จีนตระหนักถึงศัยภาพของ “ตลาดทุน” ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จึงพยายามผ่อนคลายกฎเกณฑ์ ข้อบังคับในการลงทุนต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจ และความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างประเทศสนใจเข้ามาลงทุนในตลาดทุน จีนมากขึ้น
***นายไพจิตร วิบูลย์ธนสาร อัครราชทูตไทย (ฝ่ายการพาณิชย์) ประจำกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน*** ระบุถึงอุปสรรคสำคัญที่ทำให้นักลงทุนทั่วโลกไม่ให้คามสำคัญกับตลาดทุนจีน เนื่องจาก “จีน“ มีข้อแตกต่างในด้านการเมืองการปกครอง และรูปแบบการซื้อขายหลักทรัพย์ที่แตกต่างกับประเทศในโลกเสรี แต่รัฐบาลจีนเห็นความสำคัญของ “ตลาดทุน” ที่สามารถเชื่อมโยงเม็ดเงินลงทุนจากทั่วโลกเข้ามากระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจจีนได้อย่างมาก ดังนั้นจึงพยายามที่จะผ่อนคลายหลักเกณฑ์การลงทุนในตลาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนต่างชาติทั่วโลก รวมถึงเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศในทางอ้อมด้วย
“การซื้อขายหุ้นแบบ “แยกกระดาน” ไม่ว่าจะเป็นปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และเซินเจิ้น ล้วนแล้วแต่ต้องผ่านการตรวจสอบจากรัฐบาลทั้งสิ้น ดังนั้นรัฐบาลจีนจึงพยายามที่จะออกกฎข้อบังคับและระเบียบวิธีการต่างๆให้ผ่อนคลายลง เพื่อสร้างแรงจูงใจและความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศจีนมากขึ้น เพราะจีนมองว่าตลาดทุนจะเป็นแหล่งเงินทุนสำคัญที่จะช่วยยกระดับการพัฒนาประเทศให้เทียบเท่ากับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างรวดเร็ว”
อัครราชทูตไทย (ฝ่ายการพาณิชย์) ประจำกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน วิเคราะห์ แผนพัฒนาเศรษฐกิจของจีน ว่า ทุกฉบับโดยเฉพาะฉบับล่าสุด มีภาพที่ชัดเจนว่า ***จีนต้องการก้าวขึ้นมาเป็น “มหาอำนาจด้านเศรษฐกิจของเอเชีย” แทนที่ประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น จีน จึงวายแผน และมีความพยายามผลักดัน “เงินสกุลหยวน” ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก*** ภายใต้ความพยายามดังกล่าว สิ่งที่ปรากฏชัดเจนที่สุดคือจีนพยายามที่จะเพิ่มอุปสงค์ของเงินหยวนในตลาดโลก ด้วยการเชื่องโยงเงินหยวนผ่านประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป เช่นในประเทศอังกฤษ เยอรมันนี และประเทศอื่นๆ ที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคนั้นๆ เพื่อให้การใช้ “เงินหยวน” แทรกซึมเข้าไปในทุกภูมิภาค
นายไพจิตร คาดว่าจีนจะต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะประมาณ 6 ปี เพื่อที่จะให้เงินสกุลหยวน เข้าไปมีบทบาทแพร่หลายในตลาดโลกเช่นเดียวกับเงินสกุลอื่นๆเช่น ดอลลาร์สหรัฐ หรือ เงินสกุลยูโร และหนึ่งในเครื่องมือหลักที่จะยกระดับเงินหยวนให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลกคือการตั้งให้มหานครเซี่ยงไฮ้ เป็น Free Trade Zone โดยรัฐบาลจีนให้สิทธิเสรีในการแลกเปลี่ยนเงินหยวนและเงินตราต่างประเทศ รวมถึงการกำหนดอัตราดอกเบี้ยได้อย่างเสรีเพื่อเพิ่มความคล่องตัวด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา Free Trade Zone ประสบความสำเร็จอย่างมากในการดึงนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุน และถือเป็นฐานกระจายเม็ดเงินไปยังภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ จีนจึงเตรียมที่จะขยายไปยังเมืองสำคัญๆอื่นๆของประเทศ โดยรัฐบาลจีนเตรียมวางแผนที่จะเปิด Free Trade Zone อีก 2 แห่งคือ เทียนจิน และชิงเต่า ภายในปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า
***ในส่วนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. และสำนักงานสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. มีความพยายามที่จะเชื่อมโยงตลาดหุ้นไทยเข้ากับตลาดหุ้นจีน ทั้ง 3 ตลาดคือ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และเซินเจิ้น เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนเข้ามาหมุนเวียนในตลาดหุ้นไทย ด้วยการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกันโดยล่าสุดได้มีการพิจารณา “ในเชิงลึก” ด้านการเชื่อมโยงธุรกรรมทางการเงินและการซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างกันให้มีความสะดวกมากขึ้น*** โดยได้รับความร่วมมือจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการขยายวงเงินการลงทุนระหว่างประเทศในรูปของเงินหยวน เพื่อให้มีสภาพคล่องมากขึ้น
นายประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ mai ระบุว่า ตลาดหลักทรัพย์ mai มีแผนการที่จะผลักดันผู้ประกอบการ และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ให้มีศักยภาพด้านการแข่งขัน และตระหนักถึงการขยายโอกาสทางธุรกิจเข้าไปในตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรีอ AEC โดยภายในปี 2558 นี้ ตลาดหลักทรัพย์ mai มีโครงการ ที่จะคัดเลือกผู้บริหารของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดmai เดินทางไปสำรวจความต้องการของตลาดจีน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนไทยให้มีศักยภาพเติบโตนอกเหนือจากกลุ่ม 10 ประเทศใน AEC เนื่องจาก SME ของจีนมีขนาดใหญ่เทียบเท่าบริษัทจดทะเบียนของไทย ซึ่งหากสามารถดึงผู้ประกอบการ SME เหล่านั้นให้เข้ามาร่วมทุนกับบริษัทจดทะเบียนของไทยได้ ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสในส่วนความก้าวหน้าและการเติบโตไปใน AEC ในอนาคตได้ และหากบริษัทจดทะเบียนใน SET สามารถทำ Dual Listing กับตลาดหุ้นจีนได้ การที่บริษัทจดทะเบียนใน mai ก็จะไม่ใช่เรื่องยาก
“บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น mai ที่มีศักยภาพมีหลายบริษัทได้เข้าไปสำรวจความต้องการของตลาดอาเซียนและเข้าไปลงทุนบ้างแล้วประมาณ 10 บริษัท และมีบางส่วนที่ทำสัญญาร่วมลงทุนกับบริษัทญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุน.นภูมิภาคนี้ ส่วนตลาดประเทศจีนนั้นมีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่มีกำลังซื้อสูงจากจำนวนประชากรมากกว่า 1.4 พันล้านคน โดย mai เองก็เตรียมที่มีจะนำเรื่องนี้เข้าสู่การหารือในสมาคมบริษัทจดทะเบียน และผู้บริหารของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น mai ในการเข้าไปสำรวจความต้องการของตลาดจีน และโอกาสการลงทุน ตลอดจนถึงการขยายตลาดการลงทุน เพราะจีนเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ การเข้าไปลงทุนจึงไม่ง่ายนักจึงต้องศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างรอบคอบ”
***ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ mai กล่าวว่า ผู้บริหาร บจ.ในตลาดหลักทรัยพ์ mai กังวลเกี่ยวกับโอกาสทางธุรกิจ และความเสี่ยงในการเข้าไปลงทุน เนื่องจากความแตกต่างของระบบตลาดทุนที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นการทำธุรกรรมร่วมกันในช่วงแรกอาจเป็นการเข้าไปหาพันธมิตรร่วมลงทุน นำเข้า-ส่งออก พร้อมแนะนำ 4 ข้อสังเกตที่พึงตระหนัก คือ 1.เงินทุนของบริษัทจดทะเบียนของคู่สัญญา 2.ตรวจสอบพิจารณาอัตราระดับความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อรายได้และกำไรของบริษัทที่จะเข้าไปลงทุน 3.โอกาสทางธุรกิจ และ 4.ปัจจัยความเสี่ยงจากสภาพเศรษฐกิจ***
***นายไพจิตร วิบูลย์ธนสาร อัครราชทูตไทย (ฝ่ายการพาณิชย์) ประจำกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน*** ระบุถึงอุปสรรคสำคัญที่ทำให้นักลงทุนทั่วโลกไม่ให้คามสำคัญกับตลาดทุนจีน เนื่องจาก “จีน“ มีข้อแตกต่างในด้านการเมืองการปกครอง และรูปแบบการซื้อขายหลักทรัพย์ที่แตกต่างกับประเทศในโลกเสรี แต่รัฐบาลจีนเห็นความสำคัญของ “ตลาดทุน” ที่สามารถเชื่อมโยงเม็ดเงินลงทุนจากทั่วโลกเข้ามากระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจจีนได้อย่างมาก ดังนั้นจึงพยายามที่จะผ่อนคลายหลักเกณฑ์การลงทุนในตลาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนต่างชาติทั่วโลก รวมถึงเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศในทางอ้อมด้วย
“การซื้อขายหุ้นแบบ “แยกกระดาน” ไม่ว่าจะเป็นปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และเซินเจิ้น ล้วนแล้วแต่ต้องผ่านการตรวจสอบจากรัฐบาลทั้งสิ้น ดังนั้นรัฐบาลจีนจึงพยายามที่จะออกกฎข้อบังคับและระเบียบวิธีการต่างๆให้ผ่อนคลายลง เพื่อสร้างแรงจูงใจและความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศจีนมากขึ้น เพราะจีนมองว่าตลาดทุนจะเป็นแหล่งเงินทุนสำคัญที่จะช่วยยกระดับการพัฒนาประเทศให้เทียบเท่ากับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างรวดเร็ว”
อัครราชทูตไทย (ฝ่ายการพาณิชย์) ประจำกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน วิเคราะห์ แผนพัฒนาเศรษฐกิจของจีน ว่า ทุกฉบับโดยเฉพาะฉบับล่าสุด มีภาพที่ชัดเจนว่า ***จีนต้องการก้าวขึ้นมาเป็น “มหาอำนาจด้านเศรษฐกิจของเอเชีย” แทนที่ประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น จีน จึงวายแผน และมีความพยายามผลักดัน “เงินสกุลหยวน” ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก*** ภายใต้ความพยายามดังกล่าว สิ่งที่ปรากฏชัดเจนที่สุดคือจีนพยายามที่จะเพิ่มอุปสงค์ของเงินหยวนในตลาดโลก ด้วยการเชื่องโยงเงินหยวนผ่านประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป เช่นในประเทศอังกฤษ เยอรมันนี และประเทศอื่นๆ ที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคนั้นๆ เพื่อให้การใช้ “เงินหยวน” แทรกซึมเข้าไปในทุกภูมิภาค
นายไพจิตร คาดว่าจีนจะต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะประมาณ 6 ปี เพื่อที่จะให้เงินสกุลหยวน เข้าไปมีบทบาทแพร่หลายในตลาดโลกเช่นเดียวกับเงินสกุลอื่นๆเช่น ดอลลาร์สหรัฐ หรือ เงินสกุลยูโร และหนึ่งในเครื่องมือหลักที่จะยกระดับเงินหยวนให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลกคือการตั้งให้มหานครเซี่ยงไฮ้ เป็น Free Trade Zone โดยรัฐบาลจีนให้สิทธิเสรีในการแลกเปลี่ยนเงินหยวนและเงินตราต่างประเทศ รวมถึงการกำหนดอัตราดอกเบี้ยได้อย่างเสรีเพื่อเพิ่มความคล่องตัวด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา Free Trade Zone ประสบความสำเร็จอย่างมากในการดึงนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุน และถือเป็นฐานกระจายเม็ดเงินไปยังภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ จีนจึงเตรียมที่จะขยายไปยังเมืองสำคัญๆอื่นๆของประเทศ โดยรัฐบาลจีนเตรียมวางแผนที่จะเปิด Free Trade Zone อีก 2 แห่งคือ เทียนจิน และชิงเต่า ภายในปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า
***ในส่วนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. และสำนักงานสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. มีความพยายามที่จะเชื่อมโยงตลาดหุ้นไทยเข้ากับตลาดหุ้นจีน ทั้ง 3 ตลาดคือ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และเซินเจิ้น เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนเข้ามาหมุนเวียนในตลาดหุ้นไทย ด้วยการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกันโดยล่าสุดได้มีการพิจารณา “ในเชิงลึก” ด้านการเชื่อมโยงธุรกรรมทางการเงินและการซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างกันให้มีความสะดวกมากขึ้น*** โดยได้รับความร่วมมือจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการขยายวงเงินการลงทุนระหว่างประเทศในรูปของเงินหยวน เพื่อให้มีสภาพคล่องมากขึ้น
นายประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ mai ระบุว่า ตลาดหลักทรัพย์ mai มีแผนการที่จะผลักดันผู้ประกอบการ และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ให้มีศักยภาพด้านการแข่งขัน และตระหนักถึงการขยายโอกาสทางธุรกิจเข้าไปในตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรีอ AEC โดยภายในปี 2558 นี้ ตลาดหลักทรัพย์ mai มีโครงการ ที่จะคัดเลือกผู้บริหารของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดmai เดินทางไปสำรวจความต้องการของตลาดจีน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนไทยให้มีศักยภาพเติบโตนอกเหนือจากกลุ่ม 10 ประเทศใน AEC เนื่องจาก SME ของจีนมีขนาดใหญ่เทียบเท่าบริษัทจดทะเบียนของไทย ซึ่งหากสามารถดึงผู้ประกอบการ SME เหล่านั้นให้เข้ามาร่วมทุนกับบริษัทจดทะเบียนของไทยได้ ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสในส่วนความก้าวหน้าและการเติบโตไปใน AEC ในอนาคตได้ และหากบริษัทจดทะเบียนใน SET สามารถทำ Dual Listing กับตลาดหุ้นจีนได้ การที่บริษัทจดทะเบียนใน mai ก็จะไม่ใช่เรื่องยาก
“บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น mai ที่มีศักยภาพมีหลายบริษัทได้เข้าไปสำรวจความต้องการของตลาดอาเซียนและเข้าไปลงทุนบ้างแล้วประมาณ 10 บริษัท และมีบางส่วนที่ทำสัญญาร่วมลงทุนกับบริษัทญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุน.นภูมิภาคนี้ ส่วนตลาดประเทศจีนนั้นมีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่มีกำลังซื้อสูงจากจำนวนประชากรมากกว่า 1.4 พันล้านคน โดย mai เองก็เตรียมที่มีจะนำเรื่องนี้เข้าสู่การหารือในสมาคมบริษัทจดทะเบียน และผู้บริหารของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น mai ในการเข้าไปสำรวจความต้องการของตลาดจีน และโอกาสการลงทุน ตลอดจนถึงการขยายตลาดการลงทุน เพราะจีนเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ การเข้าไปลงทุนจึงไม่ง่ายนักจึงต้องศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างรอบคอบ”
***ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ mai กล่าวว่า ผู้บริหาร บจ.ในตลาดหลักทรัยพ์ mai กังวลเกี่ยวกับโอกาสทางธุรกิจ และความเสี่ยงในการเข้าไปลงทุน เนื่องจากความแตกต่างของระบบตลาดทุนที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นการทำธุรกรรมร่วมกันในช่วงแรกอาจเป็นการเข้าไปหาพันธมิตรร่วมลงทุน นำเข้า-ส่งออก พร้อมแนะนำ 4 ข้อสังเกตที่พึงตระหนัก คือ 1.เงินทุนของบริษัทจดทะเบียนของคู่สัญญา 2.ตรวจสอบพิจารณาอัตราระดับความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อรายได้และกำไรของบริษัทที่จะเข้าไปลงทุน 3.โอกาสทางธุรกิจ และ 4.ปัจจัยความเสี่ยงจากสภาพเศรษฐกิจ***