วานนี้ ( 30 พ.ย.) ที่อาคารศศนิเวศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยนายบุญเลิศ คชายุทธเดช โฆษกคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนฯ เปิดเผยถึงผลการหารือ เพื่อหาข้อสรุปในประเด็น และหลักการสำคัญที่จะเสนอต่อ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญว่า ในส่วนของเสรีภาพของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เป็นสื่อสมัยใหม่ จะต้องไม่ถูกกระทำเพื่อยุติการใช้เสรีภาพตามวิชาชีพในการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ ขณะเดียวกันการใช้เสรีภาพของสื่อมวลชน รวมถึงสื่อสมัยใหม่ จะต้องเป็นไปเพื่อเคารพสิทธิของบุคคลอื่น และก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ไม่ใช้เสรีภาพในลักษณะใช้ความเกลียดชังให้เกิดกับคนในชาติ จนนำไปสู่ภาวะวิกฤต ส่วนความเป็นอิสระของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน ต้องไม่ถูกเจ้าขององค์กรสื่อ หรือภาครัฐเข้ามาจำกัดเสรีภาพ หากการใช้เสรีภาพนั้นยังเป็นไปตามวิชาชีพอยู่ภายใต้กฎหมายและหลักจริยธรรม
"หลักการสำคัญคือ ความเป็นอิสระนั้น ทางภาครัฐไม่สามารถจะให้เงินอุดหนุน หรือทรัพย์สินอุดหนุน เนื่องจากจะทำให้สื่อมวลชนขาดความเป็นอิสระ เกิดความโน้มเอียงได้ ดังนั้นการที่ภาครัฐมีการโฆษณา โดยใช้เงินกับสื่อมวลชน อันทำให้สื่อมวลชนถูกแทรกแซงจนขาดความเป็นอิสระนั้น ก็ควรจะต้องมีการห้าม อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเห็นควรว่า ต้องเขียนคำนิยามของคำว่า "สื่อสารมวลชน " ใหม่ ซึ่งเดิมหมายรวมเพียงสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าไปไกล จึงจะต้องเขียนคำนิยาม เพื่อให้ครอบคลุมไปถึงสื่อใหม่ และจะต้องให้สื่อใหม่มีความเป็นวิชาชีพ มีหลักจริยธรรมกำกับด้วย"
ส่วนเรื่องของหลักจริยธรรมที่ผ่านมา มีข้อบังคับของสภาวิชาชีพที่ตั้งขึ้นที่กำหนดว่า หลังจากมีการตรวจสอบพบข้อเท็จจริงว่าสื่อมวลชนละเมิดจริยธรรม สร้างความเสียหายต่อบุคคล หรือส่วนรวม ทางสภาวิชาชีพสามารถตักเตือน และให้ลงแก้ไขเพื่อให้สังคมเข้าใจอย่างถูกต้องถึงสิ่งที่ได้ละเมิดไป ซึ่งหลักการการคุมกันเองโดยสมัครใจ ยังยืนอยู่บนหลักการนี้ แต่ก็มีคนในวงการสื่อ ได้สะท้อนความเห็นหลังเปิดให้มีการรับฟังว่า บางทีอาจจำเป็นต้องมีกฎหมายมาช่วย หลังจากการดำเนินการกำกับดูแลกันเองผ่านองค์กรวิชาชีพที่จัดตั้งขึ้นแล้วยังไม่บังเกิดผล แต่ถ้าสื่อมวลชนควบคุมกำกับกันเองแล้ว เคารพและปฏิบัติตาม จนได้รับความเชื่อถือ กฎหมายก็คงไม่ต้องเข้ามา
ทั้งนี้ ความเห็นที่เกี่ยวข้องต่อการปฏิรูปสื่อสารมวลชนจากภาคส่วนต่างๆ ที่มีเข้ามานั้น ส่วนใหญ่เป็นวงการวิทยุและโทรทัศน์ โดยเฉพาะโทรทัศน์ในยุคดิจิตัล ที่กำกับโดย กสทช. ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพได้สะท้อนกันมากคือ อำนาจหน้าที่ของ กสทช.ไม่น่าจะเข้ามาดูแลในส่วนของเนื้อหา แต่ควรจะเข้ามาดูแลในเรื่องของเทคโนโลยีมากกว่า โดยในวันที่ 10 ธ.ค. คณะกมธ.ปฏิรูปการสื่อสารฯ และคณะกรรมาธิการอีก 17 คณะ จะต้องนำเสนอประเด็นสำคัญ หรือหลักการสำคัญ พร้อมคำอธิบายหลักการและเหตุผลส่งให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อนำไปสังเคราะห์ แยกแยะหมวดหมู่ และในวันที่ 15- 17ธ.ค. จะมีการประชุมสปช. เพื่อให้กรรมาธิการทั้งหมด 18 คณะ ได้อภิปรายหลักการและเหตุผลที่ควรจะนำไปบัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญ
"หลักการสำคัญคือ ความเป็นอิสระนั้น ทางภาครัฐไม่สามารถจะให้เงินอุดหนุน หรือทรัพย์สินอุดหนุน เนื่องจากจะทำให้สื่อมวลชนขาดความเป็นอิสระ เกิดความโน้มเอียงได้ ดังนั้นการที่ภาครัฐมีการโฆษณา โดยใช้เงินกับสื่อมวลชน อันทำให้สื่อมวลชนถูกแทรกแซงจนขาดความเป็นอิสระนั้น ก็ควรจะต้องมีการห้าม อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเห็นควรว่า ต้องเขียนคำนิยามของคำว่า "สื่อสารมวลชน " ใหม่ ซึ่งเดิมหมายรวมเพียงสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าไปไกล จึงจะต้องเขียนคำนิยาม เพื่อให้ครอบคลุมไปถึงสื่อใหม่ และจะต้องให้สื่อใหม่มีความเป็นวิชาชีพ มีหลักจริยธรรมกำกับด้วย"
ส่วนเรื่องของหลักจริยธรรมที่ผ่านมา มีข้อบังคับของสภาวิชาชีพที่ตั้งขึ้นที่กำหนดว่า หลังจากมีการตรวจสอบพบข้อเท็จจริงว่าสื่อมวลชนละเมิดจริยธรรม สร้างความเสียหายต่อบุคคล หรือส่วนรวม ทางสภาวิชาชีพสามารถตักเตือน และให้ลงแก้ไขเพื่อให้สังคมเข้าใจอย่างถูกต้องถึงสิ่งที่ได้ละเมิดไป ซึ่งหลักการการคุมกันเองโดยสมัครใจ ยังยืนอยู่บนหลักการนี้ แต่ก็มีคนในวงการสื่อ ได้สะท้อนความเห็นหลังเปิดให้มีการรับฟังว่า บางทีอาจจำเป็นต้องมีกฎหมายมาช่วย หลังจากการดำเนินการกำกับดูแลกันเองผ่านองค์กรวิชาชีพที่จัดตั้งขึ้นแล้วยังไม่บังเกิดผล แต่ถ้าสื่อมวลชนควบคุมกำกับกันเองแล้ว เคารพและปฏิบัติตาม จนได้รับความเชื่อถือ กฎหมายก็คงไม่ต้องเข้ามา
ทั้งนี้ ความเห็นที่เกี่ยวข้องต่อการปฏิรูปสื่อสารมวลชนจากภาคส่วนต่างๆ ที่มีเข้ามานั้น ส่วนใหญ่เป็นวงการวิทยุและโทรทัศน์ โดยเฉพาะโทรทัศน์ในยุคดิจิตัล ที่กำกับโดย กสทช. ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพได้สะท้อนกันมากคือ อำนาจหน้าที่ของ กสทช.ไม่น่าจะเข้ามาดูแลในส่วนของเนื้อหา แต่ควรจะเข้ามาดูแลในเรื่องของเทคโนโลยีมากกว่า โดยในวันที่ 10 ธ.ค. คณะกมธ.ปฏิรูปการสื่อสารฯ และคณะกรรมาธิการอีก 17 คณะ จะต้องนำเสนอประเด็นสำคัญ หรือหลักการสำคัญ พร้อมคำอธิบายหลักการและเหตุผลส่งให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อนำไปสังเคราะห์ แยกแยะหมวดหมู่ และในวันที่ 15- 17ธ.ค. จะมีการประชุมสปช. เพื่อให้กรรมาธิการทั้งหมด 18 คณะ ได้อภิปรายหลักการและเหตุผลที่ควรจะนำไปบัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญ