กรมศิลป์ เร่งตรวจโบราณวัตถุ ติดสัญลักษณ์แยกประเภท และของเลียนแบบ พร้อมบันทึกภาพ ขึ้นเว็บเพื่อให้ประชาชนตรวจสอบ หากพบเป็นชิ้นที่สูญหายให้นำหลักฐานมายืนยัน เตรียมตั้งโต๊ะแถลงข่าว 2 ธันวาคมนี้
นายบวรเวท รุ่งรุจี อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วย นายอาวุธ สุวรรณาศรัย คณะกรรมการตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุกรมศิลปากร และอดีตหัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง ตลอดจนเจ้าหน้าที่ภัณฑารักษ์ และนิติกร กรมศิลปากร เข้าตรวจพิสูจน์และคัดแยกโบราณวัตถุ ของกลางที่ยึดได้จากเครือข่าย พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีต ผบ.ชก. ที่ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ นายบวรเวท กล่าวว่า ตนนำเจ้าหน้ามาตรวจการคัดแยก พร้อมทำติดป้าย และเชือกสี เพื่อทำสัญลักษณ์ แยกตามประเภท โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และสิ่งของเทียมเลียนแบบ โดยพบว่าโบราณวัตถุที่มีอายุเก่าแก่ส่วนใหญ่ ทำจากหินทราย อาทิ พระพุทธรูปขอมโบราณ ศิลปะพนมดา พุทธศตวรรษที่ 12 อายุกว่า 1,400 ปี เทวรูปพระนารายณ์ ศิลปะเขมร สมโบว์ พุทธศตวรรษที่ 12 - 13 อายุราว 1,300 -1,400 ปี ส่วนศิลปวัตถุ พบว่า มีทั้งของไทย และของนำเข้าจากต่างประเทศ ศิลปะ จีน ยุโรป อินเดีย ส่วนของเทียมเลียนแบบ มีทั้งเทวรูปหินทราย รูปแกะสลักพระพุทธรูปไม้ เป็นจำนวนมาก
นายบวรเวท กล่าวว่า ตนมอบหมายให้เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร บันทึกภาพโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โดยรวบรวมนำขึ้นเว็บไซต์กรมศิลปากร เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบ กรณีที่มีการสูญหาย โดยสามารถนำหลักฐานมาแจ้งขอตรวจสอบได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ทั้ง 44 แห่งทั่วประเทศ หรือกรมศิลปากร อย่างไรก็ดี เมื่อคัดแยกเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีการจัดทำทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จากนั้นกรมศิลปากรจะประสานไปยังเจ้าหน้าที่ทหาร ขอนำเฉพาะโบราณวัตถุไปเก็บรักษาที่ คลังโบราณวัตถุ อ.คลองหน้า จ.ปทุมธานี ตนจะแถลงความคืบหน้าอย่างเป็นทางการ วันที่ 2 ธ.ค. นี้ เวลา 11.30 น. ที่ อาคารหอพระสมุดวชิรญาณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
กำลังโหลดเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น