“ณรงค์ชัย”วางกรอบแผนผลิตไฟฟ้าลั่นปีหน้าจะเร่งเดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ให้ได้ตามแผนการันตีผลงานกับก.พ.ร. พร้อมจัดระเบียบSPP ชี้ระบบโคเจนเนอเรชั่นมีมากทำต้นทุนสูง 1,000 MW รอคิวหมดอายุส่อแววไม่ต่อ ลั่นเดินหน้าสัมปทานปิโตรเลียมรอบ21 และหาแนวทางพัฒนาก๊าซอ่าวไทยที่จะหมดอายุชี้อย่ามโนต่อสัญญาให้เชฟรอน-ปตท.สผ.เหตุกม.ต่อไม่ได้ต้องเป็นสมบัติแผ่นดิน
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “นโยบายและทิศทางพลังงานไทย” ในงาน Thailand Smart Grid ซึ่งจัดโดยสมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทยว่า นโยบายพลังงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าที่สำคัญคือ จะต้องมีปริมาณสำรองไฟฟ้าพร้อมจ่าย(Base Load) ที่เพียงพอต่อความต้องการจะต้องเพิ่มสัดส่วนของโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อกระจายเชื้อเพลิงจากที่ไทยพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติผลิตสูงถึง 70% เพื่อความมั่นคงและจะต้องรับซื้อไฟฟ้าจากผุ้ผลิตเอกชนขนาดเล็ก(SPP) และขนาดใหญ่(IPP) อย่างสมเหตุและผลและการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านในสัดส่วนที่สมดุล
ทั้งนี้โรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ขนาด 800 เมกะวัตต์ปีหน้ากระทรวงฯจะผลักดันให้เดินหน้าให้เกิดขึ้นตามแผนที่จะเข้าระบบปี 2562 ให้ได้ซึ่งกระทรวงพลังงานได้เซ็นเงื่อนไขดังกล่าวนี้กับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) ไปแล้วที่จะเป็นเกณฑ์ชี้วัดผลงาน(KPI) หากกระทรวงพลังงานเดินหน้าตามแผนนี้ไม่ได้คะแนนก็จะตกลงทันที ดังนั้นจะมีปัญหาต่อต้านหรืออะไรแต่หน้าที่กระทรวงพลังงานจะต้องผลักดันให้เกิดขึ้น
สำหรับการรับซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชนโดยเฉพาะ SPP จากการพิจารณาในส่วนของการผลิตไฟฟ้าในระบบพลังงานความร้อนร่วมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง(Co-GENERATION) คือระบบที่ให้การกำเนิดพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำซึ่งพบว่าขณะนี้หากเทียบกับ IPP แล้วต้นทุนสูงกว่ามาก และภาพรวม SPP ขณะนี้มีกำลังการผลิตประมาณ 4,000 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างกำหนดผลิตไฟเข้าระบบ(COD)อีก 4,000เกมะวัตต์และพบว่ามีประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ที่จะต้องมาพิจารณาในเรื่องของอายุสัญญาที่จะหมดลง ซึ่งจะต้องจัดระเบียบในส่วนนี้ใหม่ ส่วนพลังงานลมนั้นมียื่นเข้ามา1,800-1,900เมกะวัตต์แต่ที่เกิดแล้วมีเพียง 300 เมกะวัตต์ ขณะที่แสงอาทิตย์ส่วนตัวแล้วไม่สนับสนุนการลงทุนโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่หรือ โซล่าร์ฟาร์ม
สำหรับนโยบายการบริหารด้านความต้องการใช้พลังงานปิโตรเลียมภาพรวมจะเน้นแนวทางการส่งเสริมการลดใช้พลังงาน ลงและใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและต้องควบคู่กับการผลิตที่เพียงพอซึ่งส่วนของการผลิตจะเดินหน้าการสำรวจปิโตรเลียมภายในประเทศภายใต้การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ที่กำหนดให้เอกชนยื่นขอสิทธิ์ในการสำรวจภายใน 18 ก.พ. 58 พร้อมกับพิจารณาแนวทางดำเนินงานสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยที่กำลังจะหมดอายุลงในปี 2565-2566ซึ่งจะต้องกลับมาเป็นสมบัติของแผ่นดินทันทีโดยขณะนี้มีแนวทางในใจแล้วแต่ยังเปิดเผยไม่ได้
“สัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทย 2 แหล่งคือเอราวัณที่เชฟรอน เป็นผู้รับสัมปทานและแหล่งบงกช ที่ปตท.สผ.ได้รับสัมปทานที่จะหมดอายุลงนั้นอย่ามโนว่าจะต่ออายุสัมปทานอะไรเพราะกฏหมายมันต่อไม่ได้ แต่จะมีการจ้างผลิตหรืออะไรก็ต้องมาดูกันตอนนี้ผมยังไม่ขอตอบแต่ยืนยันว่าทำให้การผลิตมีความต่อเนื่องแน่นอน”รมว.พลังงานกล่าว
นายทวารัฐ สูตะบุตร รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ประเด็นที่รมว.พลังงาน เป็นห่วง ในเรื่องโรงไฟฟ้าประเภทโคเจนเนอเรชั่น ที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากขณะนี้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติมีปริมาณที่จำกัด จึงจำเป็นต้องใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ในขณะที่การผลิตไฟฟ้าของSPPยังผลิตได้น้อยกว่า IPP ถ้าเทียบกับศักยภาพแล้ว IPPน่าจะเหมาะสมกว่า
ปัจจุบันโรงไฟฟ้า SPP มีกำลังการผลิตรวม 4,000 เมกะวัตต์ และในช่วง 5-7 ปี จะมีเSPPที่ทยอยหมดอายุสัญญาลง ประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ ก่อนหน้าที่ทางสมาคาผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนเคยมาพบรมว.พลังงาน เพื่อขอให้พิจารณาต่ออายุให้ ซึ่งในทางปฏิบัติ จะต้องหารือร่วมกันระหว่าง สำนักนโยบายและแผนพลังาน (สนพ.) และคณกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรคกูเลเตอร์) ด้วย โดยในหลักการจะต้องมองถึงประสิทธิภาพของการผลิตไฟฟ้า ความคุ้มค่ากับการลงทุน ด้วย
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “นโยบายและทิศทางพลังงานไทย” ในงาน Thailand Smart Grid ซึ่งจัดโดยสมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทยว่า นโยบายพลังงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าที่สำคัญคือ จะต้องมีปริมาณสำรองไฟฟ้าพร้อมจ่าย(Base Load) ที่เพียงพอต่อความต้องการจะต้องเพิ่มสัดส่วนของโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อกระจายเชื้อเพลิงจากที่ไทยพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติผลิตสูงถึง 70% เพื่อความมั่นคงและจะต้องรับซื้อไฟฟ้าจากผุ้ผลิตเอกชนขนาดเล็ก(SPP) และขนาดใหญ่(IPP) อย่างสมเหตุและผลและการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านในสัดส่วนที่สมดุล
ทั้งนี้โรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ขนาด 800 เมกะวัตต์ปีหน้ากระทรวงฯจะผลักดันให้เดินหน้าให้เกิดขึ้นตามแผนที่จะเข้าระบบปี 2562 ให้ได้ซึ่งกระทรวงพลังงานได้เซ็นเงื่อนไขดังกล่าวนี้กับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) ไปแล้วที่จะเป็นเกณฑ์ชี้วัดผลงาน(KPI) หากกระทรวงพลังงานเดินหน้าตามแผนนี้ไม่ได้คะแนนก็จะตกลงทันที ดังนั้นจะมีปัญหาต่อต้านหรืออะไรแต่หน้าที่กระทรวงพลังงานจะต้องผลักดันให้เกิดขึ้น
สำหรับการรับซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชนโดยเฉพาะ SPP จากการพิจารณาในส่วนของการผลิตไฟฟ้าในระบบพลังงานความร้อนร่วมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง(Co-GENERATION) คือระบบที่ให้การกำเนิดพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำซึ่งพบว่าขณะนี้หากเทียบกับ IPP แล้วต้นทุนสูงกว่ามาก และภาพรวม SPP ขณะนี้มีกำลังการผลิตประมาณ 4,000 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างกำหนดผลิตไฟเข้าระบบ(COD)อีก 4,000เกมะวัตต์และพบว่ามีประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ที่จะต้องมาพิจารณาในเรื่องของอายุสัญญาที่จะหมดลง ซึ่งจะต้องจัดระเบียบในส่วนนี้ใหม่ ส่วนพลังงานลมนั้นมียื่นเข้ามา1,800-1,900เมกะวัตต์แต่ที่เกิดแล้วมีเพียง 300 เมกะวัตต์ ขณะที่แสงอาทิตย์ส่วนตัวแล้วไม่สนับสนุนการลงทุนโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่หรือ โซล่าร์ฟาร์ม
สำหรับนโยบายการบริหารด้านความต้องการใช้พลังงานปิโตรเลียมภาพรวมจะเน้นแนวทางการส่งเสริมการลดใช้พลังงาน ลงและใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและต้องควบคู่กับการผลิตที่เพียงพอซึ่งส่วนของการผลิตจะเดินหน้าการสำรวจปิโตรเลียมภายในประเทศภายใต้การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ที่กำหนดให้เอกชนยื่นขอสิทธิ์ในการสำรวจภายใน 18 ก.พ. 58 พร้อมกับพิจารณาแนวทางดำเนินงานสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยที่กำลังจะหมดอายุลงในปี 2565-2566ซึ่งจะต้องกลับมาเป็นสมบัติของแผ่นดินทันทีโดยขณะนี้มีแนวทางในใจแล้วแต่ยังเปิดเผยไม่ได้
“สัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทย 2 แหล่งคือเอราวัณที่เชฟรอน เป็นผู้รับสัมปทานและแหล่งบงกช ที่ปตท.สผ.ได้รับสัมปทานที่จะหมดอายุลงนั้นอย่ามโนว่าจะต่ออายุสัมปทานอะไรเพราะกฏหมายมันต่อไม่ได้ แต่จะมีการจ้างผลิตหรืออะไรก็ต้องมาดูกันตอนนี้ผมยังไม่ขอตอบแต่ยืนยันว่าทำให้การผลิตมีความต่อเนื่องแน่นอน”รมว.พลังงานกล่าว
นายทวารัฐ สูตะบุตร รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ประเด็นที่รมว.พลังงาน เป็นห่วง ในเรื่องโรงไฟฟ้าประเภทโคเจนเนอเรชั่น ที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากขณะนี้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติมีปริมาณที่จำกัด จึงจำเป็นต้องใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ในขณะที่การผลิตไฟฟ้าของSPPยังผลิตได้น้อยกว่า IPP ถ้าเทียบกับศักยภาพแล้ว IPPน่าจะเหมาะสมกว่า
ปัจจุบันโรงไฟฟ้า SPP มีกำลังการผลิตรวม 4,000 เมกะวัตต์ และในช่วง 5-7 ปี จะมีเSPPที่ทยอยหมดอายุสัญญาลง ประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ ก่อนหน้าที่ทางสมาคาผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนเคยมาพบรมว.พลังงาน เพื่อขอให้พิจารณาต่ออายุให้ ซึ่งในทางปฏิบัติ จะต้องหารือร่วมกันระหว่าง สำนักนโยบายและแผนพลังาน (สนพ.) และคณกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรคกูเลเตอร์) ด้วย โดยในหลักการจะต้องมองถึงประสิทธิภาพของการผลิตไฟฟ้า ความคุ้มค่ากับการลงทุน ด้วย