ASTV ผู้จัดการรายวัน - กรมศิลป์แถลงผลตรวจโบราณวัตถุ ระบุเทวรูปและทับหลังนครวัด-บายนเป็นศิลปะ 3 ชาติเพื่อนบ้าน
วานนี้ (2 ธ.ค.) ที่สำนักหอสมุดแห่งชาติ นายบวรเวท รุ่งรุจี อธิบดีกรมศิลปากร แถลงข่าวสรุปผลลงพื้นที่ตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุของกลางที่ยึดได้จากเครือข่ายพล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ที่กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ว่า ได้คัดแยกโบราณวัตถุและศิลปวัตถุชิ้นสำคัญมาตรวจพิสูจน์เบื้องต้น 3 ประเภท รวมกว่า 80 รายการ แบ่งเป็น 1. ประติมากรรมหินศิลปะเขมร 13 รายการ ได้แก่ พระพุทธรูปยืนสมัยก่อนเมืองพระนคร (แบบอังกอร์โบเรย) พุทธศตวรรษที่ 12 ร่วมสมัยศิลปะ ทวารวดี ,เทวรูป และเทวสตรี สมัยก่อนเมืองพระนคร แบบสมโบร์ไพรกุก ราวพุทธศตวรรษที่ 13 และสมัยเมืองพระนคร แบบกุเลน พุทธศตวรรษที่ 14 แบบเกาะแกร์ พุทธศตวรรษที่ 15 แบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ 16 และแบบนครวัด พุทธศตวรรษที่ 17 ,ชิ้นส่วนภาพแกะสลักประเภท ทับหลังและภาพประดับผนังปราสาทสมัยเมืองพระนครแบบนครวัด-บายน พุทธศตวรรษาที่ 17-18
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวต่อว่า 2.พระพุทธรูปและรูปเคารพในพุทธศาสนา และศานาฮินดู 37 รายการ ได้แก่ พระพุทธสำริดรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง พุทธศตวรรษที่ 21-22 ,พระพุทธรูปยืน พระพุทธรูปสำริดทรงเครื่องใหญ่ ศิลปะอยุธยาตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 23-24 ,พระพุทธรูปนั่งบนฐานสูง ทำด้วยไม้ ศิลปะอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 24 ,พระพุทธรูปและพระสาวกครองจีวรลายดอก พระพุทธรูปโลหะผสมปางป่าเลย์ไลยก์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 25 ,พระพุทรูปหิน และไม้ ศิลปะพม่าแบบมัณฑเลย์ พุทธศตวรรษที่ 25 และ พระคเณศโลหะผสมลงรักปิดทอง ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24-25 และรายการที่ 3 เป็นโบราณวัตถุและศิลปวัตถุประเภทหินอ่อนและโลหะ ซึ่งเป็นประติมากรรมรูปบุคคล เครื่องเรือน ศิลปะตะวันตก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 25 รวมทั้งงาช้างแกะสลัก อีกกว่า 30 รายการ อาจจะมีการนำเข้ากันในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4
“ประติมากรรมหิน และพระพุทธรูปที่พบทั้ง 50 รายการ คาดว่าน่าจะเป็นศิลปะกัมพูชา เมียนมาร์ และสปป.ลาว อยู่ในศาสนสถาน อย่างไรก็ตามจะต้องมีการพิสูจน์ว่าได้มาอย่างไร เพราะพระพุทธรูปเหล่านี้ คนทั่วไปไม่สามารถมีไว้ครอบครองได้ และจากการลงพื้นที่เรายัง พบศิลปวัตถุของเทียมเลียนแบบอีกกว่า 100 ชิ้น และยังต้องทำการตรวจสอบและคัดแยกประติกรรมหิน ศิลปะอินเดีย ภาพแกะสลัก เครื่องปั้นดินเผาต่างๆ อีกกว่า 10,000 ชิ้น ขณะนี้ยังไม่ได้ตรวจสอบ พร้อมกันนี้ ได้ตั้งคณะกรรมการประเมินราคาโบราณวัตถุ 50 รายการอีกครั้ง เบื้องต้นคาดว่า มีมูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาท” นายบวรเวท กล่าว
วานนี้ (2 ธ.ค.) ที่สำนักหอสมุดแห่งชาติ นายบวรเวท รุ่งรุจี อธิบดีกรมศิลปากร แถลงข่าวสรุปผลลงพื้นที่ตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุของกลางที่ยึดได้จากเครือข่ายพล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ที่กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ว่า ได้คัดแยกโบราณวัตถุและศิลปวัตถุชิ้นสำคัญมาตรวจพิสูจน์เบื้องต้น 3 ประเภท รวมกว่า 80 รายการ แบ่งเป็น 1. ประติมากรรมหินศิลปะเขมร 13 รายการ ได้แก่ พระพุทธรูปยืนสมัยก่อนเมืองพระนคร (แบบอังกอร์โบเรย) พุทธศตวรรษที่ 12 ร่วมสมัยศิลปะ ทวารวดี ,เทวรูป และเทวสตรี สมัยก่อนเมืองพระนคร แบบสมโบร์ไพรกุก ราวพุทธศตวรรษที่ 13 และสมัยเมืองพระนคร แบบกุเลน พุทธศตวรรษที่ 14 แบบเกาะแกร์ พุทธศตวรรษที่ 15 แบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ 16 และแบบนครวัด พุทธศตวรรษที่ 17 ,ชิ้นส่วนภาพแกะสลักประเภท ทับหลังและภาพประดับผนังปราสาทสมัยเมืองพระนครแบบนครวัด-บายน พุทธศตวรรษาที่ 17-18
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวต่อว่า 2.พระพุทธรูปและรูปเคารพในพุทธศาสนา และศานาฮินดู 37 รายการ ได้แก่ พระพุทธสำริดรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง พุทธศตวรรษที่ 21-22 ,พระพุทธรูปยืน พระพุทธรูปสำริดทรงเครื่องใหญ่ ศิลปะอยุธยาตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 23-24 ,พระพุทธรูปนั่งบนฐานสูง ทำด้วยไม้ ศิลปะอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 24 ,พระพุทธรูปและพระสาวกครองจีวรลายดอก พระพุทธรูปโลหะผสมปางป่าเลย์ไลยก์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 25 ,พระพุทรูปหิน และไม้ ศิลปะพม่าแบบมัณฑเลย์ พุทธศตวรรษที่ 25 และ พระคเณศโลหะผสมลงรักปิดทอง ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24-25 และรายการที่ 3 เป็นโบราณวัตถุและศิลปวัตถุประเภทหินอ่อนและโลหะ ซึ่งเป็นประติมากรรมรูปบุคคล เครื่องเรือน ศิลปะตะวันตก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 25 รวมทั้งงาช้างแกะสลัก อีกกว่า 30 รายการ อาจจะมีการนำเข้ากันในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4
“ประติมากรรมหิน และพระพุทธรูปที่พบทั้ง 50 รายการ คาดว่าน่าจะเป็นศิลปะกัมพูชา เมียนมาร์ และสปป.ลาว อยู่ในศาสนสถาน อย่างไรก็ตามจะต้องมีการพิสูจน์ว่าได้มาอย่างไร เพราะพระพุทธรูปเหล่านี้ คนทั่วไปไม่สามารถมีไว้ครอบครองได้ และจากการลงพื้นที่เรายัง พบศิลปวัตถุของเทียมเลียนแบบอีกกว่า 100 ชิ้น และยังต้องทำการตรวจสอบและคัดแยกประติกรรมหิน ศิลปะอินเดีย ภาพแกะสลัก เครื่องปั้นดินเผาต่างๆ อีกกว่า 10,000 ชิ้น ขณะนี้ยังไม่ได้ตรวจสอบ พร้อมกันนี้ ได้ตั้งคณะกรรมการประเมินราคาโบราณวัตถุ 50 รายการอีกครั้ง เบื้องต้นคาดว่า มีมูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาท” นายบวรเวท กล่าว