื่อถามถึงกระแสข่าว คสช.เตรียมเสนอตั้งคณะกรรมการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ นายวิษณุ กล่าวว่า ยังไม่เคยได้ยิน แต่จะพูดกันไม่ให้ตนได้ยินหรือไม่นั้น ไม่ทราบ ตนเข้าประชุมหลายคณะ ไม่เห็นมีการพูดอะไร
**ขอกกต.นึกถึงความสงบเรียบร้อย
ส่วนกรณีที่นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุว่า เตรียมฟ้องเอาผิดคนทำเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 เป็นโมฆะ 3,000 ล้านบาท นั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ยังไม่ดูว่า กกต.มีอำนาจในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง ถ้า กกต.เชื่อว่ามีอำนาจตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ คสช.ได้ฟื้นอำนาจตรงนี้คืนให้ก็เดินหน้าไป มันไม่ใช่เรื่องยุ่งยากที่จะเถียงกันว่ามี หรือไม่มีอำนาจ แต่หากไปฟ้องศาล ถ้าศาลบอกไม่มีอำนาจก็จบ
"ผมเห็นว่า อะไรที่ทำ ต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน และช่วยคำนึงถึงเรื่องความสงบเรียบร้อยด้วย หน้าที่ปรองดองไม่ใช่หน้าที่ของรัฐบาลและคสช.ฝ่ายเดียว ทุกคนต้องช่วยกัน"
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตั้งข้อสังเกตหรือไม่ว่า ทำไมกกต.ถึงออกมาเล่นเรื่องนี้ในช่วงนี้ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบ เป็นมติกกต.หรือเปล่ายังไม่รู้ ตนไม่กล้าบอกแทนรัฐบาลในเรื่องนี้ ส่วนข้อเสนอยุบรวมองค์กรอิสระที่ไม่ค่อยมีบทบาทนั้น หากเห็นว่าองค์กรใดไม่มีความจำเป็นก็ยุบรวมเป็นองค์กรเดียวกัน ถ้าทำได้ควรจะทำ เพราะหากมีมากเกินไปจะทำให้สิ้นเปลืองเงินทอง และทำให้เกิดความโกลาหลขึ้นในประเทศ
**ฟังความเห็น9 กลุ่มพ่วงแรงงานต่างด้าว
ในวันเดียวกันนี้ ที่สำนักงาน กกต. ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ คณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นประชาชนประจำกรุงเทพมหานคร นำโดย นางจุรี วิจิตรวาทการ ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ ประชุมร่วมกับคณะที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการ ประกอบด้วย ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ผู้แทนฝ่ายทหารในพื้นที่ และบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะและกำหนดแนวทางและวิธีการในการรับฟังความคิดเห็นในการปฏิรูปประเทศ โดยในการประชุมอนุกรรมาธิการ ได้มีข้อเสนอว่า ควรแยกกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 9 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้นำความคิดผู้นำแต่ละด้าน , กลุ่มองค์กรธุรกิจ, กลุ่มสื่อมวลชน, กลุ่มเยาวชนการศึกษา, กลุ่มชุมชนภาคประชาสังคม, กลุ่มข้าราชการรัฐวิสาหกิจ, กลุ่มแรงงานผู้ด้อยโอกาสผู้สูงอายุ, กลุ่มธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็ก และคนทำงานอิสระ และกลุ่มสาธารณสุข โดยควรเน้นผู้สูงอายุเพราะเป็นกลุ่มที่มีเวลา มีความรู้ประสบการณ์จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับความคิดเห็นในการปฏิรูป และเน้นกลุ่มคนที่อยากแสดงความคิดเห็น แต่ไม่มีเวลา ซึ่งเวลาปกติคนเหล่านี้จะไม่ออกมา เพราะต้องทำงาน นอกจากนั้นอาจจะมีการรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มแรงงานข้ามชาติด้วย เพราะในอนาคตเศรษฐกิจ จะต้องพึ่งคนกลุ่มนี้ จึงต้องหาวิธีอยู่ร่วมกัน
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการเสนออีกว่า สถานที่ที่ควรจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น คือ ศูนย์การค้าต่างๆ สำนักงานเขต และมหาวิทยาลัย เป็นต้น นอกจากนั้น การใช้โซเชียลมีเดีย ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการรับฟังความคิดเห็นส่วนการจัดเวทีเห็นว่าควรจะจัดเวทีใหญ่ 1 ครั้งเพื่อทำให้ประชาชนรับรู้ว่า เวทีรับฟังความคิดเห็นเริ่มแล้ว จากนั้นจึงจัดเวทีย่อยรับฟังความเห็นแต่ละกลุ่ม โดยให้สื่อมวลชนร่วมกระจายข่าวเพื่อให้เกิดความตื่นตัวของคนในสังคม อย่างไรก็ตาม คณะอนุกรรมาธิการจะมีการศึกษาข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ก่อนที่จะกำหนดแนวทางในการรับฟังความคิดเห็นที่ชัดเจนในการประชุมคณะอนุกรรมาธิการ วันที่ 14 ม.ค.58 หลังจากนั้น จึงจะเริ่มเปิดเวทีรับฟังความเห็นต่อไป