**จนแล้วจนรอด ปีนี้ ก็ไม่มีข่าวร้ายส่งท้ายปีให้กับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อท้ายที่สุดแล้ว คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยอมโอนอ่อนให้กับฝ่ายอัยการ ด้วยการยอมประนีประนอม ไม่ได้เร่งรัดให้ฝ่ายอัยการรีบกำหนดนัดประชุมคณะทำงานร่วมสองฝ่าย คืออัยการกับป.ป.ช.ในสำนวนคดีอาญาที่ ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิด ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ กรณีไม่ระงับยับยั้งการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว จนส่งผลเสียต่อรัฐ
จากที่ก่อนหน้านี้ ป.ป.ช.ทำขึงขัง บอกต้องรู้คำตอบภายในธันวาคมนี้ว่าอัยการสูงสุดจะฟ้องคดีต่อศาลฏีกาแผนกคดีอาญาฯ หรือไม่ โดยป. ป. ช. ขีดเส้นว่า ยังไงเสีย จะต้องกำหนดนัดประชุมชี้ขาดให้ได้ข้อยุติให้ได้ก่อน 16 ธ.ค. เพื่อให้ได้ข้อสรุปกันเสียที ช้ามานานแล้ว ครั้งพอผ่าน 16 ธ.ค.มา ก็บอกว่ายังไงต้องนัดประชุมกันไม่เกินสิ้นเดือนนี้
แต่ล่าสุดประธานป.ป.ช. ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ออกมาบอกแล้ว เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า คณะทำงานไม่สามารถกำหนดนัดประชุมกันได้ ต้องรอไปถึงปีหน้าฟ้าใหม่ ค่อยมาว่ากันอีกที ขณะที่คนในสำนักงานป.ป.ช.เองก็บอกว่า คณะทำงานร่วมอัยการกับป.ป.ช. อาจต้องประชุมกันอีก ประมาณสองนัด โดยเวลาที่ระบุออกมาเบื้องต้นตอนนี้ ประธานป.ป.ช.คาดหมายว่าอาจจะขอนัดประชุมคณะทำงานร่วมสองฝ่ายประมาณ 7 หรือ 14 มกราคม 58 และบอกว่า แล้วแต่อัยการจะสะดวกวันไหน ก็เอาวันนั้น ก็หมายถึงว่า หากอัยการไม่สะดวก ยังไม่อยากประชุม 7 หรือ 14 ม.ค. ก็อาจไม่มีการประชุมก็ได้
หากพิจารณาการประชุมนัดล่าสุดก่อนหน้านี้ คือ 7 พ.ย. 57 หากมีการประชุมกันจริงในช่วง 7 หรือ 14 ม.ค.ปีหน้า ก็หมายถึงว่า เฉลี่ยแล้ว คณะทำงานจะประชุมกันประมาณสองเดือนต่อครั้ง หากป.ป.ช.มองว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้รู้สึกว่ามันช้าอะไร ก็หมายถึงว่าถ้าประชุมกัน 7 หรือ 14 ม.ค. จากนั้นก็เว้นไปอีกประมาณ 1 เดือน คือเร็วที่สุดหรืออีกประมาณ 2 เดือนไปเลย ถึงค่อยมาประชุมกันอีกนัด ประชุมนัดที่สองในปีหน้า ก็จะอยู่ที่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือไม่ก็ไปมีนาคมเลย
สมมุติว่าเป็นไปตามนี้ โดยป.ป.ช. ก็ไม่ได้เร่งรัดอะไร ปล่อยไปเรื่อยๆ มันก็เป็นไปได้ที่การประชุมร่วม อาจเกิดขึ้นมากกว่าสองครั้งก็เป็นไปได้
**หากเป็นแบบนี้ เผลอๆ เข้าช่วงมีนาคม 58 ไปแล้วก็อาจยังไม่รู้คำตอบเลยว่าสุดท้าย คดีทุจริตจำนำข้าวนี้อัยการจะเอาอย่างไร !!
ยิ่งลักษณ์ ก็ลั้ลลา ได้อีกนาน ยิ่งหากอัยการไม่ฟ้อง แล้วคดีส่งกลับไปยังป.ป.ช. ก็ต้องใช้เวลาอีกสักระยะในการทำตามขั้นตอนต่างๆ เช่น จัดหาและว่าจ้างทีมทนายมาทำหน้าที่แทนอัยการ และก็ใช้เวลาในการร่างคำฟ้องอีก ก็อาจกินเวลาพอสมควร ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่กว่าคดีจะไปถึงศาลฏีกา ถ้าป.ป.ช.ต้องฟ้องเอง ก็อาจหลังสงกรานต์ไปโน่นเลย !
ถ้าปล่อยให้ดำเนินไปตามขั้นตอนปกติ เรื่อยๆ เฉื่อยๆ ดูตามนี้แล้ว ยิ่งลักษณ์ มีโอกาสพักกาย พักหายใจ แบบสบายๆ ได้พอสมควร อาจมีโอกาสยื่นขอเดินทางไปต่างประเทศเพื่อไปหาทักษิณได้อีกหลายรอบ ถ้าคสช.อนุญาต
**และมีความเป็นไปได้สูงระดับหนึ่งที่กว่าจะรู้ผลว่าคดีอาญา ว่าตกลงอัยการสูงสุดจะลงนามสั่งฟ้องยิ่งลักษณ์หรือไม่ หรือตกลงว่า ป.ป.ช.อาจต้องฟ้องคดีเอง ก็อาจเกิดขึ้นหลังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นัดลงมติคดีถอดถอน ยิ่งลักษณ์ไปแล้ว เนื่องจาก สนช.ได้นัดหมายแถลงเปิดสำนวนคดีถอดถอนยิ่งลักษณ์นัดแรก กันในต้นปีหน้าคือวันที่ 9 มกราคม 58 ซึ่งหลังมีการแถลงเปิดสำนวนแล้ว ก็จะใช้เวลาประมาณไม่เกิน 30 ถึง 45 วัน ในการให้กระบวนการถอดถอนดำเนินไปเรื่อยๆ แล้วก็จะต้องมีการนัดลงมติว่าสนช.จะถอดถอนหรือไม่ถอดถอน ยิ่งลักษณ์ ที่ดูตามปฏิทินแล้วก็คาดว่าน่าจะไม่เกินกลางเดือนกุมภาพันธ์58 เป็นอย่างช้า ก็น่าจะนัดลงมติกันได้
ดังนั้นหาก ป.ป.ช.ไม่ไล่กวดให้อัยการอย่ายื้อคดียิ่งลักษณ์อีกในต้นปีหน้า ก็หมายถึงว่าเป็นไปได้แน่นอนที่กว่าจะรู้ผลว่าอัยการสูงสุดจะฟ้องยิ่งลักษณ์หรือให้ป.ป.ช.ฟ้องเอง ก็จะเกิดขึ้นหลัง สนช.นัดลงมติถอดถอนคดียิ่งลักษณ์ไปแล้ว ถ้าเป็นแบบนี้ก็ถือว่าผิดคาดไม่น้อย เพราะก่อนหน้านี้ใครต่อใครคาดหมายว่า คดีอาญาในชั้นอัยการสูงสุด จะได้ข้อยุติก่อนสนช. จะลงมติสำนวนยิ่งลักษณ์ มาถึงตอนนี้ อาจพลิกกลับเสียแล้ว ถ้าป.ป.ช. ยังปล่อยให้คดีเดินไปอย่างกับเต่าคลานแบบนี้
หลายคนดูจะสงสัยกันไม่น้อยว่า ไฉนป.ป.ช.โอนอ่อนให้กับฝ่ายอัยการมากขนาดนี้ ถือว่าผิดฟอร์มไปมากพอสมควร จากเดิมที่ท่าทีแข็งกร้าวใส่อัยการว่าจะพิจารณาอย่างรอบคอบทำได้ ป.ป.ช.ไม่ว่าอะไร แต่ขออัยการอย่ามาประวิงเวลา เพระสำนวนที่ส่งให้สมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว แต่ท่าทีวันนี้ ป.ป.ช.กลับลดโทนลงไปมาก
**จึงมีการวิเคราะห์กันว่า เหตุที่ป.ป.ช. ดูจะประนีประนอมกับอัยการมากขึ้น อาจเกิดขึ้นหลังจากผู้บริหารสองหน่วยงานนี้ ไปจับเข่าพูดคุยกันในการประชุมประจำปีของสองสำนักงานดังกล่าวเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา แล้วก็ได้ข้อยุติในการหารือร่วมกันมา มีประเด็นใหญ่ๆ คือ
1. จะมีแนวทางและ ความร่วมมือในการไต่สวนข้อ เท็จจริง กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกกล่าวหาว่ากระทำการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ เพื่อลดปัญหาข้อไม่สมบูรณ์ เพราะหากต่างฝ่ายต่างทำจะเกิดปัญหาเหมือนกับที่ผ่านมา ดังนั้น อัยการจะต้องมาร่วมไต่สวนกับ ป.ป.ช.ตั้งแต่ต้น
2. การรวบรวมพยานหลักฐานของคณะทำงานฝ่าย อสส.และ ป.ป.ช. การประชุมวันดังกล่าว ป.ป.ช. เสนอว่าอยากให้การตั้งข้อไม่สมบูรณ์เอาเฉพาะประเด็นหลักและสำคัญ และเมื่อตั้งมาแล้ว ป.ป.ช.จะต้องดำเนินการตามที่ตัวแทนฝ่าย อสส.แจ้งมาหรือไม่ ให้เป็นหน้าที่ของดุลพินิจของผู้แทนแต่ละฝ่ายพิจารณาว่าข้อใดบ้างที่รับได้และทำร่วมกัน ส่วนตรงไหนรับไม่ได้ ให้ดูเป็นรายกรณีตามที่คณะทำงานร่วมเห็นสมควร
ประเด็นข้างต้นคือ หัวข้อหลักๆในการพูดคุยกันดังกล่าว ซึ่งจะว่าไปแล้ว เรื่องการจูนความเห็นให้การทำงานเดินไปด้วยดีแบบนี้โดยเฉาะกับหน่วยงานราชการด้วยกันเอง ที่ไม่ควรขัดแย้งกัน ใครต่อใครก็สนับสนุน เพียงแต่รูปคดียิ่งลักษณ์ ที่ผ่านมา ป.ป.ช.แสดงความมั่นใจมาตลอดว่าสำนวนแน่นหนาทั้งคดีอาญาและคดีถอดถอน ไม่จำเป็นต้องมาสอบสวนเพิ่มเติมหรือหาพยานหลักฐานอะไรกันอีกแล้วอย่างที่อัยการเรียกร้องมาตลอด แล้วทำไมจู่ๆ จึงยอมให้อัยการยื้อคดีไปได้อีก นี้แหละที่หลายคนยังคาใจ
ก็ได้แต่หวังว่า เริ่มต้นกันใหม่ปีหน้า ป.ป.ช. คงเร่งคดีให้เร็วขึ้นอีกสักหน่อยก็ยังดี ไม่ใช่ปล่อยให้ค้างคากันไม่จบไม่สิ้นแบบนี้
และหวังว่า ป.ป.ช.จะไม่เปลี่ยนหลักการที่เคยยืนยันไว้ก่อนหน้านี้ เช่น จะไม่เรียกพยานบุคคลอีกจำนวนมากมาสอบเพิ่มเติมตามที่อัยการต้องการ เพราะหากทำ ก็อาจทำให้คดียืดเยื้อออกไปอีกนานพอสมควร อีกทั้ง ถ้าป.ป.ช.ยอมตามที่อัยการร้องขอแบบป.ป.ช.แจงเหตุผลไม่ได้ เชื่อได้ว่า กระแสประชาชนที่จะไม่พอใจป.ป.ช.คงเกิดขึ้นแน่นอน
ยิ่งตอนนี้ยังคงมีการเปิดแผลความเสียหายโครงการรับจำนำข้าวออกมาต่อเนื่อง เช่น ล่าสุดที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ เปิดเผยหลังการประชุมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า จากการประมาณการในโครงการรับจำนำข้าว 4 โครงการ หากขายข้าวทั้งหมดแล้วจะขาดทุนที่ประมาณ 6.8 แสนล้านบาท หลังจากนี้ จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการดำเนินคดีต่อไปทั้งทางแพ่งและอาญา เป็นต้น
**เสียหายกันมากมายขนาดนี้ หากปล่อยให้คนที่เกี่ยวข้องลอยนวล หรือกว่าจะมารับผิดชอบได้ มันติดขัดและชักช้ากันแบบนี้ สังคมจะรับไม่ได้
จากที่ก่อนหน้านี้ ป.ป.ช.ทำขึงขัง บอกต้องรู้คำตอบภายในธันวาคมนี้ว่าอัยการสูงสุดจะฟ้องคดีต่อศาลฏีกาแผนกคดีอาญาฯ หรือไม่ โดยป. ป. ช. ขีดเส้นว่า ยังไงเสีย จะต้องกำหนดนัดประชุมชี้ขาดให้ได้ข้อยุติให้ได้ก่อน 16 ธ.ค. เพื่อให้ได้ข้อสรุปกันเสียที ช้ามานานแล้ว ครั้งพอผ่าน 16 ธ.ค.มา ก็บอกว่ายังไงต้องนัดประชุมกันไม่เกินสิ้นเดือนนี้
แต่ล่าสุดประธานป.ป.ช. ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ออกมาบอกแล้ว เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า คณะทำงานไม่สามารถกำหนดนัดประชุมกันได้ ต้องรอไปถึงปีหน้าฟ้าใหม่ ค่อยมาว่ากันอีกที ขณะที่คนในสำนักงานป.ป.ช.เองก็บอกว่า คณะทำงานร่วมอัยการกับป.ป.ช. อาจต้องประชุมกันอีก ประมาณสองนัด โดยเวลาที่ระบุออกมาเบื้องต้นตอนนี้ ประธานป.ป.ช.คาดหมายว่าอาจจะขอนัดประชุมคณะทำงานร่วมสองฝ่ายประมาณ 7 หรือ 14 มกราคม 58 และบอกว่า แล้วแต่อัยการจะสะดวกวันไหน ก็เอาวันนั้น ก็หมายถึงว่า หากอัยการไม่สะดวก ยังไม่อยากประชุม 7 หรือ 14 ม.ค. ก็อาจไม่มีการประชุมก็ได้
หากพิจารณาการประชุมนัดล่าสุดก่อนหน้านี้ คือ 7 พ.ย. 57 หากมีการประชุมกันจริงในช่วง 7 หรือ 14 ม.ค.ปีหน้า ก็หมายถึงว่า เฉลี่ยแล้ว คณะทำงานจะประชุมกันประมาณสองเดือนต่อครั้ง หากป.ป.ช.มองว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้รู้สึกว่ามันช้าอะไร ก็หมายถึงว่าถ้าประชุมกัน 7 หรือ 14 ม.ค. จากนั้นก็เว้นไปอีกประมาณ 1 เดือน คือเร็วที่สุดหรืออีกประมาณ 2 เดือนไปเลย ถึงค่อยมาประชุมกันอีกนัด ประชุมนัดที่สองในปีหน้า ก็จะอยู่ที่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือไม่ก็ไปมีนาคมเลย
สมมุติว่าเป็นไปตามนี้ โดยป.ป.ช. ก็ไม่ได้เร่งรัดอะไร ปล่อยไปเรื่อยๆ มันก็เป็นไปได้ที่การประชุมร่วม อาจเกิดขึ้นมากกว่าสองครั้งก็เป็นไปได้
**หากเป็นแบบนี้ เผลอๆ เข้าช่วงมีนาคม 58 ไปแล้วก็อาจยังไม่รู้คำตอบเลยว่าสุดท้าย คดีทุจริตจำนำข้าวนี้อัยการจะเอาอย่างไร !!
ยิ่งลักษณ์ ก็ลั้ลลา ได้อีกนาน ยิ่งหากอัยการไม่ฟ้อง แล้วคดีส่งกลับไปยังป.ป.ช. ก็ต้องใช้เวลาอีกสักระยะในการทำตามขั้นตอนต่างๆ เช่น จัดหาและว่าจ้างทีมทนายมาทำหน้าที่แทนอัยการ และก็ใช้เวลาในการร่างคำฟ้องอีก ก็อาจกินเวลาพอสมควร ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่กว่าคดีจะไปถึงศาลฏีกา ถ้าป.ป.ช.ต้องฟ้องเอง ก็อาจหลังสงกรานต์ไปโน่นเลย !
ถ้าปล่อยให้ดำเนินไปตามขั้นตอนปกติ เรื่อยๆ เฉื่อยๆ ดูตามนี้แล้ว ยิ่งลักษณ์ มีโอกาสพักกาย พักหายใจ แบบสบายๆ ได้พอสมควร อาจมีโอกาสยื่นขอเดินทางไปต่างประเทศเพื่อไปหาทักษิณได้อีกหลายรอบ ถ้าคสช.อนุญาต
**และมีความเป็นไปได้สูงระดับหนึ่งที่กว่าจะรู้ผลว่าคดีอาญา ว่าตกลงอัยการสูงสุดจะลงนามสั่งฟ้องยิ่งลักษณ์หรือไม่ หรือตกลงว่า ป.ป.ช.อาจต้องฟ้องคดีเอง ก็อาจเกิดขึ้นหลังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นัดลงมติคดีถอดถอน ยิ่งลักษณ์ไปแล้ว เนื่องจาก สนช.ได้นัดหมายแถลงเปิดสำนวนคดีถอดถอนยิ่งลักษณ์นัดแรก กันในต้นปีหน้าคือวันที่ 9 มกราคม 58 ซึ่งหลังมีการแถลงเปิดสำนวนแล้ว ก็จะใช้เวลาประมาณไม่เกิน 30 ถึง 45 วัน ในการให้กระบวนการถอดถอนดำเนินไปเรื่อยๆ แล้วก็จะต้องมีการนัดลงมติว่าสนช.จะถอดถอนหรือไม่ถอดถอน ยิ่งลักษณ์ ที่ดูตามปฏิทินแล้วก็คาดว่าน่าจะไม่เกินกลางเดือนกุมภาพันธ์58 เป็นอย่างช้า ก็น่าจะนัดลงมติกันได้
ดังนั้นหาก ป.ป.ช.ไม่ไล่กวดให้อัยการอย่ายื้อคดียิ่งลักษณ์อีกในต้นปีหน้า ก็หมายถึงว่าเป็นไปได้แน่นอนที่กว่าจะรู้ผลว่าอัยการสูงสุดจะฟ้องยิ่งลักษณ์หรือให้ป.ป.ช.ฟ้องเอง ก็จะเกิดขึ้นหลัง สนช.นัดลงมติถอดถอนคดียิ่งลักษณ์ไปแล้ว ถ้าเป็นแบบนี้ก็ถือว่าผิดคาดไม่น้อย เพราะก่อนหน้านี้ใครต่อใครคาดหมายว่า คดีอาญาในชั้นอัยการสูงสุด จะได้ข้อยุติก่อนสนช. จะลงมติสำนวนยิ่งลักษณ์ มาถึงตอนนี้ อาจพลิกกลับเสียแล้ว ถ้าป.ป.ช. ยังปล่อยให้คดีเดินไปอย่างกับเต่าคลานแบบนี้
หลายคนดูจะสงสัยกันไม่น้อยว่า ไฉนป.ป.ช.โอนอ่อนให้กับฝ่ายอัยการมากขนาดนี้ ถือว่าผิดฟอร์มไปมากพอสมควร จากเดิมที่ท่าทีแข็งกร้าวใส่อัยการว่าจะพิจารณาอย่างรอบคอบทำได้ ป.ป.ช.ไม่ว่าอะไร แต่ขออัยการอย่ามาประวิงเวลา เพระสำนวนที่ส่งให้สมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว แต่ท่าทีวันนี้ ป.ป.ช.กลับลดโทนลงไปมาก
**จึงมีการวิเคราะห์กันว่า เหตุที่ป.ป.ช. ดูจะประนีประนอมกับอัยการมากขึ้น อาจเกิดขึ้นหลังจากผู้บริหารสองหน่วยงานนี้ ไปจับเข่าพูดคุยกันในการประชุมประจำปีของสองสำนักงานดังกล่าวเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา แล้วก็ได้ข้อยุติในการหารือร่วมกันมา มีประเด็นใหญ่ๆ คือ
1. จะมีแนวทางและ ความร่วมมือในการไต่สวนข้อ เท็จจริง กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกกล่าวหาว่ากระทำการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ เพื่อลดปัญหาข้อไม่สมบูรณ์ เพราะหากต่างฝ่ายต่างทำจะเกิดปัญหาเหมือนกับที่ผ่านมา ดังนั้น อัยการจะต้องมาร่วมไต่สวนกับ ป.ป.ช.ตั้งแต่ต้น
2. การรวบรวมพยานหลักฐานของคณะทำงานฝ่าย อสส.และ ป.ป.ช. การประชุมวันดังกล่าว ป.ป.ช. เสนอว่าอยากให้การตั้งข้อไม่สมบูรณ์เอาเฉพาะประเด็นหลักและสำคัญ และเมื่อตั้งมาแล้ว ป.ป.ช.จะต้องดำเนินการตามที่ตัวแทนฝ่าย อสส.แจ้งมาหรือไม่ ให้เป็นหน้าที่ของดุลพินิจของผู้แทนแต่ละฝ่ายพิจารณาว่าข้อใดบ้างที่รับได้และทำร่วมกัน ส่วนตรงไหนรับไม่ได้ ให้ดูเป็นรายกรณีตามที่คณะทำงานร่วมเห็นสมควร
ประเด็นข้างต้นคือ หัวข้อหลักๆในการพูดคุยกันดังกล่าว ซึ่งจะว่าไปแล้ว เรื่องการจูนความเห็นให้การทำงานเดินไปด้วยดีแบบนี้โดยเฉาะกับหน่วยงานราชการด้วยกันเอง ที่ไม่ควรขัดแย้งกัน ใครต่อใครก็สนับสนุน เพียงแต่รูปคดียิ่งลักษณ์ ที่ผ่านมา ป.ป.ช.แสดงความมั่นใจมาตลอดว่าสำนวนแน่นหนาทั้งคดีอาญาและคดีถอดถอน ไม่จำเป็นต้องมาสอบสวนเพิ่มเติมหรือหาพยานหลักฐานอะไรกันอีกแล้วอย่างที่อัยการเรียกร้องมาตลอด แล้วทำไมจู่ๆ จึงยอมให้อัยการยื้อคดีไปได้อีก นี้แหละที่หลายคนยังคาใจ
ก็ได้แต่หวังว่า เริ่มต้นกันใหม่ปีหน้า ป.ป.ช. คงเร่งคดีให้เร็วขึ้นอีกสักหน่อยก็ยังดี ไม่ใช่ปล่อยให้ค้างคากันไม่จบไม่สิ้นแบบนี้
และหวังว่า ป.ป.ช.จะไม่เปลี่ยนหลักการที่เคยยืนยันไว้ก่อนหน้านี้ เช่น จะไม่เรียกพยานบุคคลอีกจำนวนมากมาสอบเพิ่มเติมตามที่อัยการต้องการ เพราะหากทำ ก็อาจทำให้คดียืดเยื้อออกไปอีกนานพอสมควร อีกทั้ง ถ้าป.ป.ช.ยอมตามที่อัยการร้องขอแบบป.ป.ช.แจงเหตุผลไม่ได้ เชื่อได้ว่า กระแสประชาชนที่จะไม่พอใจป.ป.ช.คงเกิดขึ้นแน่นอน
ยิ่งตอนนี้ยังคงมีการเปิดแผลความเสียหายโครงการรับจำนำข้าวออกมาต่อเนื่อง เช่น ล่าสุดที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ เปิดเผยหลังการประชุมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า จากการประมาณการในโครงการรับจำนำข้าว 4 โครงการ หากขายข้าวทั้งหมดแล้วจะขาดทุนที่ประมาณ 6.8 แสนล้านบาท หลังจากนี้ จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการดำเนินคดีต่อไปทั้งทางแพ่งและอาญา เป็นต้น
**เสียหายกันมากมายขนาดนี้ หากปล่อยให้คนที่เกี่ยวข้องลอยนวล หรือกว่าจะมารับผิดชอบได้ มันติดขัดและชักช้ากันแบบนี้ สังคมจะรับไม่ได้