ASTVผู้จัดการรายวัน- มติวิปสนช. เลื่อนถอดถอน ยิ่งลักษณ์ ไป 28 พ.ย. เรืองไกร ขู่เอาผิดสนช.ใช้อำนาจเกินรธน. อภิสิทธิ์ ระบุรธน.ชั่วคราว ไม่บัญญัติบทถอดถอนให้ชัดเจน ทำให้เกิดสภาวะกระอักกระอ่วนในด้านความชอบธรรมทางการเมือง เหตุผู้ถอดถอนไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เสนอทางออกที่ 3 รอ ส.ว.ชุดใหม่เข้ามาถอดถอนหลังเลือกตั้ง พร้อมชี้ช่องสู้คดี ยิ่งลักษณ์ ต้องพิสูจน์ว่าได้ยับยั้งการทุจริตอย่างไร นิพิฏฐ์เปิดถ้วยแทง ปูรอดชัวร์
วานนี้ (11พ.ย.) นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิปสนช.) แถลงภายหลังการประชุมวิปสนช.ว่า ที่ประชุมมีมติให้เลื่อนวาระการพิจารณาถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในวันนี้ (12พ.ย.)ออกไปก่อน เนื่องจากทนายความของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ทำหนังสือขอเลื่อนการพิจารณาเรื่องนี้ออกไป 30 วัน โดยอ้างว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังไม่ได้ศึกษารายละเอียดของสำนวนที่ป.ป.ช.ส่งมา ซึ่งวิปสนช.ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ว่า ได้ส่งหนังสือถึงมือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เมื่อวันที่ 7 พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งตามข้อบังคับการประชุมสนช. ระบุว่าต้องส่งสำนวนให้แล้ว15 วันจึงจะเริ่มพิจารณาได้ ฉะนั้นจึงตรงกับวันที่ 22 พ.ย. แต่เนื่องจากเป็นวันหยุด ทำให้ต้องเลื่อนการพิจารณาไปในวันที่ 27 พ.ย. ซึ่งในวันดังกล่าว ก็มีวาระต้องพิจารณาถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภาอีก ดังนั้นเพื่อความเป็นธรรมและเพื่อให้ถูกต้องตามข้อบังคับ วิปสนช. จึงมีมติเลื่อนการพิจารณาออกไปเป็นวันที่ 28 พ.ย. ซึ่งถือเป็นการพิจารณานัดแรกเพื่อกำหนดวันแถลงเปิดคดี
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ ( 12 พ.ย.) จะเปิดโอกาสให้ทนายความน.ส.ยิ่งลักษณ์ คัดสำเนาเอกสารถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพิ่มเติมได้ และในวันดังกล่าววิปสนช. จะแจ้งมติให้ที่ประชุมสนช.ใหญ่รับรองเรื่องดังกล่าว รวมถึงพิจารณากฎหมายอื่นๆ ที่ค้างอยู่ด้วย
ส่วนกรณีที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ยื่นหนังสือขอให้ยกเลิกเรื่องถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ออกจากการพิจารณานั้น เรื่องนี้วิปสนช. มีการพิจารณาประเด็นดังกล่าวแล้ว และเห็นว่า นายเรืองไกร ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนี้
เมื่อถามว่ากลัวหรือไม่ หากยังเดินหน้าพิจารณาอาจจะถูกยื่นต่อป.ป.ช. ว่าปฏิบัติหน้าที่มิชอบหรือไม่ นพ.เจตน์ กล่าวว่า ไม่ผิดข้อบังคับ สนช.ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย และข้อบังคับทุกอย่าง
** เตือนทนายยิ่งลักษณ์อย่าตุกติก
นายสมชาย แสวงการ สมาชิกสนช. ในฐานะวิปสนช. กล่าวว่า การที่วิป สนช.ให้เลื่อนการพิจารณาถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ออกไป 21 วัน เพราะมีการร้องขอความเป็นธรรมนั้นไม่มีปัญหาที่จะเลื่อน แต่เห็นว่าอาจเลื่อนได้เพียงครั้งเดียว เพราะไม่มีเหตุอื่นที่ต้องเลื่อนอีก เหมือนกับการพิจารณาคดีความในศาล และถือว่าเป็นการให้เกียรติกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่เป็นอดีตนายกฯด้วย จึงให้ความเป็นธรรมตามที่มีการร้องขอ และในวันที่ 12 พ.ย. ทีมทนายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ต้องมาคัดลอกสำเนาเอกสารให้เรียบร้อย อย่าตุกติกเป็นอย่างอื่น หากวันข้างหน้าจะขออะไรอีก ที่ประชุมอาจจะพิจารณาเป็นอย่างอื่นก็ได้ เพราะวาระพิจารณาการถอดถอน ก็ยังอยู่ในวาระการประชุมสนช. วันที่ 12 พ.ย. ส่วนจะมีสมาชิกคนใดเห็นแตกต่างจากมติวิปสนช.หรือไม่ ตนก็ไม่ทราบ
ถ้าทีมทนายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่มา ก็ต้องพิจารณากันอีกครั้ง โดยขอให้ทีมทนายให้คำแนะนำ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อย่างตรงไปตรงมา อย่าแนะนำเป็นอย่างอื่น และหากจะขอเลื่อนอีกในภายหลัง เชื่อว่าคงไม่มีการอนุญาตให้เลื่อนได้ เนื่องจากเป็นกระบวนการถอดถอนไม่ใช่การพิจารณาคดีในชั้นศาล นายสมชาย กล่าว
ด้านพล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สนช. กล่าวว่า การที่วิปสนช. เลื่อนพิจารณาวาระดังกล่าวออกไป ถือว่าต้องการให้โอกาสต่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ส่วนระยะเวลาที่เหมาะสมที่สมควรเลื่อนออกไป คือ 7–15 วัน ซึ่งตนคิดว่า ต้องให้โอกาสตามความเหมาะสม แม้บางคนเห็นว่าเขาดึงเรื่อง แต่เราก็ต้องให้ความยุติธรรม จนเขาคิดว่าได้รับความยุติธรรมแล้ว และไม่ห่วงว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะยื้อเรื่องดังกล่าวออกไปอีก ซึ่งหากมีการหนีการต่อสู้คดี แสดงว่ายอมรับการกระทำ แต่หากคิดว่ามีความชอบธรรม ก็ควรเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เช่น การถอดถอน และสู้คดีในชั้นศาล หากป.ป.ช. และอัยการสูงสุดจะส่งฟ้อง
** เรืองไกรขู่สนช.ใช้อำนาจเกินรธน.
ทั้งนี้ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นางนรรัตน์ พิมพ์เสน เลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อขอให้สนช. ถอนระเบียบวาระการประชุมในวันที่ 12 พ.ย. ที่จะพิจารณาการถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ กรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวออกไปก่อน เนื่องจากเห็นว่า การที่สนช.อ้างบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ในมาตรา 6 ว่ามีอำนาจถอดถอนนั้น ไม่สามารถกระทำได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติเฉพาะให้ถอดถอนแต่อย่างใด และเมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญปี 2550 จะเห็นได้ชัดเจนว่า ในมาตรา 270 ถึงมาตรา 274 มีบทบัญญัติที่ให้อำนาจวุฒิสภาการถอดถอนไว้ แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 ไม่มีบทบัญญัติเฉพาะให้มีการถอดถอนแต่อย่างใด อีกทั้งการอ้างอำนาจตามรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ในมาตรา 13 วรรคสอง โดยตีความคำว่ากิจการอื่น แปลว่า มีอำนาจถอดถอนได้ด้วยนั้น ย่อมเป็นการส่อว่าจงใจใช้อำนาจขัดรัฐธรรมนูญ และถือว่าการตราข้อบังคับการประชุม สนช. พ .ศ. 2557 จึงมิชอบ นอกจากนี้เรื่องดังกล่าว ตนได้มีการยื่นให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ทำความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
นายเรืองไกร กล่าวด้วยว่า ข้อบังคับการประชุมสนช. พ.ศ.2557 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 57 ที่ออกโดยอาศัยรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 มาตรา 13 วรรคสอง อาจตราโดยไม่ชอบ เนื่องจากการตีความ กิจการอื่น ซึ่งขยายความไปถึงอำนาจการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ด้วยนั้น ก็ขัดแย้งกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 5 /2553 ที่ได้มีการตีความขยายอำนาจให้สนช. มีอำนาจเกินไปกว่ารัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 ดังนั้นหาก สนช.ดำเนินการตามระเบียบวาระการประชุมในวันที่ 12 พ.ย. ก็เป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ จึงขอให้พิจารณาถอนวาระดังกล่าวออกไปก่อน แต่หากสนช.ยังเดินหน้าต่อไป ก็สุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิดตาม มาตรา 58 ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญแห่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ฐานส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และอาจทำให้สนช. ต้องรับโทษตามมาตรา123/1 ได้
** มาร์คชี้ รธน.ชั่วคราวไม่ชัดเจน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของ สนช. ในการถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา รวมถึงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เนื่องจากในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2557 ฉบับชั่วคราว ไม่มีการบัญญัติเรื่องการถอดถอนไว้ชัดเจนว่า ตนไม่ทราบว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวได้พิจารณาเรื่องนี้อย่างละเอียดหรือไม่ แต่ตนได้ตั้งข้อสังเกตว่า น่าจะมีปัญหาในประเด็นนี้ เพราะหากต้องการจะสร้างความชัดเจน จะต้องไปเขียนเป็นบทเฉพาะกาลว่า เรื่องที่เป็นอำนาจของวุฒิสภาในกระบวนการตามรัฐธรรมนูญเดิม ให้ทำอย่างไร ซึ่งสามารถระบุได้ชัดว่าสนช. สามารถทำได้ หรือทำไม่ได้ หรืออาจจะเขียนว่า รอจนกว่าจะมีวุฒิสภาในอนาคตมาทำ แต่การไม่ระบุไว้ จึงทำให้เกิดปัญหาข้อโต้แย้งได้ แม้จะมีการเขียนให้สนช.ทำหน้าที่ทั้ง ส.ส. และ ส.ว.ก็มีคำถามว่า มีหน้าที่อะไรบ้าง หรือแม้จะมีการอ้างถึงกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช. แต่ก็มีคำถามคือ กฎหมายป.ป.ช. เขียนไว้แค่ไหน แม้มีการกำหนดให้ป.ป.ช. ส่งเรื่องให้ประธานวุฒิสภา แต่ประเด็นอำนาจของวุฒิสภา ไม่ได้อยู่ในกฎหมายดังกล่าว
เรื่องนี้มันมีปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งควรจะต้องบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ต้น ว่ากระบวนการนี้ควรจะเป็นอย่างไร เมื่อ สนช.มีความเห็นเป็น 2 ทาง ผมไม่แน่ใจว่าจะมีช่องทางที่จะให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัยหรือไม่ ซึ่งความผิดของนายสมศักดิ์ และนายนิคม ถือเป็นความผิดทางการเมืองที่สมควรแก่การถอดถอน แต่ที่ลำบากใจ เพราะ เป็นการลงโทษทางการเมืองกับนักการเมือง ซึ่งมีตามรัฐธรรมนูญปี 50 แต่กลุ่มบุคคลที่จะมาพิจารณาถอดถอน มาจากรัฐธรรมนูญปี 57 ขณะที่บุคคลทั้งสองมาจากการเลือกตั้ง คนที่จะถอดถอนจึงต้องยึดโยงกับประชาชน คือวุฒิสภา เหตุที่ไม่ให้ศาลเป็นคนถอดถอน เพราะศาลพิจารณาเชิงกฎหมาย จึงทำให้เกิดภาวะกระอักกระอ่วนใจ
** แนะรอส.ว.ชุดใหม่ถอดถอน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า หากมองในเชิงความชอบธรรมทางการเมือง ก็ควรให้คนที่มาจากการเมืองเป็นผู้พิจารณา แต่ในแง่พฤติกรรม หากไม่มีโทษทางการเมืองเลย ก็จะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิด เพราะเรากำลังพูดถึงการปฏิรูปประเทศ และปฏิรูปการเมือง หากยังมีประธานที่ทำหน้าที่ตัดสิทธิ์สมาชิกเสียงข้างน้อย เปลี่ยนเอกสาร อนุญาตให้มีการลงคะแนนแทนกันได้ จะเป็นการปฏิรูปหรือไม่ ดังนั้นควรจะมีโทษทางการเมือง แต่เรื่องความชอบธรรม หรือสภาพปัจจุบันมันมีข้อโต้แย้งอยู่ คือในเชิงกฎหมายนั้น สนช.มีอำนาจในการถอดถอน แต่ในเชิงการเมือง หรือความชอบธรรมทางการเมือง ยังมีคำถามอยู่
ผมเชื่อว่ากระบวนการถอดถอนหลังจากนี้ หากสำเร็จ และชอบด้วยกฎหมาย ฝ่ายที่ถูกถอดถอน จะหยิบเรื่องนี้มาเป็นประเด็นโจมตีไปอีกไม่จบ ไม่สิ้น ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขที่สร้างปัญหาทางการเมืองขึ้นมา ถ้าเป็นผมจะต้องเขียนรัฐธรรมนูญชั่วคราว ผมจะเขียนทางออกที่ 3 ว่า เรื่องแบบนี้อาจจะต้องรอสภาที่มาจากการเลือกตั้งมาจัดการ โดยจะไม่กระทบต่อความชอบธรรมทางกฎหมาย หรือกระบวนการทางอาญา หรือทางการเมืองทั้งสิ้น นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การถอดถอน น.ส. ยิ่งลักษณ์ กรณีทุจริตในโครงการจำนำข้าว ในฐานะที่เคยเป็นประธานกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) คนที่เป็นนายกฯ และเป็นประธานนโยบายข้าว ต้องรับผิดชอบหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องดูบทบาทอำนาจหน้าที่ของนายกฯ ควบคู่ไปกับปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้น เช่น หากมีนโยบายไปแล้วเกิดการทุจริตระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง และสันนิษฐานว่า ตัวนายกฯไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง ตรงนี้คงไม่ใช่ความผิดนายกฯ แต่หากมีคนพบว่า มีการทุจริตแล้วมาแจ้ง โดยนายกฯได้สั่งให้แก้ไขตรวจสอบ ก็แสดงให้เห็นว่า นายกฯพยายามที่จะแก้ไข แต่หากไม่ทำอะไรเลย ก็จะถูกตั้งข้อสงสัยว่าเข้าไปเกี่ยวข้อง หรือมีผลประโยชน์อะไรกับการทุจริตที่เกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งในกรณีนโยบายการจำนำข้าว มีประเด็นที่เกิดการกล่าวหาว่า นายกฯ สมควรจะถูกถอดถอนเพราะว่า ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย เพราะการทุจริตที่เกิดขึ้นไม่ใช่ในเชิงการปฏิบัติตามนโยบาย แต่จากการที่นโยบายถูกออกแบบมา แล้วคาดการณ์ตั้งแต่ต้นว่าจะเกิดปัญหาการทุจริตและความเสียหายขึ้น โดยมีหลายคนที่เกี่ยวข้องได้เตือนแล้ว ดังนั้นนายกฯ จึงไม่สามารถอ้างได้ว่า ไม่รับรู้ หรืออ้างว่าการทุจริตนั้นเป็นเรื่องของการปฏิบัติ และความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็จึงเป็นที่มาของการชี้มูลของ ป.ป.ช. ว่านายกฯ จะละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งนอกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ยังเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่ติดตามการดำเนินการของโครงการนี้
เมื่อถามว่าทีมทนายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ โต้แย้งว่า เป็นนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา โดยอ้าง มาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญปี 50 นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่ได้แถลงเรื่องโครงการจำนำข้าวอย่างเดียว แต่ยังมีนโยบายการป้องกันปราบปรามการทุจริตด้วย จะอ้างว่าแม้มีการทุจริต แต่จำเป็นต้องเดินหน้าเพราะเป็นนโยบายที่แถลงไว้ ก็ขัดกับนโยบายที่แถลงว่า จะต้องปราบปรามการทุจริตที่เกิดขึ้น หรือนโยบายอื่นๆที่มีการแถลงต่อสภา เช่น ลดราคาน้ำมันเบนซิน ลด 7 บาท โดยครั้งแรกจะยุบกองทุนน้ำมัน และลดราคาต่างๆ แต่ว่าพอทำไปแล้วก็เลิก ในที่สุดก็กลับมาเก็บเงินกองทุนน้ำมัน และขึ้นราคาน้ำมันเบนซิน ก็ในระดับที่สูง ดังนั้นนายกฯ มีสิทธิ์ที่จะยับยั้งนโยบายหากมันสร้างความเสียหายได้
ดังนั้น ประเด็นที่สำคัญที่สุดในการต่อสู้ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะต้องเป็นว่า เมื่อได้เห็นปัญหาต่างๆของนโยบายข้าวแล้ว ได้ทำอะไรบ้าง ในการที่จะระงับยับยั้ง ไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือไม่ให้เกิดการทุจริต ซึ่ง ป.ป.ช. หรือศาล หรือสนช. ก็ต้องไปพิจารณาต่อไปว่า ข้อต่อสู้นั้น ฟังขึ้นหรือไม่
**นิพิฏฐ์ เชื่อปูรอดชัวร์
นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับข้อบังคับการประชุม แต่ถือเป็นการใช้ดุลพินิจของสมาชิก ที่ว่าข้ออ้างของทีมทนายความนั้นชอบ หรือรับฟังได้หรือไม่ แต่หากสนช. มีมติให้เลื่อนออกไป จะทำให้ทีมทนายเอาไปอ้างว่า ที่เลื่อนให้เพราะสมาชิกเห็นว่า ยังไม่สมบูรณ์ ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะหากสมบูรณ์แล้วจะเลื่อนทำไม แสดงว่าการต่อสู้ของเขาถูกต้อง รับฟังได้ และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็มีเหตุผลไปสำทับให้มากขึ้นว่า ที่ร้องค้านว่าไม่รอบคอบ ไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้น เป็นความจริง ไม่เช่นนั้น สนช.จะเลื่อนทำไม แม้จะพอคาดได้ว่า เรื่องนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ หลุดแน่นอน แต่เขาต้องสู้ทุกประเด็น เพื่อเป็นการทำลายน้ำหนัก ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ ที่เรียกว่า ข้อต่อสู้ของจำเลยฟังขึ้น จึงให้เลื่อนออกไป ซึ่งการประชุมสนช. ในวันนี้(12 พ.ย.) สมาชิกสามารถใช้ดุลยพินิจ มีมติไม่ให้เลื่อนออกไป เพราะเห็นว่ามีความรอบคอบแล้วก็ได้ แต่ถ้ามีมติให้เลื่อนออกไป ก็จะเข้าทางทีมทนายทันที
ผมคาดว่า มติจะออกมาให้เลื่อนวาระออกไป เพราะอย่างน้อยก็ทำให้สนช. ได้มีเวลาหายใจออกไปอีก 15วัน เพราะขณะนี้กระแสแรงบีบจากสังคมอย่างมาก และไม่แปลกใจเรื่องนี้ เป็นการทดสอบคนดีอย่างหนึ่ง ก่อนเข้ามาก็วิจารณ์ได้ว่า ต้องมีการปราบปรามการทุจริตต่างๆ แต่เมื่ออำนาจอยู่ในมือแล้ว เราก็จะรู้ว่าใครพูดจริง หรือไม่จริง และว่ากรณีถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ คงได้ข้อสรุปออกมาไม่ต่างจากของ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และนายนิคม ไวยรัชพานิช โดยอาจจะมี สนช.โหวตรับเรื่องไว้พิจารณาจำนวนมากกว่า แต่เปิดถ้วยแทงได้เลยว่า ถอดถอนไม่ได้ นายนิพิฏฐ์ กล่าว
-------------
วานนี้ (11พ.ย.) นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิปสนช.) แถลงภายหลังการประชุมวิปสนช.ว่า ที่ประชุมมีมติให้เลื่อนวาระการพิจารณาถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในวันนี้ (12พ.ย.)ออกไปก่อน เนื่องจากทนายความของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ทำหนังสือขอเลื่อนการพิจารณาเรื่องนี้ออกไป 30 วัน โดยอ้างว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังไม่ได้ศึกษารายละเอียดของสำนวนที่ป.ป.ช.ส่งมา ซึ่งวิปสนช.ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ว่า ได้ส่งหนังสือถึงมือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เมื่อวันที่ 7 พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งตามข้อบังคับการประชุมสนช. ระบุว่าต้องส่งสำนวนให้แล้ว15 วันจึงจะเริ่มพิจารณาได้ ฉะนั้นจึงตรงกับวันที่ 22 พ.ย. แต่เนื่องจากเป็นวันหยุด ทำให้ต้องเลื่อนการพิจารณาไปในวันที่ 27 พ.ย. ซึ่งในวันดังกล่าว ก็มีวาระต้องพิจารณาถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภาอีก ดังนั้นเพื่อความเป็นธรรมและเพื่อให้ถูกต้องตามข้อบังคับ วิปสนช. จึงมีมติเลื่อนการพิจารณาออกไปเป็นวันที่ 28 พ.ย. ซึ่งถือเป็นการพิจารณานัดแรกเพื่อกำหนดวันแถลงเปิดคดี
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ ( 12 พ.ย.) จะเปิดโอกาสให้ทนายความน.ส.ยิ่งลักษณ์ คัดสำเนาเอกสารถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพิ่มเติมได้ และในวันดังกล่าววิปสนช. จะแจ้งมติให้ที่ประชุมสนช.ใหญ่รับรองเรื่องดังกล่าว รวมถึงพิจารณากฎหมายอื่นๆ ที่ค้างอยู่ด้วย
ส่วนกรณีที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ยื่นหนังสือขอให้ยกเลิกเรื่องถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ออกจากการพิจารณานั้น เรื่องนี้วิปสนช. มีการพิจารณาประเด็นดังกล่าวแล้ว และเห็นว่า นายเรืองไกร ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนี้
เมื่อถามว่ากลัวหรือไม่ หากยังเดินหน้าพิจารณาอาจจะถูกยื่นต่อป.ป.ช. ว่าปฏิบัติหน้าที่มิชอบหรือไม่ นพ.เจตน์ กล่าวว่า ไม่ผิดข้อบังคับ สนช.ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย และข้อบังคับทุกอย่าง
** เตือนทนายยิ่งลักษณ์อย่าตุกติก
นายสมชาย แสวงการ สมาชิกสนช. ในฐานะวิปสนช. กล่าวว่า การที่วิป สนช.ให้เลื่อนการพิจารณาถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ออกไป 21 วัน เพราะมีการร้องขอความเป็นธรรมนั้นไม่มีปัญหาที่จะเลื่อน แต่เห็นว่าอาจเลื่อนได้เพียงครั้งเดียว เพราะไม่มีเหตุอื่นที่ต้องเลื่อนอีก เหมือนกับการพิจารณาคดีความในศาล และถือว่าเป็นการให้เกียรติกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่เป็นอดีตนายกฯด้วย จึงให้ความเป็นธรรมตามที่มีการร้องขอ และในวันที่ 12 พ.ย. ทีมทนายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ต้องมาคัดลอกสำเนาเอกสารให้เรียบร้อย อย่าตุกติกเป็นอย่างอื่น หากวันข้างหน้าจะขออะไรอีก ที่ประชุมอาจจะพิจารณาเป็นอย่างอื่นก็ได้ เพราะวาระพิจารณาการถอดถอน ก็ยังอยู่ในวาระการประชุมสนช. วันที่ 12 พ.ย. ส่วนจะมีสมาชิกคนใดเห็นแตกต่างจากมติวิปสนช.หรือไม่ ตนก็ไม่ทราบ
ถ้าทีมทนายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่มา ก็ต้องพิจารณากันอีกครั้ง โดยขอให้ทีมทนายให้คำแนะนำ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อย่างตรงไปตรงมา อย่าแนะนำเป็นอย่างอื่น และหากจะขอเลื่อนอีกในภายหลัง เชื่อว่าคงไม่มีการอนุญาตให้เลื่อนได้ เนื่องจากเป็นกระบวนการถอดถอนไม่ใช่การพิจารณาคดีในชั้นศาล นายสมชาย กล่าว
ด้านพล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สนช. กล่าวว่า การที่วิปสนช. เลื่อนพิจารณาวาระดังกล่าวออกไป ถือว่าต้องการให้โอกาสต่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ส่วนระยะเวลาที่เหมาะสมที่สมควรเลื่อนออกไป คือ 7–15 วัน ซึ่งตนคิดว่า ต้องให้โอกาสตามความเหมาะสม แม้บางคนเห็นว่าเขาดึงเรื่อง แต่เราก็ต้องให้ความยุติธรรม จนเขาคิดว่าได้รับความยุติธรรมแล้ว และไม่ห่วงว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะยื้อเรื่องดังกล่าวออกไปอีก ซึ่งหากมีการหนีการต่อสู้คดี แสดงว่ายอมรับการกระทำ แต่หากคิดว่ามีความชอบธรรม ก็ควรเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เช่น การถอดถอน และสู้คดีในชั้นศาล หากป.ป.ช. และอัยการสูงสุดจะส่งฟ้อง
** เรืองไกรขู่สนช.ใช้อำนาจเกินรธน.
ทั้งนี้ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นางนรรัตน์ พิมพ์เสน เลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อขอให้สนช. ถอนระเบียบวาระการประชุมในวันที่ 12 พ.ย. ที่จะพิจารณาการถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ กรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวออกไปก่อน เนื่องจากเห็นว่า การที่สนช.อ้างบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ในมาตรา 6 ว่ามีอำนาจถอดถอนนั้น ไม่สามารถกระทำได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติเฉพาะให้ถอดถอนแต่อย่างใด และเมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญปี 2550 จะเห็นได้ชัดเจนว่า ในมาตรา 270 ถึงมาตรา 274 มีบทบัญญัติที่ให้อำนาจวุฒิสภาการถอดถอนไว้ แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 ไม่มีบทบัญญัติเฉพาะให้มีการถอดถอนแต่อย่างใด อีกทั้งการอ้างอำนาจตามรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ในมาตรา 13 วรรคสอง โดยตีความคำว่ากิจการอื่น แปลว่า มีอำนาจถอดถอนได้ด้วยนั้น ย่อมเป็นการส่อว่าจงใจใช้อำนาจขัดรัฐธรรมนูญ และถือว่าการตราข้อบังคับการประชุม สนช. พ .ศ. 2557 จึงมิชอบ นอกจากนี้เรื่องดังกล่าว ตนได้มีการยื่นให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ทำความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
นายเรืองไกร กล่าวด้วยว่า ข้อบังคับการประชุมสนช. พ.ศ.2557 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 57 ที่ออกโดยอาศัยรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 มาตรา 13 วรรคสอง อาจตราโดยไม่ชอบ เนื่องจากการตีความ กิจการอื่น ซึ่งขยายความไปถึงอำนาจการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ด้วยนั้น ก็ขัดแย้งกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 5 /2553 ที่ได้มีการตีความขยายอำนาจให้สนช. มีอำนาจเกินไปกว่ารัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 ดังนั้นหาก สนช.ดำเนินการตามระเบียบวาระการประชุมในวันที่ 12 พ.ย. ก็เป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ จึงขอให้พิจารณาถอนวาระดังกล่าวออกไปก่อน แต่หากสนช.ยังเดินหน้าต่อไป ก็สุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิดตาม มาตรา 58 ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญแห่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ฐานส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และอาจทำให้สนช. ต้องรับโทษตามมาตรา123/1 ได้
** มาร์คชี้ รธน.ชั่วคราวไม่ชัดเจน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของ สนช. ในการถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา รวมถึงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เนื่องจากในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2557 ฉบับชั่วคราว ไม่มีการบัญญัติเรื่องการถอดถอนไว้ชัดเจนว่า ตนไม่ทราบว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวได้พิจารณาเรื่องนี้อย่างละเอียดหรือไม่ แต่ตนได้ตั้งข้อสังเกตว่า น่าจะมีปัญหาในประเด็นนี้ เพราะหากต้องการจะสร้างความชัดเจน จะต้องไปเขียนเป็นบทเฉพาะกาลว่า เรื่องที่เป็นอำนาจของวุฒิสภาในกระบวนการตามรัฐธรรมนูญเดิม ให้ทำอย่างไร ซึ่งสามารถระบุได้ชัดว่าสนช. สามารถทำได้ หรือทำไม่ได้ หรืออาจจะเขียนว่า รอจนกว่าจะมีวุฒิสภาในอนาคตมาทำ แต่การไม่ระบุไว้ จึงทำให้เกิดปัญหาข้อโต้แย้งได้ แม้จะมีการเขียนให้สนช.ทำหน้าที่ทั้ง ส.ส. และ ส.ว.ก็มีคำถามว่า มีหน้าที่อะไรบ้าง หรือแม้จะมีการอ้างถึงกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช. แต่ก็มีคำถามคือ กฎหมายป.ป.ช. เขียนไว้แค่ไหน แม้มีการกำหนดให้ป.ป.ช. ส่งเรื่องให้ประธานวุฒิสภา แต่ประเด็นอำนาจของวุฒิสภา ไม่ได้อยู่ในกฎหมายดังกล่าว
เรื่องนี้มันมีปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งควรจะต้องบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ต้น ว่ากระบวนการนี้ควรจะเป็นอย่างไร เมื่อ สนช.มีความเห็นเป็น 2 ทาง ผมไม่แน่ใจว่าจะมีช่องทางที่จะให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัยหรือไม่ ซึ่งความผิดของนายสมศักดิ์ และนายนิคม ถือเป็นความผิดทางการเมืองที่สมควรแก่การถอดถอน แต่ที่ลำบากใจ เพราะ เป็นการลงโทษทางการเมืองกับนักการเมือง ซึ่งมีตามรัฐธรรมนูญปี 50 แต่กลุ่มบุคคลที่จะมาพิจารณาถอดถอน มาจากรัฐธรรมนูญปี 57 ขณะที่บุคคลทั้งสองมาจากการเลือกตั้ง คนที่จะถอดถอนจึงต้องยึดโยงกับประชาชน คือวุฒิสภา เหตุที่ไม่ให้ศาลเป็นคนถอดถอน เพราะศาลพิจารณาเชิงกฎหมาย จึงทำให้เกิดภาวะกระอักกระอ่วนใจ
** แนะรอส.ว.ชุดใหม่ถอดถอน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า หากมองในเชิงความชอบธรรมทางการเมือง ก็ควรให้คนที่มาจากการเมืองเป็นผู้พิจารณา แต่ในแง่พฤติกรรม หากไม่มีโทษทางการเมืองเลย ก็จะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิด เพราะเรากำลังพูดถึงการปฏิรูปประเทศ และปฏิรูปการเมือง หากยังมีประธานที่ทำหน้าที่ตัดสิทธิ์สมาชิกเสียงข้างน้อย เปลี่ยนเอกสาร อนุญาตให้มีการลงคะแนนแทนกันได้ จะเป็นการปฏิรูปหรือไม่ ดังนั้นควรจะมีโทษทางการเมือง แต่เรื่องความชอบธรรม หรือสภาพปัจจุบันมันมีข้อโต้แย้งอยู่ คือในเชิงกฎหมายนั้น สนช.มีอำนาจในการถอดถอน แต่ในเชิงการเมือง หรือความชอบธรรมทางการเมือง ยังมีคำถามอยู่
ผมเชื่อว่ากระบวนการถอดถอนหลังจากนี้ หากสำเร็จ และชอบด้วยกฎหมาย ฝ่ายที่ถูกถอดถอน จะหยิบเรื่องนี้มาเป็นประเด็นโจมตีไปอีกไม่จบ ไม่สิ้น ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขที่สร้างปัญหาทางการเมืองขึ้นมา ถ้าเป็นผมจะต้องเขียนรัฐธรรมนูญชั่วคราว ผมจะเขียนทางออกที่ 3 ว่า เรื่องแบบนี้อาจจะต้องรอสภาที่มาจากการเลือกตั้งมาจัดการ โดยจะไม่กระทบต่อความชอบธรรมทางกฎหมาย หรือกระบวนการทางอาญา หรือทางการเมืองทั้งสิ้น นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การถอดถอน น.ส. ยิ่งลักษณ์ กรณีทุจริตในโครงการจำนำข้าว ในฐานะที่เคยเป็นประธานกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) คนที่เป็นนายกฯ และเป็นประธานนโยบายข้าว ต้องรับผิดชอบหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องดูบทบาทอำนาจหน้าที่ของนายกฯ ควบคู่ไปกับปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้น เช่น หากมีนโยบายไปแล้วเกิดการทุจริตระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง และสันนิษฐานว่า ตัวนายกฯไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง ตรงนี้คงไม่ใช่ความผิดนายกฯ แต่หากมีคนพบว่า มีการทุจริตแล้วมาแจ้ง โดยนายกฯได้สั่งให้แก้ไขตรวจสอบ ก็แสดงให้เห็นว่า นายกฯพยายามที่จะแก้ไข แต่หากไม่ทำอะไรเลย ก็จะถูกตั้งข้อสงสัยว่าเข้าไปเกี่ยวข้อง หรือมีผลประโยชน์อะไรกับการทุจริตที่เกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งในกรณีนโยบายการจำนำข้าว มีประเด็นที่เกิดการกล่าวหาว่า นายกฯ สมควรจะถูกถอดถอนเพราะว่า ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย เพราะการทุจริตที่เกิดขึ้นไม่ใช่ในเชิงการปฏิบัติตามนโยบาย แต่จากการที่นโยบายถูกออกแบบมา แล้วคาดการณ์ตั้งแต่ต้นว่าจะเกิดปัญหาการทุจริตและความเสียหายขึ้น โดยมีหลายคนที่เกี่ยวข้องได้เตือนแล้ว ดังนั้นนายกฯ จึงไม่สามารถอ้างได้ว่า ไม่รับรู้ หรืออ้างว่าการทุจริตนั้นเป็นเรื่องของการปฏิบัติ และความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็จึงเป็นที่มาของการชี้มูลของ ป.ป.ช. ว่านายกฯ จะละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งนอกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ยังเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่ติดตามการดำเนินการของโครงการนี้
เมื่อถามว่าทีมทนายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ โต้แย้งว่า เป็นนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา โดยอ้าง มาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญปี 50 นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่ได้แถลงเรื่องโครงการจำนำข้าวอย่างเดียว แต่ยังมีนโยบายการป้องกันปราบปรามการทุจริตด้วย จะอ้างว่าแม้มีการทุจริต แต่จำเป็นต้องเดินหน้าเพราะเป็นนโยบายที่แถลงไว้ ก็ขัดกับนโยบายที่แถลงว่า จะต้องปราบปรามการทุจริตที่เกิดขึ้น หรือนโยบายอื่นๆที่มีการแถลงต่อสภา เช่น ลดราคาน้ำมันเบนซิน ลด 7 บาท โดยครั้งแรกจะยุบกองทุนน้ำมัน และลดราคาต่างๆ แต่ว่าพอทำไปแล้วก็เลิก ในที่สุดก็กลับมาเก็บเงินกองทุนน้ำมัน และขึ้นราคาน้ำมันเบนซิน ก็ในระดับที่สูง ดังนั้นนายกฯ มีสิทธิ์ที่จะยับยั้งนโยบายหากมันสร้างความเสียหายได้
ดังนั้น ประเด็นที่สำคัญที่สุดในการต่อสู้ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะต้องเป็นว่า เมื่อได้เห็นปัญหาต่างๆของนโยบายข้าวแล้ว ได้ทำอะไรบ้าง ในการที่จะระงับยับยั้ง ไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือไม่ให้เกิดการทุจริต ซึ่ง ป.ป.ช. หรือศาล หรือสนช. ก็ต้องไปพิจารณาต่อไปว่า ข้อต่อสู้นั้น ฟังขึ้นหรือไม่
**นิพิฏฐ์ เชื่อปูรอดชัวร์
นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับข้อบังคับการประชุม แต่ถือเป็นการใช้ดุลพินิจของสมาชิก ที่ว่าข้ออ้างของทีมทนายความนั้นชอบ หรือรับฟังได้หรือไม่ แต่หากสนช. มีมติให้เลื่อนออกไป จะทำให้ทีมทนายเอาไปอ้างว่า ที่เลื่อนให้เพราะสมาชิกเห็นว่า ยังไม่สมบูรณ์ ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะหากสมบูรณ์แล้วจะเลื่อนทำไม แสดงว่าการต่อสู้ของเขาถูกต้อง รับฟังได้ และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็มีเหตุผลไปสำทับให้มากขึ้นว่า ที่ร้องค้านว่าไม่รอบคอบ ไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้น เป็นความจริง ไม่เช่นนั้น สนช.จะเลื่อนทำไม แม้จะพอคาดได้ว่า เรื่องนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ หลุดแน่นอน แต่เขาต้องสู้ทุกประเด็น เพื่อเป็นการทำลายน้ำหนัก ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ ที่เรียกว่า ข้อต่อสู้ของจำเลยฟังขึ้น จึงให้เลื่อนออกไป ซึ่งการประชุมสนช. ในวันนี้(12 พ.ย.) สมาชิกสามารถใช้ดุลยพินิจ มีมติไม่ให้เลื่อนออกไป เพราะเห็นว่ามีความรอบคอบแล้วก็ได้ แต่ถ้ามีมติให้เลื่อนออกไป ก็จะเข้าทางทีมทนายทันที
ผมคาดว่า มติจะออกมาให้เลื่อนวาระออกไป เพราะอย่างน้อยก็ทำให้สนช. ได้มีเวลาหายใจออกไปอีก 15วัน เพราะขณะนี้กระแสแรงบีบจากสังคมอย่างมาก และไม่แปลกใจเรื่องนี้ เป็นการทดสอบคนดีอย่างหนึ่ง ก่อนเข้ามาก็วิจารณ์ได้ว่า ต้องมีการปราบปรามการทุจริตต่างๆ แต่เมื่ออำนาจอยู่ในมือแล้ว เราก็จะรู้ว่าใครพูดจริง หรือไม่จริง และว่ากรณีถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ คงได้ข้อสรุปออกมาไม่ต่างจากของ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และนายนิคม ไวยรัชพานิช โดยอาจจะมี สนช.โหวตรับเรื่องไว้พิจารณาจำนวนมากกว่า แต่เปิดถ้วยแทงได้เลยว่า ถอดถอนไม่ได้ นายนิพิฏฐ์ กล่าว
-------------