นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะโฆษกวิป สปช. กล่าวถึงการประชุม สปช. ระหว่างวันที่ 15-17 ธ.ค. เพื่อพิจารณาข้อเสนอแนวทางยกร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการปฏิรูป 18 ด้าน ว่า ที่ประชุมจะรับฟังความเห็นของ คณะกรรมาธิการปฏิรูปวันละ 7 ด้าน พร้อมให้สมาชิกอภิปรายความเห็นต่อข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปในแต่ละด้าน โดยวันที่ 17 ธ.ค. จะมีการรับฟังความเห็นของคณะกรรมาธิการปฏิรูป 4 ด้าน คือ คณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะกรรมาธิการบริหารราชการแผ่นดิน คณะ กรรมาธิการปกครองส่วนท้องถิ่น และ คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง ซึ่งมีเนื้อหาค่อนข้างหนัก มีสมาชิกขออภิปรายจำนวนมาก โดยเฉพาะข้อเสนอของ คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองที่เสนอให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี และครม.โดยตรง คาดว่าจะมี สปช.เห็นต่างจำนวนมาก และคงมีการอภิปรายกันกว้างขวาง เพราะเป็นเรื่องใหม่
อย่างไรก็ตาม เมื่อสมาชิกอภิปรายครบถ้วนแล้ว จะให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่เข้าร่วมประชุมสปช.ด้วย ได้ชี้แจง ก่อนที่ที่ประชุมสปช. จะลงมติว่า จะส่งความเห็นของคณะกรรมาธิการปฏิรูป 18 ด้าน ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งตนเชื่อว่าจะมีการลงมติเห็นชอบ แต่จะไม่มีการลงมติเห็นชอบ ข้อเสนอเป็นรายประเด็น
ส่วนประเด็นที่สปช. มีการท้วงติงความเห็นของคณะกรรมาธิการปฏิรูปหลากหลาย จะมีการแนบข้อสังเกตของสมาชิกประกอบไว้ในรายงาน ที่ส่งให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย
**คาดไม่รับเลือกนายกฯ-ครม.ตรง
นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานอนุกรรมาธิการว่าด้วยการปฏิรูป และการสร้างความปรองดอง และกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ขณะนี้กมธ.ยกร่างฯ ได้พิจารณาข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมาธิการสารัตถะที่รับฟังความเห็นจากฝ่ายต่างๆ และประมวลออกมาเป็นข้อมูลในการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว เหลือเพียงชุดที่ 9 คือ คณะปฏิรูปที่จะขอฟังความเห็นจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ 15-17 ธ.ค.นี้ ก่อน
ทั้งนี้ ส่วนใหญ่เห็นชอบกับข้อเสนอของอนุกรรมาธิการสารัตถะในเบื้องต้น โดยเฉพาะ หมวด 1 ระบบผู้แทนที่ดี และผู้นำการเมืองที่ดี และคณะรัฐมนตรี ที่มีนายสุจิต บุญบงการ เป็นประธาน และเสนอให้มี 2 สภา โดยสภาผู้แทนราษฎร มีส.ส.เขต และส.ส.บัญชีรายชื่อ แต่เปลี่ยนการนับคะแนนใหม่ ยึดแบบเยอรมันที่ให้นำคะแนนส.ส.เขตไปคำนวณเป็นคะแนนนิยมสำหรับบัญชีรายชื่อ และที่มาของนายกรัฐมนตรี ให้มาจากการเลือกในสภา แต่สามารถมีบัญชีรายชื่อ คณะรัฐมนตรีแสดงเพื่อหาเสียงได้
อย่างไรก็ตามได้มีการหยิบยกของเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองของสปช. ที่มี นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธานมาพูดคุย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีโดยตรง ซึ่งฟังดูแล้วส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะเท่ากับเป็นการเปลี่ยนระบบรัฐสภา เป็นระบบอื่น อย่างไรก็ตามในการประชุมร่วมกับ สปช. ในวันที่ 15-17 ธ.ค.นี้ ก็จะได้รับฟังเหตุผล และในส่วนของกรรมาธิการยกร่างฯก็อาจจะมีการแสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้
"เรื่องการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง เท่าที่ฟังดูในคณะกรรมาธิการยกร่างฯ เห็นว่าไม่น่าจะรับ เพราะเท่ากับเราจะเปลี่ยนระบบรัฐสภา เป็นระบบอื่น ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก และคิดว่าไม่น่าจะผลีผลาม ไม่อย่างนั้นเราต้องมีธรรมเนียมประเพณีใหม่" นายเอนก กล่าว
**ประเด็นร้อนนิรโทษ-ปรองดอง
สำหรับข้อเสนอของคณะอนุกรรมาธิการฯ ปรองดองนั้น เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปรองดอง ซึ่งได้เสนอว่า การจะปรองดองได้ควรต้องมีความเข้าใจ และให้อภัยกัน จึงได้เสนอเรื่องการนิรโทษกรรม แต่ก็มีเสียงในกมธ.ยกร่าง ที่เตือนว่า อย่าเขียนนิรโทษกรรมจนสุดขั้ว จนเกิดปัญหาความ ร้าวฉานเหมือนในอดีต
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า เรื่องความปรองดองเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และการนิรโทษกรรม ต้องทำในจังหวะเวลาที่เหมาะสม ต้องดูความรู้สึก และอารมณ์ของคนในขณะนั้น ซึ่งไม่ติดใจว่าจะระบุไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะสามารถออกเป็นพ.ร.บ. หรือออกเป็นประกาศ ก็ได้ ซึ่งในอดีตก็เคยทำมา แต่อนุกรรมาธิการฯปรองดอง ได้ยืนยันในหลักการว่า จะต้องไม่นิรโทษกรรมให้กับคดีทุจริต คดีที่ทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต และคดีหมิ่นสถาบัน
นายเอนก กล่าวว่า ขณะนี้ นางกาญจนรัตน์ ลีวิโรจน์ ประธานอนุกรรมาธิการยกร่างบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ได้รวบรวมข้อเสนอของภาคส่วนต่างๆ เขียนออกมาเป็นรายมาตรา เพื่อให้มีกรอบของกฎหมายมากขึ้น แต่ยังรับฟังความเห็นไปเรื่อยๆ จนถึงกลางเดือนเมษายน จะรับฟังความเห็นจากฝ่ายต่างๆ อีกรอบ ทั้งจาก สปช. สนช. คสช. ครม. และเอามาปรับแก้ ภายใน 2 เดือน จึงส่งกลับไปขอความเห็นชอบจากสปช.เพื่อให้ความเห็นชอบ ซึ่งหากเห็นชอบก็ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไป.
**"นิพิฏฐ์"ค้านสุดลิ่มเลือกนายกฯตรง
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รู้สึกแปลกใจที่แกนนำคนเสื้อแดง ต่างปิดปากเงียบไม่แสดงความเห็นต่อระบบการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง เพราะหากมีการเสนอเรื่องนี้มาจากคนเสื้อแดง เชื่อว่าป่านนี้ร้อนฉ่าไปทั้งประเทศแล้ว เพราะการเลือกตั้งผู้บริหารประเทศโดยตรง เหมือนกับการปกครองในระบอบประธานาธิบดี ซึ่งในระบอบที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะไม่นำระบอบประธานาธิบดีมาใช้ แต่บังเอิญเรื่องนี้ออกมาจากปากของ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ แต่ที่แปลกหนักไปอีกคือ ออกมาจากที่ประชุมอธิการบดี เรื่องนี้จึงลดความร้อนแรงไปมาก
"ในยุคที่บ้านเมืองแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย คนมักจะมืดบอดด้วยสติปัญญา หากพวกเดียวกันพูด ก็ถูกหมดโดยไม่ต้องดูเหตุผลกัน หากคนที่ไม่ใช่พวกเดียวกัน เพียงอ้าปากจะพูดก็ผิดแล้ว หลักพุทธศาสนาเรื่องกาลามสูตรนี่ ไม่ต้องนำมาใช้กันเลยในประเทศไทยเวลานี้ คนไทยนี่ก็แปลกเวลาจนปัญญากับการแก้ปัญหายาม้า ก็เปลี่ยน"ยาม้า" เป็น "ยาบ้า" ถือว่ายาม้าหมดไปจากเมืองไทยแล้ว ครั้นเวลาจะเอาระบอบประธานาธิบดีมาใช้ ก็เปลี่ยนเป็นว่า นำระบอบเลือกตั้งนายกฯโดยตรงมาใช้ คนก็งงๆ อยู่ไม่ค้าน แต่กลับเห็นดีเห็นงามไปด้วย ใครจะเอาระบอบนี้ก็เอาไปเถอะ ผมจะค้านจนคนสุดท้าย" นายนิพิฏฐ์ กล่าว
**เด็ก-เยาวชนสนใจปฏิรูป
นายมีชัย วีระไวทยะ คณะกรรมาธิการ(กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ และประธานอนุ กมธ.ขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยและจัดทำรัฐธรรมนูญเพื่ออนาคตที่ดีกว่า เปิดเผยว่า หลังจากที่ อนุกมธ.ขับเคลื่อนเยาวชนฯ เปิดให้เด็กและเยาวชนส่งความเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศและการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผ่านช่องทางตู้ปณ.111 ปณฝ.รัฐสภา กทม.10305 และทางอีเมล์
youth.opinion@parliament.go.th ผลปรากฏว่า เด็กและเยาวชนให้การตอบรับเป็นอย่างดี ทยอยส่งความคิดเห็นเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความเห็นที่เสนอมานั้น มีทั้งข้อเสนอด้านการศึกษาและการเมือง โดยประเด็นด้านการศึกษา จะพบว่าเด็กและเยาวชนสะท้อนว่าอยากเห็นการเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษามีความเท่าเทียมกัน กระจายครูออกสู่ชนบท ระบบเส้นสาย พรรคพวก ตั้งแต่การเข้าเรียนไปจนถึงการเข้าทำงานต้องไม่มี หลักสูตรการเรียนการสอนใน 8 กลุ่มสาระ ควรเน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก เน้นการปฏิบัติมากกว่าการท่องจำ เน้นความรู้ที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ รวมทั้งต้องพัฒนาระบบเทคโนโลยี และปฏิรูประบบการเข้าศึกษาต่อทุกระดับให้เกิดการกระจาย โอกาสอย่างเป็นธรรม
ส่วนประเด็นทางการเมือง จะพบว่าเด็กและเยาวชนอยากให้พรรคการเมืองไทยให้ความสำคัญกับประชาชน ไม่ละเมิดสิทธิประชาชน เป็นผู้นำที่ดี รับฟังความเห็นประชาชน พูดจริงทำจริงไม่คอร์รัปชัน รวมทั้งอยากเห็นนักการเมืองหน้าใหม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง และอยากให้รัฐบาลยึดมั่นเสนอข่าวนโยบายแนวทางพัฒนาประเทศ ทำสิ่งดีๆ ให้ประชาชน ออกมาเสนอข่าวว่าทำสิ่งใดให้ประชาชนไปแล้วบ้าง
ทั้งนี้ การยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้เสนอความคิดเห็น ดังนั้นใครมีความเห็นอะไร อยากเห็นคนไทยและประเทศไทยดีขึ้นหรือมีทิศทางอย่างไร สามารถส่งความคิดเห็นเข้ามาได้
**"ตือ"ดักคอไม่ร่างรธน.แก้แค้นใคร
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีตสมาชิกบ้านเลขที่ 109 กล่าวถึง กรณีข้อเสนอของคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ที่จะเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.)ไม่ให้ผู้เคยต้องคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และกระทำการทุจริตประพฤติมิชอบ เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองเด็ดขาดว่า ขณะนี้ยังไม่ขอวิจารณ์ เพราะอยู่ในชั้นเสนอความเห็นหลากหลายที่ยังไม่ตกผลึก ถ้าพูดไปก่อนเกรงจะเสียรังวัด ส่วนจะกระทบ หรือเอาผิดซ้ำอดีตสมาชิกบ้านเลขที่ 109 หรือ 111 หรือไม่ ก็ยังพูดตอนนี้ไม่ได้เช่นกัน แต่ส่วนตัวเชื่อว่า จุดมุ่งหมายของสปช. คงต้องการร่างฉบับประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่มากลั่นแกล้งหรือแก้แค้นใคร
อย่างไรก็ตาม เมื่อสมาชิกอภิปรายครบถ้วนแล้ว จะให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่เข้าร่วมประชุมสปช.ด้วย ได้ชี้แจง ก่อนที่ที่ประชุมสปช. จะลงมติว่า จะส่งความเห็นของคณะกรรมาธิการปฏิรูป 18 ด้าน ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งตนเชื่อว่าจะมีการลงมติเห็นชอบ แต่จะไม่มีการลงมติเห็นชอบ ข้อเสนอเป็นรายประเด็น
ส่วนประเด็นที่สปช. มีการท้วงติงความเห็นของคณะกรรมาธิการปฏิรูปหลากหลาย จะมีการแนบข้อสังเกตของสมาชิกประกอบไว้ในรายงาน ที่ส่งให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย
**คาดไม่รับเลือกนายกฯ-ครม.ตรง
นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานอนุกรรมาธิการว่าด้วยการปฏิรูป และการสร้างความปรองดอง และกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ขณะนี้กมธ.ยกร่างฯ ได้พิจารณาข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมาธิการสารัตถะที่รับฟังความเห็นจากฝ่ายต่างๆ และประมวลออกมาเป็นข้อมูลในการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว เหลือเพียงชุดที่ 9 คือ คณะปฏิรูปที่จะขอฟังความเห็นจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ 15-17 ธ.ค.นี้ ก่อน
ทั้งนี้ ส่วนใหญ่เห็นชอบกับข้อเสนอของอนุกรรมาธิการสารัตถะในเบื้องต้น โดยเฉพาะ หมวด 1 ระบบผู้แทนที่ดี และผู้นำการเมืองที่ดี และคณะรัฐมนตรี ที่มีนายสุจิต บุญบงการ เป็นประธาน และเสนอให้มี 2 สภา โดยสภาผู้แทนราษฎร มีส.ส.เขต และส.ส.บัญชีรายชื่อ แต่เปลี่ยนการนับคะแนนใหม่ ยึดแบบเยอรมันที่ให้นำคะแนนส.ส.เขตไปคำนวณเป็นคะแนนนิยมสำหรับบัญชีรายชื่อ และที่มาของนายกรัฐมนตรี ให้มาจากการเลือกในสภา แต่สามารถมีบัญชีรายชื่อ คณะรัฐมนตรีแสดงเพื่อหาเสียงได้
อย่างไรก็ตามได้มีการหยิบยกของเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองของสปช. ที่มี นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธานมาพูดคุย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีโดยตรง ซึ่งฟังดูแล้วส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะเท่ากับเป็นการเปลี่ยนระบบรัฐสภา เป็นระบบอื่น อย่างไรก็ตามในการประชุมร่วมกับ สปช. ในวันที่ 15-17 ธ.ค.นี้ ก็จะได้รับฟังเหตุผล และในส่วนของกรรมาธิการยกร่างฯก็อาจจะมีการแสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้
"เรื่องการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง เท่าที่ฟังดูในคณะกรรมาธิการยกร่างฯ เห็นว่าไม่น่าจะรับ เพราะเท่ากับเราจะเปลี่ยนระบบรัฐสภา เป็นระบบอื่น ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก และคิดว่าไม่น่าจะผลีผลาม ไม่อย่างนั้นเราต้องมีธรรมเนียมประเพณีใหม่" นายเอนก กล่าว
**ประเด็นร้อนนิรโทษ-ปรองดอง
สำหรับข้อเสนอของคณะอนุกรรมาธิการฯ ปรองดองนั้น เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปรองดอง ซึ่งได้เสนอว่า การจะปรองดองได้ควรต้องมีความเข้าใจ และให้อภัยกัน จึงได้เสนอเรื่องการนิรโทษกรรม แต่ก็มีเสียงในกมธ.ยกร่าง ที่เตือนว่า อย่าเขียนนิรโทษกรรมจนสุดขั้ว จนเกิดปัญหาความ ร้าวฉานเหมือนในอดีต
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า เรื่องความปรองดองเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และการนิรโทษกรรม ต้องทำในจังหวะเวลาที่เหมาะสม ต้องดูความรู้สึก และอารมณ์ของคนในขณะนั้น ซึ่งไม่ติดใจว่าจะระบุไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะสามารถออกเป็นพ.ร.บ. หรือออกเป็นประกาศ ก็ได้ ซึ่งในอดีตก็เคยทำมา แต่อนุกรรมาธิการฯปรองดอง ได้ยืนยันในหลักการว่า จะต้องไม่นิรโทษกรรมให้กับคดีทุจริต คดีที่ทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต และคดีหมิ่นสถาบัน
นายเอนก กล่าวว่า ขณะนี้ นางกาญจนรัตน์ ลีวิโรจน์ ประธานอนุกรรมาธิการยกร่างบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ได้รวบรวมข้อเสนอของภาคส่วนต่างๆ เขียนออกมาเป็นรายมาตรา เพื่อให้มีกรอบของกฎหมายมากขึ้น แต่ยังรับฟังความเห็นไปเรื่อยๆ จนถึงกลางเดือนเมษายน จะรับฟังความเห็นจากฝ่ายต่างๆ อีกรอบ ทั้งจาก สปช. สนช. คสช. ครม. และเอามาปรับแก้ ภายใน 2 เดือน จึงส่งกลับไปขอความเห็นชอบจากสปช.เพื่อให้ความเห็นชอบ ซึ่งหากเห็นชอบก็ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไป.
**"นิพิฏฐ์"ค้านสุดลิ่มเลือกนายกฯตรง
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รู้สึกแปลกใจที่แกนนำคนเสื้อแดง ต่างปิดปากเงียบไม่แสดงความเห็นต่อระบบการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง เพราะหากมีการเสนอเรื่องนี้มาจากคนเสื้อแดง เชื่อว่าป่านนี้ร้อนฉ่าไปทั้งประเทศแล้ว เพราะการเลือกตั้งผู้บริหารประเทศโดยตรง เหมือนกับการปกครองในระบอบประธานาธิบดี ซึ่งในระบอบที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะไม่นำระบอบประธานาธิบดีมาใช้ แต่บังเอิญเรื่องนี้ออกมาจากปากของ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ แต่ที่แปลกหนักไปอีกคือ ออกมาจากที่ประชุมอธิการบดี เรื่องนี้จึงลดความร้อนแรงไปมาก
"ในยุคที่บ้านเมืองแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย คนมักจะมืดบอดด้วยสติปัญญา หากพวกเดียวกันพูด ก็ถูกหมดโดยไม่ต้องดูเหตุผลกัน หากคนที่ไม่ใช่พวกเดียวกัน เพียงอ้าปากจะพูดก็ผิดแล้ว หลักพุทธศาสนาเรื่องกาลามสูตรนี่ ไม่ต้องนำมาใช้กันเลยในประเทศไทยเวลานี้ คนไทยนี่ก็แปลกเวลาจนปัญญากับการแก้ปัญหายาม้า ก็เปลี่ยน"ยาม้า" เป็น "ยาบ้า" ถือว่ายาม้าหมดไปจากเมืองไทยแล้ว ครั้นเวลาจะเอาระบอบประธานาธิบดีมาใช้ ก็เปลี่ยนเป็นว่า นำระบอบเลือกตั้งนายกฯโดยตรงมาใช้ คนก็งงๆ อยู่ไม่ค้าน แต่กลับเห็นดีเห็นงามไปด้วย ใครจะเอาระบอบนี้ก็เอาไปเถอะ ผมจะค้านจนคนสุดท้าย" นายนิพิฏฐ์ กล่าว
**เด็ก-เยาวชนสนใจปฏิรูป
นายมีชัย วีระไวทยะ คณะกรรมาธิการ(กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ และประธานอนุ กมธ.ขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยและจัดทำรัฐธรรมนูญเพื่ออนาคตที่ดีกว่า เปิดเผยว่า หลังจากที่ อนุกมธ.ขับเคลื่อนเยาวชนฯ เปิดให้เด็กและเยาวชนส่งความเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศและการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผ่านช่องทางตู้ปณ.111 ปณฝ.รัฐสภา กทม.10305 และทางอีเมล์
youth.opinion@parliament.go.th ผลปรากฏว่า เด็กและเยาวชนให้การตอบรับเป็นอย่างดี ทยอยส่งความคิดเห็นเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความเห็นที่เสนอมานั้น มีทั้งข้อเสนอด้านการศึกษาและการเมือง โดยประเด็นด้านการศึกษา จะพบว่าเด็กและเยาวชนสะท้อนว่าอยากเห็นการเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษามีความเท่าเทียมกัน กระจายครูออกสู่ชนบท ระบบเส้นสาย พรรคพวก ตั้งแต่การเข้าเรียนไปจนถึงการเข้าทำงานต้องไม่มี หลักสูตรการเรียนการสอนใน 8 กลุ่มสาระ ควรเน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก เน้นการปฏิบัติมากกว่าการท่องจำ เน้นความรู้ที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ รวมทั้งต้องพัฒนาระบบเทคโนโลยี และปฏิรูประบบการเข้าศึกษาต่อทุกระดับให้เกิดการกระจาย โอกาสอย่างเป็นธรรม
ส่วนประเด็นทางการเมือง จะพบว่าเด็กและเยาวชนอยากให้พรรคการเมืองไทยให้ความสำคัญกับประชาชน ไม่ละเมิดสิทธิประชาชน เป็นผู้นำที่ดี รับฟังความเห็นประชาชน พูดจริงทำจริงไม่คอร์รัปชัน รวมทั้งอยากเห็นนักการเมืองหน้าใหม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง และอยากให้รัฐบาลยึดมั่นเสนอข่าวนโยบายแนวทางพัฒนาประเทศ ทำสิ่งดีๆ ให้ประชาชน ออกมาเสนอข่าวว่าทำสิ่งใดให้ประชาชนไปแล้วบ้าง
ทั้งนี้ การยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้เสนอความคิดเห็น ดังนั้นใครมีความเห็นอะไร อยากเห็นคนไทยและประเทศไทยดีขึ้นหรือมีทิศทางอย่างไร สามารถส่งความคิดเห็นเข้ามาได้
**"ตือ"ดักคอไม่ร่างรธน.แก้แค้นใคร
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีตสมาชิกบ้านเลขที่ 109 กล่าวถึง กรณีข้อเสนอของคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ที่จะเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.)ไม่ให้ผู้เคยต้องคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และกระทำการทุจริตประพฤติมิชอบ เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองเด็ดขาดว่า ขณะนี้ยังไม่ขอวิจารณ์ เพราะอยู่ในชั้นเสนอความเห็นหลากหลายที่ยังไม่ตกผลึก ถ้าพูดไปก่อนเกรงจะเสียรังวัด ส่วนจะกระทบ หรือเอาผิดซ้ำอดีตสมาชิกบ้านเลขที่ 109 หรือ 111 หรือไม่ ก็ยังพูดตอนนี้ไม่ได้เช่นกัน แต่ส่วนตัวเชื่อว่า จุดมุ่งหมายของสปช. คงต้องการร่างฉบับประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่มากลั่นแกล้งหรือแก้แค้นใคร