เมื่อวานนี้ (20พ.ย.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ได้ ออกแถลงการณ์ เรื่อง สิทธิเด็กอันเกี่ยวเนื่องกับความเสมอภาคทางการศึกษา กรณีคัดค้านนโยบายยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิฯ เกี่ยวกับคัดค้านนโยบายยุบ ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กของกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการศึกษาของเด็กนักเรียน ซึ่งคณะกรรมการสิทธิฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบ โดยรับฟังคำชี้แจงจากหน่วยงาน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ การลงพื้นที่ และจัดเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นแล้ว
คณะกรรมาการสิทธิฯ มีความเห็น และมีมติ เมื่อวันที่ 19 พ.ย.57 ว่า นโยบายยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นนโยบายที่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการศึกษาของเด็กนักเรียน เนื่องจากตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ 3 และข้อ 28 และหลักการตามรัฐธรรมนูญให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นอันดับแรก เด็กต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย สมอง จิตใจ ศีลธรรม และจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ซึ่งการจัดการศึกษาเพื่อให้เด็กได้พัฒนาในมิติที่รอบด้าน เป็นเรื่องของรัฐที่จะต้องดำเนินการและลงทุน
คณะกรรมการสิทธิฯ จึงได้กำหนดมาตรการการแก้ไขปัญหาต่อกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้ปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ไม่จำเป็น และไม่คุ้มค่ากับการลงทุน กระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย ต้องจัดงบประมาณ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่จัดการศึกษาร่วมกับชุมชน กระทรวงศึกษาธิการ ควรปรับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการศึกษาโดยเน้นเป้าหมายในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา หลักสูตร วิธีการสอน รวมทั้งระดมบุคลากรที่มีศักยภาพ เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อให้เข้ามาสนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็กให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับวิถีชุมชนในแต่ละพื้นที่
นอกจากนี้ เห็นว่าการจัดการศึกษาต้องตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของบิดามารดา ผู้ปกครอง ชุมชนและภาคประชาสังคม ภายใต้แนวคิดรูปแบบและกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านความสัมพันธ์กับครอบครัว ชุมชน สังคม วัฒนธรรมในท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาในมิติที่รอบด้านและนำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ อีกทั้ง กระทรวงศึกษาธิการควรพิจารณายกเลิกหรือปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย การจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550 ในส่วนที่เกี่ยวกับการรวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และพิจารณาทบทวนแก้ไขมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 เพื่อให้สอดคล้องกับสิทธิในการได้รับการศึกษาของเด็ก ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการสิทธิฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทยจะดำเนินการตามข้อเสนอและมาตรการดังกล่าว
คณะกรรมาการสิทธิฯ มีความเห็น และมีมติ เมื่อวันที่ 19 พ.ย.57 ว่า นโยบายยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นนโยบายที่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการศึกษาของเด็กนักเรียน เนื่องจากตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ 3 และข้อ 28 และหลักการตามรัฐธรรมนูญให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นอันดับแรก เด็กต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย สมอง จิตใจ ศีลธรรม และจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ซึ่งการจัดการศึกษาเพื่อให้เด็กได้พัฒนาในมิติที่รอบด้าน เป็นเรื่องของรัฐที่จะต้องดำเนินการและลงทุน
คณะกรรมการสิทธิฯ จึงได้กำหนดมาตรการการแก้ไขปัญหาต่อกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้ปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ไม่จำเป็น และไม่คุ้มค่ากับการลงทุน กระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย ต้องจัดงบประมาณ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่จัดการศึกษาร่วมกับชุมชน กระทรวงศึกษาธิการ ควรปรับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการศึกษาโดยเน้นเป้าหมายในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา หลักสูตร วิธีการสอน รวมทั้งระดมบุคลากรที่มีศักยภาพ เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อให้เข้ามาสนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็กให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับวิถีชุมชนในแต่ละพื้นที่
นอกจากนี้ เห็นว่าการจัดการศึกษาต้องตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของบิดามารดา ผู้ปกครอง ชุมชนและภาคประชาสังคม ภายใต้แนวคิดรูปแบบและกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านความสัมพันธ์กับครอบครัว ชุมชน สังคม วัฒนธรรมในท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาในมิติที่รอบด้านและนำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ อีกทั้ง กระทรวงศึกษาธิการควรพิจารณายกเลิกหรือปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย การจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550 ในส่วนที่เกี่ยวกับการรวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และพิจารณาทบทวนแก้ไขมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 เพื่อให้สอดคล้องกับสิทธิในการได้รับการศึกษาของเด็ก ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการสิทธิฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทยจะดำเนินการตามข้อเสนอและมาตรการดังกล่าว