เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (27ต.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายกมล สุขสมบูรณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ) พร้อมด้วยนายจำเริญ ยุติธรรมสกุล รักษาราชการแทน รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และ น.ส.อรนุช ศรีนนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชน ร่วมชี้แจงนโยบายการทำงานของศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เจ้าหน้าที่จาก 20 กระทรวง ที่มาปฏิบัติหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้แก้ปัญหาแบบวันสต็อปเซอร์วิส เพื่อทำความเข้าใจถึงขั้นตอนการทำงานของศูนย์ฯ โดย จุดแรก เจ้าหน้าที่จะคัดกรอง และตรวจสอบหลักฐานประกอบเรื่องราวร้องทุกข์เบื้องต้น จุดที่ 2 จะยื่นเรื่องร้าวร้องทุกข์ และลงทะเบียน จากนั้นเจ้าหน้าที่จะวิเคราะห์เรื่องว่าเกี่ยวกับกระทรวงใด ก่อนที่จะนำผู้ร้องทุกข์พบเจ้าหน้าที่กระทรวงที่เกี่ยวข้องโดยตรง
จากนั้นนายจำเริญ ได้นำเจ้าหน้าที่จากทั้ง 20 กระทรวง ไปปฏิบัติหน้าที่ ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ชั่วคราว สำนักงานก.พ. ตรงข้ามทำเนียบรัฐบาลในทันที พร้อมอธิบายขั้นตอนการทำงานต่างๆ โดยนายจำเริญ กล่าวว่า การจัดเตรียมสถานที่อาจยังติดขัดบ้าง เนื่องจากเป็นวันแรก ต่อไปจะมีการปรับปรุงให้สะดวกในการปฏิบัติหน้าที่มากขึ้น และการทำให้ศูนย์ฯนี้ เป็นศูนย์บริการแบบ วันสต็อปเซอร์วิส เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว เพราะเรามีเจ้าหน้าที่จากทุกกระทรวงประจำการที่นี้ ส่วนปัญหาอะไรที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่อาจต้องใช้เวลาในการดำเนินการ เจ้าหน้าที่ที่มาประจำที่ศูนย์นี้ ซึ่งเป็นระดับชำนาญการ หรือ ชำนาญการพิเศษ ที่มีความชำนาญในแต่ละกระทรวง ก็จะอธิบายทำความเข้าใจกับประชาชน เพื่อให้ประชาชนเดินทางกลับบ้านด้วยความสบายใจ ส่วนเรื่องร้องทุกข์ของประชาชน ก็จะเร่งดำเนินการต่อไป
ต่อมาเวลา 15.30 น. ที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ทำเนียบรัฐบาล ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ประชุมมอบนโยบาย แก่ผู้แทนกระทรวง 20 กระทรวง ที่ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมรับปัญหาที่ศูนย์บริการประชาชนของรัฐบาล โดยม.ล.ปนัดดา กล่าวว่า แม้จะมีเจ้าหน้าที่มาประจำที่ทำเนียบฯ แต่ศูนย์ดำรงธรรมในแต่ละจังหวัด ต้องพร้อมรับเรื่องจากส่วนกลางไปดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว พร้อมขอให้ส่งตัวแทนมาสังเกตการณ์รับเรื่องในส่วนกลาง เพื่อให้การทำงานเป็นรูปแบบเดียวกันไปปรับใช้ โดยมีผู้แทนแต่ละกระทรวง สลับสับเปลี่ยนกันมา เพื่อให้ประชาชนรู้สึกถึงความใส่ใจในความทุกข์ของประชาชน และการประสานงานของทำเนียบรัฐบาลกับทุกส่วนราชการ เพื่อแก้ไขปัญหาให้ประชาชน จะเป็นผลงานสำคัญของรัฐบาลในช่วงหนึ่งปีจากนี้ไป เพราะไม่เคยมีรัฐบาลชุดใด ที่นำผู้แทนมาร่วมประสานงานอย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรม ขณะเดียวกันต้องการให้ประชาชนเกิดความพอใจ เมื่อมายื่นเรื่องร้องทุกข์ต่อส่วนราชการ ได้รับการดูแล และตอบรับเป็นอย่างดี
ทั้งนี้ ตนเองเตรียมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์ดำรงธรรมในจังหวัดใกล้เคียงเร็วๆ นี้ ส่วนโครงการให้มีอาสาสมัครมาร่วมทำงานกับศูนย์บริการประชาชนขณะนี้ได้เริ่มแล้ว โดยมีอาสาสมัครจากสถาบันการศึกษาต่างๆ มาสมัคร ซึ่งอยากให้อาสาสมัครเข้ามาทำงานเต็มที่ อย่างไรก็ตามเรื่องการติดตามการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ก็เตรียมจะมอบหมายให้ส่วนราชการเข้าไปดำเนินการ
ม.ล.ปนัดดา กล่าวด้วยว่า ปัญหาที่ถูกร้องเรียนผ่านศูนย์บริการฯ แบ่งเป็นเรื่องหลักๆ ได้แก่ 1. ปัญหาที่แก้ไขได้ในช่วงเวลาสั้นคือปัญหาทั่วไป ที่มีกฎระเบียบรองรับอ้างอิงได้ 2. ปัญหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับศูนย์ดำรงธรรมในการเชื่อมโยงข้อมูลในการแก้ไขปัญหา 3. ปัญหาที่มีความสลับซ้ำซ้อนซึ่งต้องใช้เวลา
ม.ล.ปนัดดา กล่าวถึงการที่ประชาชนจากต่างจังหวัดเดินทางมาร้องเรียนกับศูนย์บริการฯ ของสปน. มากขึ้นซึ่งอาจทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาซ้ำซ้อนกับศูนย์ดำรงธรรมว่า ตนไม่อยากให้เดินทางเข้ามา เพราะต้องการให้ศูนย์ดำรงธรรมทั่วประเทศ นำต้นแบบของศูนย์บริการฯ ไปปรับใช้มากกว่า ส่วนหลักเกณฑ์ในการประเมินผล จะใช้เวลา 1 เดือน ในการประเมิน โดยมีการชี้วัดในรูปแบบการวัดความพึงพอใจ
ด้านพล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เป็นการบูรณาการให้การทำงานมีความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเจ้าหน้าที่ สปน.อาจไม่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาโดยตรง ดังนั้นการให้เจ้าหน้าที่แต่ละกระทรวงมาประจำนั้น เป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด เพื่อลดขั้นตอนในการทำงาน และง่ายต่อการติดตามงาน
จากนั้นนายจำเริญ ได้นำเจ้าหน้าที่จากทั้ง 20 กระทรวง ไปปฏิบัติหน้าที่ ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ชั่วคราว สำนักงานก.พ. ตรงข้ามทำเนียบรัฐบาลในทันที พร้อมอธิบายขั้นตอนการทำงานต่างๆ โดยนายจำเริญ กล่าวว่า การจัดเตรียมสถานที่อาจยังติดขัดบ้าง เนื่องจากเป็นวันแรก ต่อไปจะมีการปรับปรุงให้สะดวกในการปฏิบัติหน้าที่มากขึ้น และการทำให้ศูนย์ฯนี้ เป็นศูนย์บริการแบบ วันสต็อปเซอร์วิส เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว เพราะเรามีเจ้าหน้าที่จากทุกกระทรวงประจำการที่นี้ ส่วนปัญหาอะไรที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่อาจต้องใช้เวลาในการดำเนินการ เจ้าหน้าที่ที่มาประจำที่ศูนย์นี้ ซึ่งเป็นระดับชำนาญการ หรือ ชำนาญการพิเศษ ที่มีความชำนาญในแต่ละกระทรวง ก็จะอธิบายทำความเข้าใจกับประชาชน เพื่อให้ประชาชนเดินทางกลับบ้านด้วยความสบายใจ ส่วนเรื่องร้องทุกข์ของประชาชน ก็จะเร่งดำเนินการต่อไป
ต่อมาเวลา 15.30 น. ที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ทำเนียบรัฐบาล ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ประชุมมอบนโยบาย แก่ผู้แทนกระทรวง 20 กระทรวง ที่ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมรับปัญหาที่ศูนย์บริการประชาชนของรัฐบาล โดยม.ล.ปนัดดา กล่าวว่า แม้จะมีเจ้าหน้าที่มาประจำที่ทำเนียบฯ แต่ศูนย์ดำรงธรรมในแต่ละจังหวัด ต้องพร้อมรับเรื่องจากส่วนกลางไปดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว พร้อมขอให้ส่งตัวแทนมาสังเกตการณ์รับเรื่องในส่วนกลาง เพื่อให้การทำงานเป็นรูปแบบเดียวกันไปปรับใช้ โดยมีผู้แทนแต่ละกระทรวง สลับสับเปลี่ยนกันมา เพื่อให้ประชาชนรู้สึกถึงความใส่ใจในความทุกข์ของประชาชน และการประสานงานของทำเนียบรัฐบาลกับทุกส่วนราชการ เพื่อแก้ไขปัญหาให้ประชาชน จะเป็นผลงานสำคัญของรัฐบาลในช่วงหนึ่งปีจากนี้ไป เพราะไม่เคยมีรัฐบาลชุดใด ที่นำผู้แทนมาร่วมประสานงานอย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรม ขณะเดียวกันต้องการให้ประชาชนเกิดความพอใจ เมื่อมายื่นเรื่องร้องทุกข์ต่อส่วนราชการ ได้รับการดูแล และตอบรับเป็นอย่างดี
ทั้งนี้ ตนเองเตรียมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์ดำรงธรรมในจังหวัดใกล้เคียงเร็วๆ นี้ ส่วนโครงการให้มีอาสาสมัครมาร่วมทำงานกับศูนย์บริการประชาชนขณะนี้ได้เริ่มแล้ว โดยมีอาสาสมัครจากสถาบันการศึกษาต่างๆ มาสมัคร ซึ่งอยากให้อาสาสมัครเข้ามาทำงานเต็มที่ อย่างไรก็ตามเรื่องการติดตามการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ก็เตรียมจะมอบหมายให้ส่วนราชการเข้าไปดำเนินการ
ม.ล.ปนัดดา กล่าวด้วยว่า ปัญหาที่ถูกร้องเรียนผ่านศูนย์บริการฯ แบ่งเป็นเรื่องหลักๆ ได้แก่ 1. ปัญหาที่แก้ไขได้ในช่วงเวลาสั้นคือปัญหาทั่วไป ที่มีกฎระเบียบรองรับอ้างอิงได้ 2. ปัญหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับศูนย์ดำรงธรรมในการเชื่อมโยงข้อมูลในการแก้ไขปัญหา 3. ปัญหาที่มีความสลับซ้ำซ้อนซึ่งต้องใช้เวลา
ม.ล.ปนัดดา กล่าวถึงการที่ประชาชนจากต่างจังหวัดเดินทางมาร้องเรียนกับศูนย์บริการฯ ของสปน. มากขึ้นซึ่งอาจทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาซ้ำซ้อนกับศูนย์ดำรงธรรมว่า ตนไม่อยากให้เดินทางเข้ามา เพราะต้องการให้ศูนย์ดำรงธรรมทั่วประเทศ นำต้นแบบของศูนย์บริการฯ ไปปรับใช้มากกว่า ส่วนหลักเกณฑ์ในการประเมินผล จะใช้เวลา 1 เดือน ในการประเมิน โดยมีการชี้วัดในรูปแบบการวัดความพึงพอใจ
ด้านพล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เป็นการบูรณาการให้การทำงานมีความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเจ้าหน้าที่ สปน.อาจไม่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาโดยตรง ดังนั้นการให้เจ้าหน้าที่แต่ละกระทรวงมาประจำนั้น เป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด เพื่อลดขั้นตอนในการทำงาน และง่ายต่อการติดตามงาน