xs
xsm
sm
md
lg

ตลาดหลักทรัพย์ mai เตรียมผลักดันผู้ประกอบการ บจ. ชั้นนำสยายปีกธุรกิจในตลาดอาเซียน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ตลาดหลักทรัพย์ mai เตรียมผลักดันผู้ประกอบการ บจ. ชั้นนำสยายปีกธุรกิจในตลาดอาเซียน พร้อมคัดเลือกผู้บริหาร บจ.เดินทางไปสำรวจความต้องการของตลาดจีน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งขอ บจ.ไทย ให้มีศักยภาพเติบโต นอกเหนือจากกลุ่ม 10 ประเทศใน AEC

นายประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ mai ระบุว่า ตลาดหลักทรัพย์ mai มีแผนการที่จะผลักดันผู้ประกอบการ และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ให้มีศักยภาพด้านการแข่งขัน และตระหนักถึงการขยายโอกาสทางธุรกิจเข้าไปในตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรีอ AEC โดยภายในปี 2558 นี้

นายประพันธ์ กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ mai มีโครงการ ที่จะคัดเลือกผู้บริหารของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาด mai เดินทางไปสำรวจความต้องการของตลาดจีน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนไทยให้มีศักยภาพเติบโตนอกเหนือจากกลุ่ม 10 ประเทศใน AEC เนื่องจาก SME ของจีนมีขนาดใหญ่เทียบเท่าบริษัทจดทะเบียนของไทย

ทั้งนี้ หากสามารถดึงผู้ประกอบการ SME เหล่านั้นให้เข้ามาร่วมทุนกับบริษัทจดทะเบียนของไทยได้ ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสในส่วนความก้าวหน้าและการเติบโตไปใน AEC ในอนาคตได้ และหากบริษัทจดทะเบียนใน SET สามารถทำ Dual Listing กับตลาดหุ้นจีนได้ การที่บริษัทจดทะเบียนใน mai ก็จะไม่ใช่เรื่องยาก

“บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น mai ที่มีศักยภาพมีหลายบริษัทได้เข้าไปสำรวจความต้องการของตลาดอาเซียน และเข้าไปลงทุนบ้างแล้วประมาณ 10 บริษัท และมีบางส่วนที่ทำสัญญาร่วมลงทุนกับบริษัทญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้ ส่วนตลาดประเทศจีนนั้นมีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่มีกำลังซื้อสูงจากจำนวนประชากรมากกว่า 1.4 พันล้านคน”

โดยในส่วนของตลาด mai เตรียมที่จะนำเรื่องนี้เข้าสู่การหารือในสมาคมบริษัทจดทะเบียน และผู้บริหารของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น mai ในการเข้าไปสำรวจความต้องการของตลาดจีน และโอกาสการลงทุน ตลอดจนถึงการขยายตลาดการลงทุน เพราะจีนเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ การเข้าไปลงทุนจึงไม่ง่ายนักจึงต้องศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างรอบคอบ

ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ mai กล่าวเสริมว่า ผู้บริหาร บจ.ในตลาดหลักทรัยพ์ mai กังวลเกี่ยวกับโอกาสทางธุรกิจ และความเสี่ยงในการเข้าไปลงทุน เนื่องจากความแตกต่างของระบบตลาดทุนที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นการทำธุรกรรมร่วมกันในช่วงแรกอาจเป็นการเข้าไปหาพันธมิตรร่วมลงทุน นำเข้า-ส่งออก

พร้อมกันนี้ ยังได้แนะนำ 4 ข้อสังเกตที่พึงตระหนัก คือ 1. เงินทุนของบริษัทจดทะเบียนของคู่สัญญา 2. ตรวจสอบพิจารณาอัตราระดับความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อรายได้และกำไรของบริษัทที่จะเข้าไปลงทุน 3. โอกาสทางธุรกิจ และ 4. ปัจจัยความเสี่ยงจากสภาพเศรษฐกิจ
กำลังโหลดความคิดเห็น