แบงก์ชาติหวังไตรมาสสุดท้าย ยอดสินเชื่อไม่ติดลบ ส่วนอัตราสินเชื่อเร่งหรือชะลอ ลุ้นเศรษฐกิจปลายปีเป็นตัวดัน ช่วยสกัดปัญหาเอ็นพีแอล ยันเป็นเรื่องวัฎจักรเศรษฐกิจ แต่ยอมรับหนี้ครัวเรือนไม่ลดลงง่ายๆ เผยไตรมาส 3 ที่ผ่านมา เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 1.03 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3.6% ส่วนใหญ่เกิดจากสินเชื่ออุปโภคบริโภค
นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ธปท.มองว่ายอดสินเชื่อโดยรวมไม่ถึงขั้นติดลบ ส่วนอัตราสินเชื่อจะเร่งหรือชะลอลงเป็นเรื่องยากตอบ เนื่องจากรอดูภาวะเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 4 เป็นสำคัญ ซึ่งปกติเป็นช่วงขอสินเชื่อ ดังนั้น ถ้าเศรษฐกิจไทยโดยรวมฟื้นตัวอาจจะมีความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นได้ ขณะที่หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ขึ้นกับรายได้เกิดจากเศรษฐกิจเช่นกัน แต่เชื่อว่าจะไม่กระทบฐานะของธนาคารพาณิชย์ เพราะยังคงมีความมั่นคงอยู่
“เอ็นพีแอลเป็นเรื่องวัฎจักรเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจดีหรือไม่ดีก็ต้องมีขึ้นหรือลงบ้าง จึงไม่ใช่ปัจจัยด้านโครงสร้างเหมือนที่การลงทุนจะพึ่งพาด้านนี้ ส่วนประเด็นสินเชื่ออุปโภคบริโภคเป็นตัวเร่งให้เอ็นพีแอลในระบบเพิ่มขึ้น มองว่าที่ผ่านมา แบงก์พาณิชย์เข้มงวดระดับหนึ่งแล้ว ต่อไปการให้กู้คงต้องดูเป็นรายกรณีไป ขณะเดียวกัน คงไม่เข้มงวดมาก เพราะการแข่งขันสินเชื่อประเภทนี้ยังมีอยู่ และปัญหาหนี้ครัวเรือนมีระยะเวลาพอสมควรไม่ได้ลงง่ายๆ จึงต้องติดตามต่อไป”
ในไตรมาส 3 ของปี 57 เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 1.03 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3.6% ส่วนใหญ่เกิดจากสินเชื่ออุปโภคบริโภค ทำให้สัดส่วนเอ็นพีแอลและเอ็นพีแอลสุทธิเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2.34% และ 1.18% ตามลำดับ ขณะที่สินเชื่อค้างชำระ 1-3 เดือน (SM) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 2.40% เป็น 2.54% ส่วนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีสัดส่วน SM เพิ่มขึ้นจาก 2.0% ขยับเป็น 2.3%
ทั้งนี้ ในกลุ่มสินเชื่ออุปโภคบริโภคมีสัดส่วนเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นทุกประเภท โดยบัตรเครดิตจาก 3.3% อยู่ที่ 3.7% สินเชื่อส่วนบุคคลจาก 2.6% มาอยู่ที่ 3.0% สินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก 2.3% มาอยู่ที่ 2.5% และรถยนต์จาก 2.3% มาอยู่ที่ 2.4% ในไตรมาสนี้ เช่นเดียวกับสัดส่วน SM สินเชื่อส่วนบุคคลจาก 2.4% เป็น 2.6% บัตรเครดิต 2.2% เป็น 2.4% และสินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก 1.5% อยู่ที่ 1.6% และแม้สินเชื่อรถยนต์ทรงตัว 8.2% แต่มีสัดส่วน SM สูงสุดในกลุ่มสินเชื่ออุปโภคบริโภค
ส่วนในกลุ่มสินเชื่อธุรกิจมีสัดส่วนเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นเฉพาะสินเชื่อบริการเป็น 3.4% และสินเชื่อพาณิชย์ 2.7% ขณะที่สัดส่วน SM เพิ่มขึ้นในสินเชื่ออุตสาหกรรม 4.7% และสินเชื่อพาณิชย์เป็น 1.6% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจรายเล็กหรือรายใหญ่บางรายที่ต้องเฝ้าระวังต่อไป
อย่างไรก็ตาม เงินสำรองของระบบธนาคารพาณิชย์ลดลงเล็กน้อยในไตรมาสนี้ เพราะธนาคารเริ่มหันมาใช้เงินสำรองที่มีอยู่ จากธนาคารกันสำรอง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพื่อรองรับเศรษฐกิจชะลอตัว และคาดว่ายังมีการกันสำรองต่อไปตราบใดที่มีกำไร
สินเชื่อโดยรวมชะลอลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 5.6% จากไตรมาสก่อนอยู่ที่ 7.6% เนื่องจากการชะลอลงเศรษฐกิจ สินเชื่ออุปโภคบริโภคกลับเข้าสู่ภาวะปกติจากเร่งตัวมากก่อนหน้านี้
โดยการหดตัวของสินเชื่อรถยนต์และสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อรายใหญ่ลดลง เพราะภาคธุรกิจออกหุ้นกู้และเพิ่มทุน เพื่อใช้หนี้คืนกับธนาคารพาณิชย์ โดยย้อนหลัง 12 เดือน พบว่า ธุรกิจรายใหญ่ชำระคืนหนี้เกิน 5,000 ล้านบาท มีทั้งสิ้น 2.2 แสนล้านบาท เมื่อรวมวงเงินส่วนนี้ส่งผลให้สัดส่วนสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเป็น 7.7% ดังนั้น ถ้าภาคธุรกิจหันมาระดมทุนแทนขอสินเชื่อมองว่าไม่ห่วงสภาพคล่อง
**แบงก์กังวลกฎหมายค้ำประกันใหม่**
ผู้อำนวยการอาวุโส ธปท.กล่าวถึง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการค้ำประกันและจำนอง (ฉบับที่ 20) พ.ศ...ว่า ธนาคารพาณิชย์มีความกังวลเรื่องนี้ เพราะห่วงว่าขั้นตอนผู้ค้ำประกันและข้อสัญญาเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ขณะนี้ ธปท.ได้ขอข้อมูลจากธนาคาร เพื่อประเมินประเด็นต่างๆ และผลกระทบเกิดขึ้น ทางธนาคารจะส่งรายละเอียดให้แก่ ธปท.ต่อไป อย่างไรก็ตาม ธนาคารก็ต้องปรับตัวเองให้ได้
นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ธปท.มองว่ายอดสินเชื่อโดยรวมไม่ถึงขั้นติดลบ ส่วนอัตราสินเชื่อจะเร่งหรือชะลอลงเป็นเรื่องยากตอบ เนื่องจากรอดูภาวะเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 4 เป็นสำคัญ ซึ่งปกติเป็นช่วงขอสินเชื่อ ดังนั้น ถ้าเศรษฐกิจไทยโดยรวมฟื้นตัวอาจจะมีความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นได้ ขณะที่หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ขึ้นกับรายได้เกิดจากเศรษฐกิจเช่นกัน แต่เชื่อว่าจะไม่กระทบฐานะของธนาคารพาณิชย์ เพราะยังคงมีความมั่นคงอยู่
“เอ็นพีแอลเป็นเรื่องวัฎจักรเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจดีหรือไม่ดีก็ต้องมีขึ้นหรือลงบ้าง จึงไม่ใช่ปัจจัยด้านโครงสร้างเหมือนที่การลงทุนจะพึ่งพาด้านนี้ ส่วนประเด็นสินเชื่ออุปโภคบริโภคเป็นตัวเร่งให้เอ็นพีแอลในระบบเพิ่มขึ้น มองว่าที่ผ่านมา แบงก์พาณิชย์เข้มงวดระดับหนึ่งแล้ว ต่อไปการให้กู้คงต้องดูเป็นรายกรณีไป ขณะเดียวกัน คงไม่เข้มงวดมาก เพราะการแข่งขันสินเชื่อประเภทนี้ยังมีอยู่ และปัญหาหนี้ครัวเรือนมีระยะเวลาพอสมควรไม่ได้ลงง่ายๆ จึงต้องติดตามต่อไป”
ในไตรมาส 3 ของปี 57 เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 1.03 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3.6% ส่วนใหญ่เกิดจากสินเชื่ออุปโภคบริโภค ทำให้สัดส่วนเอ็นพีแอลและเอ็นพีแอลสุทธิเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2.34% และ 1.18% ตามลำดับ ขณะที่สินเชื่อค้างชำระ 1-3 เดือน (SM) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 2.40% เป็น 2.54% ส่วนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีสัดส่วน SM เพิ่มขึ้นจาก 2.0% ขยับเป็น 2.3%
ทั้งนี้ ในกลุ่มสินเชื่ออุปโภคบริโภคมีสัดส่วนเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นทุกประเภท โดยบัตรเครดิตจาก 3.3% อยู่ที่ 3.7% สินเชื่อส่วนบุคคลจาก 2.6% มาอยู่ที่ 3.0% สินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก 2.3% มาอยู่ที่ 2.5% และรถยนต์จาก 2.3% มาอยู่ที่ 2.4% ในไตรมาสนี้ เช่นเดียวกับสัดส่วน SM สินเชื่อส่วนบุคคลจาก 2.4% เป็น 2.6% บัตรเครดิต 2.2% เป็น 2.4% และสินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก 1.5% อยู่ที่ 1.6% และแม้สินเชื่อรถยนต์ทรงตัว 8.2% แต่มีสัดส่วน SM สูงสุดในกลุ่มสินเชื่ออุปโภคบริโภค
ส่วนในกลุ่มสินเชื่อธุรกิจมีสัดส่วนเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นเฉพาะสินเชื่อบริการเป็น 3.4% และสินเชื่อพาณิชย์ 2.7% ขณะที่สัดส่วน SM เพิ่มขึ้นในสินเชื่ออุตสาหกรรม 4.7% และสินเชื่อพาณิชย์เป็น 1.6% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจรายเล็กหรือรายใหญ่บางรายที่ต้องเฝ้าระวังต่อไป
อย่างไรก็ตาม เงินสำรองของระบบธนาคารพาณิชย์ลดลงเล็กน้อยในไตรมาสนี้ เพราะธนาคารเริ่มหันมาใช้เงินสำรองที่มีอยู่ จากธนาคารกันสำรอง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพื่อรองรับเศรษฐกิจชะลอตัว และคาดว่ายังมีการกันสำรองต่อไปตราบใดที่มีกำไร
สินเชื่อโดยรวมชะลอลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 5.6% จากไตรมาสก่อนอยู่ที่ 7.6% เนื่องจากการชะลอลงเศรษฐกิจ สินเชื่ออุปโภคบริโภคกลับเข้าสู่ภาวะปกติจากเร่งตัวมากก่อนหน้านี้
โดยการหดตัวของสินเชื่อรถยนต์และสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อรายใหญ่ลดลง เพราะภาคธุรกิจออกหุ้นกู้และเพิ่มทุน เพื่อใช้หนี้คืนกับธนาคารพาณิชย์ โดยย้อนหลัง 12 เดือน พบว่า ธุรกิจรายใหญ่ชำระคืนหนี้เกิน 5,000 ล้านบาท มีทั้งสิ้น 2.2 แสนล้านบาท เมื่อรวมวงเงินส่วนนี้ส่งผลให้สัดส่วนสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเป็น 7.7% ดังนั้น ถ้าภาคธุรกิจหันมาระดมทุนแทนขอสินเชื่อมองว่าไม่ห่วงสภาพคล่อง
**แบงก์กังวลกฎหมายค้ำประกันใหม่**
ผู้อำนวยการอาวุโส ธปท.กล่าวถึง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการค้ำประกันและจำนอง (ฉบับที่ 20) พ.ศ...ว่า ธนาคารพาณิชย์มีความกังวลเรื่องนี้ เพราะห่วงว่าขั้นตอนผู้ค้ำประกันและข้อสัญญาเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ขณะนี้ ธปท.ได้ขอข้อมูลจากธนาคาร เพื่อประเมินประเด็นต่างๆ และผลกระทบเกิดขึ้น ทางธนาคารจะส่งรายละเอียดให้แก่ ธปท.ต่อไป อย่างไรก็ตาม ธนาคารก็ต้องปรับตัวเองให้ได้