หลังจากคณะเอกอัครราชทูตจากสหภาพยุโรป 8 ประเทศ ได้เข้าพบกับองค์กรสื่อของไทย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2557 พร้อมทั้งยื่นหนังสือเพื่อแสดงความเป็นห่วงต่อการเสนอข่าวของสื่อมวลชนไทยในคดีฆาตกรรมที่เกาะเต่า
วันนี้(27ต.ค.)4 องค์กรสื่อประกอบด้วย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์ร่วมเรื่อง การเสนอข่าวที่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
ตามที่สื่อมวลชนบางส่วนได้นำเสนอภาพและข่าวเกี่ยวกับคดีอาชญากรรมหลายคดี ที่มีลักษณะเข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อีกทั้งเป็นการซ้ำเติมผู้ตกเป็นเหยื่อและญาติพี่น้อง โดยคดีฆาตกรรมนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่เกาะเต่าเป็นกรณีตัวอย่างล่าสุด ซึ่งทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนไทย ทั้งในสังคมไทยและต่างประเทศอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
องค์กรวิชาชีพทั้ง 4 อันประกอบด้วย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จึงมีความกังวลอย่างมากต่อการวิธีการรายงานข่าวในคดีอาชญากรรมของสื่อที่มิได้เป็นไปตามมาตรฐานหลักจริยธรรมที่ให้ความเคารพในสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนผลกระทบที่มีต่อเหยื่อและครอบครัว
การเสนอภาพและข่าวอาชญากรรม เป็นเรื่องละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง และจำเป็นต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่มีต่อผู้ตกเป็นเหยื่อและครอบครัว การเสนอภาพของเหยื่อในคดีอาชญากรรม ในสภาพอเนจอนาถ และการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพของเหยื่อและข้อมูลส่วนตัวที่ไม่จำเป็น ถือได้เป็นว่าการกระทำซ้ำต่อเหยื่อและยังก่อให้เกิดความรู้สึกสะเทือนใจต่อครอบครัวของผู้ตกเป็นเหยื่อด้วย เพราะฉะนั้น สื่อมวลชนจึงต้องพึงระมัดระวังในการนำเสนอภาพและข่าวในลักษณะดังกล่าว และควรต้องให้ความเคารพต่อผู้ตกเป็นเหยื่อและความรู้สึกครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง
การที่เอกอัครราชทูตจากสหภาพยุโรป 8 ประเทศ ได้เข้าพบกับองค์กรสื่อไทยเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2557 พร้อมยื่นหนังสือเพื่อแสดงความเป็นห่วงต่อการเสนอข่าวของสื่อมวลชนไทยในคดีฆาตกรรมที่เกาะเต่า โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนตัวของเหยื่อและกระบวนการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นว่าบทบาทของสื่อไทย ปัจจุบันมิได้ถูกเฝ้ามองจากคนในสังคมไทยเท่านั้น แต่ยังถูกตรวจสอบจากภายนอกด้วย
เพราะฉะนั้นจึงขอเรียกร้องให้สื่อมวลชนไทยแสดงถึงความตระหนักต่อการทำหน้าที่ โดยยึดหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพอย่างเคร่งครัด เพื่อให้สังคมได้รับข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนและเป็นธรรม และในขณะเดียวกันสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ที่ตกเป็นข่าวได้รับการปกป้องด้วย
อนึ่งองค์กรวิชาชีพทั้ง 4 องค์กร จะดำเนินการให้มีการหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในวงการสื่อสารมวลชน เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางในการยกระดับการทำหน้าที่ของสื่อให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากสังคมมากขึ้น
วันนี้(27ต.ค.)4 องค์กรสื่อประกอบด้วย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์ร่วมเรื่อง การเสนอข่าวที่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
ตามที่สื่อมวลชนบางส่วนได้นำเสนอภาพและข่าวเกี่ยวกับคดีอาชญากรรมหลายคดี ที่มีลักษณะเข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อีกทั้งเป็นการซ้ำเติมผู้ตกเป็นเหยื่อและญาติพี่น้อง โดยคดีฆาตกรรมนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่เกาะเต่าเป็นกรณีตัวอย่างล่าสุด ซึ่งทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนไทย ทั้งในสังคมไทยและต่างประเทศอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
องค์กรวิชาชีพทั้ง 4 อันประกอบด้วย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จึงมีความกังวลอย่างมากต่อการวิธีการรายงานข่าวในคดีอาชญากรรมของสื่อที่มิได้เป็นไปตามมาตรฐานหลักจริยธรรมที่ให้ความเคารพในสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนผลกระทบที่มีต่อเหยื่อและครอบครัว
การเสนอภาพและข่าวอาชญากรรม เป็นเรื่องละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง และจำเป็นต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่มีต่อผู้ตกเป็นเหยื่อและครอบครัว การเสนอภาพของเหยื่อในคดีอาชญากรรม ในสภาพอเนจอนาถ และการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพของเหยื่อและข้อมูลส่วนตัวที่ไม่จำเป็น ถือได้เป็นว่าการกระทำซ้ำต่อเหยื่อและยังก่อให้เกิดความรู้สึกสะเทือนใจต่อครอบครัวของผู้ตกเป็นเหยื่อด้วย เพราะฉะนั้น สื่อมวลชนจึงต้องพึงระมัดระวังในการนำเสนอภาพและข่าวในลักษณะดังกล่าว และควรต้องให้ความเคารพต่อผู้ตกเป็นเหยื่อและความรู้สึกครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง
การที่เอกอัครราชทูตจากสหภาพยุโรป 8 ประเทศ ได้เข้าพบกับองค์กรสื่อไทยเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2557 พร้อมยื่นหนังสือเพื่อแสดงความเป็นห่วงต่อการเสนอข่าวของสื่อมวลชนไทยในคดีฆาตกรรมที่เกาะเต่า โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนตัวของเหยื่อและกระบวนการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นว่าบทบาทของสื่อไทย ปัจจุบันมิได้ถูกเฝ้ามองจากคนในสังคมไทยเท่านั้น แต่ยังถูกตรวจสอบจากภายนอกด้วย
เพราะฉะนั้นจึงขอเรียกร้องให้สื่อมวลชนไทยแสดงถึงความตระหนักต่อการทำหน้าที่ โดยยึดหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพอย่างเคร่งครัด เพื่อให้สังคมได้รับข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนและเป็นธรรม และในขณะเดียวกันสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ที่ตกเป็นข่าวได้รับการปกป้องด้วย
อนึ่งองค์กรวิชาชีพทั้ง 4 องค์กร จะดำเนินการให้มีการหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในวงการสื่อสารมวลชน เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางในการยกระดับการทำหน้าที่ของสื่อให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากสังคมมากขึ้น