แน่นอนว่ารัฐธรรมนูญตอบคำถามทุกอย่างไม่ได้ แต่ก็เชื่อว่าตอบได้หลายคำถามพอสมควร
แน่นอนว่ารัฐธรรมนูญสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงขึ้นมาไม่ได้ทันที แต่ก็อาจจะสร้างรากฐานเอื้อให้เกิดปัจจัยและกระบวนการที่จะทำให้เกิดการพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงในอนาคตได้
การยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้มีข้อจำกัดทางสถานการณ์มากกว่าทุกครั้งในอดีต เพราะอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมที่ยืดเยื้อยาวนานอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ความสงบที่เกิดขึ้นก็เพียงชั่วคราวเท่านั้น คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจึงถูกปรามาสสารพัดจากแทบทุกฝ่าย และก็มีความเป็นไปได้สูงว่าเมื่อร่างรัฐธรรมนูญปรากฎออกมาอาจจะไม่เป็นที่พอใจของทุกฝ่ายเลยก็ได้ แต่ผมก็อาสาเข้ามาเป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นความตั้งใจตั้งแต่แรกที่รับการเสนอชื่อจากมูลนิธิสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตยเข้ารับการคัดสรรเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติในกลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมแล้ว
ผมเริ่มปฏิบัติหน้าที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเมื่อเช้าวันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 ด้วยการร่วมเดินทางไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
แน่นอนว่าเป็นการเริ่มต้นที่มีความหมายอย่างยิ่งกับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 36 คน
แต่เฉพาะตัวผม มีความหมายพิเศษเพิ่มเติมตรงที่เหมือนเดินจูงมือคุณพ่อผู้ล่วงลับเข้าไป
ตอนเด็ก ๆ ผมเข้าวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้วบ่อยมาก เพราะคุณพ่อเพิ่ม สิทธิสมานรับราชการสำนักพระราชวัง และด้วยความที่ท่านจบเปรียญธรรม 6 ประโยคสมัยบวชอยู่วัดประยุรวงศาวาส จนผู้คนเรียกขานท่านว่ามหาเพิ่ม จึงได้รับเชิญจากคุณชิวห์ บุนนาค ผู้อำนวยการวัดพระศรีรัตนศาสดารามยุคนั้น มาทำหน้าที่เสมือนไวยาวัจกรของวัดพระแก้วในวันพระที่จะมีการนิมนต์พระสงฆ์จากวัดต่าง ๆ มาแสดงพระธรรมเทศนาเป็นประจำ เนื่องจากวัดพระแก้วเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา การแสดงพระธรรมเทศนายุคนั้นจัดในพระอุโบสถ หรือในวันที่ต้องเตรียมพระอุโบสถสำหรับพระราชพิธีก็จะย้ายไปจัดที่ระเบียงด้านหลังพระอุโบสถ คุณพ่อคุณแม่จึงพาผมไปทำวัตรฟังธรรมด้วยในวันพระที่ตรงกับวันหยุดเรียนเสาร์อาทิตย์หรือช่วงปิดเทอม หลังเกษียณอายุราชการและต่ออายุจนครบแล้วคุณพ่อยังมาเป็นพนักงานพิเศษของวัดพระแก้วอีกหลายปีจนสุขภาพไม่เอื้ออำนวย นอกจากวัดพระแก้วแล้วผมยังมีโอกาสชมพระบรมมหาราชวังในจุดสำคัญ ๆ และมุมต่าง ๆ อยู่เนือง ๆ โดยเฉพาะปราสาทพระเทพบิดร แต่ระยะหลังนับจากเข้าเรียนธรรมศาสตร์เมื่อ 40 ปีก่อนแล้วห่างวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวังไปมาก จนกระทั่งมามีตำแหน่งการเมืองภาระหน้าที่ทำให้มีโอกาสมาเยือนวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวังหลายครั้งในวันงานพระราชพิธีต่าง ๆ ที่เป็นเวรเข้าเฝ้าฯ ซึ่งก็ให้บังเอิญที่ต้องมาที่พระอุโบสถวัดพระแก้วถึง 3 ครั้ง ครั้งหนึ่งมีกรมวังเข้ามาทักแล้วบอกว่าเคยทำงานร่วมกับคุณพ่อผมทำให้ดีใจมาก
แต่เมื่อเช้าวันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 เป็นครั้งพิเศษที่แตกต่างออกไป เพราะเป็นครั้งแรกที่ได้กล่าวคำสัตย์ปฏิญาณต่อพระแก้วมรกตภายในพระอุโบสถ
"ข้าพเจ้า นายคำนูณ สิทธิสมาน ขอปฏิญาณเฉพาะพระพักตร์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรว่า ข้าพเจ้าจักปฏิบัติหน้าที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยความสุจริต เที่ยงธรรม เป็นกลาง ปราศจากอคติ ด้วยความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และยึดมั่นในประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชาชาวไทยทุกประการ ขอพุทธานุภาพแห่งพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรได้ประทานพรให้การจัดทำรัฐธรรมนูญลุล่วงด้วยดี และแก้ไขปัญหาบ้านเมืองได้จงทุกประการ"
นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสสำคัญยิ่งในชีวิตได้เข้าไปสักการะพระสยามเทวาธิราช ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในบริเวณหมู่พระที่นั่งมหามณเฑียร และได้กล่าวคำสัตย์ปฏิญาณเฉพาะพระพักตร์เช่นกัน
“ข้าพเจ้า นายคำนูณ สิทธิสมาน ขอปฏิญาณเฉพาะพระพักตร์พระสยามเทวาธิราชเจ้าว่า ข้าพเจ้าจักปฏิบัติหน้าที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยความสุจริต เที่ยงธรรม เป็นกลาง ปราศจากอคติ ด้วยความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และยึดมั่นในประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชาชาวไทยทุกประการ ขอเทวานุภาพแห่งพระสยามเทวาธิราชเจ้าได้ประทานพรให้การจัดทำรัฐธรรมนูญลุล่วงด้วยดี และแก้ไขปัญหาบ้านเมืองได้จงทุกประการ"
ในฐานะหนึ่งในโฆษกของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หนึ่งในคำถามยอดฮิตที่ได้รับจากสื่อคือประชาชนจะมั่นใจได้อย่างไรว่าคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะไม่มีธงไว้ล่วงหน้า จะมั่นใจได้อย่างไรร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะไม่กีดกันฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งออกไปและเอื้อให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้ามา จะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะร่างรัฐธรรมนูญเสร็จทันตามกำหนดไม่ใช่เล่นเกมต่ออายุให้คสช. ฯลฯ ผมมักจะตอบว่ากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทุกคนสูงวัยเป็นส่วนใหญ่ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีชื่อเสียง หลายคนอาจจะเป็นงานการเมืองครั้งสุดท้าย เพราะเมื่อพ้นตำแหน่งแล้วก็ต้องห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีก 2 ปี คงไม่มีใครอยากทิ้งทุกอย่างไว้เพื่อรับใช้กลุ่มอำนาจใดหรอก และอีกประการหนึ่งทุกคนก็ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของบ้านเมืองแล้ว
“สุจริต เที่ยงธรรม เป็นกลาง ปราศจากอคติ”
และคำตอบส่วนตัวผมในการให้สัมภาษณ์ส่วนตัวก็คือผมมีลูกวัย 16 และ 15 ไม่ได้มีทรัพย์สินเหลือเป็นมรดกตกทอดไว้ให้มากนัก ผมปรารถนาให้สังคมไทยในอนาคตที่ลูกจะเติบโตขึ้นมาเป็นสังคมที่มีความสงบสุขสันติพอสมควร มีความขัดแย้งได้แต่ต้องมีวิธีการจัดการกับความขัดแย้งภายในกรอบที่คู่ขัดแย้งยอมรับ ไม่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมมากเกินไป มีโอกาสสำหรับทุกคน ประกอบสัมมาชีพได้ตามความรู้ความสามารถ ไม่ต้องเที่ยวไปวิ่งเต้นกราบกรานใครหรือใช้เงินหว่านซื้อ บ้านเมืองเดินหน้าไปได้ตามครรลอง มีความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ไม่เป็นสังคมที่อยู่กันด้วยความเกลียดชัง
พูดง่าย ๆ ก็คือมาทำงานครั้งนี้คิดถึงลูกเป็นหลัก
อาจจะเป็นความหวัง หรือกระทั่งความฝัน ที่ยากนักที่จะเดินไปให้ถึงในโลกแห่งความเป็นจริง แต่ผมก็ยังเชื่อด้วยบริสุทธิ์ว่านี่เป็นความฝันในความหมายของความใฝ่ฝันที่มีโอกาสเป็นจริงได้ไม่ใช่ความเพ้อฝันที่ไม่มีโอกาสเป็นจริงได้เลย
การยกร่างรัฐธรรมนูญผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์อย่างราบรื่นพอสมควร มีการวางกรอบโครงสร้างของร่างรัฐธรรมนูญใหม่เรียบร้อย มีการตั้งอนุกรรมาธิการยกร่างเนื้อหาแยกไปพิจารณาตามกรอบโครงสร้าง 10 คณะ และกำลังเริ่มรับฟังความคิดเห็นจากพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองต่าง ๆ รวมทั้งจากสภาปฏิรูปแห่งชาติที่น่าจะมีการประชุมใหญ่วาระนี้โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 15 – 17 ธันวาคม 2557
จากนั้นจึงจะนำมาประมวลยกร่างเป็นรายมาตราตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป
เพื่อให้เสร็จและส่งสภาปฏิรูปแห่งชาติได้ภายในวันที่ 17 เมษายน 2558 ตามกำหนดของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557
หลักการใดที่ผมเคยเสนอต่อสาธารณะ ผมได้เสนอในเบื้องต้นต่อคณะกรรมาธิกายกร่างรัฐธรรมนูญไปแล้วเกือบทั้งหมด แต่จะสำเร็จทั้งหมดหรือไม่วันนี้ยังเร็วไปที่จะกล่าวถึง
วันนี้ ทุกค่ำคืนหรือทุกครั้งที่สวดมนต์ผมจะนำคำอธิษฐานที่จำมาจากคุณพ่อมาอธิษฐานทุกครั้ง
“ขอให้ข้าพเจ้ามีสติปัญญาแจ่มใสเห็นชัดชั่วดีผิดชอบเสื่อมเจริญทั้งหลาย...”
แน่นอนว่ารัฐธรรมนูญสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงขึ้นมาไม่ได้ทันที แต่ก็อาจจะสร้างรากฐานเอื้อให้เกิดปัจจัยและกระบวนการที่จะทำให้เกิดการพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงในอนาคตได้
การยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้มีข้อจำกัดทางสถานการณ์มากกว่าทุกครั้งในอดีต เพราะอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมที่ยืดเยื้อยาวนานอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ความสงบที่เกิดขึ้นก็เพียงชั่วคราวเท่านั้น คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจึงถูกปรามาสสารพัดจากแทบทุกฝ่าย และก็มีความเป็นไปได้สูงว่าเมื่อร่างรัฐธรรมนูญปรากฎออกมาอาจจะไม่เป็นที่พอใจของทุกฝ่ายเลยก็ได้ แต่ผมก็อาสาเข้ามาเป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นความตั้งใจตั้งแต่แรกที่รับการเสนอชื่อจากมูลนิธิสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตยเข้ารับการคัดสรรเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติในกลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมแล้ว
ผมเริ่มปฏิบัติหน้าที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเมื่อเช้าวันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 ด้วยการร่วมเดินทางไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
แน่นอนว่าเป็นการเริ่มต้นที่มีความหมายอย่างยิ่งกับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 36 คน
แต่เฉพาะตัวผม มีความหมายพิเศษเพิ่มเติมตรงที่เหมือนเดินจูงมือคุณพ่อผู้ล่วงลับเข้าไป
ตอนเด็ก ๆ ผมเข้าวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้วบ่อยมาก เพราะคุณพ่อเพิ่ม สิทธิสมานรับราชการสำนักพระราชวัง และด้วยความที่ท่านจบเปรียญธรรม 6 ประโยคสมัยบวชอยู่วัดประยุรวงศาวาส จนผู้คนเรียกขานท่านว่ามหาเพิ่ม จึงได้รับเชิญจากคุณชิวห์ บุนนาค ผู้อำนวยการวัดพระศรีรัตนศาสดารามยุคนั้น มาทำหน้าที่เสมือนไวยาวัจกรของวัดพระแก้วในวันพระที่จะมีการนิมนต์พระสงฆ์จากวัดต่าง ๆ มาแสดงพระธรรมเทศนาเป็นประจำ เนื่องจากวัดพระแก้วเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา การแสดงพระธรรมเทศนายุคนั้นจัดในพระอุโบสถ หรือในวันที่ต้องเตรียมพระอุโบสถสำหรับพระราชพิธีก็จะย้ายไปจัดที่ระเบียงด้านหลังพระอุโบสถ คุณพ่อคุณแม่จึงพาผมไปทำวัตรฟังธรรมด้วยในวันพระที่ตรงกับวันหยุดเรียนเสาร์อาทิตย์หรือช่วงปิดเทอม หลังเกษียณอายุราชการและต่ออายุจนครบแล้วคุณพ่อยังมาเป็นพนักงานพิเศษของวัดพระแก้วอีกหลายปีจนสุขภาพไม่เอื้ออำนวย นอกจากวัดพระแก้วแล้วผมยังมีโอกาสชมพระบรมมหาราชวังในจุดสำคัญ ๆ และมุมต่าง ๆ อยู่เนือง ๆ โดยเฉพาะปราสาทพระเทพบิดร แต่ระยะหลังนับจากเข้าเรียนธรรมศาสตร์เมื่อ 40 ปีก่อนแล้วห่างวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวังไปมาก จนกระทั่งมามีตำแหน่งการเมืองภาระหน้าที่ทำให้มีโอกาสมาเยือนวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวังหลายครั้งในวันงานพระราชพิธีต่าง ๆ ที่เป็นเวรเข้าเฝ้าฯ ซึ่งก็ให้บังเอิญที่ต้องมาที่พระอุโบสถวัดพระแก้วถึง 3 ครั้ง ครั้งหนึ่งมีกรมวังเข้ามาทักแล้วบอกว่าเคยทำงานร่วมกับคุณพ่อผมทำให้ดีใจมาก
แต่เมื่อเช้าวันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 เป็นครั้งพิเศษที่แตกต่างออกไป เพราะเป็นครั้งแรกที่ได้กล่าวคำสัตย์ปฏิญาณต่อพระแก้วมรกตภายในพระอุโบสถ
"ข้าพเจ้า นายคำนูณ สิทธิสมาน ขอปฏิญาณเฉพาะพระพักตร์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรว่า ข้าพเจ้าจักปฏิบัติหน้าที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยความสุจริต เที่ยงธรรม เป็นกลาง ปราศจากอคติ ด้วยความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และยึดมั่นในประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชาชาวไทยทุกประการ ขอพุทธานุภาพแห่งพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรได้ประทานพรให้การจัดทำรัฐธรรมนูญลุล่วงด้วยดี และแก้ไขปัญหาบ้านเมืองได้จงทุกประการ"
นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสสำคัญยิ่งในชีวิตได้เข้าไปสักการะพระสยามเทวาธิราช ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในบริเวณหมู่พระที่นั่งมหามณเฑียร และได้กล่าวคำสัตย์ปฏิญาณเฉพาะพระพักตร์เช่นกัน
“ข้าพเจ้า นายคำนูณ สิทธิสมาน ขอปฏิญาณเฉพาะพระพักตร์พระสยามเทวาธิราชเจ้าว่า ข้าพเจ้าจักปฏิบัติหน้าที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยความสุจริต เที่ยงธรรม เป็นกลาง ปราศจากอคติ ด้วยความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และยึดมั่นในประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชาชาวไทยทุกประการ ขอเทวานุภาพแห่งพระสยามเทวาธิราชเจ้าได้ประทานพรให้การจัดทำรัฐธรรมนูญลุล่วงด้วยดี และแก้ไขปัญหาบ้านเมืองได้จงทุกประการ"
ในฐานะหนึ่งในโฆษกของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หนึ่งในคำถามยอดฮิตที่ได้รับจากสื่อคือประชาชนจะมั่นใจได้อย่างไรว่าคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะไม่มีธงไว้ล่วงหน้า จะมั่นใจได้อย่างไรร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะไม่กีดกันฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งออกไปและเอื้อให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้ามา จะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะร่างรัฐธรรมนูญเสร็จทันตามกำหนดไม่ใช่เล่นเกมต่ออายุให้คสช. ฯลฯ ผมมักจะตอบว่ากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทุกคนสูงวัยเป็นส่วนใหญ่ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีชื่อเสียง หลายคนอาจจะเป็นงานการเมืองครั้งสุดท้าย เพราะเมื่อพ้นตำแหน่งแล้วก็ต้องห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีก 2 ปี คงไม่มีใครอยากทิ้งทุกอย่างไว้เพื่อรับใช้กลุ่มอำนาจใดหรอก และอีกประการหนึ่งทุกคนก็ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของบ้านเมืองแล้ว
“สุจริต เที่ยงธรรม เป็นกลาง ปราศจากอคติ”
และคำตอบส่วนตัวผมในการให้สัมภาษณ์ส่วนตัวก็คือผมมีลูกวัย 16 และ 15 ไม่ได้มีทรัพย์สินเหลือเป็นมรดกตกทอดไว้ให้มากนัก ผมปรารถนาให้สังคมไทยในอนาคตที่ลูกจะเติบโตขึ้นมาเป็นสังคมที่มีความสงบสุขสันติพอสมควร มีความขัดแย้งได้แต่ต้องมีวิธีการจัดการกับความขัดแย้งภายในกรอบที่คู่ขัดแย้งยอมรับ ไม่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมมากเกินไป มีโอกาสสำหรับทุกคน ประกอบสัมมาชีพได้ตามความรู้ความสามารถ ไม่ต้องเที่ยวไปวิ่งเต้นกราบกรานใครหรือใช้เงินหว่านซื้อ บ้านเมืองเดินหน้าไปได้ตามครรลอง มีความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ไม่เป็นสังคมที่อยู่กันด้วยความเกลียดชัง
พูดง่าย ๆ ก็คือมาทำงานครั้งนี้คิดถึงลูกเป็นหลัก
อาจจะเป็นความหวัง หรือกระทั่งความฝัน ที่ยากนักที่จะเดินไปให้ถึงในโลกแห่งความเป็นจริง แต่ผมก็ยังเชื่อด้วยบริสุทธิ์ว่านี่เป็นความฝันในความหมายของความใฝ่ฝันที่มีโอกาสเป็นจริงได้ไม่ใช่ความเพ้อฝันที่ไม่มีโอกาสเป็นจริงได้เลย
การยกร่างรัฐธรรมนูญผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์อย่างราบรื่นพอสมควร มีการวางกรอบโครงสร้างของร่างรัฐธรรมนูญใหม่เรียบร้อย มีการตั้งอนุกรรมาธิการยกร่างเนื้อหาแยกไปพิจารณาตามกรอบโครงสร้าง 10 คณะ และกำลังเริ่มรับฟังความคิดเห็นจากพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองต่าง ๆ รวมทั้งจากสภาปฏิรูปแห่งชาติที่น่าจะมีการประชุมใหญ่วาระนี้โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 15 – 17 ธันวาคม 2557
จากนั้นจึงจะนำมาประมวลยกร่างเป็นรายมาตราตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป
เพื่อให้เสร็จและส่งสภาปฏิรูปแห่งชาติได้ภายในวันที่ 17 เมษายน 2558 ตามกำหนดของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557
หลักการใดที่ผมเคยเสนอต่อสาธารณะ ผมได้เสนอในเบื้องต้นต่อคณะกรรมาธิกายกร่างรัฐธรรมนูญไปแล้วเกือบทั้งหมด แต่จะสำเร็จทั้งหมดหรือไม่วันนี้ยังเร็วไปที่จะกล่าวถึง
วันนี้ ทุกค่ำคืนหรือทุกครั้งที่สวดมนต์ผมจะนำคำอธิษฐานที่จำมาจากคุณพ่อมาอธิษฐานทุกครั้ง
“ขอให้ข้าพเจ้ามีสติปัญญาแจ่มใสเห็นชัดชั่วดีผิดชอบเสื่อมเจริญทั้งหลาย...”