ASTVผู้จัดการรายวัน-“ฉัตรชัย”ขอประชาชนแจ้งเบาะแส ร้านจานด่วนขายแพง ผ่านฮอตไลน์ 1569 ยันจะส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบทันทีที่ได้ข้อมูล พร้อมจับอาหารปรุงสำเร็จเข้าบัญชีอ่อนไหว ต้องติดตามสถานการณ์ราคาเป็นประจำทุกวัน เผยมีสายตรวจ 10 สายออกตรวจสอบ แต่หากเร่งด่วนมีทีมเฉพาะกิจวิ่งทันที “บุณยฤทธิ์”ยันก๊าซหุงต้มขึ้นกระทบต้นทุนไม่ถึง 20 สตางค์ จะมั่วนิ่มอ้างขึ้นราคาไม่ได้ ระบุร้านค้าร่วมหนูณิชย์พาชิม จะได้รับช่วยเหลือทุกราย
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ขอให้ประชาชนที่พบเจอร้านค้าที่จำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ โดยมีการปรับขึ้นราคาอย่างไม่เป็นธรรม ให้แจ้งมายังสายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 ซึ่งเมื่อรับเรื่องแล้ว จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบทันที และยังได้สั่งการให้กรมการค้าภายในทำการติดตามสถานการณ์ราคาอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการดูแลไม่ให้มีการฉวยโอกาสขึ้นราคาจนกระทบกับค่าครองชีพของประชาชน
นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า กรมฯ ได้จัดให้รายการอาหารปรุงสำเร็จอยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหว โดยจะมีการสำรวจสถานการณ์ราคาทุกวัน ซึ่งกรมฯ ได้จัดให้มีสายตรวจจำนวน 50 คน แบ่งออกเป็น 10 สาย ออกไปสำรวจราคาตามร้านอาหารปรุงสำเร็จในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่วนในต่างจังหวัดได้สั่งการให้ค้าภายในจังหวัดออกไปตรวจสอบสถานการณ์ราคาในจังหวัดที่ตนเองประจำอยู่อย่างต่อเนื่อง
“ถ้าประชาชน รู้สึกว่าโดนเอาเปรียบ เจอร้านค้าอาหารปรุงสำเร็จที่ปรับราคาเพิ่มสูงขึ้น หรือจำหน่ายในราคาที่ไม่เป็นธรรม ก็ให้แจ้งเข้ามาที่สายด่วน 1569 เพื่อให้ข้อมูลกับกรม จากนั้น กรมฯ จะส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบทันที เพราะมีสายตรวจเฉพาะกิจที่พร้อมจะออกไปดูแล นอกเหนือจากการตรวจสอบปกติ”
นายบุณยฤทธิ์กล่าวว่า กรณีร้านค้าที่มีการปรับขึ้นราคาอาหารปรุงสำเร็จ 5-10 บาทต่อเมนู โดยอ้างว่าปรับขึ้นเพราะต้นทุนก๊าซหุงต้มสูงขึ้นนั้น กรมฯ ยืนยันว่าการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มไม่ได้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น เพราะก๊าซหุงต้มถัง 15 กิโลกรัม (กก.) สามารถใช้ปรุงอาหารหรือลวกก๋วยเตี๋ยวได้ประมาณ 300 จาน/ชาม และที่ขึ้นราคา 1 บาทต่อกก. ก็กระทบต่อต้นทุนการปรุงอาหารเพียงแค่ 3 สตางค์ หรือหากคิดตั้งแต่ขึ้นราคามาจนถึงปัจจุบันที่ 4.50 บาท ก็กระทบต้นทุนไม่ถึง 20 สตางค์ จะใช้เป็นข้ออ้างในการปรับขึ้นราคาไม่ได้
ส่วนร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการหนูณิชย์พาชิม ที่ออกมาระบุว่าไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ จากกรมฯ ขอยืนยันว่า กรมฯ พร้อมให้กับสนับสนุนร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการทุกราย เพียงแต่ร้านค้าจะต้องแจ้งความประสงค์กับกรมฯ ในการขอเข้าร่วมโครงการว่าต้องการให้สนับสนุนด้านใด ซึ่งกรมฯ พร้อมที่จะสนับสนุนเต็มที่ ทั้งวัตถุดิบราคาถูก โดยการประสานให้ผู้ผลิตจำหน่ายให้ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดปกติ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ รวมไปถึงการดึงสถาบันการเงินมาปล่อยกู้ให้สินเชื่อ เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง
ทั้งนี้ ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ กรมฯ จะออกบัตรให้ โดยสามารถซื้อวัตถุดิบในการปรุงอาหารราคาถูก เช่น ข้าวสารถัง 15 กิโลกรัม จะซื้อได้ในราคา 270 บาท จากปกติ 340-350 บาท รวมทั้งน้ำมันพืช น้ำตาลทราย ซอสปรุงรสต่างๆ ที่จะซื้อได้ในราคาถูก
สำหรับการเปิดตัวร้านหนูณิชย์ในต่างจังหวัด กรมฯ ได้มีการติดต่อประสานงานกับร้านค้าในจังหวัดต่างๆ เพื่อให้เข้ามาร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ได้เปิดตัวไปแล้วประมาณ 40 จังหวัด ซึ่งเบื้องต้นได้เน้นในจังหวัดใหญ่ที่มีประชาชนอยู่เป็นจำนวนมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมการค้าภายในได้ให้การสนับสนุนร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการหนูณิชย์พาชิม ตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค.-5 พ.ย.2557 รวม 1,742 ร้านค้า โดยเป็นการสั่งซื้อน้ำมันพืช 97 ร้านค้า จำนวน 437 ลัง/แพ็ค รวม 1.75 แสนบาท สั่งซื้อน้ำปลา 150 ร้านค้า ปริมาณ 1,800 ลัง รวม 4.19 หมื่นบาท สั่งซื้อน้ำอัดลม และน้ำดื่ม 700 ร้านค้า ปริมาณ 10,500 ลัง รวม 9.8 แสนบาท และสั่งซื้อก๊าซหุงต้ม 200 ร้านค้า ปริมาณ 400 ถัง รวม 1.08 แสนบาท หรือคิดเป็นยอดสรุปการสั่งซื้อรวมกว่า 1.3 ล้านบาท
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ขอให้ประชาชนที่พบเจอร้านค้าที่จำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ โดยมีการปรับขึ้นราคาอย่างไม่เป็นธรรม ให้แจ้งมายังสายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 ซึ่งเมื่อรับเรื่องแล้ว จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบทันที และยังได้สั่งการให้กรมการค้าภายในทำการติดตามสถานการณ์ราคาอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการดูแลไม่ให้มีการฉวยโอกาสขึ้นราคาจนกระทบกับค่าครองชีพของประชาชน
นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า กรมฯ ได้จัดให้รายการอาหารปรุงสำเร็จอยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหว โดยจะมีการสำรวจสถานการณ์ราคาทุกวัน ซึ่งกรมฯ ได้จัดให้มีสายตรวจจำนวน 50 คน แบ่งออกเป็น 10 สาย ออกไปสำรวจราคาตามร้านอาหารปรุงสำเร็จในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่วนในต่างจังหวัดได้สั่งการให้ค้าภายในจังหวัดออกไปตรวจสอบสถานการณ์ราคาในจังหวัดที่ตนเองประจำอยู่อย่างต่อเนื่อง
“ถ้าประชาชน รู้สึกว่าโดนเอาเปรียบ เจอร้านค้าอาหารปรุงสำเร็จที่ปรับราคาเพิ่มสูงขึ้น หรือจำหน่ายในราคาที่ไม่เป็นธรรม ก็ให้แจ้งเข้ามาที่สายด่วน 1569 เพื่อให้ข้อมูลกับกรม จากนั้น กรมฯ จะส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบทันที เพราะมีสายตรวจเฉพาะกิจที่พร้อมจะออกไปดูแล นอกเหนือจากการตรวจสอบปกติ”
นายบุณยฤทธิ์กล่าวว่า กรณีร้านค้าที่มีการปรับขึ้นราคาอาหารปรุงสำเร็จ 5-10 บาทต่อเมนู โดยอ้างว่าปรับขึ้นเพราะต้นทุนก๊าซหุงต้มสูงขึ้นนั้น กรมฯ ยืนยันว่าการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มไม่ได้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น เพราะก๊าซหุงต้มถัง 15 กิโลกรัม (กก.) สามารถใช้ปรุงอาหารหรือลวกก๋วยเตี๋ยวได้ประมาณ 300 จาน/ชาม และที่ขึ้นราคา 1 บาทต่อกก. ก็กระทบต่อต้นทุนการปรุงอาหารเพียงแค่ 3 สตางค์ หรือหากคิดตั้งแต่ขึ้นราคามาจนถึงปัจจุบันที่ 4.50 บาท ก็กระทบต้นทุนไม่ถึง 20 สตางค์ จะใช้เป็นข้ออ้างในการปรับขึ้นราคาไม่ได้
ส่วนร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการหนูณิชย์พาชิม ที่ออกมาระบุว่าไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ จากกรมฯ ขอยืนยันว่า กรมฯ พร้อมให้กับสนับสนุนร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการทุกราย เพียงแต่ร้านค้าจะต้องแจ้งความประสงค์กับกรมฯ ในการขอเข้าร่วมโครงการว่าต้องการให้สนับสนุนด้านใด ซึ่งกรมฯ พร้อมที่จะสนับสนุนเต็มที่ ทั้งวัตถุดิบราคาถูก โดยการประสานให้ผู้ผลิตจำหน่ายให้ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดปกติ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ รวมไปถึงการดึงสถาบันการเงินมาปล่อยกู้ให้สินเชื่อ เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง
ทั้งนี้ ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ กรมฯ จะออกบัตรให้ โดยสามารถซื้อวัตถุดิบในการปรุงอาหารราคาถูก เช่น ข้าวสารถัง 15 กิโลกรัม จะซื้อได้ในราคา 270 บาท จากปกติ 340-350 บาท รวมทั้งน้ำมันพืช น้ำตาลทราย ซอสปรุงรสต่างๆ ที่จะซื้อได้ในราคาถูก
สำหรับการเปิดตัวร้านหนูณิชย์ในต่างจังหวัด กรมฯ ได้มีการติดต่อประสานงานกับร้านค้าในจังหวัดต่างๆ เพื่อให้เข้ามาร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ได้เปิดตัวไปแล้วประมาณ 40 จังหวัด ซึ่งเบื้องต้นได้เน้นในจังหวัดใหญ่ที่มีประชาชนอยู่เป็นจำนวนมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมการค้าภายในได้ให้การสนับสนุนร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการหนูณิชย์พาชิม ตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค.-5 พ.ย.2557 รวม 1,742 ร้านค้า โดยเป็นการสั่งซื้อน้ำมันพืช 97 ร้านค้า จำนวน 437 ลัง/แพ็ค รวม 1.75 แสนบาท สั่งซื้อน้ำปลา 150 ร้านค้า ปริมาณ 1,800 ลัง รวม 4.19 หมื่นบาท สั่งซื้อน้ำอัดลม และน้ำดื่ม 700 ร้านค้า ปริมาณ 10,500 ลัง รวม 9.8 แสนบาท และสั่งซื้อก๊าซหุงต้ม 200 ร้านค้า ปริมาณ 400 ถัง รวม 1.08 แสนบาท หรือคิดเป็นยอดสรุปการสั่งซื้อรวมกว่า 1.3 ล้านบาท