โครงการบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ตั้งอยู่จังหวัดสมุทรปราการ เป็นอีกหนึ่งตำนานการคอร์รัปชันแบบบูรณาการระหว่าง นักการเมือง ข้าราชการระดับสูง และเอกชนผู้รับเหมา ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนถึงการสั่งระงับการก่อสร้างในปี 2546 ผ่านหลายรัฐบาล และหลายพรรคการเมือง จนถึงวันนี้ยังต้องรออ่านหน้าสุดท้ายของตำนานเรื่องนี้
กำเนิดโครงการ
เมษายน 2538 กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ได้ว่าจ้างบริษัท มอนต์โกเมอรี่ วัตสัน เอเชีย จำกัด เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ใช้เวลาศึกษาเกือบสองปี มีการเสนอให้ก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียโดยแบ่งเป็น 2 แห่ง แยกกันในแต่ละฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาของจังหวัดสมุทรปราการ คือ (1) โรงบำบัดน้ำเสียทางฝั่งตะวันออกที่ตำบลบางปูใหม่ ใช้ที่ดิน 1,550 ไร่ รับน้ำเสียจากพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอบางปู และตอนเหนือของอำเภอบางพลี ระบายน้ำเสียที่บำบัดแล้วลงทะเล และ (2) โรงบำบัดน้ำเสียทางฝั่งตะวันตกที่ตำบลคลองบางปลากด ใช้ที่ดิน 350 ไร่ รับน้ำเสียจากพื้นที่อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระประแดง และย่านถนนสุขสวัสดิ์ ระบายน้ำเสียที่บำบัดแล้วลงคลองบางปลากด
ข้อเสนอดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และได้รับความเห็นชอบให้ดำเนินการจากคณะรัฐมนตรี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยงบก่อสร้างประมาณ 13,612 ล้านบาท มาจากงบประมาณแผ่นดิน 7,362 ล้านบาท กองทุนสิ่งแวดล้อม 2,500 ล้านบาท และเงินกู้จากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) 3,750 ล้านบาท ขณะนั้นมีนายยิ่งพันธ์ มนะสิการ เป็น รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (ก.ย. 2538-ต.ค. 2541) เป็นผู้ลงนามในสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมา เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2540 และมีกรมควบคุมมลพิษเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบโครงการ
นักการเมืองผู้หิวโหย
กลุ่มนักการเมืองผู้หิวโหยได้สมคบกันจัดทำโครงการนี้โดยมีการวางแผนทุจริตกันมาล่วงหน้า เริ่มจากการขอความเห็นชอบจาก ครม. ให้ดำเนินการโครงการนี้ในรูปแบบ “เทอร์นคีย์” (turnkey) นั่นคือ ให้ผู้รับเหมาทำหน้าที่ทั้งการออกแบบก่อสร้าง การก่อสร้างซึ่งประกอบด้วยบ่อบำบัดน้ำเสีย ท่อรับน้ำเสีย ท่อส่งน้ำที่บำบัดแล้ว และจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์การบำบัดน้ำเสีย ในขณะที่การเมืองไทยเต็มไปด้วยนักการเมืองผู้หิวโหย การนำรูปแบบเทิร์นคีย์มาใช้ในการก่อสร้างของภาครัฐ ย่อมเปิดช่องให้มีการคอร์รัปชันได้สะดวกง่ายดาย
ดังนั้น กรมควบคุมมลพิษจึงได้เสนอขอความเห็นชอบจาก ครม. ให้ยุบบ่อบำบัดน้ำจากสองแห่งเหลือเพียงแห่งเดียว ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา อีกทั้งย้ายที่ตั้งบ่อบำบัดน้ำเสียจากจุดเดิมคือตำบลบางปูใหม่มาอยู่ที่ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ ห่างจากที่เดิม 20 กิโลเมตร โดยเชื่อมต่อกับฝั่งตะวันตกด้วยการก่อสร้างอุโมงค์บนบกและลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นระยะทาง 120 กิโลเมตร ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ต้องเพิ่มค่าก่อสร้างจากเดิม 13,613 ล้านบาท เป็น 23,701 ล้านบาท เบื้องต้นแยกเป็นค่าก่อสร้างท่อ 14,000 ล้านบาท ค่าที่ดิน 6,000 ล้านบาท บ่อบำบัดน้ำเสีย 3,000 ล้านบาท
การคัดเลือกผู้รับเหมา เริ่มแรกมีผู้สนใจ 13 ราย คัดเลือกเหลือเพียง 4 ราย ยื่นซองประมูลเพียง 2 ราย ผู้ชนะการประมูลคือ กิจการร่วมค้าหรือกลุ่มบริษัทเอ็นวีพีเอสเคจี (NVPSKG) ประกอบด้วยบริษัท 6 แห่ง ดังนี้
N คือ บรษัท นอร์ทเวสท์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (จากประเทศอังกฤษ) ได้ถอนตัวออกไปก่อนที่จะมีการลงนามในสัญญา
V คือ บรษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด เป็นของตระกูลชวนะนันท์
P คือ บรษัท ประยูรวิศการช่าง จำกัด ผู้ก่อตั้งคือนายวิศว์ ลิปตพัลลภ บิดาของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในวลานั้น
S คือ บรษัท สี่แสงการโยธา จำกัด ผู้ก่อตั้งคือนายบรรหาร ศิลปะอาชา ต่อมาเป็นของตระกูลวงศ์จิโรจน์กุล
K คือ บรษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัด เป็นบริษัทในเครือบริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด
G คือ บรษัท เกตเวย์ ดิเวลลอปเมนต์ จำกัด เป็นเครือบริษัทคลองด่าน แอนด์ ฟิชเชอรี่ จำกัด มีนายวัฒนา อัศวเหม ผู้ถือหุ้น
การปั่นราคาที่ดินบ่อบำบัดน้ำเสีย
บริเวณตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การประมงและการเกษตร ที่ดินดังกล่าวมีสภาพเป็นป่าชายเลน น้ำทะเลท่วมถึง ที่ดินอันเป็นที่ตั้งบ่อบำบัดน้ำเสียก็มีสภาพอย่างเดียวกัน อีกทั้งบางส่วนเป็นที่เทขยะมูลฝอย เป็นที่ดินสาธารณะ เมื่อเริ่มโครงการมีการซื้อขายเปลี่ยนมือหลายทอดเพื่อปั่นราคา บริษัท แร่ลานทอง จำกัด ของนายวัฒนา อัศวเหม ได้กว้านซื้อที่ดินบริเวณดังกล่าวในราคาไร่ละ 20,000 บาท ขายต่อให้บริษัทปาล์มบีช ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด ของนายสมลักษณ์ อัศวเหม และนายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ ในราคาไร่ละ 100,000 บาท บริษัทปาล์มบีชฯ ขายต่อให้บริษัทคลองด่าน มารีน แอนด์ฟิชเชอรี จำกัด ราคาไร่ละราว 260,000 บาท สุดท้ายขายให้โครงการบ่อบำบัดฯ ในราคาไร่ละ 1.03 ล้านบาท รวม 1,900 ไร่ มูลค่ากว่า 18,000 ล้านบาท
ไทยรักไทยกวาดต้อน ส.ส. ช่วงฝุ่นตระหลบ
เมื่อย้ายบ่อบำบัดน้ำเสียมาตั้งที่ตำบลคลองด่าน ชาวคลองด่านได้รวมตัวคัดค้าน ด้วยเหตุผลว่าการปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดเป็นน้ำจืดลงทะเล จะกระทบต่อการเลี้ยงหอยแมลงภู่ในบริเวณนั้น แม้มีการร้องเรียนไปยังหลายหน่วยงาน ทั้งกรรมาธิการชุดต่างๆ ในสภาฯ และกลุ่มนักวิชาการสิ่งแวดล้อมได้ช่วยศึกษาหาข้อเท็จจริง แต่การก่อสร้างยังคงรุดหน้าไปเรื่อยๆ สุดท้ายกว่า 94 เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลยังคงเดินหน้าอนุมัติจ่ายเงินค่าก่อสร้างไปกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
ในขณะที่นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ กำลังมีข้อครหาพัวพันกับการทุจริตโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน รัฐบาลพรรคไทยรักไทย ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กำลังต้องการเสียงสนับสนุนข้างมากในสภาฯ จึงใช้เรื่องนี้เป็นเครื่องมือทางการเมืองกวาดต้อน ส.ส.ของพรรคอื่นรวมเข้ามา โดยมีการเจรจาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน มีการยุบพรรคชาติพัฒนาของนายสุวัจน์มารวมกับพรรคไทยรักไทย นายสุวัจน์ได้ย้ายไปเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม กำกับสำนักงานอัยการ ซึ่งทำหน้าที่ทนายแผ่นดินฟ้องร้องบริษัทเอกชนผู้รับเหมาโครงการบ่อบำบัดฯ ในขณะเดียวกัน ตระกูลลิปตพัลลภ ก็เป็นเจ้าของบริษัท ประยูรวิศการช่าง หนึ่งในกลุ่มบริษัทคู่กรณีกับรัฐ นี่จึงมีประเด็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์แฝงอยู่
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไฟเขียวให้นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ สั่งให้อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ มีหนังสือลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 ส่งถึงกลุ่มบริษัททั้งหก ยุติการก่อสร้าง พร้อมกับระงับการจ่ายเงินงวดงานที่ 55-58 เป็นเงิน 3,200 ล้านบาท อันเป็นการเปิดเงื่อนไขให้ฝ่ายกิจการร่วมค้าทั้งหกใช้เป็นประเด็นยื่นให้คณะอนุญาโตตุลาการพิจารณาตัดสินเรียกค่าเสียหายในเวลาต่อมา
คณะอนุญาโตตุลาการ
เมื่อกรมควบคุมมลพิษระงับการจ่ายเงิน 4 งวดสุดท้าย “กิจการร่วมค้า” หรือกลุ่มบริษัททั้งหก จึงยื่นเรื่องไปยังสำนักงานอนุญาโตตุลาการเรียกค่าเสียหายเมื่อ 5 กันยายน 2546
คณะอนุญาโตตุลาการประกอบด้วยกรรมการ 3 นาย นายวิฑูรย์ ตั้งตรงจิตต์ ประธาน นายเสถียร วงศ์วิเชียร (ฝ่ายกิจการร่วมค้า) และนายเคียง บุญเพิ่ม (ฝ่ายกรมควบคุมมลพิษ)
วันที่ 12 มกราคม 2554 คณะอนุญาโตตุลาการใช้เวลานานถึง 7 ปี จึงมีคำตัดสินให้กรมควบคุมมลพิษ ชำระเงินให้กับกลุ่มบริษัททั้งหก จำนวนประมาณ 4,983 ล้านบาท และ 31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ พร้อมดอกเบี้ยประมาณ 3,630 ล้านบาท (หรือตั้งแต่ 28 ก.พ. 2546 จนถึงวันชำระเสร็จ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี) รวมทั้งสิ้นประมาณ 9,058 ล้านบาท
คดีฟ้องร้องอื่นๆ
หลังจากมีการยื่นเรื่องต่ออนุญาโตตุลาการ กรมควบคุมมลพิษ ได้ยื่นฟ้องบริษัททั้งหกต่อศาลแขวงดุสิตในปี 2547 ในความผิดฐานฉ้อโกง และศาลแขวงดุสิตได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 ว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะ มีการกระทำความผิดร่วมกัน ทั้งนักการเมืองข้าราชการ และบริษัทเอกชน ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ฐานร่วมกันฉ้อโกง ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้กลับคำพิพากษาของศาลแขวงดุสิตอันเป็นศาลชั้นต้น คือให้ยกฟ้อง แต่ทว่าคดีนี้ยังไม่สิ้นสุด ต้องรอคำพิพาษาของศาลฎีกา ต่อไป
อีกคดีหนึ่ง คือคดีฟ้องร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดย ป.ป.ช. ได้ชี้มูลความผิดนักการเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะผู้อนุมัติโครงการ 2 คน ได้แก่นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ (เสียชีวิตเมื่อ ธ.ค. 2546) และนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นอกจากนี้ ยังมีการฟ้องร้อง นายวัฒนา อัศวเหม อดีตรัฐมนตรีช่วย กระทรวงมหาดไทย ในข้อหาบีบบังคับเจ้าหน้าที่ที่ดินออกโฉนดจำนวน 17 แปลง รวมพื้นที่ 1,900 ไร่ ขายให้กรมควบคุมมลพิษ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2551 ศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุกนายวัฒนา อัศวเหม 10 ปี ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148, 157, 33 และ 83 แต่นายวัฒนาได้หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ
คำตัดสินศาลปกครองสูงสุด
เมื่อกรมควบคุมมลพิษ เพิกเฉย ไม่ปฏิบัติตามคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการ กลุ่มบริษัททั้งหกจึงฟ้องร้องต่อศาลปกครองพิพากษาบังคับให้ กรมควบคุมมลพิษ ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น ให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ให้กรมควบคุมมลพิษ ชำระเงินแก่บริษัททั้งหกให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
คดีนี้ กรมควบคุมมลพิษ ต่อสู้ว่า สัญญาที่เซ็นกับกลุ่มบริษัททั้งหกเป็นโมฆะ เพราะกิจการร่วมค้าเอ็นวีพีเอสเคจี ปกปิดความจริงที่ควรแจ้งให้ทราบว่า บจก.นอร์ธเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ถอนตัวออกไปแล้ว ทำให้กรมควบคุมมลพิษ เซ็นสัญญาโดยสำคัญผิด หากไม่มีบริษัท นอร์ธเวสต์ฯ อยู่ในกิจการร่วมค้า ก็จะไม่ผ่านการคัดเลือกให้เป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม และไม่ผ่านการพิจารณาประกวดราคา
ศาลปกครองสูงสุดมีความเห็นโดยสรุปว่า
(1) การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ ชอบด้วย พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 18
(2) เห็นพ้องตามคณะอนุญาโตตุลาการ ที่วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า กิจการร่วมค้าได้ส่งมอบงานตามสัญญา งวดงานที่ 55-58 แล้วจริง เมื่อกรมควบคุมมลพิษ ไม่จ่ายค่างวดงาน จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
(3) เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ ที่ว่า กิจการร่วมค้า หรือกลุ่มบริษัททั้งหก ไม่ได้จดทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์ จึงอยู่ในลักษณะของห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน การที่บริษัท นอร์ตเวสต์ฯ ถอนตัว จึงไม่ถือว่ากรมควบคุมมลพิษเข้าทำสัญญาโดยสำคัญผิดในตัวบุคคลกิจการร่วมค้า
ศาลปกครองสูงสุด โดยนายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ตุลาการเจ้าของสำนวน และองค์คณะ จึงมีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น
คดีโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน แม้จะเดินมาถึงคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด แต่ยังมีคำตัดสินของศาลฎีการออยู่ ไม่ว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาจะออกมาในลักษณะใด สิ่งที่เป็นบทเรียนสำหรับประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง คือ หากประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งยังขาดความรับผิดชอบในการออกเสียง ยังเห็นแก่ได้จากนักการเมือง แล้วไซร้ นักการเมืองผู้หิวโหยก็ยังมีโอกาสเข้ามาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ และสร้างความเสียหายต่อส่วนรวม
เฉพาะโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน การโกงกินแบบบูรณาการระหว่างนักการเมือง ข้าราชการระดับสูงของกรมควบคุมมลพิษ และบริษัทเอกชน ทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณไปแล้วราว 20,000 ล้านบาท รวมทั้งอาจจะต้องเสียอีกเกือบ 10,000 ล้านบาท รวม 30,000 ล้านบาท โดยที่ปัญหาน้ำเสียในจังหวัดสมุทรปราการยังคงไม่ได้รับการแก้ไข แม้เวลาผ่านไปกว่าสิบปีนับจากปี 2546 ที่โครงการนี้ควรจะแล้วเสร็จ
กำเนิดโครงการ
เมษายน 2538 กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ได้ว่าจ้างบริษัท มอนต์โกเมอรี่ วัตสัน เอเชีย จำกัด เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ใช้เวลาศึกษาเกือบสองปี มีการเสนอให้ก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียโดยแบ่งเป็น 2 แห่ง แยกกันในแต่ละฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาของจังหวัดสมุทรปราการ คือ (1) โรงบำบัดน้ำเสียทางฝั่งตะวันออกที่ตำบลบางปูใหม่ ใช้ที่ดิน 1,550 ไร่ รับน้ำเสียจากพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอบางปู และตอนเหนือของอำเภอบางพลี ระบายน้ำเสียที่บำบัดแล้วลงทะเล และ (2) โรงบำบัดน้ำเสียทางฝั่งตะวันตกที่ตำบลคลองบางปลากด ใช้ที่ดิน 350 ไร่ รับน้ำเสียจากพื้นที่อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระประแดง และย่านถนนสุขสวัสดิ์ ระบายน้ำเสียที่บำบัดแล้วลงคลองบางปลากด
ข้อเสนอดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และได้รับความเห็นชอบให้ดำเนินการจากคณะรัฐมนตรี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยงบก่อสร้างประมาณ 13,612 ล้านบาท มาจากงบประมาณแผ่นดิน 7,362 ล้านบาท กองทุนสิ่งแวดล้อม 2,500 ล้านบาท และเงินกู้จากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) 3,750 ล้านบาท ขณะนั้นมีนายยิ่งพันธ์ มนะสิการ เป็น รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (ก.ย. 2538-ต.ค. 2541) เป็นผู้ลงนามในสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมา เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2540 และมีกรมควบคุมมลพิษเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบโครงการ
นักการเมืองผู้หิวโหย
กลุ่มนักการเมืองผู้หิวโหยได้สมคบกันจัดทำโครงการนี้โดยมีการวางแผนทุจริตกันมาล่วงหน้า เริ่มจากการขอความเห็นชอบจาก ครม. ให้ดำเนินการโครงการนี้ในรูปแบบ “เทอร์นคีย์” (turnkey) นั่นคือ ให้ผู้รับเหมาทำหน้าที่ทั้งการออกแบบก่อสร้าง การก่อสร้างซึ่งประกอบด้วยบ่อบำบัดน้ำเสีย ท่อรับน้ำเสีย ท่อส่งน้ำที่บำบัดแล้ว และจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์การบำบัดน้ำเสีย ในขณะที่การเมืองไทยเต็มไปด้วยนักการเมืองผู้หิวโหย การนำรูปแบบเทิร์นคีย์มาใช้ในการก่อสร้างของภาครัฐ ย่อมเปิดช่องให้มีการคอร์รัปชันได้สะดวกง่ายดาย
ดังนั้น กรมควบคุมมลพิษจึงได้เสนอขอความเห็นชอบจาก ครม. ให้ยุบบ่อบำบัดน้ำจากสองแห่งเหลือเพียงแห่งเดียว ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา อีกทั้งย้ายที่ตั้งบ่อบำบัดน้ำเสียจากจุดเดิมคือตำบลบางปูใหม่มาอยู่ที่ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ ห่างจากที่เดิม 20 กิโลเมตร โดยเชื่อมต่อกับฝั่งตะวันตกด้วยการก่อสร้างอุโมงค์บนบกและลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นระยะทาง 120 กิโลเมตร ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ต้องเพิ่มค่าก่อสร้างจากเดิม 13,613 ล้านบาท เป็น 23,701 ล้านบาท เบื้องต้นแยกเป็นค่าก่อสร้างท่อ 14,000 ล้านบาท ค่าที่ดิน 6,000 ล้านบาท บ่อบำบัดน้ำเสีย 3,000 ล้านบาท
การคัดเลือกผู้รับเหมา เริ่มแรกมีผู้สนใจ 13 ราย คัดเลือกเหลือเพียง 4 ราย ยื่นซองประมูลเพียง 2 ราย ผู้ชนะการประมูลคือ กิจการร่วมค้าหรือกลุ่มบริษัทเอ็นวีพีเอสเคจี (NVPSKG) ประกอบด้วยบริษัท 6 แห่ง ดังนี้
N คือ บรษัท นอร์ทเวสท์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (จากประเทศอังกฤษ) ได้ถอนตัวออกไปก่อนที่จะมีการลงนามในสัญญา
V คือ บรษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด เป็นของตระกูลชวนะนันท์
P คือ บรษัท ประยูรวิศการช่าง จำกัด ผู้ก่อตั้งคือนายวิศว์ ลิปตพัลลภ บิดาของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในวลานั้น
S คือ บรษัท สี่แสงการโยธา จำกัด ผู้ก่อตั้งคือนายบรรหาร ศิลปะอาชา ต่อมาเป็นของตระกูลวงศ์จิโรจน์กุล
K คือ บรษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัด เป็นบริษัทในเครือบริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด
G คือ บรษัท เกตเวย์ ดิเวลลอปเมนต์ จำกัด เป็นเครือบริษัทคลองด่าน แอนด์ ฟิชเชอรี่ จำกัด มีนายวัฒนา อัศวเหม ผู้ถือหุ้น
การปั่นราคาที่ดินบ่อบำบัดน้ำเสีย
บริเวณตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การประมงและการเกษตร ที่ดินดังกล่าวมีสภาพเป็นป่าชายเลน น้ำทะเลท่วมถึง ที่ดินอันเป็นที่ตั้งบ่อบำบัดน้ำเสียก็มีสภาพอย่างเดียวกัน อีกทั้งบางส่วนเป็นที่เทขยะมูลฝอย เป็นที่ดินสาธารณะ เมื่อเริ่มโครงการมีการซื้อขายเปลี่ยนมือหลายทอดเพื่อปั่นราคา บริษัท แร่ลานทอง จำกัด ของนายวัฒนา อัศวเหม ได้กว้านซื้อที่ดินบริเวณดังกล่าวในราคาไร่ละ 20,000 บาท ขายต่อให้บริษัทปาล์มบีช ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด ของนายสมลักษณ์ อัศวเหม และนายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ ในราคาไร่ละ 100,000 บาท บริษัทปาล์มบีชฯ ขายต่อให้บริษัทคลองด่าน มารีน แอนด์ฟิชเชอรี จำกัด ราคาไร่ละราว 260,000 บาท สุดท้ายขายให้โครงการบ่อบำบัดฯ ในราคาไร่ละ 1.03 ล้านบาท รวม 1,900 ไร่ มูลค่ากว่า 18,000 ล้านบาท
ไทยรักไทยกวาดต้อน ส.ส. ช่วงฝุ่นตระหลบ
เมื่อย้ายบ่อบำบัดน้ำเสียมาตั้งที่ตำบลคลองด่าน ชาวคลองด่านได้รวมตัวคัดค้าน ด้วยเหตุผลว่าการปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดเป็นน้ำจืดลงทะเล จะกระทบต่อการเลี้ยงหอยแมลงภู่ในบริเวณนั้น แม้มีการร้องเรียนไปยังหลายหน่วยงาน ทั้งกรรมาธิการชุดต่างๆ ในสภาฯ และกลุ่มนักวิชาการสิ่งแวดล้อมได้ช่วยศึกษาหาข้อเท็จจริง แต่การก่อสร้างยังคงรุดหน้าไปเรื่อยๆ สุดท้ายกว่า 94 เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลยังคงเดินหน้าอนุมัติจ่ายเงินค่าก่อสร้างไปกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
ในขณะที่นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ กำลังมีข้อครหาพัวพันกับการทุจริตโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน รัฐบาลพรรคไทยรักไทย ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กำลังต้องการเสียงสนับสนุนข้างมากในสภาฯ จึงใช้เรื่องนี้เป็นเครื่องมือทางการเมืองกวาดต้อน ส.ส.ของพรรคอื่นรวมเข้ามา โดยมีการเจรจาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน มีการยุบพรรคชาติพัฒนาของนายสุวัจน์มารวมกับพรรคไทยรักไทย นายสุวัจน์ได้ย้ายไปเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม กำกับสำนักงานอัยการ ซึ่งทำหน้าที่ทนายแผ่นดินฟ้องร้องบริษัทเอกชนผู้รับเหมาโครงการบ่อบำบัดฯ ในขณะเดียวกัน ตระกูลลิปตพัลลภ ก็เป็นเจ้าของบริษัท ประยูรวิศการช่าง หนึ่งในกลุ่มบริษัทคู่กรณีกับรัฐ นี่จึงมีประเด็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์แฝงอยู่
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไฟเขียวให้นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ สั่งให้อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ มีหนังสือลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 ส่งถึงกลุ่มบริษัททั้งหก ยุติการก่อสร้าง พร้อมกับระงับการจ่ายเงินงวดงานที่ 55-58 เป็นเงิน 3,200 ล้านบาท อันเป็นการเปิดเงื่อนไขให้ฝ่ายกิจการร่วมค้าทั้งหกใช้เป็นประเด็นยื่นให้คณะอนุญาโตตุลาการพิจารณาตัดสินเรียกค่าเสียหายในเวลาต่อมา
คณะอนุญาโตตุลาการ
เมื่อกรมควบคุมมลพิษระงับการจ่ายเงิน 4 งวดสุดท้าย “กิจการร่วมค้า” หรือกลุ่มบริษัททั้งหก จึงยื่นเรื่องไปยังสำนักงานอนุญาโตตุลาการเรียกค่าเสียหายเมื่อ 5 กันยายน 2546
คณะอนุญาโตตุลาการประกอบด้วยกรรมการ 3 นาย นายวิฑูรย์ ตั้งตรงจิตต์ ประธาน นายเสถียร วงศ์วิเชียร (ฝ่ายกิจการร่วมค้า) และนายเคียง บุญเพิ่ม (ฝ่ายกรมควบคุมมลพิษ)
วันที่ 12 มกราคม 2554 คณะอนุญาโตตุลาการใช้เวลานานถึง 7 ปี จึงมีคำตัดสินให้กรมควบคุมมลพิษ ชำระเงินให้กับกลุ่มบริษัททั้งหก จำนวนประมาณ 4,983 ล้านบาท และ 31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ พร้อมดอกเบี้ยประมาณ 3,630 ล้านบาท (หรือตั้งแต่ 28 ก.พ. 2546 จนถึงวันชำระเสร็จ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี) รวมทั้งสิ้นประมาณ 9,058 ล้านบาท
คดีฟ้องร้องอื่นๆ
หลังจากมีการยื่นเรื่องต่ออนุญาโตตุลาการ กรมควบคุมมลพิษ ได้ยื่นฟ้องบริษัททั้งหกต่อศาลแขวงดุสิตในปี 2547 ในความผิดฐานฉ้อโกง และศาลแขวงดุสิตได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 ว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะ มีการกระทำความผิดร่วมกัน ทั้งนักการเมืองข้าราชการ และบริษัทเอกชน ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ฐานร่วมกันฉ้อโกง ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้กลับคำพิพากษาของศาลแขวงดุสิตอันเป็นศาลชั้นต้น คือให้ยกฟ้อง แต่ทว่าคดีนี้ยังไม่สิ้นสุด ต้องรอคำพิพาษาของศาลฎีกา ต่อไป
อีกคดีหนึ่ง คือคดีฟ้องร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดย ป.ป.ช. ได้ชี้มูลความผิดนักการเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะผู้อนุมัติโครงการ 2 คน ได้แก่นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ (เสียชีวิตเมื่อ ธ.ค. 2546) และนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นอกจากนี้ ยังมีการฟ้องร้อง นายวัฒนา อัศวเหม อดีตรัฐมนตรีช่วย กระทรวงมหาดไทย ในข้อหาบีบบังคับเจ้าหน้าที่ที่ดินออกโฉนดจำนวน 17 แปลง รวมพื้นที่ 1,900 ไร่ ขายให้กรมควบคุมมลพิษ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2551 ศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุกนายวัฒนา อัศวเหม 10 ปี ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148, 157, 33 และ 83 แต่นายวัฒนาได้หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ
คำตัดสินศาลปกครองสูงสุด
เมื่อกรมควบคุมมลพิษ เพิกเฉย ไม่ปฏิบัติตามคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการ กลุ่มบริษัททั้งหกจึงฟ้องร้องต่อศาลปกครองพิพากษาบังคับให้ กรมควบคุมมลพิษ ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น ให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ให้กรมควบคุมมลพิษ ชำระเงินแก่บริษัททั้งหกให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
คดีนี้ กรมควบคุมมลพิษ ต่อสู้ว่า สัญญาที่เซ็นกับกลุ่มบริษัททั้งหกเป็นโมฆะ เพราะกิจการร่วมค้าเอ็นวีพีเอสเคจี ปกปิดความจริงที่ควรแจ้งให้ทราบว่า บจก.นอร์ธเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ถอนตัวออกไปแล้ว ทำให้กรมควบคุมมลพิษ เซ็นสัญญาโดยสำคัญผิด หากไม่มีบริษัท นอร์ธเวสต์ฯ อยู่ในกิจการร่วมค้า ก็จะไม่ผ่านการคัดเลือกให้เป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม และไม่ผ่านการพิจารณาประกวดราคา
ศาลปกครองสูงสุดมีความเห็นโดยสรุปว่า
(1) การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ ชอบด้วย พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 18
(2) เห็นพ้องตามคณะอนุญาโตตุลาการ ที่วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า กิจการร่วมค้าได้ส่งมอบงานตามสัญญา งวดงานที่ 55-58 แล้วจริง เมื่อกรมควบคุมมลพิษ ไม่จ่ายค่างวดงาน จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
(3) เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ ที่ว่า กิจการร่วมค้า หรือกลุ่มบริษัททั้งหก ไม่ได้จดทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์ จึงอยู่ในลักษณะของห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน การที่บริษัท นอร์ตเวสต์ฯ ถอนตัว จึงไม่ถือว่ากรมควบคุมมลพิษเข้าทำสัญญาโดยสำคัญผิดในตัวบุคคลกิจการร่วมค้า
ศาลปกครองสูงสุด โดยนายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ตุลาการเจ้าของสำนวน และองค์คณะ จึงมีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น
คดีโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน แม้จะเดินมาถึงคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด แต่ยังมีคำตัดสินของศาลฎีการออยู่ ไม่ว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาจะออกมาในลักษณะใด สิ่งที่เป็นบทเรียนสำหรับประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง คือ หากประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งยังขาดความรับผิดชอบในการออกเสียง ยังเห็นแก่ได้จากนักการเมือง แล้วไซร้ นักการเมืองผู้หิวโหยก็ยังมีโอกาสเข้ามาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ และสร้างความเสียหายต่อส่วนรวม
เฉพาะโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน การโกงกินแบบบูรณาการระหว่างนักการเมือง ข้าราชการระดับสูงของกรมควบคุมมลพิษ และบริษัทเอกชน ทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณไปแล้วราว 20,000 ล้านบาท รวมทั้งอาจจะต้องเสียอีกเกือบ 10,000 ล้านบาท รวม 30,000 ล้านบาท โดยที่ปัญหาน้ำเสียในจังหวัดสมุทรปราการยังคงไม่ได้รับการแก้ไข แม้เวลาผ่านไปกว่าสิบปีนับจากปี 2546 ที่โครงการนี้ควรจะแล้วเสร็จ