“ประวิตร” ตรวจเยี่ยมกองทัพไทย-ทอ. ชมเหล่าทัพเป็นปึกแผ่น กำชับสานงานรัฐบาล-คสช. ไม่ปิดทาง “เพื่อไทย” กลับมาชนะเลือกตั้ง อุบยัดนายกฯคนนอกใน รธน.ใหม่ ยิ้มรับสื่อยกเป็นว่าที่นายกฯ โยน กมธ.เคาะทำประชามติ “บิ๊กป๊อก” รูดซิปอภิรัฐมนตรี ฝากคนยกร่างเน้นการถ่วงดุลฝ่ายบริหาร “เทียนฉาย” ฟุ้งวิสัยทัศน์ภิวัฒน์ไทย ปฏิรูปไทยเสร็จใน 1 ปี ปัดตอบประชามติ อ้างยังอีกไกล ด้าน “จาตุรนต์” จวก “ชวน” หนุนรัฐประหารทำประเทศล้าหลัง เหน็บ คสช.เทียบอภิรัฐมนตรี ส่วน “วิสุทธิ์” ย้ำต้องให้ ปชช.โหวต รธน.ก่อนใช้ ขำกลิ้งห้ามหาเสียง ขณะที่ “บิ๊กป้อม” รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯยกโทษ “บิ๊กป๊อด” น้องชายร่วมสายเลือด
วานนี้ (10 พ.ย.) เมื่อเวลา 10.30 น. ที่กองบัญชาการกองทัพไทย (บก.ทท.) ถ.แจ้งวัฒนะ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรมว.กลาโหม พร้อมด้วย พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เดินทางตรวจเยี่ยม บก.ทท. อย่างเป็นทางการ โดยมี พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ให้การต้อนรับ โดย พล.อ.ประวิตร ได้เป็นประธานในพิธีตรวจแถวกองทหารเกียรติ 3 เหล่าทัพ จากนั้นได้รับฟังการบรรยายสรุปภาพรวมการทำงานและอุปสรรคของกองทัพไทย พร้อมทั้งมอบนโยบายการปฏิบัติงานที่สำคัญที่มีความเร่งด่วนให้แก่เหล่าทัพ
ฝากเหล่าทัพช่วยงานปรองดอง
จากนั้นเวลา 12.00 น. พล.อ.ประวิตร แถลงภายหลังการตรวจเยี่ยมว่า ที่ผ่านมา ผบ.เหล่าทัพไทย ทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถมาด้วยดีตลอด จะเห็นได้ว่า เหล่าทัพมีความเป็นปึกแผ่นมาก อีกทั้งจะมีการพัฒนาในทุกด้านทั้งกำลังพล ยุทโธปกรณ์ ความรู้ความสามารถ ประสิทธิภาพของกำลังพล สำหรับกรอบนโยบายของรัฐบาลที่จะให้เหล่าทัพดำเนินการ โดยเฉพาะเรื่องความปรองดองนั้น ทางรัฐบาลที่มอบหมายให้ทุกกระทรวง และเหล่าทัพดำเนินการกับประชาชนที่ยังมีความคิดแตกแยก และสร้างความปรองดองให้เกิดกับคนในชาติให้ได้ เรื่องนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องเข้าใจ ที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้ภายในระยะเวลา 1 ปี อีกทั้งสนับสนุนสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เกี่ยวกับเรื่องปฏิรูปประเทศ ที่ได้ดำเนินการมาโดยตลอดเพื่อให้เป็นไปตามโรดแมปของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งขณะนี้ทางต่างชาติก็ให้การยอมรับเป็นอย่างดี
“สำหรับเรื่องการปฏิรูปจะต้องดำเนินการทั้ง 11 ด้าน และเราจะดำเนินการทุกเรื่อง โดยเฉพาะ สปช.และผู้ที่ไม่ได้รับการคัดเลือก ทั้งหมดยังอยู่ใน 4 เวทีที่รัฐบาลกำหนด ขอให้ผ่านทาง สปช. โดยจะรับเรื่องราวทุกอย่างของประชาชน และนักวิชาการกลุ่มต่างๆให้เข้าไปสู่ สปช. ส่วนกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในขณะนี้เพิ่งเริ่มดำเนินการ” พล.อ.ประวิตร กล่าว
เชื่อท๊อปบูตหนุน รธน.ใหม่
ผู้สื่อข่าวถามว่าทางรัฐบาลจะตั้งคณะกรรมการทำงานควบคู่กับ กมธ.ยกร่างฯด้วยหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องมี ปล่อยให้เป็นเรื่องของ กมธ.ยกร่างฯ เมื่อถามต่อว่า นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธาน สปช. คนที่ 1 ในฐานะประธาน กมธ.ยกร่างฯได้พยากรณ์ไว้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทางทหารจะสนับสนุนแน่นอน พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ทหารเมื่อถอดเครื่องแบบก็คือประชาชน ดังนั้นประชาชนต้องเป็นคนให้การสนับสนุน เพื่อให้ประเทศสามารถเดินไปข้างหน้า และลดความขัดแย้ง เพื่อสร้างความปรองดอง
เมื่อถามว่าหากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกมา แต่พรรคการเมืองเดิมๆยังกลับมาชนะการเลือกตั้งได้จะยอมรับได้หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ตนไม่ทราบ เพราะไม่สามารถคาดเดาเหตุการณ์ข้างหน้าได้ เราหวังว่า เมื่อปฏิรูปและร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยแล้ว หากประชาชนเลือกเข้ามาก็ไม่มีปัญหาอะไร
ยิ้มรับสื่อยกเป็นว่าที่นายกฯ
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า จะเปิดให้มีนายกรัฐมนตรีที่มาจากคนนอกหรือไม่ได้มาจากการเลือกตั้งหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ยังไม่มีความเห็น เป็นหน้าที่ของ กมธ.ยกร่างฯและทาง สปช. เป็นผู้ดำเนินการ
เมื่อถามอีกว่า มีหลายฝ่ายจับตามอง พล.อ.ประวิตร ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป พล.อ.ประวิตร หัวเราะพร้อมกล่าวว่า
“ก็ให้มองกันต่อไป จะมองอะไรก็มองกันไป เชิญเถอะครับ ผมเข้ามาช่วยประเทศ ตามที่นายกรัฐมนตรีขอร้อง ผมก็ต้องเข้ามาช่วยทำ แต่วันนี้ทุกคนที่เข้ามาทำงาน ตั้งใจทำงาน อยากให้ประเทศชาติสงบ รวมทั้งสื่อมวลชนจะต้องช่วยกัน ถ้าไม่ช่วยกันก็ลำบาก”
ผู้สื่อข่าวถามด้วยว่า เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วจะต้องทำประชามติหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เป็นเรื่องของ กมธ.ยกร่างฯจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะดำเนินการหรือไม่ แต่ทางรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่ได้บัญญัติไว้ จะให้ทำดีหรือไม่ ตนคนเดียวก็ไม่สามารถตอบได้ ต้องดูว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
“บิ๊กป๊อก” ไม่พูด “อภิรัฐมนตรี”
ด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ในฐานะคณะที่ปรึกษา คสช.กล่าวถึงกรณีที่มีการเสนอแนวคิดบนเวทีประชุมวิชาการของสถาบันพระปกเกล้าในเรื่องการให้มีอภิรัฐมนตรี เป็นอำนาจที่ 4 เพื่อถ่วงดุลอำนาจ ลดความขัดแย้ง ตามโครงสร้าง 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และตุลาการ ว่า ตนคงไม่มีความเห็น เอาเป็นว่า น่าจะต้องมีใครที่หาข้อยุติได้ ปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ประเทศชาติก็ไม่รู้จะไปต่ออย่างไร มันจะต้องมีข้อยุติ ซึ่งจะเรียกชื่อองค์กรนั้นว่าอย่างไรก็แล้วแต่ ส่วนที่มีข้อถกเถียงกันในเรื่องการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรนั้น ผู้ที่มีหน้าที่ต้องพูดกันด้วยเหตุผล ด้วยหนทางความเป็นไปได้ทั้งหมด และเกิดผลดีต่อประเทศชาติ สังคมก็จะเดินต่อไปได้
“สิ่งสำคัญในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อำนาจนิติบัญญัติต้องสามารถตรวจสอบการทำงานของฝ่ายรัฐบาลได้ และรัฐบาลสามารถทำงานโดยไม่ติดขัด รวมถึงถ่วงดุลกัน ก็น่าจะตอบโจทย์ได้ เราเองก็ไม่ต้องห่วง ถ้ารัฐบาลทำงานอยู่ในกรอบ สภานิติบัญญัติ สามารถตรวจสอบได้ ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่อยากเห็น” รมว.มหาดไทย กล่าว
“เทียนฉาย” ชูวิสัยทัศน์-ภิวัฒน์ไทย
วันเดียวกัน ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช.แถลงสรุปผลการหารือเรื่อง “สานพลัง สปช. ออกแบบอนาคตประเทศไทย” ระหว่างวันที่ 9 - 10 พ.ย.ตอนหนึ่งว่า สมาชิก สปช.ได้ระดมกันพิจารณาความคิดเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับอนาคตการทำงานให้เป็นแนวทางที่เราจะเดินไปให้บรรลุพันธกิจภายใน 1 ปีข้างหน้า ซึ่งภาพรวมการทำงาน สปช.ในการปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน ส่วนใหญ่จะเน้นการลดความเหลื่อมล้ำด้านต่างๆ และเรื่องของการปฏิรูประบบเลือกตั้งด้วยการกำหนดวงเงินหาเสียง กำหนดโทษการทุจริตการเลือกตั้ง และปฏิรูปบทบาทอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขณะที่ ด้านการเมืองการปกครอง จะเน้นการกระจายอำนาจ และตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่น เพิ่มกลไกการตรวจสอบบุคคลในการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองและการเข้าสู่ตำแหน่งในระบบราชการ และจะต้องมีการกำหนดกฎหมายที่เป็นธรรม และปรับโครงสร้างการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองและการถอดถอน พร้อมทั้งจะจัดให้มีสภาพลเมืองและเวทีสาธารณะ เพื่อให้ประชามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ ส่วนด้านเศรษฐกิจ สปช.ตั้งเป้าหมาย ปรับปรุงกฏหมายการค้าเพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม การปฏิรูปการเก็บภาษี และการสร้างอำนาจต่อรองให้กับเกษตรกร ส่วนด้านการศึกษา มุ่งเน้นไปที่การยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพในการศึกษาและการกระจายโอกาสการเข้าถึงการศึกษา
“ทั้งหมดนี้จะเป็นวิสัยทัศน์-ภิวัฒน์ไทย ภาพฝันอนาคตประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า นี่คือการคิกออฟของ สปช. และนับจากนี้จะเป็นวาระแห่งชาติที่เราจะต้องทำงานร่วมกัน” นายเทียนฉาย ระบุ
โว 1 ปีแผนปฏิรูปสำเร็จ
นอกจากนี้ นายเทียนฉาย ยังได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมอีกว่า กรอบที่ สปช.จะต้องส่งต่อกรรมาธิการยกร่างฯ มีเวลา 60 วัน จนถึงวันที่ 14 ธ.ค. ซึ่งเป็นเวลาที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้กำหนดไว้แล้ว โดยหลังจากนี้ต้องขอทำความเข้าใจในรายละเอียดก่อน เพราะวันนี้เป็นเพียงการกำหนดประเด็นเท่านั้น หลังจากนั้นจะมีการลงรายละเอียดในแต่ละประเด็นที่สรุปกัน และเมื่อ สปช.เห็นชอบแล้ว หากจำเป็นที่ต้องออกเป็นกฎหมาย ก็จะมีการเสนอยกร่างเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หรือพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ให้ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา แต่ถ้าหากเป็นเรื่องการจัดการองค์กรก็จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการ อย่างไรก็ตาม บางเรื่องต้องใช้เวลาเป็นแรมปี ต้องอาศัยผู้ที่เกี่ยวข้องประคับประคองให้เกิดความสำเร็จ โดยยืนยันว่าภายในระยะเวลา 1 ปีจะได้แผนและแนวทางปฏิรูป รวมถึงในบางเรื่องจะเริ่มปฏิบัติได้ ส่วนที่เหลืออาจจะต้องมีการดำเนินการในระยะยาวต่อไป
สำหรับประเด็นการทำประชามติยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น นายเทียนฉาย กล่าวว่า ต้องไปหารือกันในที่ประชุม สปช.ว่าจะมีความเห็นกันอย่างไร แต่ถ้าหากจะมีการทำประชามติจริงก็จะต้องไปแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวก่อน ซึ่งรัฐธรรมนูญสามารถแก้ไขได้ โดย สปช.จะเป็นผู้เสนอให้ สนช.หรือรัฐบาลแก้ไขก็ได้ แต่ทั้งนี้มองว่าการทำประชามติยังเป็นเรื่องที่ไกลตัว ยังไม่ควรพูดตอนนี้ ยังไม่อยากให้พูดถึงหาง ให้ทำเรื่องหัวก่อน
“อ๋อย” ไฝว้ “ชวน” ทำ ปท.ล้าหลัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรมว.ศึกษา
ธิการ และแกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความลงแฟนเพจเฟซบุ๊ค “Chaturon Chaisang” วิจารณ์ความคิดเห็นของนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตนายกรัฐมนตรีที่กล่าวว่า ประชาธิปไตยของไทยก้าวหน้ามากกว่าชาติอื่นในอาเซียน โดยระบุว่า เราควรจะยอมรับด้วยความขมขื่นว่า ประชาธิปไตยเราล้าหลังอยู่ในอันดับท้ายๆในอาเซียนและยังไม่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้นในเร็วๆนี้ สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ประชาธิปไตยของเราต้องล้าหลังมาจากพรรคการเมืองบางพรรคและนักการเมืองบางคนที่ร่วมทำลายประชาธิปไตยเสียเอง ซ้ำร้ายยังช่วยแก้ต่างให้กับการทำลายประชาธิปไตยอย่างหน้าชื่นตาบานเสียอีกด้วย
ส่วนกรณีเสนอให้มีอภิรัฐมนตรีนั้น นายจาตุรนต์ระบุว่า ถ้าคิดจะมีอภิรัฐมนตรีที่มีอำนาจเหนือ 3 ฝ่ายตามที่มีการโยนหินถามทางจริง ก็ไม่ยากอะไร เพียงแต่ยืดอายุของ คสช. ปัจจุบันนี้ออกไป หรือเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับที่จะร่างกันขึ้นมานั้น ให้มี คสช.ไปเรื่อยๆ ก็เท่ากับมีอภิรัฐมนตรีแล้ว เพราะ คสช.ก็มีอำนาจเหนือ 3 ฝ่ายอยู่แล้ว พูดอีกแบบหนึ่งคือ ปัจจุบันเราก็มีอภิรัฐมนตรีที่มีอำนาจเหนือ 3 ฝ่ายอยู่แล้ว เพียงแต่เรียกว่า คสช.เท่านั้นเอง
พท.ย้ำต้องประชามติก่อนใช้
ขณะที่ นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงประเด็นข้อถกเถียงในการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ว่า ประชามติคือ ขั้นตอนสำคัญที่จะทำประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างชัดเจนที่สุด ถ้าจะประกาศใช้ไปก่อน แล้วจึงค่อยมาทำประชามติที่หลัง สุดท้ายมันก็ต้องมีการแก้ไข และก็จะเสียเวลามากขึ้นไปอีก ส่วนการร่างรัฐธรรมนูญจะเสร็จทันกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่นั้น คนที่เข้ามาทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญมีข้อมูลอยู่ในใจแล้ว รัฐธรรมนูญของหลายๆประเทศก็ไม่จำเป็นต้องมีหลายมาตรา ใช้เวลาร่างไม่นานก็สำเร็จ
“การปรองดองสมานฉันท์เป็นเรื่องที่จำเป็นจำต้องคิดให้มาก เพราะเมื่อเขียนรัฐธรรมนูญออกไปแล้ว คนในชาติกลับต้องมาทะเลาะกันเพื่อฉีกรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าเป็นความล้มเหลว แต่ไม่อยากจะไปพูดเรื่องนี้มากนัก เพราะจะเป็นการไปสบประมาทกันมากกว่า” นายวิสุทธิ์ กล่าว
ส่วนกรณีที่มีผู้เสนอว่า ให้ระบุในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่าจะต้องไม่มีการหาเสียงเลือกตั้งนั้น นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า ประเทศไหนกันที่ไม่มีการหาเสียง ยิ่งไม่หาเสียง ส.ส.เก่าๆอย่างพวกตนยิ่งสบาย ถ้าทำแบบนั้นตนก็ได้ประโยชน์ แต่ถามหน่อยว่า คนรุ่นใหม่ที่ต้องการจะเข้ามาเป็น ส.ส.จะมีพื้นที่ตรงไหนที่จะประชาสัมพันธ์ตัวเองให้ชาวบ้านรู้จัก เมื่อนั้นเรื่องใต้ดินจะยิ่งเยอะมากขึ้นเป็นเท่าตัว
โปรดเกล้าฯ “ป๊อด” พ้นผิดโดนปลด
วันเดียวกันนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจพ้นจากตำแหน่งประกาศสำนักนายกฯ ระบุว่า ด้วย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ข้าราชการตำรวจ ตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และต้องพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.52 แต่เนื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ชี้มูลความผิดวินัยอย่างร้ายแรงและความผิดทางอาญา สำนักนายกรัฐมนตรีจึงได้มีคำสั่งลงโทษปลด พล.ต.อ.พัชรวาทออกจากราชการ ตั้งแต่วันสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ต่อมาคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ได้มีมติให้สั่งยกโทษปลด พล.ต.อ.พัชรวาทออกจากราชการ และศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาให้ปฏิบัติตามมติ ก.ตร. ดังกล่าว ซึ่ง คสช.ได้มีคำสั่ง ฉบับที่ 93/2557 ลงวันที่ 17 ก.ค.57 เรื่อง ยกโทษ ปลดออกจากราชการ โดยหัวหน้า คสช.ในฐานะผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งยกโทษปลด พล.ต.อ.พัชรวาทออกจากราชการ และได้นำความกราบบังคมทูล พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พ้นจากตำแหน่งต่อไปแล้วบัดนี้ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ พล.ต.อ.พัชรวาทพ้นจากตำแหน่ง ผบ.ตร. ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.52 ประกาศ ณ วันที่ 8 พ.ย.57 โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
วานนี้ (10 พ.ย.) เมื่อเวลา 10.30 น. ที่กองบัญชาการกองทัพไทย (บก.ทท.) ถ.แจ้งวัฒนะ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรมว.กลาโหม พร้อมด้วย พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เดินทางตรวจเยี่ยม บก.ทท. อย่างเป็นทางการ โดยมี พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ให้การต้อนรับ โดย พล.อ.ประวิตร ได้เป็นประธานในพิธีตรวจแถวกองทหารเกียรติ 3 เหล่าทัพ จากนั้นได้รับฟังการบรรยายสรุปภาพรวมการทำงานและอุปสรรคของกองทัพไทย พร้อมทั้งมอบนโยบายการปฏิบัติงานที่สำคัญที่มีความเร่งด่วนให้แก่เหล่าทัพ
ฝากเหล่าทัพช่วยงานปรองดอง
จากนั้นเวลา 12.00 น. พล.อ.ประวิตร แถลงภายหลังการตรวจเยี่ยมว่า ที่ผ่านมา ผบ.เหล่าทัพไทย ทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถมาด้วยดีตลอด จะเห็นได้ว่า เหล่าทัพมีความเป็นปึกแผ่นมาก อีกทั้งจะมีการพัฒนาในทุกด้านทั้งกำลังพล ยุทโธปกรณ์ ความรู้ความสามารถ ประสิทธิภาพของกำลังพล สำหรับกรอบนโยบายของรัฐบาลที่จะให้เหล่าทัพดำเนินการ โดยเฉพาะเรื่องความปรองดองนั้น ทางรัฐบาลที่มอบหมายให้ทุกกระทรวง และเหล่าทัพดำเนินการกับประชาชนที่ยังมีความคิดแตกแยก และสร้างความปรองดองให้เกิดกับคนในชาติให้ได้ เรื่องนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องเข้าใจ ที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้ภายในระยะเวลา 1 ปี อีกทั้งสนับสนุนสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เกี่ยวกับเรื่องปฏิรูปประเทศ ที่ได้ดำเนินการมาโดยตลอดเพื่อให้เป็นไปตามโรดแมปของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งขณะนี้ทางต่างชาติก็ให้การยอมรับเป็นอย่างดี
“สำหรับเรื่องการปฏิรูปจะต้องดำเนินการทั้ง 11 ด้าน และเราจะดำเนินการทุกเรื่อง โดยเฉพาะ สปช.และผู้ที่ไม่ได้รับการคัดเลือก ทั้งหมดยังอยู่ใน 4 เวทีที่รัฐบาลกำหนด ขอให้ผ่านทาง สปช. โดยจะรับเรื่องราวทุกอย่างของประชาชน และนักวิชาการกลุ่มต่างๆให้เข้าไปสู่ สปช. ส่วนกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในขณะนี้เพิ่งเริ่มดำเนินการ” พล.อ.ประวิตร กล่าว
เชื่อท๊อปบูตหนุน รธน.ใหม่
ผู้สื่อข่าวถามว่าทางรัฐบาลจะตั้งคณะกรรมการทำงานควบคู่กับ กมธ.ยกร่างฯด้วยหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องมี ปล่อยให้เป็นเรื่องของ กมธ.ยกร่างฯ เมื่อถามต่อว่า นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธาน สปช. คนที่ 1 ในฐานะประธาน กมธ.ยกร่างฯได้พยากรณ์ไว้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทางทหารจะสนับสนุนแน่นอน พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ทหารเมื่อถอดเครื่องแบบก็คือประชาชน ดังนั้นประชาชนต้องเป็นคนให้การสนับสนุน เพื่อให้ประเทศสามารถเดินไปข้างหน้า และลดความขัดแย้ง เพื่อสร้างความปรองดอง
เมื่อถามว่าหากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกมา แต่พรรคการเมืองเดิมๆยังกลับมาชนะการเลือกตั้งได้จะยอมรับได้หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ตนไม่ทราบ เพราะไม่สามารถคาดเดาเหตุการณ์ข้างหน้าได้ เราหวังว่า เมื่อปฏิรูปและร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยแล้ว หากประชาชนเลือกเข้ามาก็ไม่มีปัญหาอะไร
ยิ้มรับสื่อยกเป็นว่าที่นายกฯ
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า จะเปิดให้มีนายกรัฐมนตรีที่มาจากคนนอกหรือไม่ได้มาจากการเลือกตั้งหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ยังไม่มีความเห็น เป็นหน้าที่ของ กมธ.ยกร่างฯและทาง สปช. เป็นผู้ดำเนินการ
เมื่อถามอีกว่า มีหลายฝ่ายจับตามอง พล.อ.ประวิตร ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป พล.อ.ประวิตร หัวเราะพร้อมกล่าวว่า
“ก็ให้มองกันต่อไป จะมองอะไรก็มองกันไป เชิญเถอะครับ ผมเข้ามาช่วยประเทศ ตามที่นายกรัฐมนตรีขอร้อง ผมก็ต้องเข้ามาช่วยทำ แต่วันนี้ทุกคนที่เข้ามาทำงาน ตั้งใจทำงาน อยากให้ประเทศชาติสงบ รวมทั้งสื่อมวลชนจะต้องช่วยกัน ถ้าไม่ช่วยกันก็ลำบาก”
ผู้สื่อข่าวถามด้วยว่า เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วจะต้องทำประชามติหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เป็นเรื่องของ กมธ.ยกร่างฯจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะดำเนินการหรือไม่ แต่ทางรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่ได้บัญญัติไว้ จะให้ทำดีหรือไม่ ตนคนเดียวก็ไม่สามารถตอบได้ ต้องดูว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
“บิ๊กป๊อก” ไม่พูด “อภิรัฐมนตรี”
ด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ในฐานะคณะที่ปรึกษา คสช.กล่าวถึงกรณีที่มีการเสนอแนวคิดบนเวทีประชุมวิชาการของสถาบันพระปกเกล้าในเรื่องการให้มีอภิรัฐมนตรี เป็นอำนาจที่ 4 เพื่อถ่วงดุลอำนาจ ลดความขัดแย้ง ตามโครงสร้าง 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และตุลาการ ว่า ตนคงไม่มีความเห็น เอาเป็นว่า น่าจะต้องมีใครที่หาข้อยุติได้ ปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ประเทศชาติก็ไม่รู้จะไปต่ออย่างไร มันจะต้องมีข้อยุติ ซึ่งจะเรียกชื่อองค์กรนั้นว่าอย่างไรก็แล้วแต่ ส่วนที่มีข้อถกเถียงกันในเรื่องการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรนั้น ผู้ที่มีหน้าที่ต้องพูดกันด้วยเหตุผล ด้วยหนทางความเป็นไปได้ทั้งหมด และเกิดผลดีต่อประเทศชาติ สังคมก็จะเดินต่อไปได้
“สิ่งสำคัญในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อำนาจนิติบัญญัติต้องสามารถตรวจสอบการทำงานของฝ่ายรัฐบาลได้ และรัฐบาลสามารถทำงานโดยไม่ติดขัด รวมถึงถ่วงดุลกัน ก็น่าจะตอบโจทย์ได้ เราเองก็ไม่ต้องห่วง ถ้ารัฐบาลทำงานอยู่ในกรอบ สภานิติบัญญัติ สามารถตรวจสอบได้ ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่อยากเห็น” รมว.มหาดไทย กล่าว
“เทียนฉาย” ชูวิสัยทัศน์-ภิวัฒน์ไทย
วันเดียวกัน ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช.แถลงสรุปผลการหารือเรื่อง “สานพลัง สปช. ออกแบบอนาคตประเทศไทย” ระหว่างวันที่ 9 - 10 พ.ย.ตอนหนึ่งว่า สมาชิก สปช.ได้ระดมกันพิจารณาความคิดเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับอนาคตการทำงานให้เป็นแนวทางที่เราจะเดินไปให้บรรลุพันธกิจภายใน 1 ปีข้างหน้า ซึ่งภาพรวมการทำงาน สปช.ในการปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน ส่วนใหญ่จะเน้นการลดความเหลื่อมล้ำด้านต่างๆ และเรื่องของการปฏิรูประบบเลือกตั้งด้วยการกำหนดวงเงินหาเสียง กำหนดโทษการทุจริตการเลือกตั้ง และปฏิรูปบทบาทอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขณะที่ ด้านการเมืองการปกครอง จะเน้นการกระจายอำนาจ และตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่น เพิ่มกลไกการตรวจสอบบุคคลในการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองและการเข้าสู่ตำแหน่งในระบบราชการ และจะต้องมีการกำหนดกฎหมายที่เป็นธรรม และปรับโครงสร้างการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองและการถอดถอน พร้อมทั้งจะจัดให้มีสภาพลเมืองและเวทีสาธารณะ เพื่อให้ประชามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ ส่วนด้านเศรษฐกิจ สปช.ตั้งเป้าหมาย ปรับปรุงกฏหมายการค้าเพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม การปฏิรูปการเก็บภาษี และการสร้างอำนาจต่อรองให้กับเกษตรกร ส่วนด้านการศึกษา มุ่งเน้นไปที่การยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพในการศึกษาและการกระจายโอกาสการเข้าถึงการศึกษา
“ทั้งหมดนี้จะเป็นวิสัยทัศน์-ภิวัฒน์ไทย ภาพฝันอนาคตประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า นี่คือการคิกออฟของ สปช. และนับจากนี้จะเป็นวาระแห่งชาติที่เราจะต้องทำงานร่วมกัน” นายเทียนฉาย ระบุ
โว 1 ปีแผนปฏิรูปสำเร็จ
นอกจากนี้ นายเทียนฉาย ยังได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมอีกว่า กรอบที่ สปช.จะต้องส่งต่อกรรมาธิการยกร่างฯ มีเวลา 60 วัน จนถึงวันที่ 14 ธ.ค. ซึ่งเป็นเวลาที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้กำหนดไว้แล้ว โดยหลังจากนี้ต้องขอทำความเข้าใจในรายละเอียดก่อน เพราะวันนี้เป็นเพียงการกำหนดประเด็นเท่านั้น หลังจากนั้นจะมีการลงรายละเอียดในแต่ละประเด็นที่สรุปกัน และเมื่อ สปช.เห็นชอบแล้ว หากจำเป็นที่ต้องออกเป็นกฎหมาย ก็จะมีการเสนอยกร่างเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หรือพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ให้ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา แต่ถ้าหากเป็นเรื่องการจัดการองค์กรก็จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการ อย่างไรก็ตาม บางเรื่องต้องใช้เวลาเป็นแรมปี ต้องอาศัยผู้ที่เกี่ยวข้องประคับประคองให้เกิดความสำเร็จ โดยยืนยันว่าภายในระยะเวลา 1 ปีจะได้แผนและแนวทางปฏิรูป รวมถึงในบางเรื่องจะเริ่มปฏิบัติได้ ส่วนที่เหลืออาจจะต้องมีการดำเนินการในระยะยาวต่อไป
สำหรับประเด็นการทำประชามติยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น นายเทียนฉาย กล่าวว่า ต้องไปหารือกันในที่ประชุม สปช.ว่าจะมีความเห็นกันอย่างไร แต่ถ้าหากจะมีการทำประชามติจริงก็จะต้องไปแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวก่อน ซึ่งรัฐธรรมนูญสามารถแก้ไขได้ โดย สปช.จะเป็นผู้เสนอให้ สนช.หรือรัฐบาลแก้ไขก็ได้ แต่ทั้งนี้มองว่าการทำประชามติยังเป็นเรื่องที่ไกลตัว ยังไม่ควรพูดตอนนี้ ยังไม่อยากให้พูดถึงหาง ให้ทำเรื่องหัวก่อน
“อ๋อย” ไฝว้ “ชวน” ทำ ปท.ล้าหลัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรมว.ศึกษา
ธิการ และแกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความลงแฟนเพจเฟซบุ๊ค “Chaturon Chaisang” วิจารณ์ความคิดเห็นของนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตนายกรัฐมนตรีที่กล่าวว่า ประชาธิปไตยของไทยก้าวหน้ามากกว่าชาติอื่นในอาเซียน โดยระบุว่า เราควรจะยอมรับด้วยความขมขื่นว่า ประชาธิปไตยเราล้าหลังอยู่ในอันดับท้ายๆในอาเซียนและยังไม่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้นในเร็วๆนี้ สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ประชาธิปไตยของเราต้องล้าหลังมาจากพรรคการเมืองบางพรรคและนักการเมืองบางคนที่ร่วมทำลายประชาธิปไตยเสียเอง ซ้ำร้ายยังช่วยแก้ต่างให้กับการทำลายประชาธิปไตยอย่างหน้าชื่นตาบานเสียอีกด้วย
ส่วนกรณีเสนอให้มีอภิรัฐมนตรีนั้น นายจาตุรนต์ระบุว่า ถ้าคิดจะมีอภิรัฐมนตรีที่มีอำนาจเหนือ 3 ฝ่ายตามที่มีการโยนหินถามทางจริง ก็ไม่ยากอะไร เพียงแต่ยืดอายุของ คสช. ปัจจุบันนี้ออกไป หรือเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับที่จะร่างกันขึ้นมานั้น ให้มี คสช.ไปเรื่อยๆ ก็เท่ากับมีอภิรัฐมนตรีแล้ว เพราะ คสช.ก็มีอำนาจเหนือ 3 ฝ่ายอยู่แล้ว พูดอีกแบบหนึ่งคือ ปัจจุบันเราก็มีอภิรัฐมนตรีที่มีอำนาจเหนือ 3 ฝ่ายอยู่แล้ว เพียงแต่เรียกว่า คสช.เท่านั้นเอง
พท.ย้ำต้องประชามติก่อนใช้
ขณะที่ นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงประเด็นข้อถกเถียงในการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ว่า ประชามติคือ ขั้นตอนสำคัญที่จะทำประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างชัดเจนที่สุด ถ้าจะประกาศใช้ไปก่อน แล้วจึงค่อยมาทำประชามติที่หลัง สุดท้ายมันก็ต้องมีการแก้ไข และก็จะเสียเวลามากขึ้นไปอีก ส่วนการร่างรัฐธรรมนูญจะเสร็จทันกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่นั้น คนที่เข้ามาทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญมีข้อมูลอยู่ในใจแล้ว รัฐธรรมนูญของหลายๆประเทศก็ไม่จำเป็นต้องมีหลายมาตรา ใช้เวลาร่างไม่นานก็สำเร็จ
“การปรองดองสมานฉันท์เป็นเรื่องที่จำเป็นจำต้องคิดให้มาก เพราะเมื่อเขียนรัฐธรรมนูญออกไปแล้ว คนในชาติกลับต้องมาทะเลาะกันเพื่อฉีกรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าเป็นความล้มเหลว แต่ไม่อยากจะไปพูดเรื่องนี้มากนัก เพราะจะเป็นการไปสบประมาทกันมากกว่า” นายวิสุทธิ์ กล่าว
ส่วนกรณีที่มีผู้เสนอว่า ให้ระบุในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่าจะต้องไม่มีการหาเสียงเลือกตั้งนั้น นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า ประเทศไหนกันที่ไม่มีการหาเสียง ยิ่งไม่หาเสียง ส.ส.เก่าๆอย่างพวกตนยิ่งสบาย ถ้าทำแบบนั้นตนก็ได้ประโยชน์ แต่ถามหน่อยว่า คนรุ่นใหม่ที่ต้องการจะเข้ามาเป็น ส.ส.จะมีพื้นที่ตรงไหนที่จะประชาสัมพันธ์ตัวเองให้ชาวบ้านรู้จัก เมื่อนั้นเรื่องใต้ดินจะยิ่งเยอะมากขึ้นเป็นเท่าตัว
โปรดเกล้าฯ “ป๊อด” พ้นผิดโดนปลด
วันเดียวกันนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจพ้นจากตำแหน่งประกาศสำนักนายกฯ ระบุว่า ด้วย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ข้าราชการตำรวจ ตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และต้องพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.52 แต่เนื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ชี้มูลความผิดวินัยอย่างร้ายแรงและความผิดทางอาญา สำนักนายกรัฐมนตรีจึงได้มีคำสั่งลงโทษปลด พล.ต.อ.พัชรวาทออกจากราชการ ตั้งแต่วันสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ต่อมาคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ได้มีมติให้สั่งยกโทษปลด พล.ต.อ.พัชรวาทออกจากราชการ และศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาให้ปฏิบัติตามมติ ก.ตร. ดังกล่าว ซึ่ง คสช.ได้มีคำสั่ง ฉบับที่ 93/2557 ลงวันที่ 17 ก.ค.57 เรื่อง ยกโทษ ปลดออกจากราชการ โดยหัวหน้า คสช.ในฐานะผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งยกโทษปลด พล.ต.อ.พัชรวาทออกจากราชการ และได้นำความกราบบังคมทูล พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พ้นจากตำแหน่งต่อไปแล้วบัดนี้ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ พล.ต.อ.พัชรวาทพ้นจากตำแหน่ง ผบ.ตร. ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.52 ประกาศ ณ วันที่ 8 พ.ย.57 โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ