เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (26พ.ย.) นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. เป็นประธานการประชุมระหว่างคณะทำงานจัดทำข้อเสนอประกอบการยกร่างรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นของสำนักงานกกต. กับ กกต. และคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย เพื่อพิจารณาข้อเสนอของกกต. ก่อนที่จะส่งข้อเสนอไปยัง พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานอนุกรรมาธิการประสานเพื่อรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และองค์กรอื่นๆใน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ภายในวันที่ 28 พ.ย.นี้
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ข้อเสนอที่คณะทำงานของสำนักงานฯจัดทำขึ้นมีประมาณ 40 ประเด็น แต่ที่ประชุมเห็นว่า ข้อเสนอที่เกี่ยวกับการออกแบบสถาบันการเมือง เป็นเรื่องที่ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องไปพิจารณาเอง กกต.จึงดูเฉพาะในส่วนของขอบเขตอำนาจของกกต.เท่านั้น
โดยคณะที่ปรึกษากฎหมาย มองว่า ต้องคงอำนาจหน้าที่ของกกต.ในการให้ ใบเหลือง-ใบแดง ก่อนที่จะประกาศผลการเลือกตั้งไว้ เพราะกกต.มีหน้าที่กลั่นกรองคนดีเข้ามาบริหารประเทศ จำเป็นต้องมีอำนาจพิจารณาว่า ใครทำผิดกฎหมายเลือกตั้งเพื่อเอื้อประโยชน์ในการได้มาซึ่งอำนาจหรือไม่ แต่ระยะเวลาที่ให้ กกต.สอบสวน และแจกใบเหลือง ใบแดง ภายใน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้ง หากไม่แล้วเสร็จต้องประกาศรับรองผลไปก่อนนั้น เป็นข้อจำกัดในการทำงาน จึงได้ขอขยายระยะเวลาออกไปเป็น 60 วันก่อนประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง และหรือหากไม่แล้วเสร็จให้สามารถขยายได้ 1 ครั้ง คือ 30 วัน และแก้ไขการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรในครั้งแรก ที่จากเดิมต้องมีส.ส.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ให้เป็นร้อยละ 90 ก็สามารถเปิดประชุมสภาได้ ซึ่งที่ประชุมกกต. ก็มีความเห็น 4 ใน 5 โดยนายประวิช รัตนเพียร กกต.ด้านการมีส่วนร่วม เดินทางไปต่างประเทศ ว่า จะส่งข้อเสนอดังกล่าวไปยังคณะกรรมาธิการยกร่างฯ
ส่วนประเด็นที่หลายฝ่ายมองว่า กกต. เป็นองค์กรที่รวมอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ไว้ด้วยกันนั้น ตนยืนยันว่าไม่ใช่ เพราะกกต.ไม่มีอำนาจในฝ่ายนิติบัญญัติ ที่จะไปออกกฎหมาย เพราะอำนาจในการออกกฎหมาย ทั้งรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเป็นหน้าที่ของสภา แต่กกต.มีอำนาจหน้าที่เพียง ออกคำสั่ง หรือประกาศ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎมายที่มีอยู่เท่านั้น
ส่วนอำนาจฝ่ายบริหารนั้น ก็เป็นอำนาจที่กกต.จะต้องมี เพราะกกต. ต้องบริหารจัดการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เพียงแค่จัดการเลือกตั้งแล้วหมดหน้าที่ แต่ต้องบริหารจัดการการเลือกตั้งให้ได้คนดีเข้ามาบริหารประเทศ
สำหรับอำนาจตุลาการนั้น มองว่า เรามีอำนาจในการให้ใบเหลือง ใบแดง กกต.ควรมีอำนาจตั้งแต่หลังวันที่รัฐบาลประกาศยุบสภาหรืออยู่ก่อนครบวาระ ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งภายใน 45 วัน เพื่อที่ กกต.จะได้มีอำนาจในการคัดคนดี และตัดสิทธิ์คนที่ทำผิดกฎหมายได้ทันที ถือเป็นอำนาจในระหว่างการแข่งขัน ซึ่งจะทำให้การเลือกตั้ง มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
"แน่นอนว่า ฝ่ายการเมืองจะยินดีให้มีศาลเลือกตั้ง พิจารณาการให้ใบเหลือง ใบแดง เพราะส่วนใหญ่ศาลจะมององค์ประกอบเกี่ยวกับข้อกฎหมายเท่านั้น หากกฎหมายบอกว่าผิด ก็คือผิด ไม่ผิด ก็ไม่ผิด กระบวนการดังกล่าวอาจไม่ทันความคิดของฝ่ายการเมือง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการพิจารณาของกกต. ที่จะดูเจตนาว่า การกระทำดังกล่าวมีเจตนาเอื้อประโยชน์เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองหรือไม่ ยกตัวอย่าง เช่น การเลือกตั้งท้องถิ่น ที่กำหนดให้ผู้บริหารท้องถิ่นที่อยู่ครบวาระ ต้องไม่กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งย้อนหลัง 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ครบวาระ แต่ผู้บริหารท้องถิ่นส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะลาออกก่อนครบวาระ เพียง 1-2 วัน เพื่อที่จะเลี่ยงข้อกฎหมายไม่ให้เอาผิดย้อนหลังได้ หากกกต.พิจารณา ก็จะไม่รีรอที่จะให้ใบเหลือง ใบแดง ทันที เพราะพบว่ากระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง แต่ถ้าเรื่องนี้ไปถึงศาล ศาลก็จะยกคำร้อง เพราะในกฎหมายไม่ได้ระบุความผิด จึงอยากฝากไปถึงผู้ที่จะยกร่างกฎหมาย คำนึงถึงเรื่องนี้ให้มาก ไม่อยากให้มองว่าปัจจุบันกกต.ไม่มีประสิทธิภาพในการให้ใบเหลือง ใบแดง ก็จะให้อำนาจองค์กรอื่นเป็นผู้พิจารณาแทน" นายสมชัย กล่าว
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมที่ปรึกษากฎหมายกกต. ได้เสนอว่า เพื่อให้ได้คนดีเข้าสภา ควรให้กกต.มีอำนาจให้ใบเหลือง ใบแดง เบ็ดเสร็จ ทั้งก่อนและหลังการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง เหมือนครั้งรัฐธรรมนูญปี 40 แต่คณะที่ปรึกษาฯเห็นว่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นไปได้ยาก เพราะมีแนวโน้มที่ กมธ.ยกร่างฯ จะให้มีศาลเลือกตั้ง แต่ในช่วงเลือกตั้งและก่อนการประกาศรับรองผล คณะที่ปรึกษาก็เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องให้ กกต.มีอำนาจในการพิจารณาให้ใบเหลือง ใบแดง กับผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองมีหลักฐานเชื่อได้ว่า กระทำการให้การเลือกตั้งไม่สุจริต เที่ยงธรรม เพราะหากตัดอำนาจในส่วนนี้ของกกต. ให้เหลือเป็นเพียงองค์กรจัดการเลือกตั้ง ก็ไม่จำเป็นต้องมีองค์กรกกต.ก็ได้
ซึ่งการที่ กกต. จะขอขยายเวลาสืบสวนสอบสวนจาก 30 วัน เป็น 60 วันหรือ 90 วันนั้น กกต.ต้องชี้ให้เห็นถึงปัญหา หรืออุปสรรคที่ทำให้กกต.ต้องขอขยาย ขณะเดียวกันก็เห็นว่า กกต.จำเป็นต้องมีการปรับระบบการสืบสวนสอบสวนใหม่ โดยจะต้องมีแผนการทำงานในแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจน เพื่อให้การแจกเหลือง ใบแดง ก่อนการประกาศรับรองผลทำได้จริง และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนที่ กกต.เสนอว่า ควรมีการแยก พ.ร.ฎ.ยุบสภา และการกำหนดวันเลือกตั้ง ออกจากกัน ที่ปรึกษากฎหมายเห็นว่า การยุบสภาเป็นเรื่องความได้เปรียบเสียเปรียบของฝ่ายการเมือง ที่เมื่อยุบสภาแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดวันเลือกตั้งให้ชัดเจน จึงไม่ควรที่จะให้มีการแยกเป็น 2 ส่วน แต่หากกระบวนการจัดการเลือกตั้งในระยะเวลาต่อมาเกิดปัญหา ก็เห็นว่าควรให้องค์กรศาล เป็นผู้วินิจฉัยสั่งให้มีการเลื่อนวันเลือกตั้ง เพราะหากให้เป็นอำนาจของประธานกกต. โดยความเห็นชอบของกกต.นั้น อาจเกิดปัญหาการยอมรับว่าเหตุผลที่มีการสั่งเลื่อนนั้นเพียงพอหรือไม่ และที่สุดอาจทำให้ กกต. ต้องตกเป็นจำเลย
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ข้อเสนอที่คณะทำงานของสำนักงานฯจัดทำขึ้นมีประมาณ 40 ประเด็น แต่ที่ประชุมเห็นว่า ข้อเสนอที่เกี่ยวกับการออกแบบสถาบันการเมือง เป็นเรื่องที่ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องไปพิจารณาเอง กกต.จึงดูเฉพาะในส่วนของขอบเขตอำนาจของกกต.เท่านั้น
โดยคณะที่ปรึกษากฎหมาย มองว่า ต้องคงอำนาจหน้าที่ของกกต.ในการให้ ใบเหลือง-ใบแดง ก่อนที่จะประกาศผลการเลือกตั้งไว้ เพราะกกต.มีหน้าที่กลั่นกรองคนดีเข้ามาบริหารประเทศ จำเป็นต้องมีอำนาจพิจารณาว่า ใครทำผิดกฎหมายเลือกตั้งเพื่อเอื้อประโยชน์ในการได้มาซึ่งอำนาจหรือไม่ แต่ระยะเวลาที่ให้ กกต.สอบสวน และแจกใบเหลือง ใบแดง ภายใน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้ง หากไม่แล้วเสร็จต้องประกาศรับรองผลไปก่อนนั้น เป็นข้อจำกัดในการทำงาน จึงได้ขอขยายระยะเวลาออกไปเป็น 60 วันก่อนประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง และหรือหากไม่แล้วเสร็จให้สามารถขยายได้ 1 ครั้ง คือ 30 วัน และแก้ไขการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรในครั้งแรก ที่จากเดิมต้องมีส.ส.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ให้เป็นร้อยละ 90 ก็สามารถเปิดประชุมสภาได้ ซึ่งที่ประชุมกกต. ก็มีความเห็น 4 ใน 5 โดยนายประวิช รัตนเพียร กกต.ด้านการมีส่วนร่วม เดินทางไปต่างประเทศ ว่า จะส่งข้อเสนอดังกล่าวไปยังคณะกรรมาธิการยกร่างฯ
ส่วนประเด็นที่หลายฝ่ายมองว่า กกต. เป็นองค์กรที่รวมอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ไว้ด้วยกันนั้น ตนยืนยันว่าไม่ใช่ เพราะกกต.ไม่มีอำนาจในฝ่ายนิติบัญญัติ ที่จะไปออกกฎหมาย เพราะอำนาจในการออกกฎหมาย ทั้งรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเป็นหน้าที่ของสภา แต่กกต.มีอำนาจหน้าที่เพียง ออกคำสั่ง หรือประกาศ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎมายที่มีอยู่เท่านั้น
ส่วนอำนาจฝ่ายบริหารนั้น ก็เป็นอำนาจที่กกต.จะต้องมี เพราะกกต. ต้องบริหารจัดการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เพียงแค่จัดการเลือกตั้งแล้วหมดหน้าที่ แต่ต้องบริหารจัดการการเลือกตั้งให้ได้คนดีเข้ามาบริหารประเทศ
สำหรับอำนาจตุลาการนั้น มองว่า เรามีอำนาจในการให้ใบเหลือง ใบแดง กกต.ควรมีอำนาจตั้งแต่หลังวันที่รัฐบาลประกาศยุบสภาหรืออยู่ก่อนครบวาระ ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งภายใน 45 วัน เพื่อที่ กกต.จะได้มีอำนาจในการคัดคนดี และตัดสิทธิ์คนที่ทำผิดกฎหมายได้ทันที ถือเป็นอำนาจในระหว่างการแข่งขัน ซึ่งจะทำให้การเลือกตั้ง มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
"แน่นอนว่า ฝ่ายการเมืองจะยินดีให้มีศาลเลือกตั้ง พิจารณาการให้ใบเหลือง ใบแดง เพราะส่วนใหญ่ศาลจะมององค์ประกอบเกี่ยวกับข้อกฎหมายเท่านั้น หากกฎหมายบอกว่าผิด ก็คือผิด ไม่ผิด ก็ไม่ผิด กระบวนการดังกล่าวอาจไม่ทันความคิดของฝ่ายการเมือง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการพิจารณาของกกต. ที่จะดูเจตนาว่า การกระทำดังกล่าวมีเจตนาเอื้อประโยชน์เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองหรือไม่ ยกตัวอย่าง เช่น การเลือกตั้งท้องถิ่น ที่กำหนดให้ผู้บริหารท้องถิ่นที่อยู่ครบวาระ ต้องไม่กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งย้อนหลัง 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ครบวาระ แต่ผู้บริหารท้องถิ่นส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะลาออกก่อนครบวาระ เพียง 1-2 วัน เพื่อที่จะเลี่ยงข้อกฎหมายไม่ให้เอาผิดย้อนหลังได้ หากกกต.พิจารณา ก็จะไม่รีรอที่จะให้ใบเหลือง ใบแดง ทันที เพราะพบว่ากระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง แต่ถ้าเรื่องนี้ไปถึงศาล ศาลก็จะยกคำร้อง เพราะในกฎหมายไม่ได้ระบุความผิด จึงอยากฝากไปถึงผู้ที่จะยกร่างกฎหมาย คำนึงถึงเรื่องนี้ให้มาก ไม่อยากให้มองว่าปัจจุบันกกต.ไม่มีประสิทธิภาพในการให้ใบเหลือง ใบแดง ก็จะให้อำนาจองค์กรอื่นเป็นผู้พิจารณาแทน" นายสมชัย กล่าว
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมที่ปรึกษากฎหมายกกต. ได้เสนอว่า เพื่อให้ได้คนดีเข้าสภา ควรให้กกต.มีอำนาจให้ใบเหลือง ใบแดง เบ็ดเสร็จ ทั้งก่อนและหลังการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง เหมือนครั้งรัฐธรรมนูญปี 40 แต่คณะที่ปรึกษาฯเห็นว่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นไปได้ยาก เพราะมีแนวโน้มที่ กมธ.ยกร่างฯ จะให้มีศาลเลือกตั้ง แต่ในช่วงเลือกตั้งและก่อนการประกาศรับรองผล คณะที่ปรึกษาก็เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องให้ กกต.มีอำนาจในการพิจารณาให้ใบเหลือง ใบแดง กับผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองมีหลักฐานเชื่อได้ว่า กระทำการให้การเลือกตั้งไม่สุจริต เที่ยงธรรม เพราะหากตัดอำนาจในส่วนนี้ของกกต. ให้เหลือเป็นเพียงองค์กรจัดการเลือกตั้ง ก็ไม่จำเป็นต้องมีองค์กรกกต.ก็ได้
ซึ่งการที่ กกต. จะขอขยายเวลาสืบสวนสอบสวนจาก 30 วัน เป็น 60 วันหรือ 90 วันนั้น กกต.ต้องชี้ให้เห็นถึงปัญหา หรืออุปสรรคที่ทำให้กกต.ต้องขอขยาย ขณะเดียวกันก็เห็นว่า กกต.จำเป็นต้องมีการปรับระบบการสืบสวนสอบสวนใหม่ โดยจะต้องมีแผนการทำงานในแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจน เพื่อให้การแจกเหลือง ใบแดง ก่อนการประกาศรับรองผลทำได้จริง และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนที่ กกต.เสนอว่า ควรมีการแยก พ.ร.ฎ.ยุบสภา และการกำหนดวันเลือกตั้ง ออกจากกัน ที่ปรึกษากฎหมายเห็นว่า การยุบสภาเป็นเรื่องความได้เปรียบเสียเปรียบของฝ่ายการเมือง ที่เมื่อยุบสภาแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดวันเลือกตั้งให้ชัดเจน จึงไม่ควรที่จะให้มีการแยกเป็น 2 ส่วน แต่หากกระบวนการจัดการเลือกตั้งในระยะเวลาต่อมาเกิดปัญหา ก็เห็นว่าควรให้องค์กรศาล เป็นผู้วินิจฉัยสั่งให้มีการเลื่อนวันเลือกตั้ง เพราะหากให้เป็นอำนาจของประธานกกต. โดยความเห็นชอบของกกต.นั้น อาจเกิดปัญหาการยอมรับว่าเหตุผลที่มีการสั่งเลื่อนนั้นเพียงพอหรือไม่ และที่สุดอาจทำให้ กกต. ต้องตกเป็นจำเลย