เตรียมจัดทำข้อสรุปร่าง พ.ร.บ.อุดมฯ และประเด็นถามตอบให้เครือข่ายอุดมศึกษา ทั้ง 4 กลุ่ม ร่วมให้ความเห็นก่อนเสนอมาภายใน 1 เดือน พร้อมนำร่างขึ้นเว็บไซต์ฟังความเห็นส่วนรวม
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยว่า จากการประชุม กกอ. ที่ผ่านมา ได้นำร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ... เข้าที่ประชุมเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นจาก กกอ. ซึ่งสาระสำคัญในร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว คือ การกำหนดให้มีคณะบุคคลที่ทำงานเต็มเวลา หรือคณะกรรมการบริหารการอุดมศึกษา จำนวน 5 คน ในลักษณะเดียวกับ บอร์ดบริหารของคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจตามที่ กกอ. ชุดใหญ่มอบหมาย ซึ่งมีข้อดีคือ ทำงานเต็มเวลา รวดเร็ว สั่งการได้ทันที ไม่ต้องรอนำเรื่องเข้า กกอ. ชุดใหญ่ ซึ่งประชุมเดือนละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ การได้มาซึ่งคณะกรรมการบริหารและอำนาจหน้าที่ ยังไม่มีข้อยุติ รวมทั้งยังไม่ได้ข้อยุติว่า จะมีคณะกรรมการบริหาร หรือไม่ เพราะต้องรับฟังความคิดเห็นจากมหาวิทยาลัย เพราะยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับการใช้อำนาจของคณะกรรมการบริหารฯ ซึ่งอาจจะมากเกินไป
“เบื้องต้นกรณีที่เกี่ยวกับธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัย ทางคณะกรรมการบริหารฯ จะเข้าไปแทรกแซงการบริหารงานของมหาวิทยาลัยได้นั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจาก กกอ. ก่อน เพื่อไม่ให้เกิดกลั่นแกล้ง เป็นต้น แต่บางกรณีที่ต้องการความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา กกอ. ก็อาจมอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารฯ ดำเนินการ เช่น การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ หลักสูตร หรือกรณีที่มหาวิทยาลัยเอกชนทำผิด พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษา เป็นต้น”รศ.นพ.กำจร กล่าว
เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ที่ประชุม กกอ. ให้จัดทำบทสรุปของ ร่าง พ.ร.บ. นี้ และประเด็นคำถามคำตอบต่างๆ รวมทั้งร่าง พ.ร.บ. ส่งให้ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.), ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ, ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอกลับมาที่ กกอ.ภายใน 1 เดือน พร้อมกันนี้ สกอ. จะนำร่าง พ.ร.บ. ขึ้นเว็บไซต์ เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนด้วย ส่วนกรณีที่ประธาน กกอ. และอธิการบดีและนักวิชาการได้รับการแต่งตั้งเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณากฎหมายต่างๆ นั้น ตนเห็นว่าจะทำให้มีโอกาสชี้แจง สนช. อื่นๆ ให้เข้าใจมากขึ้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยว่า จากการประชุม กกอ. ที่ผ่านมา ได้นำร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ... เข้าที่ประชุมเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นจาก กกอ. ซึ่งสาระสำคัญในร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว คือ การกำหนดให้มีคณะบุคคลที่ทำงานเต็มเวลา หรือคณะกรรมการบริหารการอุดมศึกษา จำนวน 5 คน ในลักษณะเดียวกับ บอร์ดบริหารของคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจตามที่ กกอ. ชุดใหญ่มอบหมาย ซึ่งมีข้อดีคือ ทำงานเต็มเวลา รวดเร็ว สั่งการได้ทันที ไม่ต้องรอนำเรื่องเข้า กกอ. ชุดใหญ่ ซึ่งประชุมเดือนละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ การได้มาซึ่งคณะกรรมการบริหารและอำนาจหน้าที่ ยังไม่มีข้อยุติ รวมทั้งยังไม่ได้ข้อยุติว่า จะมีคณะกรรมการบริหาร หรือไม่ เพราะต้องรับฟังความคิดเห็นจากมหาวิทยาลัย เพราะยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับการใช้อำนาจของคณะกรรมการบริหารฯ ซึ่งอาจจะมากเกินไป
“เบื้องต้นกรณีที่เกี่ยวกับธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัย ทางคณะกรรมการบริหารฯ จะเข้าไปแทรกแซงการบริหารงานของมหาวิทยาลัยได้นั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจาก กกอ. ก่อน เพื่อไม่ให้เกิดกลั่นแกล้ง เป็นต้น แต่บางกรณีที่ต้องการความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา กกอ. ก็อาจมอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารฯ ดำเนินการ เช่น การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ หลักสูตร หรือกรณีที่มหาวิทยาลัยเอกชนทำผิด พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษา เป็นต้น”รศ.นพ.กำจร กล่าว
เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ที่ประชุม กกอ. ให้จัดทำบทสรุปของ ร่าง พ.ร.บ. นี้ และประเด็นคำถามคำตอบต่างๆ รวมทั้งร่าง พ.ร.บ. ส่งให้ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.), ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ, ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอกลับมาที่ กกอ.ภายใน 1 เดือน พร้อมกันนี้ สกอ. จะนำร่าง พ.ร.บ. ขึ้นเว็บไซต์ เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนด้วย ส่วนกรณีที่ประธาน กกอ. และอธิการบดีและนักวิชาการได้รับการแต่งตั้งเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณากฎหมายต่างๆ นั้น ตนเห็นว่าจะทำให้มีโอกาสชี้แจง สนช. อื่นๆ ให้เข้าใจมากขึ้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่