ASTVผู้จัดการรายวัน-หอการค้าไทยแนะสมาชิกและ SMEs ทำแผนรับมือน้ำมันลด ตลาดหุ้นทั่วโลกตก หลังพบมีสินค้าที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ ระบุต้องหาตลาดรองรับเพิ่ม กรณีผู้ซื้อในประเทศที่ขายน้ำมันซื้อได้น้อยลง เชื่อธุรกิจในประเทศได้รับผลดี เหตุต้นทุนน้ำมันลดลง และกำลังซื้อจะสูงขึ้น จากการที่คนมีรายได้เพิ่มขึ้น คาดปีหน้าเศรษฐกิจโต 4.5%แต่น่าห่วงราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยได้แนะนำให้สมาชิก และธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ทั่วประเทศ เร่งจัดทำแผนรับมือและสร้างโอกาสในช่วงที่ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวลดลง หรือปรับลดมาอยู่ในระดับ 60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล รวมถึงผลกระทบจากการที่ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลง เนื่องจากมีหลายธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบ และมีบางธุรกิจที่จะได้รับผลดี แต่หากไม่มีแผนรับมือ ก็จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจได้
สำหรับกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมาก เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับท่องเที่ยว อาหาร และการส่งออกสินค้าไปยังตลาดบางประเทศ เนื่องจากผู้บริโภคหลายประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีรายได้จากน้ำมันและตลาดหุ้นจะมีกำลังซื้อลดน้อยลงอย่างมาก จากการที่ราคาปรับลดลง และการขาดทุนของมูลค่าหุ้น
“ผู้ส่งออกต้องหาตลาดสำรองไว้ โดยกลุ่มที่ส่งไปยังประเทศตะวันออกลาง ลาตินอเมริกา และกลุ่มประเทศซีไอเอส เช่น อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน เบลารุส คาซัคสถาน คีร์กิสถาน มอลโดวา รัสเซีย เติร์กเมนิสถาน ยูเครน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน เป็นต้น ต้องหาตลาดใหม่ โดยเน้นกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นหลัก
เพราะประเทศเพื่อนบ้านไทยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดีหรือเฉลี่ยที่ 6%”
ส่วนกลุ่มธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผลิตสินค้าขายในประเทศ เนื่องจากต้นทุนในการผลิตสินค้าและการขนส่งสินค้าปรับลดลงอย่างมาก ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสของธุรกิจ เพราะนอกจากสินค้าจะมีต้นทุนต่ำแล้ว ในปีหน้า หากราคาขายปลีกน้ำมันยังทรงตัวในระดับปัจจุบัน ก็จะทำให้ผู้ที่ใช้น้ำมันทั้งภาคธุรกิจและประชาชนสามารถประหยัดรายจ่ายได้ 146,500
ล้านบาทต่อปี จากกรณีที่ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ลดลงจากเดือนพ.ค.2557 ประมาณลิตรละ 11 บาท และดีเซลลดลง 3 บาทต่อลิตร ซึ่งจะช่วยกระตุ้นภาคการบริโภคได้ในระดับหนึ่ง
นายอิสระกล่าวว่า จากการสอบถามผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกของหอการค้าไทยถึงสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วงปลายปี 2557 พบว่าในไตรมาสที่ 4 ยังคงมีทิศทางที่ชะลอตัวลง เป็นผลมาจากราคาสินค้าเกษตรที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ เช่น ราคาข้าว และยางพารา เป็นต้น ส่งผลให้การบริโภคยังคงมีสัญญาณของการชะลอตัวลง เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชน
มีเพียงการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐเท่านั้นที่ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน โดยคาดว่าในปี 2557 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในระดับ 0-1%
ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 2558 คาดว่าจะมีแนวโน้มที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน หรือขยายตัวในระดับ 4.5% การส่งออกขยายตัว 4-5% เนื่องจากสมาชิกหอการค้าไทย เชื่อว่าการลงทุนภาครัฐบาลจะมีเม็ดเงินลงทุนในพื้นที่ต่างๆ จำนวนมาก ประกอบกับนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งการบริโภคภาคเอกชนที่มีโอกาสขยายตัวจากการฟื้นตัวขึ้นเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ในปี 2558 ปัจจัยที่น่าเป็นห่วง คือ ภาคการเกษตร ที่ระดับราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าว ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ยังคงมีราคาทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ จากแนวโน้มความต้องการของโลกที่ชะลอตัวลง ประกอบกับผลผลิตของไทยมีจำนวนมากกว่าความต้องการ
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยได้แนะนำให้สมาชิก และธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ทั่วประเทศ เร่งจัดทำแผนรับมือและสร้างโอกาสในช่วงที่ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวลดลง หรือปรับลดมาอยู่ในระดับ 60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล รวมถึงผลกระทบจากการที่ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลง เนื่องจากมีหลายธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบ และมีบางธุรกิจที่จะได้รับผลดี แต่หากไม่มีแผนรับมือ ก็จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจได้
สำหรับกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมาก เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับท่องเที่ยว อาหาร และการส่งออกสินค้าไปยังตลาดบางประเทศ เนื่องจากผู้บริโภคหลายประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีรายได้จากน้ำมันและตลาดหุ้นจะมีกำลังซื้อลดน้อยลงอย่างมาก จากการที่ราคาปรับลดลง และการขาดทุนของมูลค่าหุ้น
“ผู้ส่งออกต้องหาตลาดสำรองไว้ โดยกลุ่มที่ส่งไปยังประเทศตะวันออกลาง ลาตินอเมริกา และกลุ่มประเทศซีไอเอส เช่น อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน เบลารุส คาซัคสถาน คีร์กิสถาน มอลโดวา รัสเซีย เติร์กเมนิสถาน ยูเครน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน เป็นต้น ต้องหาตลาดใหม่ โดยเน้นกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นหลัก
เพราะประเทศเพื่อนบ้านไทยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดีหรือเฉลี่ยที่ 6%”
ส่วนกลุ่มธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผลิตสินค้าขายในประเทศ เนื่องจากต้นทุนในการผลิตสินค้าและการขนส่งสินค้าปรับลดลงอย่างมาก ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสของธุรกิจ เพราะนอกจากสินค้าจะมีต้นทุนต่ำแล้ว ในปีหน้า หากราคาขายปลีกน้ำมันยังทรงตัวในระดับปัจจุบัน ก็จะทำให้ผู้ที่ใช้น้ำมันทั้งภาคธุรกิจและประชาชนสามารถประหยัดรายจ่ายได้ 146,500
ล้านบาทต่อปี จากกรณีที่ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ลดลงจากเดือนพ.ค.2557 ประมาณลิตรละ 11 บาท และดีเซลลดลง 3 บาทต่อลิตร ซึ่งจะช่วยกระตุ้นภาคการบริโภคได้ในระดับหนึ่ง
นายอิสระกล่าวว่า จากการสอบถามผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกของหอการค้าไทยถึงสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วงปลายปี 2557 พบว่าในไตรมาสที่ 4 ยังคงมีทิศทางที่ชะลอตัวลง เป็นผลมาจากราคาสินค้าเกษตรที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ เช่น ราคาข้าว และยางพารา เป็นต้น ส่งผลให้การบริโภคยังคงมีสัญญาณของการชะลอตัวลง เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชน
มีเพียงการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐเท่านั้นที่ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน โดยคาดว่าในปี 2557 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในระดับ 0-1%
ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 2558 คาดว่าจะมีแนวโน้มที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน หรือขยายตัวในระดับ 4.5% การส่งออกขยายตัว 4-5% เนื่องจากสมาชิกหอการค้าไทย เชื่อว่าการลงทุนภาครัฐบาลจะมีเม็ดเงินลงทุนในพื้นที่ต่างๆ จำนวนมาก ประกอบกับนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งการบริโภคภาคเอกชนที่มีโอกาสขยายตัวจากการฟื้นตัวขึ้นเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ในปี 2558 ปัจจัยที่น่าเป็นห่วง คือ ภาคการเกษตร ที่ระดับราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าว ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ยังคงมีราคาทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ จากแนวโน้มความต้องการของโลกที่ชะลอตัวลง ประกอบกับผลผลิตของไทยมีจำนวนมากกว่าความต้องการ