xs
xsm
sm
md
lg

กนง.-กนส.ประชุมร่วมฯห่วงเก็งกำไร-หนี้ครัวเรือน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน - ที่ประชุมเสนอร่วม กนง.และ กนส.เผยการขยายสินเชื่อและเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลังยังน่าพอใจ แต่ยอมรับยังมีความเสี่ยงจากนักลงทุนที่มีการเก็งกำไรในสินทรัพย์ และหนี้ภาคครัวเรือนที่ก่อตัวก่อนหน้า แนะให้ความสาคัญกับวินัยทางการเงิน ควบคู่กับการพัฒนากลไกตลาดด้วยการขยายสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิต

ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า เมื่อวานนี้ (3 ธ.ค.) มีการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กับคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) ครั้งที่ 2/2557 โดยมีประเด็นสาคัญ ตามที่แถลงผ่านเว็บไซต์ ธปท. โดยที่ประชุมเห็นว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี แม้ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ และระบบธนาคารพาณิชย์มีผลการดาเนินงานดีจึงยังสามารถขยายสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจ ในขณะที่อัตราการขยายตัวของหนี้ครัวเรือนชะลอลงต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม คุณภาพสินเชื่อของ ระบบธนาคารพาณิชย์ด้อยลงบ้างตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจในช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะสินเชื่ออุปโภคบริโภค นอกจากนี้ ธุรกิจขนาดใหญ่บางรายมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนในระดับสูง ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการขยายกิจการและรักษาต้นทุนทางการเงินในช่วงอัตราดอกเบี้ยต่า จึงอาจทาให้อ่อนไหวต่อปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ มากขึ้น

ที่ประชุมเห็นว่า ยังมีความเสี่ยงสาคัญที่ต้องติดตามในระยะต่อไป คือ (1) ความเข้มแข็งของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย (2) พฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (Search for yield) รวมถึงการเก็งกำไรในสินทรัพย์ ซึ่งหากมีการประเมินความเสี่ยงต่าเกินไปจะก่อให้เกิดความเปราะบางทางการเงิน และ (3) หนี้ภาคครัวเรือนที่สะสมในช่วงก่อนหน้า ทำให้การบริโภคฟื้นตัวได้ช้าและครัวเรือนโดยเฉพาะกลุ่มรายได้น้อยที่มีภาระหนี้สูงจะสามารถรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจได้ลดลง จึงควรให้ความสาคัญกับการบริหารรายได้รายจ่ายและวินัยทางการเงิน ควบคู่กับการพัฒนากลไกตลาดให้สามารถทาหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การขยายสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิต

นอกจากปัจจัยเสี่ยงในประเทศแล้ว ยังมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และทิศทางการดาเนินนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก จนอาจทาให้เงินทุนเคลื่อนย้ายผันผวนมากขึ้น ซึ่งทางการและภาคเอกชนควรเตรียมพร้อมรับมือกับปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวต่อไป.
กำลังโหลดความคิดเห็น