รศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) เปิดเผยภายหลังร่วมหารือกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ว่า ตนได้หารือกับ ทปอ. ถึงกรณีที่ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ศึกษาข้อดี ข้อเสีย ของการแยก สกอ. ออกจากกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่ง ทปอ. ก็ยืนยันว่าต้องการแยกออกมาเป็นกระทรวงใหม่ เพราะต้องการความคล่องตัว และความเข้าใจในการสื่อสาร แม้ที่ผ่านมาอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการก็สามารถดำเนินการได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็พบว่าการสื่อสารบางครั้งคนในกระทรวงฯ ไม่เข้าใจเรื่องของอุดมศึกษา ทำให้มีปัญหาอยู่บ้าง แต่หากแยกเป็นกระทรวงอุดมศึกษา เชื่อว่าน่าจะมีการสื่อสารและเข้าใจกันได้ง่าย ขึ้นทำให้มีคุณภาพการศึกษามากขึ้น
นอกจากนั้น ตนได้ถามถึงความคืบหน้าหน้าการประชาพิจารณ์ ร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ. ... ซึ่ง ทปอ.เห็นว่า อาจจะผนวกสาระสำคัญของ พ.ร.บ.การอุดมศึกษา ไว้ในกฎหมายฉบับเดียวกับการแยกกระทรวงอุดมศึกษาได้เลย ดังนั้น ตนจึงฝากให้ทปอ. ไปช่วยยกร่างกฎหมายการจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษา และให้ช่วยคิดว่า จะผนวกอำนาจ หน้าที่ ที่อยู่ในร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา ไว้ในกฎหมายการจัดตั้งกระทรวงฯได้อย่างไร โดยเน้นคุณภาพการอุดมศึกษาที่เป็นประโยชน์กับประชาชน สามารถควบคุมสถาบันอุดมศึกษาที่ไม่อยู่ในกติกาได้ และตนจะไปประสานกับคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ด้วย อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะใช้เวลา ยกร่างไม่เกิน 1-2 เดือน และเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป
ด้าน รศ.ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในฐานะรักษาการประธาน ทปอ. กล่าวว่า ทปอ. จะเร่งยกร่าง กฎหมายการจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษา ส่วนชื่อของกระทรวงใหม่ ที่จะเสนอ ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะใช้ชื่อว่า กระทรวงอุดมศึกษา หรือ กระทรวงอุดมศึกษาและการวิจัย แต่ที่แน่ ๆกระทรวงนี้จะต้องดูเรื่องการวิจัยด้วย เพราะการวิจัยกับอุดมศึกษา ต้องควบคู่กันไป โดยอาจจะรวมสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ไว้ด้วย เพราะเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนและให้ทุนนักวิจัยสอดคล้องกับปรัชญาการอุดมศึกษาที่มีหน้าที่ในการสร้างนักวิจัย อีกทั้ง นักวิจัยกว่า 90% ของประเทศไทย ก็อยู่ในสถาบันอุดมศึกษา แต่จะไม่ขยายวงกว้างไปถึงสำนักวิจัยต่าง ๆ ของหน่วยงานอื่น ๆ อาทิ หน่วยงานที่ทำวิจัยด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพราะจะทำให้แตกแขนงกว้างเกินไป ทำให้โครงสร้างใหญ่และไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
นอกจากนั้น ตนได้ถามถึงความคืบหน้าหน้าการประชาพิจารณ์ ร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ. ... ซึ่ง ทปอ.เห็นว่า อาจจะผนวกสาระสำคัญของ พ.ร.บ.การอุดมศึกษา ไว้ในกฎหมายฉบับเดียวกับการแยกกระทรวงอุดมศึกษาได้เลย ดังนั้น ตนจึงฝากให้ทปอ. ไปช่วยยกร่างกฎหมายการจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษา และให้ช่วยคิดว่า จะผนวกอำนาจ หน้าที่ ที่อยู่ในร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา ไว้ในกฎหมายการจัดตั้งกระทรวงฯได้อย่างไร โดยเน้นคุณภาพการอุดมศึกษาที่เป็นประโยชน์กับประชาชน สามารถควบคุมสถาบันอุดมศึกษาที่ไม่อยู่ในกติกาได้ และตนจะไปประสานกับคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ด้วย อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะใช้เวลา ยกร่างไม่เกิน 1-2 เดือน และเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป
ด้าน รศ.ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในฐานะรักษาการประธาน ทปอ. กล่าวว่า ทปอ. จะเร่งยกร่าง กฎหมายการจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษา ส่วนชื่อของกระทรวงใหม่ ที่จะเสนอ ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะใช้ชื่อว่า กระทรวงอุดมศึกษา หรือ กระทรวงอุดมศึกษาและการวิจัย แต่ที่แน่ ๆกระทรวงนี้จะต้องดูเรื่องการวิจัยด้วย เพราะการวิจัยกับอุดมศึกษา ต้องควบคู่กันไป โดยอาจจะรวมสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ไว้ด้วย เพราะเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนและให้ทุนนักวิจัยสอดคล้องกับปรัชญาการอุดมศึกษาที่มีหน้าที่ในการสร้างนักวิจัย อีกทั้ง นักวิจัยกว่า 90% ของประเทศไทย ก็อยู่ในสถาบันอุดมศึกษา แต่จะไม่ขยายวงกว้างไปถึงสำนักวิจัยต่าง ๆ ของหน่วยงานอื่น ๆ อาทิ หน่วยงานที่ทำวิจัยด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพราะจะทำให้แตกแขนงกว้างเกินไป ทำให้โครงสร้างใหญ่และไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้