วรรณกรรมที่ดีมักจะเป็นมหากาพย์หรือเรื่องราวที่ยืดยาวใช้เวลานานจึงจะจบเรื่องเหมือนกับอุปรากรหรือเพลงคลาสสิกที่มีหลายองค์ และบรรเลงอย่างช้า ภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ ก็ต้องใช้เวลาสร้างอันยาวนานเช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงเห็นได้ว่าความช้านั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์เรามีอยู่คู่กันมากับชีวิตของเรามากกว่าความเร็ว
แต่ความเร็ว ก็ได้สร้างความสะดวกสบายให้แก่มนุษย์หลายอย่าง แม้จะไม่จีรังยั่งยืน ไม่คงทน ต่างจากสิ่งที่เกิดจากการกระทำด้วยความช้า อย่างไรก็ตาม จิตของคนเรานั้นมีความไว มนุษย์จึงแสวงหาความเร็วตลอดเวลา เรียกว่าให้ได้ดังใจ ดังนั้น เมื่อเราคิดถึงการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งโดยธรรมชาติของมันแล้ว ต้องอาศัยเวลายาวนาน แต่เราก็อยากให้มันจบสิ้นโดยเร็ว แม้ว่าในที่สุดเราจะพบว่า เราตกอยู่ในวังวนของปัญหานั้นอย่างซ้ำซาก
กฎแห่งความช้า กำหนดว่า ยิ่งเราต้องการความเร็วมากเท่าใด เราจะได้ความช้ากลับมาเป็นปฏิภาคกัน ดูจากการจราจรในกรุงเทพฯ น่าขันหรือไม่ที่เราซื้อรถแพงๆ วิ่งได้ 200 ไมล์ต่อชั่วโมง แต่เมื่อเอามาใช้แล้ว เราวิ่งได้ชั่วโมงละ 5-10 กิโลเมตรในหลายพื้นที่ และในเวลารถติด เมื่อคิดว่าคนเราจะเข้าสู่สังคมคนชราแล้ว อีกหน่อยเราก็จะต้องมากำหนดกฎเกณฑ์กติกาหลายอย่าง คือมีการจำกัดความเร็วให้กลายเป็น “ความช้า” เพราะในอีกไม่นานนี้ เราคงจะต้องใช้พลังงานอย่างประหยัด
เราจะมีผิวจราจรน้อยลง ทำให้เราต้องจัดให้มีถนน 3 ประเภทคือ พื้นที่ใช้รถยนต์ พื้นที่ใช้คนเดิน และพื้นที่ใช้รถจักรยาน และแต่ละแห่งก็มีการกำหนดความช้า แทนที่จะเป็นความเร็ว ต่อไปเราจะมีอาหาร “สโลว์ฟูด” มาแทนที่ “ฟาสต์ฟูด” มากขึ้น เพราะอาหารจานด่วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จะมีร้านอาหารจานช้า คือมีการปรุงเป็นเวลาหลายสิบชั่วโมง หากจะสั่งก็ต้องจองก่อน ตลอดจนมีการปลูกผักไว้ใกล้ๆ ร้าน หรือร้านมีฟาร์มเป็นของตนเองว่า อาหารที่ขายผลิตจากการปลูกปลอดสารพิษ นอกจากนั้น ยังต้องพิจารณาถึงสารที่มีอยู่ในพืชผักต่างๆ ว่ามีธาตุโพแทสเซียมมากน้อยแค่ไหน เป็นอันตรายต่อการทำงานของอวัยวะอย่างไร สรุปก็คือ ทั้งหมดต้องทำอย่างช้าๆ
สังคมเราเริ่มมีปัญหาเพราะมนุษย์ฝืนธรรมชาติมากขึ้น โดยการเอาข้อยกเว้น (ความเร็ว) มาเป็นกฎ ความสัมพันธ์ที่เกิดอย่างรวดเร็ว เช่น จากสื่อสมัยใหม่ เน้นที่ความเร็ว ต้องพบกับความหลอกลวงอย่างไม่น่าเชื่อ แม้โซเชียลมีเดียจะมีประโยชน์ในบางเรื่อง แต่ก็มีโทษมหันต์
ในด้านการศึกษา เราก็นำเอาข้อยกเว้นมาเป็นกฎ เพราะทำอย่างรวดเร็วมากขึ้นทุกวัน แต่การเรียนรู้ที่สมบูรณ์ จะต้องอยู่ภายใต้กฎแห่งความช้า เหมือนอย่างที่จันทโครพไปเรียนกับพระเจ้าตาหรือศิษย์ไปอยู่กับพระ หรือไปฝึกวิทยายุทธ์จากครูดนตรีซึ่งทั้งหลายนี้อยู่ที่ “ความช้า” มากกว่าความเร็ว ปราชญ์ชาวบ้านหลายคนไม่เคยเข้าโรงเรียน แต่ก็รู้ดีเก่งกว่าคนเข้าโรงเรียนเสียอีก แต่เป็นเพราะท่านเหล่านี้ใช้เวลาอย่างยาวนานเรียนรู้ จึง “รู้จริง” เพราะความช้า นั่นเอง
การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ การทำ การลงมือทำนั้นทำเร็วย่อมไม่ได้ และกว่าจะทำเสร็จก็ใช้เวลายาวนาน การแกะสลักลายไม้ใช้เวลานาน ต้องทำอย่างประณีตช้าๆ งานศิลปะทุกอย่างเป็นการรังสรรค์อย่างช้าๆ ของมีค่าทุกอย่างในโลกเราจึงเกิดจากกฎแห่งความช้า มากกว่าข้อยกเว้นแห่งความรวดเร็ว ถ้าเราสังเกตดูความแปรปรวนของอากาศที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือแผ่นดินไหวแล้วจะพบว่า สิ่งเหล่านี้เป็นข้อยกเว้น เป็นสิ่งผิดปกติมากกว่าเป็นกฎ หรือเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติและธรรมดาของโลก จึงเป็นความช้า ไม่ใช่ความเร็ว ส่วนที่มนุษย์ชอบความเร็วนั้น เป็นคุณค่าไม่ใช่ความจริงในธรรมชาติ และสรรพสิ่ง
โลกในอนาคตจะหวนกลับมาเป็นโลกแห่งความช้า แม้ว่าจะมีความเร็วในด้านการเดินทางสื่อสาร ด้านที่ไม่ใช่ธรรมชาติของมนุษย์จะเป็นด้านที่มีความเร็ว ด้านธรรมชาติความสัมพันธ์ของมนุษย์จะเป็นด้านของความช้า มีความจำเป็นที่จะต้องฟูมฟักสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว ชุมชนขึ้นมาใหม่ เพื่อให้คนมีความยาวนานในการอยู่ร่วมกันมากขึ้นจนสามารถพูดภาษาเดียวกันรู้เรื่อง และก่อให้เกิดมิตรภาพและสันติสุขอย่างยั่งยืน
กฎแห่งความช้าเท่านั้นที่สามารถทำให้เราอยู่กันอย่างกลมกลืนได้ ครอบครัวก็จะมีความอบอุ่น มีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างยาวนาน กฎแห่งความช้าทำให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีจังหวะทีเหมาะสม และช่วยลดความเครียดในจิตใจเรา ยิ่งเข้าสู่สังคมชรามากเพียงใด กฎแห่งความช้าก็ยิ่งจะเข้ามากำหนดชีวิตเรามากขึ้นเท่านั้น (อ่านต่อวันจันทร์หน้า)
แต่ความเร็ว ก็ได้สร้างความสะดวกสบายให้แก่มนุษย์หลายอย่าง แม้จะไม่จีรังยั่งยืน ไม่คงทน ต่างจากสิ่งที่เกิดจากการกระทำด้วยความช้า อย่างไรก็ตาม จิตของคนเรานั้นมีความไว มนุษย์จึงแสวงหาความเร็วตลอดเวลา เรียกว่าให้ได้ดังใจ ดังนั้น เมื่อเราคิดถึงการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งโดยธรรมชาติของมันแล้ว ต้องอาศัยเวลายาวนาน แต่เราก็อยากให้มันจบสิ้นโดยเร็ว แม้ว่าในที่สุดเราจะพบว่า เราตกอยู่ในวังวนของปัญหานั้นอย่างซ้ำซาก
กฎแห่งความช้า กำหนดว่า ยิ่งเราต้องการความเร็วมากเท่าใด เราจะได้ความช้ากลับมาเป็นปฏิภาคกัน ดูจากการจราจรในกรุงเทพฯ น่าขันหรือไม่ที่เราซื้อรถแพงๆ วิ่งได้ 200 ไมล์ต่อชั่วโมง แต่เมื่อเอามาใช้แล้ว เราวิ่งได้ชั่วโมงละ 5-10 กิโลเมตรในหลายพื้นที่ และในเวลารถติด เมื่อคิดว่าคนเราจะเข้าสู่สังคมคนชราแล้ว อีกหน่อยเราก็จะต้องมากำหนดกฎเกณฑ์กติกาหลายอย่าง คือมีการจำกัดความเร็วให้กลายเป็น “ความช้า” เพราะในอีกไม่นานนี้ เราคงจะต้องใช้พลังงานอย่างประหยัด
เราจะมีผิวจราจรน้อยลง ทำให้เราต้องจัดให้มีถนน 3 ประเภทคือ พื้นที่ใช้รถยนต์ พื้นที่ใช้คนเดิน และพื้นที่ใช้รถจักรยาน และแต่ละแห่งก็มีการกำหนดความช้า แทนที่จะเป็นความเร็ว ต่อไปเราจะมีอาหาร “สโลว์ฟูด” มาแทนที่ “ฟาสต์ฟูด” มากขึ้น เพราะอาหารจานด่วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จะมีร้านอาหารจานช้า คือมีการปรุงเป็นเวลาหลายสิบชั่วโมง หากจะสั่งก็ต้องจองก่อน ตลอดจนมีการปลูกผักไว้ใกล้ๆ ร้าน หรือร้านมีฟาร์มเป็นของตนเองว่า อาหารที่ขายผลิตจากการปลูกปลอดสารพิษ นอกจากนั้น ยังต้องพิจารณาถึงสารที่มีอยู่ในพืชผักต่างๆ ว่ามีธาตุโพแทสเซียมมากน้อยแค่ไหน เป็นอันตรายต่อการทำงานของอวัยวะอย่างไร สรุปก็คือ ทั้งหมดต้องทำอย่างช้าๆ
สังคมเราเริ่มมีปัญหาเพราะมนุษย์ฝืนธรรมชาติมากขึ้น โดยการเอาข้อยกเว้น (ความเร็ว) มาเป็นกฎ ความสัมพันธ์ที่เกิดอย่างรวดเร็ว เช่น จากสื่อสมัยใหม่ เน้นที่ความเร็ว ต้องพบกับความหลอกลวงอย่างไม่น่าเชื่อ แม้โซเชียลมีเดียจะมีประโยชน์ในบางเรื่อง แต่ก็มีโทษมหันต์
ในด้านการศึกษา เราก็นำเอาข้อยกเว้นมาเป็นกฎ เพราะทำอย่างรวดเร็วมากขึ้นทุกวัน แต่การเรียนรู้ที่สมบูรณ์ จะต้องอยู่ภายใต้กฎแห่งความช้า เหมือนอย่างที่จันทโครพไปเรียนกับพระเจ้าตาหรือศิษย์ไปอยู่กับพระ หรือไปฝึกวิทยายุทธ์จากครูดนตรีซึ่งทั้งหลายนี้อยู่ที่ “ความช้า” มากกว่าความเร็ว ปราชญ์ชาวบ้านหลายคนไม่เคยเข้าโรงเรียน แต่ก็รู้ดีเก่งกว่าคนเข้าโรงเรียนเสียอีก แต่เป็นเพราะท่านเหล่านี้ใช้เวลาอย่างยาวนานเรียนรู้ จึง “รู้จริง” เพราะความช้า นั่นเอง
การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ การทำ การลงมือทำนั้นทำเร็วย่อมไม่ได้ และกว่าจะทำเสร็จก็ใช้เวลายาวนาน การแกะสลักลายไม้ใช้เวลานาน ต้องทำอย่างประณีตช้าๆ งานศิลปะทุกอย่างเป็นการรังสรรค์อย่างช้าๆ ของมีค่าทุกอย่างในโลกเราจึงเกิดจากกฎแห่งความช้า มากกว่าข้อยกเว้นแห่งความรวดเร็ว ถ้าเราสังเกตดูความแปรปรวนของอากาศที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือแผ่นดินไหวแล้วจะพบว่า สิ่งเหล่านี้เป็นข้อยกเว้น เป็นสิ่งผิดปกติมากกว่าเป็นกฎ หรือเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติและธรรมดาของโลก จึงเป็นความช้า ไม่ใช่ความเร็ว ส่วนที่มนุษย์ชอบความเร็วนั้น เป็นคุณค่าไม่ใช่ความจริงในธรรมชาติ และสรรพสิ่ง
โลกในอนาคตจะหวนกลับมาเป็นโลกแห่งความช้า แม้ว่าจะมีความเร็วในด้านการเดินทางสื่อสาร ด้านที่ไม่ใช่ธรรมชาติของมนุษย์จะเป็นด้านที่มีความเร็ว ด้านธรรมชาติความสัมพันธ์ของมนุษย์จะเป็นด้านของความช้า มีความจำเป็นที่จะต้องฟูมฟักสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว ชุมชนขึ้นมาใหม่ เพื่อให้คนมีความยาวนานในการอยู่ร่วมกันมากขึ้นจนสามารถพูดภาษาเดียวกันรู้เรื่อง และก่อให้เกิดมิตรภาพและสันติสุขอย่างยั่งยืน
กฎแห่งความช้าเท่านั้นที่สามารถทำให้เราอยู่กันอย่างกลมกลืนได้ ครอบครัวก็จะมีความอบอุ่น มีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างยาวนาน กฎแห่งความช้าทำให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีจังหวะทีเหมาะสม และช่วยลดความเครียดในจิตใจเรา ยิ่งเข้าสู่สังคมชรามากเพียงใด กฎแห่งความช้าก็ยิ่งจะเข้ามากำหนดชีวิตเรามากขึ้นเท่านั้น (อ่านต่อวันจันทร์หน้า)