คำนำ
ผมได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการด้านพลังงาน ในสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ให้ไปให้ข้อมูลเรื่อง โซลาร์เซลล์บนหลังคา (Solar Rooftop) ต่อคณะอนุกรรมการชุดหนึ่งเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2557 ในจดหมายเชิญดังกล่าวได้ขอให้ผมเตรียมเอกสารประกอบการชี้แจงจำนวน 30 ชุดด้วย
ผมรู้สึกดีใจมากและใช้เวลาเตรียมเอกสารความยาว 12 หน้าอยู่นานพอสมควร ผมใช้เวลาในการนำเสนออย่างค่อนข้างจะรีบร้อนเพราะใกล้เวลาอาหารเที่ยงแล้ว ทั้งการซักถามและการนำเสนอนานประมาณ 50 นาที ทันทีที่ผมนำเสนอจบ ท่านรองประธานก็เสนอให้ผมเป็นที่ปรึกษาคณะอนุฯ ทันที
ที่เล่ามานี้ผมไม่ได้โม้! เพียงแค่นำความจริงมาเล่าให้ท่านผู้อ่านทราบว่า “เรื่องที่ผมนำเสนอนั้นไม่ธรรมดาจริงๆ!”
ก่อนที่จะแยกย้ายจากกันเมื่อเวลาประมาณเที่ยงครึ่ง ท่านรองประธานคนเดิมได้เดินมาพูดกับผมว่า “เราอาจจะต้องไปชี้แจงใน ครม.การชี้แจงใน ครม.ต้องการคนที่นำเสนอแบบอาจารย์นี่แหละ จั๊วะๆ เห็นภาพเลย”
คิดดูซิ ถ้าผมไม่นำมาเล่าต่อแล้วจะให้ผมเก็บไว้คนเดียวเหรอ!
เนื่องจากเอกสารยาวเกินไป จึงได้แบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยมีการดัดแปลงเพียงเล็กน้อย
ส่วนที่ 1 มายาคติกับความจริง
จริยธรรมในการให้ข้อมูลคือการนำเสนอความจริงและการชี้ให้เห็นมายาคติที่เกี่ยวข้อง ในที่นี้ผมจะขอนำเสนอเป็นข้อๆ โดยย่อๆ ดังต่อไปนี้
มายาคติ
(1) พลังงานหมุนเวียนมีไม่มากพอกับความต้องการ เป็นได้แค่อาหารเสริม ไม่สามารถเป็นอาหารหลักได้
(2) พลังงานจากโซลาร์เซลล์มีต้นทุนสูง คนไทยยังไม่พร้อมจะจ่ายค่าไฟฟ้าแพงๆ
(3) แสงอาทิตย์ไม่มีความมั่นคง คาดหมายไม่ได้ เวลากลางคืนไม่มีดวงอาทิตย์จะเอาไฟฟ้าที่ไหนใช้
พร้อมกันนี้จะนำเสนอหลักการและมาตรการเชิงนโยบายและกฎหมายของบางประเทศที่ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์ รวมทั้งตัวอย่างดีๆ ที่ได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย
มายาคติ:“พลังงานหมุนเวียนมีไม่มากพอ เป็นได้แค่อาหารเสริม ไม่สามารถเป็นอาหารหลักได้”
เป็นความจริงอยู่ว่า การผลิตและการส่งกระแสไฟฟ้ามีรายละเอียดที่ซับซ้อนที่จำเป็นต้องคำนึงถึง แต่ในแง่ของปริมาณพบว่า ในปี 2556 ประเทศเยอรมนีสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ถึง 147,100 ล้านหน่วย ในขณะที่ประเทศไทยใช้ไฟฟ้าทั้งหมดรวมกัน 164,340ล้านหน่วยซึ่งมากกว่าที่ชาวเยอรมันผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
กล่าวเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งๆ ที่ประเทศเยอรมนีมีความเข้มของแสงแดดต่อพื้นที่หนึ่งตารางเมตรประมาณ 60% ของประเทศไทย แต่สามารถผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ในปี 2556 ได้ถึง 29,300 ล้านหน่วย ซึ่งพลังงานไฟฟ้านี้มีมากกว่าที่คนไทยใน 17 จังหวัดภาคเหนือและ 20 จังหวัดภาคอีสานใช้รวมกัน (ดูรายละเอียดพร้อมแหล่งข้อมูลจากแผ่นภาพ)
ปริมาณการผลิตดังกล่าวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยที่ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2557 การผลิตจากโซลาร์เซลล์ได้เพิ่มเป็น 31,500 ล้านหน่วย หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 7.1%
และเพื่อให้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนขึ้นพบว่า การผลิตจากพลังงานฟอสซิลทุกชนิดกลับลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากก๊าซธรรมชาติได้ลดลงถึง 19.5% (ดังแผ่นภาพพร้อมแหล่งอ้างอิง)
ประเด็นที่น่าสนใจและขอตั้งเป็นคำถามไว้ก่อนพิจารณาจากภาพแรก ในช่วงแรกๆ (ค.ศ 1990 ถึง 1999) การเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียนเป็นไปอย่างเชื่องช้า มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5.3 ของไฟฟ้าทั้งหมด ในปี 1999 แต่ทำไมหรือมีปัจจัยใดที่ในปี 2013 สัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในภาคไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.7 ของไฟฟ้าทั้งหมดในจำนวนนี้มาจากโซลาร์เซลล์ 5.3%
อนึ่ง จากกฎหมายที่ชื่อ “กฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิต่อแหล่งพลังงานหมุนเวียนก่อน” (Act on Granting Priority to Renewable Energy Sources) ซึ่งประกาศใช้ในปี 2000 ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าให้ได้อย่างน้อย 30% ภายในปี ค.ศ. 2020 และให้เพิ่มขึ้นมากกว่านี้อย่างต่อเนื่องในปีต่อๆ ไป
ในขณะที่พรรคการเมืองก็มีการแข่งขันกันในเชิงนโยบาย โดยกำหนดเป้าหมายให้สูงกว่าที่กฎหมายกำหนดกล่าวคือ พรรคร่วมรัฐบาลในปัจจุบัน (ซึ่งเป็นพรรคที่ค่อนข้างไปทางอนุรักษนิยม) พรรคสังคมประชาธิปไตยและพรรคกรีนและพันธมิตร ได้ตั้งเป้าไว้สูงกว่าที่ 35%, 45% และ 75% ตามลำดับ
และในอีก 10 ปีถัดไป คือปี 2030 พรรคร่วมรัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายต่ำที่สุดในบรรดาทุกพรรคไว้ที่ 50% ในขณะที่พรรคกรีนและพันธมิตร (ซึ่งเป็นพรรคที่ก้าวหน้าด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) ได้ตั้งไว้ถึง 100% เลยทีเดียว
จากสถิติที่สามารถทำได้จริงแล้ว จากเป้าหมายในกฎหมายและจากการชูนโยบายเพื่อการแข่งขันกันของแต่ละพรรคการเมือง ตลอดจนความจริงทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เราเชื่อได้ว่า มายาคติที่ว่า “พลังงานหมุนเวียนเป็นได้แค่อาหารเสริม ไม่สามารถเป็นอาหารหลักได้” ก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
ขอเพิ่มเติมอีกนิดว่า ศาสตราจารย์พอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลถึงกับได้สารภาพว่า “…ผมเคยคิดว่า ความคิดที่จะนำพลังงานลมและแสงแดดให้มามีบทบาทสำคัญนั้นเป็นความคิดแบบสติเฟื่องของพวกฮิปปี้ (hippy-dippy wishful thinking)…แต่ผมคิดผิด”1
มายาคติ : พลังงานจากโซลาร์เซลมีต้นทุนสูง คนไทยยังไม่พร้อมจะจ่ายค่าไฟฟ้าแพง
ความเชื่อดังกล่าวเคยเป็นความจริงเมื่อประมาณ 6-7 ปีมาแล้ว แต่ในปัจจุบันนี้ (2557) ได้เปลี่ยนไปแล้ว
ราคาแผงโซลาร์เซลล์ (ชนิด Polysilicon) ในสหรัฐอเมริกาของปี 2555ได้ลดลงมาเหลือแค่ 1% ของเมื่อ 35 ปีก่อน และถ้านับเฉพาะในช่วง 4 ปีหลังสุดคือจากปี 2551 จนถึง 2554 ราคาแผงโซลาร์เซลล์ได้ลดลง 24%2
ถ้าต้องการจะเปรียบเทียบราคาค่าไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์กับการผลิตจากเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ ก็พบว่า ราคาค่าไฟฟ้าภายในประเทศเยอรมนี (กราฟเส้นหมายเลข 6 ซึ่งเคยมีราคาถูกแต่เพิ่มขึ้นทุกปี) กับราคาค่าไฟฟ้าจากหลังคา (กราฟเส้นหมายเลข 2 ซึ่งเคยมีราคาแพงแต่ลดลงอย่างรวดเร็ว) ได้มีราคาเท่ากันแล้วตั้งแต่ในปี 2012 (ดังแสดงในกราฟ) และคาดหมายว่านับจากนี้เป็นต้นไปราคาค่าไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์จะลดลงอีก
สำหรับในสหรัฐอเมริกาซึ่งความเข้มของพลังงานแสงแดดสูงกว่าเยอรมนี (แต่ต่ำกว่าประเทศไทยเล็กน้อย และมีต้นทุนการติดตั้งระบบแผงโซลาร์เซลล์มากกว่าเยอรมนีถึงประมาณ 2.5 เท่า) จากภาพข้างล่างพบว่า ในปี 2554 ราคาไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านเท่ากับ 9.75 บาทต่อหน่วย ในขณะที่ในเมืองนิวยอร์กราคาไฟฟ้าจากระบบสายส่งเท่ากับ 5.53 บาท (ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย, โดย 32.5 บาท= 1 ดอลลาร์)
อนึ่ง ระบบแผงโซลาร์เซลล์ไม่ได้ประกอบด้วยแผงที่เราเห็นบนหลังคาเพียงอย่างเดียว แต่ยังประกอบด้วยอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ตัวแปลงกระแสไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับ (Invertor) ตัวตรวจสอบระบบ และอื่นๆ ดังรูป
ต้นทุนการติดตั้งในแต่ละประเทศกันแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับค่าแรง ระบบภาษีซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลและอื่นๆ
ข้อมูลในแผ่นภาพข้างล่างนี้ แสดงถึงการเปรียบเทียบราคาของระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านของ 3 ประเทศ คือ เยอรมนี ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา (กราฟซ้ายมือ) สิ่งที่น่าสนใจก็คือในประเทศเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุดในโลก ราคาระบบโซลาร์เซลล์อยู่ที่ประมาณ 40% ของราคาในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
มายาคติ : แสงอาทิตย์ไม่มีความมั่นคง คาดหมายไม่ได้ เวลากลางคืนไม่มีดวงอาทิตย์จะเอาไฟฟ้าที่ไหนใช้
คำว่า “ความมั่นคง” ในความเห็นของผมแล้ว เป็นคำที่มีความหมายไม่ชัดเจน แต่ไม่ว่าจะใช้ความหมายใด พระอาทิตย์ต้องมีความมั่นคงมากกว่าโลกอย่างแน่นอน เพราะพลังงานทั้งหมดของโลกมีต้นกำเนิดมาจากพระอาทิตย์หรือแสงแดดเพียงอย่างเดียว จึงไม่ขอกล่าวถึงในประเด็นนี้
ประเด็นที่ว่า “แสงอาทิตย์คาดหมายล่วงหน้าไม่ได้” ทำให้เกิดความยุ่งยากในการวางแผนการผลิตไฟฟ้าจากการศึกษาของประเทศเยอรมนีพบว่า มายาคติดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะเมื่อมนุษย์สามารถพยากรณ์อากาศได้ ก็ย่อมสามารถพยากรณ์แสงแดดและลมได้นั่นเอง (ดังกราฟในแผ่นภาพ)
จากกราฟล่างของแผนภาพ (ซึ่งเป็นการผลิตจริง) พบว่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงชนิดอื่นที่มีขนาดมากกว่า 100 เมกะวัตต์ เกือบจะคงที่ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งหมายความนอกจากจะทำให้เกิดความง่ายในการผลิตแล้ว ยังไม่ต้องเตรียมโรงไฟฟ้าไว้ใช้ในช่วง peak ของวัน (ซึ่งในปีหนึ่งๆ ทำงานไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น) โดยใช้ไฟฟ้าจากหลังคาบ้านของตนเองหรือบ้านใกล้ๆ นั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจมากๆ ของการใช้โซลาร์เซลล์ก็คือ การลดความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในช่วงเวลากลางวัน
จากการศึกษาของ Australia Energy Market Operator พบว่า ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของรัฐออสเตรเลียใต้ในช่วงปี 2008 ถึง 2013 ได้ลดลง 15% ในขณะที่ความต้องการไฟฟ้าในเวลากลางคืนของปีหลังสุดสูงกว่าของปี 2008 ซึ่งเป็นผลมาจากการติดโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านทุก 1 ใน 5 หลังจำนวน 267 เมกะวัตต์พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์มีสัดส่วนประมาณ 2.4% ในปี 2556
สำหรับมายาคติเรื่อง “เวลากลางคืนไม่มีดวงอาทิตย์จะเอาไฟฟ้าที่ไหนใช้” จะไม่ขอลงรายละเอียดในที่นี้ เพราะ “นอกประเด็น” เล็กน้อย แต่ขอเรียนว่าในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า Solar Thermal Power Plant ที่ใช้กระจกรวมแสงเพื่อต้มน้ำซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ติดต่อกันหลายวัน แต่ต้นทุนอาจจะยังสูงอยู่
สัปดาห์หน้าค่อยมาต่อตอนที่สองนะครับ
---------------------------------------------------------------------
1จากบทความชื่อ “Salvation Gets Cheap” โดยPaul Krugmanใน“The New York Times” เมื่อ 17 เมษายน 2557
2จากรายงานเรื่อง “Revolution Now : The Future Arrives for Four Clean Energy Technologies” โดย Department of Energy สหรัฐอเมริกา, กันยายน 2013
ผมได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการด้านพลังงาน ในสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ให้ไปให้ข้อมูลเรื่อง โซลาร์เซลล์บนหลังคา (Solar Rooftop) ต่อคณะอนุกรรมการชุดหนึ่งเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2557 ในจดหมายเชิญดังกล่าวได้ขอให้ผมเตรียมเอกสารประกอบการชี้แจงจำนวน 30 ชุดด้วย
ผมรู้สึกดีใจมากและใช้เวลาเตรียมเอกสารความยาว 12 หน้าอยู่นานพอสมควร ผมใช้เวลาในการนำเสนออย่างค่อนข้างจะรีบร้อนเพราะใกล้เวลาอาหารเที่ยงแล้ว ทั้งการซักถามและการนำเสนอนานประมาณ 50 นาที ทันทีที่ผมนำเสนอจบ ท่านรองประธานก็เสนอให้ผมเป็นที่ปรึกษาคณะอนุฯ ทันที
ที่เล่ามานี้ผมไม่ได้โม้! เพียงแค่นำความจริงมาเล่าให้ท่านผู้อ่านทราบว่า “เรื่องที่ผมนำเสนอนั้นไม่ธรรมดาจริงๆ!”
ก่อนที่จะแยกย้ายจากกันเมื่อเวลาประมาณเที่ยงครึ่ง ท่านรองประธานคนเดิมได้เดินมาพูดกับผมว่า “เราอาจจะต้องไปชี้แจงใน ครม.การชี้แจงใน ครม.ต้องการคนที่นำเสนอแบบอาจารย์นี่แหละ จั๊วะๆ เห็นภาพเลย”
คิดดูซิ ถ้าผมไม่นำมาเล่าต่อแล้วจะให้ผมเก็บไว้คนเดียวเหรอ!
เนื่องจากเอกสารยาวเกินไป จึงได้แบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยมีการดัดแปลงเพียงเล็กน้อย
ส่วนที่ 1 มายาคติกับความจริง
จริยธรรมในการให้ข้อมูลคือการนำเสนอความจริงและการชี้ให้เห็นมายาคติที่เกี่ยวข้อง ในที่นี้ผมจะขอนำเสนอเป็นข้อๆ โดยย่อๆ ดังต่อไปนี้
มายาคติ
(1) พลังงานหมุนเวียนมีไม่มากพอกับความต้องการ เป็นได้แค่อาหารเสริม ไม่สามารถเป็นอาหารหลักได้
(2) พลังงานจากโซลาร์เซลล์มีต้นทุนสูง คนไทยยังไม่พร้อมจะจ่ายค่าไฟฟ้าแพงๆ
(3) แสงอาทิตย์ไม่มีความมั่นคง คาดหมายไม่ได้ เวลากลางคืนไม่มีดวงอาทิตย์จะเอาไฟฟ้าที่ไหนใช้
พร้อมกันนี้จะนำเสนอหลักการและมาตรการเชิงนโยบายและกฎหมายของบางประเทศที่ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์ รวมทั้งตัวอย่างดีๆ ที่ได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย
มายาคติ:“พลังงานหมุนเวียนมีไม่มากพอ เป็นได้แค่อาหารเสริม ไม่สามารถเป็นอาหารหลักได้”
เป็นความจริงอยู่ว่า การผลิตและการส่งกระแสไฟฟ้ามีรายละเอียดที่ซับซ้อนที่จำเป็นต้องคำนึงถึง แต่ในแง่ของปริมาณพบว่า ในปี 2556 ประเทศเยอรมนีสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ถึง 147,100 ล้านหน่วย ในขณะที่ประเทศไทยใช้ไฟฟ้าทั้งหมดรวมกัน 164,340ล้านหน่วยซึ่งมากกว่าที่ชาวเยอรมันผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
กล่าวเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งๆ ที่ประเทศเยอรมนีมีความเข้มของแสงแดดต่อพื้นที่หนึ่งตารางเมตรประมาณ 60% ของประเทศไทย แต่สามารถผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ในปี 2556 ได้ถึง 29,300 ล้านหน่วย ซึ่งพลังงานไฟฟ้านี้มีมากกว่าที่คนไทยใน 17 จังหวัดภาคเหนือและ 20 จังหวัดภาคอีสานใช้รวมกัน (ดูรายละเอียดพร้อมแหล่งข้อมูลจากแผ่นภาพ)
ปริมาณการผลิตดังกล่าวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยที่ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2557 การผลิตจากโซลาร์เซลล์ได้เพิ่มเป็น 31,500 ล้านหน่วย หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 7.1%
และเพื่อให้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนขึ้นพบว่า การผลิตจากพลังงานฟอสซิลทุกชนิดกลับลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากก๊าซธรรมชาติได้ลดลงถึง 19.5% (ดังแผ่นภาพพร้อมแหล่งอ้างอิง)
ประเด็นที่น่าสนใจและขอตั้งเป็นคำถามไว้ก่อนพิจารณาจากภาพแรก ในช่วงแรกๆ (ค.ศ 1990 ถึง 1999) การเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียนเป็นไปอย่างเชื่องช้า มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5.3 ของไฟฟ้าทั้งหมด ในปี 1999 แต่ทำไมหรือมีปัจจัยใดที่ในปี 2013 สัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในภาคไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.7 ของไฟฟ้าทั้งหมดในจำนวนนี้มาจากโซลาร์เซลล์ 5.3%
อนึ่ง จากกฎหมายที่ชื่อ “กฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิต่อแหล่งพลังงานหมุนเวียนก่อน” (Act on Granting Priority to Renewable Energy Sources) ซึ่งประกาศใช้ในปี 2000 ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าให้ได้อย่างน้อย 30% ภายในปี ค.ศ. 2020 และให้เพิ่มขึ้นมากกว่านี้อย่างต่อเนื่องในปีต่อๆ ไป
ในขณะที่พรรคการเมืองก็มีการแข่งขันกันในเชิงนโยบาย โดยกำหนดเป้าหมายให้สูงกว่าที่กฎหมายกำหนดกล่าวคือ พรรคร่วมรัฐบาลในปัจจุบัน (ซึ่งเป็นพรรคที่ค่อนข้างไปทางอนุรักษนิยม) พรรคสังคมประชาธิปไตยและพรรคกรีนและพันธมิตร ได้ตั้งเป้าไว้สูงกว่าที่ 35%, 45% และ 75% ตามลำดับ
และในอีก 10 ปีถัดไป คือปี 2030 พรรคร่วมรัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายต่ำที่สุดในบรรดาทุกพรรคไว้ที่ 50% ในขณะที่พรรคกรีนและพันธมิตร (ซึ่งเป็นพรรคที่ก้าวหน้าด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) ได้ตั้งไว้ถึง 100% เลยทีเดียว
จากสถิติที่สามารถทำได้จริงแล้ว จากเป้าหมายในกฎหมายและจากการชูนโยบายเพื่อการแข่งขันกันของแต่ละพรรคการเมือง ตลอดจนความจริงทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เราเชื่อได้ว่า มายาคติที่ว่า “พลังงานหมุนเวียนเป็นได้แค่อาหารเสริม ไม่สามารถเป็นอาหารหลักได้” ก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
ขอเพิ่มเติมอีกนิดว่า ศาสตราจารย์พอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลถึงกับได้สารภาพว่า “…ผมเคยคิดว่า ความคิดที่จะนำพลังงานลมและแสงแดดให้มามีบทบาทสำคัญนั้นเป็นความคิดแบบสติเฟื่องของพวกฮิปปี้ (hippy-dippy wishful thinking)…แต่ผมคิดผิด”1
มายาคติ : พลังงานจากโซลาร์เซลมีต้นทุนสูง คนไทยยังไม่พร้อมจะจ่ายค่าไฟฟ้าแพง
ความเชื่อดังกล่าวเคยเป็นความจริงเมื่อประมาณ 6-7 ปีมาแล้ว แต่ในปัจจุบันนี้ (2557) ได้เปลี่ยนไปแล้ว
ราคาแผงโซลาร์เซลล์ (ชนิด Polysilicon) ในสหรัฐอเมริกาของปี 2555ได้ลดลงมาเหลือแค่ 1% ของเมื่อ 35 ปีก่อน และถ้านับเฉพาะในช่วง 4 ปีหลังสุดคือจากปี 2551 จนถึง 2554 ราคาแผงโซลาร์เซลล์ได้ลดลง 24%2
ถ้าต้องการจะเปรียบเทียบราคาค่าไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์กับการผลิตจากเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ ก็พบว่า ราคาค่าไฟฟ้าภายในประเทศเยอรมนี (กราฟเส้นหมายเลข 6 ซึ่งเคยมีราคาถูกแต่เพิ่มขึ้นทุกปี) กับราคาค่าไฟฟ้าจากหลังคา (กราฟเส้นหมายเลข 2 ซึ่งเคยมีราคาแพงแต่ลดลงอย่างรวดเร็ว) ได้มีราคาเท่ากันแล้วตั้งแต่ในปี 2012 (ดังแสดงในกราฟ) และคาดหมายว่านับจากนี้เป็นต้นไปราคาค่าไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์จะลดลงอีก
สำหรับในสหรัฐอเมริกาซึ่งความเข้มของพลังงานแสงแดดสูงกว่าเยอรมนี (แต่ต่ำกว่าประเทศไทยเล็กน้อย และมีต้นทุนการติดตั้งระบบแผงโซลาร์เซลล์มากกว่าเยอรมนีถึงประมาณ 2.5 เท่า) จากภาพข้างล่างพบว่า ในปี 2554 ราคาไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านเท่ากับ 9.75 บาทต่อหน่วย ในขณะที่ในเมืองนิวยอร์กราคาไฟฟ้าจากระบบสายส่งเท่ากับ 5.53 บาท (ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย, โดย 32.5 บาท= 1 ดอลลาร์)
อนึ่ง ระบบแผงโซลาร์เซลล์ไม่ได้ประกอบด้วยแผงที่เราเห็นบนหลังคาเพียงอย่างเดียว แต่ยังประกอบด้วยอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ตัวแปลงกระแสไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับ (Invertor) ตัวตรวจสอบระบบ และอื่นๆ ดังรูป
ต้นทุนการติดตั้งในแต่ละประเทศกันแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับค่าแรง ระบบภาษีซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลและอื่นๆ
ข้อมูลในแผ่นภาพข้างล่างนี้ แสดงถึงการเปรียบเทียบราคาของระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านของ 3 ประเทศ คือ เยอรมนี ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา (กราฟซ้ายมือ) สิ่งที่น่าสนใจก็คือในประเทศเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุดในโลก ราคาระบบโซลาร์เซลล์อยู่ที่ประมาณ 40% ของราคาในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
มายาคติ : แสงอาทิตย์ไม่มีความมั่นคง คาดหมายไม่ได้ เวลากลางคืนไม่มีดวงอาทิตย์จะเอาไฟฟ้าที่ไหนใช้
คำว่า “ความมั่นคง” ในความเห็นของผมแล้ว เป็นคำที่มีความหมายไม่ชัดเจน แต่ไม่ว่าจะใช้ความหมายใด พระอาทิตย์ต้องมีความมั่นคงมากกว่าโลกอย่างแน่นอน เพราะพลังงานทั้งหมดของโลกมีต้นกำเนิดมาจากพระอาทิตย์หรือแสงแดดเพียงอย่างเดียว จึงไม่ขอกล่าวถึงในประเด็นนี้
ประเด็นที่ว่า “แสงอาทิตย์คาดหมายล่วงหน้าไม่ได้” ทำให้เกิดความยุ่งยากในการวางแผนการผลิตไฟฟ้าจากการศึกษาของประเทศเยอรมนีพบว่า มายาคติดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะเมื่อมนุษย์สามารถพยากรณ์อากาศได้ ก็ย่อมสามารถพยากรณ์แสงแดดและลมได้นั่นเอง (ดังกราฟในแผ่นภาพ)
จากกราฟล่างของแผนภาพ (ซึ่งเป็นการผลิตจริง) พบว่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงชนิดอื่นที่มีขนาดมากกว่า 100 เมกะวัตต์ เกือบจะคงที่ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งหมายความนอกจากจะทำให้เกิดความง่ายในการผลิตแล้ว ยังไม่ต้องเตรียมโรงไฟฟ้าไว้ใช้ในช่วง peak ของวัน (ซึ่งในปีหนึ่งๆ ทำงานไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น) โดยใช้ไฟฟ้าจากหลังคาบ้านของตนเองหรือบ้านใกล้ๆ นั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจมากๆ ของการใช้โซลาร์เซลล์ก็คือ การลดความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในช่วงเวลากลางวัน
จากการศึกษาของ Australia Energy Market Operator พบว่า ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของรัฐออสเตรเลียใต้ในช่วงปี 2008 ถึง 2013 ได้ลดลง 15% ในขณะที่ความต้องการไฟฟ้าในเวลากลางคืนของปีหลังสุดสูงกว่าของปี 2008 ซึ่งเป็นผลมาจากการติดโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านทุก 1 ใน 5 หลังจำนวน 267 เมกะวัตต์พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์มีสัดส่วนประมาณ 2.4% ในปี 2556
สำหรับมายาคติเรื่อง “เวลากลางคืนไม่มีดวงอาทิตย์จะเอาไฟฟ้าที่ไหนใช้” จะไม่ขอลงรายละเอียดในที่นี้ เพราะ “นอกประเด็น” เล็กน้อย แต่ขอเรียนว่าในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า Solar Thermal Power Plant ที่ใช้กระจกรวมแสงเพื่อต้มน้ำซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ติดต่อกันหลายวัน แต่ต้นทุนอาจจะยังสูงอยู่
สัปดาห์หน้าค่อยมาต่อตอนที่สองนะครับ
---------------------------------------------------------------------
1จากบทความชื่อ “Salvation Gets Cheap” โดยPaul Krugmanใน“The New York Times” เมื่อ 17 เมษายน 2557
2จากรายงานเรื่อง “Revolution Now : The Future Arrives for Four Clean Energy Technologies” โดย Department of Energy สหรัฐอเมริกา, กันยายน 2013