**หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน เคาะแนวทางการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่ครั้งที่ 21 ทั้งหมด 29 แปลง บนบก 23 แปลง และทะเลอ่าวไทยอีก 6 แปลง โดยให้ผู้สนใจยื่นคำขอได้ภายในวันที่ 18 ก.พ.58 หรือ นับจากวันที่ กพช.มีมติไป 120 วัน ทำให้หลายคนถึงกับอุทานออกมาว่า “กูว่าแล้ว”
สาเหตุของคำอุทานดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมการบริหารของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ที่คุยนักหนาว่าจะเข้ามาปฏิรูปพลังงาน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน เอาแต่เดินตามตูดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในทุกประเด็น ตั้งแต่การขึ้นราคาแอลพีจี เอ็นจีวี และดีเซล การเร่งรัดเจรจากับกัมพูชาในประเด็นพื้นที่ทับซ้อน เพื่อดูดเอาทรัพยการของชาติมาหาประโยชน์ทั้งที่ยังมีปัญหาที่กัมพูชาขีดเส้นรุกล้ำอธิปไตยของไทย มาจนถึงการตัดสินใจเลือกใช้แนวทางสัมปทานปิโตรเลียม โดยไม่ฟังเสียงภาคประชาชนที่ท้วงติงว่า เป็นวิธีการที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชาติ
พล.อ.ประยุทธ์ ส่งนายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ออกมาแถลงเหตุผลของการเปิดสัมปทานฯว่า เพื่อเป็นการสร้างทางออกของประเทศในการค้นหาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ๆ เป็นการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน โดยอ้างว่าเงื่อนไขการยื่นสัมปทานครั้งนี้แตกต่างจากการเปิดสัมปทานในรอบที่ผ่านมา คือ การหลีกเลี่ยงพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1เอ เขตอนุรักษ์และรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ซึ่งจะใช้ระบบไทยแลนด์ทรัพลัส ที่เพิ่มผลประโยชน์จากระบบไทยแลนด์ทรีเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2532 ได้แก่ การเก็บค่าภาคหลวงในอัตรา 5-15% จากรายได้การขายปิโตรเลียม การเก็บภาษีเงินได้ 50 % ของกำไร การเรียกเงินผลตอบแทนพิเศษ เมื่อมีกำไรหลังคืนทุนแล้ว ...
**จะเห็นได้ว่าคำชี้แจงดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานที่รัฐเลือกตัดสินใจโดยไม่รอบทสรุปจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ และไม่ได้มีการพิจารณาข้อเสนอของภาคประชาชนเพื่อประกอบการพิจารณาเลยแม้แต่น้อย
ไม่มีคำอธิบายว่าที่ภาคประชาชนโต้แย้งว่าไม่มีความจำเป็นต้องเปิดสัมปทานรอบใหม่ เนื่องจากแปลงสัมปทานเดิมยังมีพื้นที่ให้ขุดเจาะอีกจำนวนมาก ตามที่ นายนพ สัตยาศัย ประธานชมรมวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย ร่วมปฏิรูปประเทศไทย ให้ข้อมูลอ้างอิงถึงรายงานประจำปีของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติในปี 2556 ว่า ไทยมีพื้นที่สำรวจซึ่งยังไม่ได้ผลิตและขุดเจาะสูงถึง 9.8 หมื่นตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่สำรองอีก 1.18 หมื่นตารางกิโลเมตร
สะท้อนให้เห็นว่ายังมีพื้นที่สัมปทานเดิมให้ขุดเจาะอีกจำนวนมาก ไม่จำเป็นต้องเปิดรอบใหม่ เป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ ถ้าถูกต้องทำไมรัฐบาลต้องเร่งรัดเปิดสัมปทานฯ แทนที่จะรอผลสรุปจากสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้กำหนดแนวทางเกี่ยวกับการปฏิรูปพลังงานที่สร้างประโยชน์สูงสุดให้ชาติและก่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน
รัฐบาลไม่เคยอธิบายว่าคิดอย่างไรกับแนวทางที่ปล่อยให้บริษัทเอกชนที่เป็นผู้ได้รับสัมปทานเป็นผู้กุมข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานของประเทศ โดยที่รัฐไม่มีส่วนรับรู้อะไรเลย นอกจากรับฟังตามคำบอกเล่าของบริษัทเอกชน เพราะในปัจจุบันการสำรวจพื้นที่ปิโตรเลียมเป็นเรื่องของบริษัทเอกชนที่ได้รับสัมปทานเป็นผู้สำรวจ ผลิต และให้ข้อมูลกับรัฐว่าพลังงานของประเทศมีปริมาณเท่าใด เท่ากับว่ารัฐบาลไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ นอกจากการคิดและปฏิบัติตามข้อมูลของเอกชน ซึ่งแน่นอนว่าต้องคำนึงถึงผลกำไรมากกว่าผลประโยชน์ที่รัฐจะได้รับ เหตุใดจึงไม่ทบทวนแนวทางนี้ เพราะในฐานะที่รัฐเป็นผู้กำหนดนโยบายต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแหล่งพลังงานและปริมาณพลังงานในประเทศเป็นของตัวเอง ไม่ใช่พึ่งพาข้อมูลจากเอกชน ทีเข้ามาแสวงหากำไรจากทรัพยากรภายในประเทศนี้
**มีคำถามง่าย ๆ ว่า ถ้ารัฐซึ่งเป็นเจ้าของสินค้ายังไม่รู้เลยว่าตัวเองมีสินค้าอยู่เท่าไหร่ จะขายได้ราคาที่เหมาะสมได้อย่างไร
ถ้ามีความจริงใจในการปฏิรูปพลังงาน พล.อ.ประยุทธ์ ต้องชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ไปก่อน จนกว่าจะให้คำตอบที่ชัดเจนได้ว่า การฝากลมหายใจด้านพลังงานไว้กับเอกชน เป็นความมั่นคงทางพลังงานหรือเป็นแค่ความมั่นคงของทุนพลังงานกันแน่
ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ ต้องการเห็นประเทศชาติได้ผลประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรภายในประเทศ ก็ต้องมีคำตอบให้กับตัวเองและประชาชนก่อนว่า เหตุใดจึงปฏิเสธแนวทางการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ภาคประชาชนเสนอให้มีดำเนินการแทนระบบสัมปทาน มีการศึกษาเปรียบเทียบถึงข้อดีข้อด้อยของสองระบบนี้แล้วหรือยัง เพราะความจริงแล้วประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าเป็นระบบสัมปทาน หรือระบบแบ่งปันผลประโยชน์ แต่อยู่ที่ผลลัพธ์คือประโยชน์สูงสุดที่ประเทศชาติจะได้รัฐ พล.อ.ประยุทธ์ มีคำตอบแล้วหรือว่า ระบบสัมปทานที่รัฐเลือกที่จะเดินหน้าอยู่ในขณะนี้ คือแนวทางที่จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และทำให้รัฐได้ประโยชน์สูงสุดจริง
**พล.อ.ประยุทธ์ เคยรับทราบข้อมูลหรือไม่ว่า มีการจับเสือมือเปล่าเกิดขึ้นในระบบสัมปทาน โดยมีการเข้าจองพื้นที่สัมปทานแบบจับเสือมือเปล่า จากนั้นนำสัมปทานที่ได้จากรัฐไปทำกำไรด้วยการขายทอดกรรมสิทธิที่ได้จากรัฐให้กับเอกชนรายอื่น โดยมีการนำไปเทรดในตลาดหลักทรัพย์ตางประเทศซึ่งเกิดขึ้นมาแล้วจากกรณี “แหล่งนงเยาว์และแหล่งมโนราห์” ซึ่งบริษัทเพิร์ลออยได้สัมปทาน ต่อมาถูกบริษัทมูบาดา ของตะวันออกกลางเข้าเทคโอเวอร์ในตลาดหุ้นที่สิงคโปร์ ทำให้บริษัทเพิร์ลออย มีกำไรทันที 5 พันล้านบาทจากการขายทอดกรรมสิทธิที่ได้สัมปทานจากรัฐบาลไทย ในขณะที่ประเทศไทยไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ จากการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิดังกล่าว
ทำไมจึงมีการเปลี่ยนบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากรัฐไปเป็นรายอื่นได้ จำเป็นต้องมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศด้วยการปิดช่องโหว่การทำกำไรในลักษณะนี้หรือไม่ เพราะหากบริษัทใดที่ได้สัมปทานก็ต้องผูกพันเป็นคู่สัญญากับรัฐ การเปลี่ยนแปลงใดๆ ต้องได้รับความยินยอมจากรัฐบาล ไม่เช่นนั้นรัฐบาลก็มีสิทธิที่จะยกเลิกสัมปทานกับรายเดิมแล้วนำมาเปิดสัมปทานใหม่ซึ่งจะทำให้รัฐได้ประโยชน์และมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น
จุดอ่อนของระบบสัมปทานยังไม่ได้รับการแก้ไข แต่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ เลือกที่จะเปิดสัมปทานฯ ทั้งที่มีผู้ท้วงติงและให้ข้อมูลจำนวนมากถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ยังไม่สายที่จะหยุดเพื่อทบทวน
**เพราะถ้ายังเดินหน้าไม่หยุด ก็คงหยุดความคิดประชาชนไม่ได้ว่า ที่ทำทั้งหมดก็เพื่อความมั่นคงของทุนพลังงานไม่ใช่เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ
สาเหตุของคำอุทานดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมการบริหารของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ที่คุยนักหนาว่าจะเข้ามาปฏิรูปพลังงาน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน เอาแต่เดินตามตูดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในทุกประเด็น ตั้งแต่การขึ้นราคาแอลพีจี เอ็นจีวี และดีเซล การเร่งรัดเจรจากับกัมพูชาในประเด็นพื้นที่ทับซ้อน เพื่อดูดเอาทรัพยการของชาติมาหาประโยชน์ทั้งที่ยังมีปัญหาที่กัมพูชาขีดเส้นรุกล้ำอธิปไตยของไทย มาจนถึงการตัดสินใจเลือกใช้แนวทางสัมปทานปิโตรเลียม โดยไม่ฟังเสียงภาคประชาชนที่ท้วงติงว่า เป็นวิธีการที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชาติ
พล.อ.ประยุทธ์ ส่งนายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ออกมาแถลงเหตุผลของการเปิดสัมปทานฯว่า เพื่อเป็นการสร้างทางออกของประเทศในการค้นหาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ๆ เป็นการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน โดยอ้างว่าเงื่อนไขการยื่นสัมปทานครั้งนี้แตกต่างจากการเปิดสัมปทานในรอบที่ผ่านมา คือ การหลีกเลี่ยงพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1เอ เขตอนุรักษ์และรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ซึ่งจะใช้ระบบไทยแลนด์ทรัพลัส ที่เพิ่มผลประโยชน์จากระบบไทยแลนด์ทรีเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2532 ได้แก่ การเก็บค่าภาคหลวงในอัตรา 5-15% จากรายได้การขายปิโตรเลียม การเก็บภาษีเงินได้ 50 % ของกำไร การเรียกเงินผลตอบแทนพิเศษ เมื่อมีกำไรหลังคืนทุนแล้ว ...
**จะเห็นได้ว่าคำชี้แจงดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานที่รัฐเลือกตัดสินใจโดยไม่รอบทสรุปจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ และไม่ได้มีการพิจารณาข้อเสนอของภาคประชาชนเพื่อประกอบการพิจารณาเลยแม้แต่น้อย
ไม่มีคำอธิบายว่าที่ภาคประชาชนโต้แย้งว่าไม่มีความจำเป็นต้องเปิดสัมปทานรอบใหม่ เนื่องจากแปลงสัมปทานเดิมยังมีพื้นที่ให้ขุดเจาะอีกจำนวนมาก ตามที่ นายนพ สัตยาศัย ประธานชมรมวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย ร่วมปฏิรูปประเทศไทย ให้ข้อมูลอ้างอิงถึงรายงานประจำปีของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติในปี 2556 ว่า ไทยมีพื้นที่สำรวจซึ่งยังไม่ได้ผลิตและขุดเจาะสูงถึง 9.8 หมื่นตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่สำรองอีก 1.18 หมื่นตารางกิโลเมตร
สะท้อนให้เห็นว่ายังมีพื้นที่สัมปทานเดิมให้ขุดเจาะอีกจำนวนมาก ไม่จำเป็นต้องเปิดรอบใหม่ เป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ ถ้าถูกต้องทำไมรัฐบาลต้องเร่งรัดเปิดสัมปทานฯ แทนที่จะรอผลสรุปจากสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้กำหนดแนวทางเกี่ยวกับการปฏิรูปพลังงานที่สร้างประโยชน์สูงสุดให้ชาติและก่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน
รัฐบาลไม่เคยอธิบายว่าคิดอย่างไรกับแนวทางที่ปล่อยให้บริษัทเอกชนที่เป็นผู้ได้รับสัมปทานเป็นผู้กุมข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานของประเทศ โดยที่รัฐไม่มีส่วนรับรู้อะไรเลย นอกจากรับฟังตามคำบอกเล่าของบริษัทเอกชน เพราะในปัจจุบันการสำรวจพื้นที่ปิโตรเลียมเป็นเรื่องของบริษัทเอกชนที่ได้รับสัมปทานเป็นผู้สำรวจ ผลิต และให้ข้อมูลกับรัฐว่าพลังงานของประเทศมีปริมาณเท่าใด เท่ากับว่ารัฐบาลไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ นอกจากการคิดและปฏิบัติตามข้อมูลของเอกชน ซึ่งแน่นอนว่าต้องคำนึงถึงผลกำไรมากกว่าผลประโยชน์ที่รัฐจะได้รับ เหตุใดจึงไม่ทบทวนแนวทางนี้ เพราะในฐานะที่รัฐเป็นผู้กำหนดนโยบายต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแหล่งพลังงานและปริมาณพลังงานในประเทศเป็นของตัวเอง ไม่ใช่พึ่งพาข้อมูลจากเอกชน ทีเข้ามาแสวงหากำไรจากทรัพยากรภายในประเทศนี้
**มีคำถามง่าย ๆ ว่า ถ้ารัฐซึ่งเป็นเจ้าของสินค้ายังไม่รู้เลยว่าตัวเองมีสินค้าอยู่เท่าไหร่ จะขายได้ราคาที่เหมาะสมได้อย่างไร
ถ้ามีความจริงใจในการปฏิรูปพลังงาน พล.อ.ประยุทธ์ ต้องชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ไปก่อน จนกว่าจะให้คำตอบที่ชัดเจนได้ว่า การฝากลมหายใจด้านพลังงานไว้กับเอกชน เป็นความมั่นคงทางพลังงานหรือเป็นแค่ความมั่นคงของทุนพลังงานกันแน่
ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ ต้องการเห็นประเทศชาติได้ผลประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรภายในประเทศ ก็ต้องมีคำตอบให้กับตัวเองและประชาชนก่อนว่า เหตุใดจึงปฏิเสธแนวทางการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ภาคประชาชนเสนอให้มีดำเนินการแทนระบบสัมปทาน มีการศึกษาเปรียบเทียบถึงข้อดีข้อด้อยของสองระบบนี้แล้วหรือยัง เพราะความจริงแล้วประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าเป็นระบบสัมปทาน หรือระบบแบ่งปันผลประโยชน์ แต่อยู่ที่ผลลัพธ์คือประโยชน์สูงสุดที่ประเทศชาติจะได้รัฐ พล.อ.ประยุทธ์ มีคำตอบแล้วหรือว่า ระบบสัมปทานที่รัฐเลือกที่จะเดินหน้าอยู่ในขณะนี้ คือแนวทางที่จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และทำให้รัฐได้ประโยชน์สูงสุดจริง
**พล.อ.ประยุทธ์ เคยรับทราบข้อมูลหรือไม่ว่า มีการจับเสือมือเปล่าเกิดขึ้นในระบบสัมปทาน โดยมีการเข้าจองพื้นที่สัมปทานแบบจับเสือมือเปล่า จากนั้นนำสัมปทานที่ได้จากรัฐไปทำกำไรด้วยการขายทอดกรรมสิทธิที่ได้จากรัฐให้กับเอกชนรายอื่น โดยมีการนำไปเทรดในตลาดหลักทรัพย์ตางประเทศซึ่งเกิดขึ้นมาแล้วจากกรณี “แหล่งนงเยาว์และแหล่งมโนราห์” ซึ่งบริษัทเพิร์ลออยได้สัมปทาน ต่อมาถูกบริษัทมูบาดา ของตะวันออกกลางเข้าเทคโอเวอร์ในตลาดหุ้นที่สิงคโปร์ ทำให้บริษัทเพิร์ลออย มีกำไรทันที 5 พันล้านบาทจากการขายทอดกรรมสิทธิที่ได้สัมปทานจากรัฐบาลไทย ในขณะที่ประเทศไทยไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ จากการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิดังกล่าว
ทำไมจึงมีการเปลี่ยนบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากรัฐไปเป็นรายอื่นได้ จำเป็นต้องมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศด้วยการปิดช่องโหว่การทำกำไรในลักษณะนี้หรือไม่ เพราะหากบริษัทใดที่ได้สัมปทานก็ต้องผูกพันเป็นคู่สัญญากับรัฐ การเปลี่ยนแปลงใดๆ ต้องได้รับความยินยอมจากรัฐบาล ไม่เช่นนั้นรัฐบาลก็มีสิทธิที่จะยกเลิกสัมปทานกับรายเดิมแล้วนำมาเปิดสัมปทานใหม่ซึ่งจะทำให้รัฐได้ประโยชน์และมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น
จุดอ่อนของระบบสัมปทานยังไม่ได้รับการแก้ไข แต่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ เลือกที่จะเปิดสัมปทานฯ ทั้งที่มีผู้ท้วงติงและให้ข้อมูลจำนวนมากถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ยังไม่สายที่จะหยุดเพื่อทบทวน
**เพราะถ้ายังเดินหน้าไม่หยุด ก็คงหยุดความคิดประชาชนไม่ได้ว่า ที่ทำทั้งหมดก็เพื่อความมั่นคงของทุนพลังงานไม่ใช่เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ