ในที่สุดกระทรวงพลังงานภายใต้การกำกับของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ได้ประกาศให้มีการสัมปทานแหล่งปิโตรเลียมรอบที่ 21 จนได้ โดยไม่ฟังเสียงเรียกร้องของภาคประชาชนที่กระจายไปหลายภาคส่วนและดังแรงขึ้นกระแสสูงตลอดช่วง 3-4 ปีมานี้ ภายใต้ประเด็น “ปฏิรูปพลังงาน” ซึ่งเกิดก่อนการคัดค้าน “การนิรโทษกรรมเหมาเข่ง” จนนำไปสู่การรัฐประหารเสียด้วยซ้ำ
หลังการรัฐประหาร คสช.ได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาปรองดองกัน มีอะไรก็มาพูดกันใน “สภาปฏิรูป” ซึ่งได้แยกประเด็นด้านพลังงานออกมาพิจารณาต่างหาก แต่ยังไม่ทันที่สภาปฏิรูปจะได้ทำงาน ประเด็นที่ภาคประชาชนเรียกร้องว่าควรแก้ไข ควรปรับปรุงให้ดีขึ้น รัฐบาลนี้ก็ไม่สนใจและไม่พยายามทำความเข้าใจสักอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกองทุนน้ำมัน แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าจนถึงสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21
ถ้าเปรียบเป็นเรื่องของเด็กๆ ก็เหมือนการจงใจกลั่นแกล้งกันให้อีกฝ่ายเจ็บใจเล่นเท่านั้นเองไม่ได้มีผลประโยชน์อย่างอื่น แต่ในความเป็นจริงมันเป็นเรื่องของผลประโยชน์มหาศาลของกลุ่มทุนพลังงานทั้งเทศและไทยที่เอาเปรียบและปิดหูปิดตาคนไทยตลอดมา
เหตุผลที่ภาครัฐตอบกับประชาชนในการเปิดสัมปทานรอบใหม่ มีทั้งหลอกลวงบิดประเด็นและเป็นเท็จ ซึ่งผมได้สรุปคำอธิบายออกมาได้เป็น 3 กลุ่มครับ กลุ่มแรกคือ แบบถามแต่ไม่มีคำตอบ กลุ่มที่สองแบบ “ถามไปไหนมา ตอบสามวาสองศอก” กลุ่มที่สามแบบ “เป็นแค่หลักการแต่ในความเป็นจริงไม่ใช่” ผมจะกล่าวให้กระชับที่สุด พร้อมกับเสนอทางออกของปัญหาว่าแค่เปลี่ยนวิธีคิดเท่านั้นปัญหาดังกล่าวก็สามารถแก้ได้ครับ
กลุ่มแรกแบบถามแต่ไม่มีตอบ
ภาคประชาชนเสนอให้มีการปฏิรูปพลังงานอย่างเป็นระบบ โดยพิจารณาให้ครอบคลุมถึงเรื่องความเป็นธรรมและผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมด้วยซึ่งรวมถึงการจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม และการผลิตไฟฟ้าที่ภาครัฐเน้นการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ผูกขาดและการกีดกันพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีการกระจายตัวและเป็นประชาธิปไตยโดยธรรมชาติ
แต่รัฐบาลชุดนี้ก็กลับเดินหน้าทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับที่ภาคประชาชนเรียกร้องแทบทุกอย่าง กล่าวเฉพาะการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ภาคประชาชนเรียกร้องให้ให้ชะลอไว้ก่อนจนกว่าจะมีการแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 เสียก่อน เพราะ พ.ร.บ.ไปล็อกสเปกไว้ว่า “ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ การสำรวจและพัฒนาต้องใช้ระบบสัมปทาน” เท่านั้น ทั้งๆ ที่การพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในโลกนี้มีหลายระบบด้วยกัน เช่น การแบ่งปันผลผลิต การรับจ้างการผลิต เป็นต้น
สิ่งที่ควรจะเป็นนั้นสามารถดูเป็นตัวอย่างจากรัฐธรรมนูญของประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซียซึ่งได้เขียนกำหนดไว้อย่างกว้างๆ ว่า “การจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมต้องให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดกับประชาชนความมั่งคั่งทางธรรมชาติต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ” โดยไม่ได้ระบุเลยว่าให้ใช้ระบบใด แต่ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 ของไทยเรากลับใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญไทยหรือเรียกว่าเป็นรัฐธรรมนูญตัวจริงที่ไปกำหนดว่าต้องใช้ระบบสัมปทานเท่านั้น
นี่คือประเด็นสำคัญที่สุดของปัญหาซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2514 ในขณะที่สองประเทศดังกล่าว (และอีกหลายประเทศ) เขาก็เคยใช้แบบเดียวกับเราแต่ก็ได้แก้ไขไปแล้วตั้งแต่ปี 2517
ในโอกาสที่ประชาชนตื่นตัวและลุกขึ้นมาเสนอต่อรัฐบาลในอดีต สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็น่าจะตอบสนองด้วยการแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวเสียก่อน ซึ่งสมารถทำได้เร็วในสถานการณ์เช่นนี้
ภาครัฐกลับตอบว่า รอไม่ได้เพราะกระบวนการให้สัมปทานจนถึงขั้นตอนการผลิตต้องใช้เวลานาน 5 ถึง 7 ปีภาคประชาชนจึงตั้งคำถามว่า ถ้าอย่างนั้นแล้วจะมีสภาปฏิรูปและมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปทำไมกัน ทั้งๆ ที่กระบวนการทางสภาน่าจะใช้เวลาไม่เกินหนึ่งปี เมื่อให้สัมปทานเขาไปแล้วจะเหลือทรัพยากรธรรมชาติที่ไหนให้ปฏิรูปอีกละ
แต่ไม่มีคำตอบจากรัฐบาล
กลุ่มที่สองแบบ “ถามไปไหนมา ตอบสามวาสองศอก”
ความจริงแล้ว ความแตกต่างระหว่างระบบสัมปทานกับระบบการแบ่งปันผลิตนั้น ไม่ได้วัดกันที่ว่าระบบใดให้ผลประโยชน์กับรัฐมากน้อยกว่ากัน ในบางกรณีระบบหนึ่งให้ผลประโยชน์มากกว่าอีกระบบหนึ่ง หรือสลับกันก็ได้ แต่ความสำคัญที่สุดอยู่ที่ระบบกรรมสิทธิ์ทั้ง 3 อย่าง คือ (1) ข้อมูลจากการสำรวจ (2) อุปกรณ์การผลิต และ (3) การจัดการผลผลิตในการขายและการกำหนดอัตราการผลิต ซึ่งจะต้อง “อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ” ทั้ง 3 อย่าง
ถ้าเป็นระบบสัมปทาน กรรมสิทธิ์ดังกล่าวเป็นของบริษัทคู่สัญญา เรียกว่าเจ้าของทรัพยากรปิโตรเลียมหมดสิทธิ์หมดอำนาจหรือหมดอธิปไตยไปเลย แต่ถ้าเป็นระบบการแบ่งปันผลผลิตกรรมสิทธิ์ทั้ง 3 อย่างเป็นของรัฐ บริษัทเพียงทำตามคำสั่งของรัฐเท่านั้น (โดยที่ความเสี่ยงในการลงทุนเป็นของเอกชน) เมื่ออายุสัญญาหมดลงแต่ปิโตรเลียมยังไม่หมด รัฐมีอำนาจที่จะเลือกบริษัทใหม่ได้ตามใจชอบ แต่ในระบบสัมปทานจะทำเช่นนี้ไม่ได้เพราะอุปกรณ์ยังเป็นของบริษัทเดิม บริษัทใหม่จะเข้ามาก็ต้องคิดมาก
เอาที่เข้าใจง่ายกว่านี้ ในตอนที่คณะกรรมการจะตัดสินใจว่าจะเลือกบริษัทใดมารับสัมปทานนั้น เขาจะตัดสินใจอย่างไรในเมื่ออัตราค่าภาคหลวงและภาษีเงินได้เป็นไปตามกฎหมายที่ได้กำหนดไว้แล้ว แต่ในระบบการแบ่งปันผลิตเป็นการประมูลว่าบริษัทใดมีต้นทุนต่ำที่สุดและแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐมากที่สุด
แต่ในระบบสัมปทาน กรรมการจะมีโอกาสให้พิจารณาตัดสินใจในประเด็นเล็กๆ ที่บริษัทเสนอมาประกอบเท่านั้น เช่น ใครสนับสนุนทุนการศึกษามากกว่ากันซึ่งเป็นตัวเงินที่น้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่าปิโตรเลียมหลายแสนล้านบาท
ว่าไปแล้วก็ไม่ต่างอะไรกับการประกวดนางงามที่ผู้เข้าประกวดมีความงามเท่ากัน (ในรอบท้ายๆ) แต่จะต่างกันก็ตรงที่ใครตอบคำถามว่า “รักเด็กและรักสิ่งแวดล้อม” ได้ดีกว่ากันเท่านั้นเอง
ครั้นเมื่อได้รับสัมปทานไปแล้ว บริษัทสามารถนำไปขายต่อทำกำไรหลายพันล้านบาท รัฐก็ไม่ได้ผลประโยชน์ใดๆ
แต่สิ่งที่กระทรวงพลังงานตอบ ไม่เคยพูดถึงเรื่องกรรมสิทธิ์หรืออธิปไตยในสมบัติของชาติ ไม่เคยพูดถึงอำนาจในการควบคุมของรัฐที่เป็นหัวใจของปัญหาเลย แต่จะเลี่ยงไปยกเอาประเด็นอื่นที่สำคัญไม่มากนักมาตอบแทน เช่น แหล่งปิโตรเลียมของเราเป็นขนาดเล็ก มีปิโตรเลียมไม่มาก ขุดยาก ต้นทุนสูง และบริษัทมีความเสี่ยงสูงซึ่งจะเป็นความจริงหรือเท็จสามารถดูได้จากตัวเลขผลประกอบการของบริษัทที่จะเสนอต่อไป
ดังนั้น การตอบคำถามของรัฐบาลจึงเข้าทำนอง “ถามไปไหนมา ตอบสามวาสองศอก”
กลุ่มที่สามแบบ “เป็นแค่หลักการแต่ในความเป็นจริงไม่ใช่”
รัฐบาลอ้างว่า พ.ร.บ.ได้แก้ไขปรับปรุงมาตลอดเพื่อให้รัฐได้ผลตอบแทนมากขึ้น เช่น มีการแก้ไขให้เก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ 0 ถึง 75% ของกำไรสุทธิในกรณีราคาปิโตรเลียมสูงส่งผลให้บริษัทมีกำไรมาก รัฐก็จะเรียกผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษได้อีกแต่ในความเป็นจริงรัฐเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษได้แค่ 0.62% ของผลกำไรสุทธิหรือ 3,243 ล้านบาทเท่านั้น (ดูผลประกอบการประจำปี 2556 ในแผ่นภาพประกอบ)
ไหนๆ รัฐก็ได้หลอกประชาชนแล้วก็น่าจะหลอกให้มากกว่านี้ คือแทนที่จะบอกว่ารัฐได้ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ 0 ถึง 75% (แต่ได้จริง 0.62%) ก็น่าจะบอกว่าได้ถึง 0 ถึง 99% ไปเลยซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้เมื่อน้ำทะเลกลายเป็นน้ำมัน
กรุณาดูตัวเลขกันให้ละเอียดนะครับ ทั้งๆ ที่ข้าราชการกระทรวงพลังงานบอกว่า แหล่งปิโตรเลียมของไทยเป็นแหล่งเล็กๆ ขุดยาก ต้นทุนสูง แต่ทำไมผลประกอบการของเขาจึงมีกำไรสุทธิถึง 78.4% ของเงินลงทุนในปี 2554 และ 2555 กำไรสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 96 และ 117 ตามลำดับ
นอกจากนี้ภาครัฐบอกว่าปิโตรเลียมกำลังจะหมด แต่ทำไมยอดเงินการลงทุนได้เพิ่มขึ้นทุกปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วน “การพัฒนาแหล่งผลิต” ซึ่งน่าจะเป็นอุปกรณ์ขุดเจาะและแท่นการผลิตเป็นส่วนใหญ่การลงทุนในวันนี้ย่อมหมายถึงการได้ทำกำไรในอีกหลายปีข้างหน้า ผมคิดอย่างนั้นนะ
นอกจากนี้ภาครัฐยังออกมาทวงบุญคุณแทนบริษัทว่า รัฐยังมีการเก็บภาษีเงินได้จากผลกำไรในอัตราร้อยละ 50 (พ.ร.บ.กำหนดให้เสียภาษีไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 แต่ไม่เกินร้อยละ 60 ของกำไรก่อนหักภาษี แต่ความเป็นจริงรัฐเก็บที่ร้อยละ 50 มาตลอด) ในขณะที่ธุรกิจอื่นเสียภาษีเงินได้แค่ 20%
เขาจำแนกไม่ออกจริงๆ หรือว่าธุรกิจอื่นเขาต้องมีการแข่งขันและใช้ประโยชน์บนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐจึงต้องเสียภาษี แต่ธุรกิจผลิตปิโตรเลียมเป็นธุรกิจผูกขาด (สัมปทาน) และขุดทรัพยากรซึ่งเป็นความมั่งคั่งของชาติให้หมดหายไปอย่างถาวรกลับมาที่อัตราภาษีครับ เนื่องจากเรามีการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งกำหนดว่า 8 ปีแรกไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ภาษีนำเข้าอุปกรณ์ก็ไม่ต้องเสีย จึงมีบริษัทในเครือเกิดใหม่มากมาย จากตัวเลขในแผ่นภาพข้างต้นพบว่า ภาษีเงินได้ของบริษัทอยู่ที่ร้อยละ 43% เท่านั้น
นี่คือสองตัวอย่างที่ความเป็นจริงกับหลักการไม่ตรงกัน
ทางออกของปัญหา “แค่เปลี่ยนวิธีคิดปัญหาทั้งหมดก็สามารถแก้ไขได้”
ขอทบทวนอีกครั้งหนึ่งนะครับว่า ทางรัฐบาลอ้างว่าที่ต้องให้สัมปทานเพราะจะไม่มีก๊าซธรรมชาติใช้ ต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจีซึ่งมีราคาแพงจากต่างประเทศ และกระบวนการผลิตหลังจากวันอนุมัติสัมปทานต้องใช้เวลานาน 5 ถึง 7 ปี
วิธีคิดดังกล่าวของทางราชการไทยเป็นวิธีคิดที่ได้ตกอยู่ในหลุมก๊าซธรรมชาติและถ่านหินเท่านั้นซึ่งมันเป็นความจริงเมื่อ 20 ปีก่อน
ถ้ามองกันในแง่ดีคนอย่างศาสตราจารย์พอล ครุกแมน ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ก็เคยคิดเช่นนี้เหมือนกัน เขาเคยออกมาสารภาพผ่านบทความของเขาเองว่า “ผมเคยคิดว่าพลังงานลมและแสงแดดเป็นเป็นเรื่องเพ้อฝันของพวกฮิปปี้ แต่มาวันนี้ผมคิดผิดไปแล้ว”
แผ่นภาพข้างล่างนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า แค่พลังงานแสงอาทิตย์อย่างเดียวประเทศเยอรมนีสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าที่คนไทยใน 14 จังหวัดภาคใต้ และ 17 จังหวัดภาคเหนือใช้รวมกันทั้งปีเสียอีก ทั้งๆ ที่แดดในในประเทศเยอรมนีมีแค่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทยเท่านั้น
สิ่งที่เป็นข้ออ้างของทางราชการเสมอมาก็คือ ต้นทุนโซลาร์เซลล์มีราคาแพง แต่ข้อมูลข้างล่างนี้มาจากกระทรวงพลังงานเอง แต่มาจากคนละกรมกับกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ พบว่า ต้นทุนไม่ได้แพงอย่างที่เขากำลังหลอกประชาชน
ทางราชการเคยเสนอจะรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงแดดหน่วยละ 6.69 บาท ภายใต้โครงการ “โซลาร์รูฟท็อป” (ที่จำกัดจำนวนแค่ 200 เมกะวัตต์) แต่ผมลองลดราคารับซื้อมาที่หน่วยละ 5.50 บาท ผู้ที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 3 กิโลวัตต์จะได้ผลตอบแทนปีละ 10.7% ทุกปีตลอด 25 ปีซึ่งใช้เวลา 9 ปีแรกก็ได้ทุนคืนแล้ว
ในขณะที่ปัจจุบัน บ้านใดใช้ไฟฟ้าจากระบบปัจจุบันเดือนละ 400 หน่วยจะเสียค่าไฟฟ้าและภาษีเฉลี่ยหน่วยละ 4.45 บาท และขึ้นราคาทุกปี ดังนั้นโดยใช้สามัญสำนึกธรรมดาๆ ก็สามารถรู้ว่าอย่างไหนจะดีกว่ากันทั้งเรื่องราคาและการกระจายรายได้ การลดผลกระทบต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
กลับมาที่ความจำเป็นในการใช้ก๊าซธรรมชาติครับ
จากข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพบว่า โดยเฉลี่ยการผลิตไฟฟ้า 1 หน่วยต้องใช้ก๊าซ 9.4 ลูกบาศก์ฟุต ดังนั้นหากรัฐบาลส่งเสริมให้มีการติดแผงโซลาร์เซลล์ให้เท่ากับประเทศเยอรมนีก็จะสามารถลดการใช้ก๊าซลงได้เยอะ
จากข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติปี 2556 พบว่า ประเทศไทยผลิตก๊าซธรรมชาติได้ 1.207 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต นั่นคือเราสามารถลดด้วยการติดโซลาร์เซลล์ได้ถึง 0.279 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คิดเป็น 23% ของยอดการผลิต ซึ่งสามารถทำได้ทันทีภายในเวลา 1 ถึง 2 ปี
และหากเราใช้ชีวมวลซึ่งประเทศไทยก็น่าจะมีศักยภาพมากกว่าเยอรมนี (เพราะเราอยู่ในเขตร้อนพืชเติบโตเร็ว) ถ้าเราผลิตให้ได้สัก 1 ใน 3 (เพราะอาจใช้เวลานานในการเตรียมความพร้อม) ก็จะสามารถลดการใช้ก๊าซได้อีก 12%
รวม 2 รายการก็สามารถลดการใช้ก๊าซได้ถึง 35% แล้ว
ดังนั้น เราไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องรีบเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 เลย เพียงแค่เราเปลี่ยนวิธีคิดเท่านั้นเอง โดยการหันมารับฟังประชาชนซึ่งไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัวอะไรแอบแฝงเลย
ผลประโยชน์ที่จะได้รับก็เป็นผลประโยชน์ร่วมของคนทั้งชาติ
แปลงสัมปทานรอบใหม่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่การเกษตรในภาคอีสาน ที่วันนี้แค่การสำรวจก็ทำให้บ้านของชาวบ้านร้าวจนไม่กล้าเข้าไปนอนในบ้านตนเอง พืชผลการเกษตรเสียหาย น้ำยางพาราลดลง
การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ที่กำลังรุกหนักใน 6 พื้นที่เป็นที่วิตกว่าจะทำลายแหล่งผลิตอาหารในทะเล ทำลายแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามระดับโลกและสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ
พูดก็พูดเถอะ ตอนที่เกิด คสช.ประชาชนเขาคาดหวังให้ท่านเป็นศัตรูกับการทุจริตที่มีมากมายมหาศาลแทบจะทุกโครงการ หวังให้ท่านเป็นศัตรูกับอันธพาลผู้ใช้ความรุนแรงขว้างระเบิด ยิงเอ็ม 79 ทำให้ประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมากโดยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกระดับเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ และบางครั้งตำรวจก็ลงมือทำร้ายประชาชนเสียเอง ท่านน่าจะคงยังจำได้แต่วันนี้ท่านกำลังเห็นประชาชนผู้ห่วงใยประเทศชาติเป็นอุปสรรคขัดขวางไปเสียแล้ว!
ว่าไปแล้ว นักวิเคราะห์หลายคนก็ได้คาดการณ์มานานแล้วว่าจะออกมารูปนี้ แต่ก็ยังหวังอยู่ลึกๆ ว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเรียนรู้เช่นเดียวกับศาสตราจารย์พอล ครุกแมน
แต่ความจริงได้ประจักษ์ชัดแล้วว่า ไม่เลยครับ!
หลังการรัฐประหาร คสช.ได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาปรองดองกัน มีอะไรก็มาพูดกันใน “สภาปฏิรูป” ซึ่งได้แยกประเด็นด้านพลังงานออกมาพิจารณาต่างหาก แต่ยังไม่ทันที่สภาปฏิรูปจะได้ทำงาน ประเด็นที่ภาคประชาชนเรียกร้องว่าควรแก้ไข ควรปรับปรุงให้ดีขึ้น รัฐบาลนี้ก็ไม่สนใจและไม่พยายามทำความเข้าใจสักอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกองทุนน้ำมัน แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าจนถึงสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21
ถ้าเปรียบเป็นเรื่องของเด็กๆ ก็เหมือนการจงใจกลั่นแกล้งกันให้อีกฝ่ายเจ็บใจเล่นเท่านั้นเองไม่ได้มีผลประโยชน์อย่างอื่น แต่ในความเป็นจริงมันเป็นเรื่องของผลประโยชน์มหาศาลของกลุ่มทุนพลังงานทั้งเทศและไทยที่เอาเปรียบและปิดหูปิดตาคนไทยตลอดมา
เหตุผลที่ภาครัฐตอบกับประชาชนในการเปิดสัมปทานรอบใหม่ มีทั้งหลอกลวงบิดประเด็นและเป็นเท็จ ซึ่งผมได้สรุปคำอธิบายออกมาได้เป็น 3 กลุ่มครับ กลุ่มแรกคือ แบบถามแต่ไม่มีคำตอบ กลุ่มที่สองแบบ “ถามไปไหนมา ตอบสามวาสองศอก” กลุ่มที่สามแบบ “เป็นแค่หลักการแต่ในความเป็นจริงไม่ใช่” ผมจะกล่าวให้กระชับที่สุด พร้อมกับเสนอทางออกของปัญหาว่าแค่เปลี่ยนวิธีคิดเท่านั้นปัญหาดังกล่าวก็สามารถแก้ได้ครับ
กลุ่มแรกแบบถามแต่ไม่มีตอบ
ภาคประชาชนเสนอให้มีการปฏิรูปพลังงานอย่างเป็นระบบ โดยพิจารณาให้ครอบคลุมถึงเรื่องความเป็นธรรมและผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมด้วยซึ่งรวมถึงการจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม และการผลิตไฟฟ้าที่ภาครัฐเน้นการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ผูกขาดและการกีดกันพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีการกระจายตัวและเป็นประชาธิปไตยโดยธรรมชาติ
แต่รัฐบาลชุดนี้ก็กลับเดินหน้าทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับที่ภาคประชาชนเรียกร้องแทบทุกอย่าง กล่าวเฉพาะการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ภาคประชาชนเรียกร้องให้ให้ชะลอไว้ก่อนจนกว่าจะมีการแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 เสียก่อน เพราะ พ.ร.บ.ไปล็อกสเปกไว้ว่า “ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ การสำรวจและพัฒนาต้องใช้ระบบสัมปทาน” เท่านั้น ทั้งๆ ที่การพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในโลกนี้มีหลายระบบด้วยกัน เช่น การแบ่งปันผลผลิต การรับจ้างการผลิต เป็นต้น
สิ่งที่ควรจะเป็นนั้นสามารถดูเป็นตัวอย่างจากรัฐธรรมนูญของประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซียซึ่งได้เขียนกำหนดไว้อย่างกว้างๆ ว่า “การจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมต้องให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดกับประชาชนความมั่งคั่งทางธรรมชาติต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ” โดยไม่ได้ระบุเลยว่าให้ใช้ระบบใด แต่ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 ของไทยเรากลับใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญไทยหรือเรียกว่าเป็นรัฐธรรมนูญตัวจริงที่ไปกำหนดว่าต้องใช้ระบบสัมปทานเท่านั้น
นี่คือประเด็นสำคัญที่สุดของปัญหาซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2514 ในขณะที่สองประเทศดังกล่าว (และอีกหลายประเทศ) เขาก็เคยใช้แบบเดียวกับเราแต่ก็ได้แก้ไขไปแล้วตั้งแต่ปี 2517
ในโอกาสที่ประชาชนตื่นตัวและลุกขึ้นมาเสนอต่อรัฐบาลในอดีต สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็น่าจะตอบสนองด้วยการแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวเสียก่อน ซึ่งสมารถทำได้เร็วในสถานการณ์เช่นนี้
ภาครัฐกลับตอบว่า รอไม่ได้เพราะกระบวนการให้สัมปทานจนถึงขั้นตอนการผลิตต้องใช้เวลานาน 5 ถึง 7 ปีภาคประชาชนจึงตั้งคำถามว่า ถ้าอย่างนั้นแล้วจะมีสภาปฏิรูปและมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปทำไมกัน ทั้งๆ ที่กระบวนการทางสภาน่าจะใช้เวลาไม่เกินหนึ่งปี เมื่อให้สัมปทานเขาไปแล้วจะเหลือทรัพยากรธรรมชาติที่ไหนให้ปฏิรูปอีกละ
แต่ไม่มีคำตอบจากรัฐบาล
กลุ่มที่สองแบบ “ถามไปไหนมา ตอบสามวาสองศอก”
ความจริงแล้ว ความแตกต่างระหว่างระบบสัมปทานกับระบบการแบ่งปันผลิตนั้น ไม่ได้วัดกันที่ว่าระบบใดให้ผลประโยชน์กับรัฐมากน้อยกว่ากัน ในบางกรณีระบบหนึ่งให้ผลประโยชน์มากกว่าอีกระบบหนึ่ง หรือสลับกันก็ได้ แต่ความสำคัญที่สุดอยู่ที่ระบบกรรมสิทธิ์ทั้ง 3 อย่าง คือ (1) ข้อมูลจากการสำรวจ (2) อุปกรณ์การผลิต และ (3) การจัดการผลผลิตในการขายและการกำหนดอัตราการผลิต ซึ่งจะต้อง “อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ” ทั้ง 3 อย่าง
ถ้าเป็นระบบสัมปทาน กรรมสิทธิ์ดังกล่าวเป็นของบริษัทคู่สัญญา เรียกว่าเจ้าของทรัพยากรปิโตรเลียมหมดสิทธิ์หมดอำนาจหรือหมดอธิปไตยไปเลย แต่ถ้าเป็นระบบการแบ่งปันผลผลิตกรรมสิทธิ์ทั้ง 3 อย่างเป็นของรัฐ บริษัทเพียงทำตามคำสั่งของรัฐเท่านั้น (โดยที่ความเสี่ยงในการลงทุนเป็นของเอกชน) เมื่ออายุสัญญาหมดลงแต่ปิโตรเลียมยังไม่หมด รัฐมีอำนาจที่จะเลือกบริษัทใหม่ได้ตามใจชอบ แต่ในระบบสัมปทานจะทำเช่นนี้ไม่ได้เพราะอุปกรณ์ยังเป็นของบริษัทเดิม บริษัทใหม่จะเข้ามาก็ต้องคิดมาก
เอาที่เข้าใจง่ายกว่านี้ ในตอนที่คณะกรรมการจะตัดสินใจว่าจะเลือกบริษัทใดมารับสัมปทานนั้น เขาจะตัดสินใจอย่างไรในเมื่ออัตราค่าภาคหลวงและภาษีเงินได้เป็นไปตามกฎหมายที่ได้กำหนดไว้แล้ว แต่ในระบบการแบ่งปันผลิตเป็นการประมูลว่าบริษัทใดมีต้นทุนต่ำที่สุดและแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐมากที่สุด
แต่ในระบบสัมปทาน กรรมการจะมีโอกาสให้พิจารณาตัดสินใจในประเด็นเล็กๆ ที่บริษัทเสนอมาประกอบเท่านั้น เช่น ใครสนับสนุนทุนการศึกษามากกว่ากันซึ่งเป็นตัวเงินที่น้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่าปิโตรเลียมหลายแสนล้านบาท
ว่าไปแล้วก็ไม่ต่างอะไรกับการประกวดนางงามที่ผู้เข้าประกวดมีความงามเท่ากัน (ในรอบท้ายๆ) แต่จะต่างกันก็ตรงที่ใครตอบคำถามว่า “รักเด็กและรักสิ่งแวดล้อม” ได้ดีกว่ากันเท่านั้นเอง
ครั้นเมื่อได้รับสัมปทานไปแล้ว บริษัทสามารถนำไปขายต่อทำกำไรหลายพันล้านบาท รัฐก็ไม่ได้ผลประโยชน์ใดๆ
แต่สิ่งที่กระทรวงพลังงานตอบ ไม่เคยพูดถึงเรื่องกรรมสิทธิ์หรืออธิปไตยในสมบัติของชาติ ไม่เคยพูดถึงอำนาจในการควบคุมของรัฐที่เป็นหัวใจของปัญหาเลย แต่จะเลี่ยงไปยกเอาประเด็นอื่นที่สำคัญไม่มากนักมาตอบแทน เช่น แหล่งปิโตรเลียมของเราเป็นขนาดเล็ก มีปิโตรเลียมไม่มาก ขุดยาก ต้นทุนสูง และบริษัทมีความเสี่ยงสูงซึ่งจะเป็นความจริงหรือเท็จสามารถดูได้จากตัวเลขผลประกอบการของบริษัทที่จะเสนอต่อไป
ดังนั้น การตอบคำถามของรัฐบาลจึงเข้าทำนอง “ถามไปไหนมา ตอบสามวาสองศอก”
กลุ่มที่สามแบบ “เป็นแค่หลักการแต่ในความเป็นจริงไม่ใช่”
รัฐบาลอ้างว่า พ.ร.บ.ได้แก้ไขปรับปรุงมาตลอดเพื่อให้รัฐได้ผลตอบแทนมากขึ้น เช่น มีการแก้ไขให้เก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ 0 ถึง 75% ของกำไรสุทธิในกรณีราคาปิโตรเลียมสูงส่งผลให้บริษัทมีกำไรมาก รัฐก็จะเรียกผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษได้อีกแต่ในความเป็นจริงรัฐเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษได้แค่ 0.62% ของผลกำไรสุทธิหรือ 3,243 ล้านบาทเท่านั้น (ดูผลประกอบการประจำปี 2556 ในแผ่นภาพประกอบ)
ไหนๆ รัฐก็ได้หลอกประชาชนแล้วก็น่าจะหลอกให้มากกว่านี้ คือแทนที่จะบอกว่ารัฐได้ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ 0 ถึง 75% (แต่ได้จริง 0.62%) ก็น่าจะบอกว่าได้ถึง 0 ถึง 99% ไปเลยซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้เมื่อน้ำทะเลกลายเป็นน้ำมัน
กรุณาดูตัวเลขกันให้ละเอียดนะครับ ทั้งๆ ที่ข้าราชการกระทรวงพลังงานบอกว่า แหล่งปิโตรเลียมของไทยเป็นแหล่งเล็กๆ ขุดยาก ต้นทุนสูง แต่ทำไมผลประกอบการของเขาจึงมีกำไรสุทธิถึง 78.4% ของเงินลงทุนในปี 2554 และ 2555 กำไรสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 96 และ 117 ตามลำดับ
นอกจากนี้ภาครัฐบอกว่าปิโตรเลียมกำลังจะหมด แต่ทำไมยอดเงินการลงทุนได้เพิ่มขึ้นทุกปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วน “การพัฒนาแหล่งผลิต” ซึ่งน่าจะเป็นอุปกรณ์ขุดเจาะและแท่นการผลิตเป็นส่วนใหญ่การลงทุนในวันนี้ย่อมหมายถึงการได้ทำกำไรในอีกหลายปีข้างหน้า ผมคิดอย่างนั้นนะ
นอกจากนี้ภาครัฐยังออกมาทวงบุญคุณแทนบริษัทว่า รัฐยังมีการเก็บภาษีเงินได้จากผลกำไรในอัตราร้อยละ 50 (พ.ร.บ.กำหนดให้เสียภาษีไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 แต่ไม่เกินร้อยละ 60 ของกำไรก่อนหักภาษี แต่ความเป็นจริงรัฐเก็บที่ร้อยละ 50 มาตลอด) ในขณะที่ธุรกิจอื่นเสียภาษีเงินได้แค่ 20%
เขาจำแนกไม่ออกจริงๆ หรือว่าธุรกิจอื่นเขาต้องมีการแข่งขันและใช้ประโยชน์บนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐจึงต้องเสียภาษี แต่ธุรกิจผลิตปิโตรเลียมเป็นธุรกิจผูกขาด (สัมปทาน) และขุดทรัพยากรซึ่งเป็นความมั่งคั่งของชาติให้หมดหายไปอย่างถาวรกลับมาที่อัตราภาษีครับ เนื่องจากเรามีการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งกำหนดว่า 8 ปีแรกไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ภาษีนำเข้าอุปกรณ์ก็ไม่ต้องเสีย จึงมีบริษัทในเครือเกิดใหม่มากมาย จากตัวเลขในแผ่นภาพข้างต้นพบว่า ภาษีเงินได้ของบริษัทอยู่ที่ร้อยละ 43% เท่านั้น
นี่คือสองตัวอย่างที่ความเป็นจริงกับหลักการไม่ตรงกัน
ทางออกของปัญหา “แค่เปลี่ยนวิธีคิดปัญหาทั้งหมดก็สามารถแก้ไขได้”
ขอทบทวนอีกครั้งหนึ่งนะครับว่า ทางรัฐบาลอ้างว่าที่ต้องให้สัมปทานเพราะจะไม่มีก๊าซธรรมชาติใช้ ต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจีซึ่งมีราคาแพงจากต่างประเทศ และกระบวนการผลิตหลังจากวันอนุมัติสัมปทานต้องใช้เวลานาน 5 ถึง 7 ปี
วิธีคิดดังกล่าวของทางราชการไทยเป็นวิธีคิดที่ได้ตกอยู่ในหลุมก๊าซธรรมชาติและถ่านหินเท่านั้นซึ่งมันเป็นความจริงเมื่อ 20 ปีก่อน
ถ้ามองกันในแง่ดีคนอย่างศาสตราจารย์พอล ครุกแมน ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ก็เคยคิดเช่นนี้เหมือนกัน เขาเคยออกมาสารภาพผ่านบทความของเขาเองว่า “ผมเคยคิดว่าพลังงานลมและแสงแดดเป็นเป็นเรื่องเพ้อฝันของพวกฮิปปี้ แต่มาวันนี้ผมคิดผิดไปแล้ว”
แผ่นภาพข้างล่างนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า แค่พลังงานแสงอาทิตย์อย่างเดียวประเทศเยอรมนีสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าที่คนไทยใน 14 จังหวัดภาคใต้ และ 17 จังหวัดภาคเหนือใช้รวมกันทั้งปีเสียอีก ทั้งๆ ที่แดดในในประเทศเยอรมนีมีแค่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทยเท่านั้น
สิ่งที่เป็นข้ออ้างของทางราชการเสมอมาก็คือ ต้นทุนโซลาร์เซลล์มีราคาแพง แต่ข้อมูลข้างล่างนี้มาจากกระทรวงพลังงานเอง แต่มาจากคนละกรมกับกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ พบว่า ต้นทุนไม่ได้แพงอย่างที่เขากำลังหลอกประชาชน
ทางราชการเคยเสนอจะรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงแดดหน่วยละ 6.69 บาท ภายใต้โครงการ “โซลาร์รูฟท็อป” (ที่จำกัดจำนวนแค่ 200 เมกะวัตต์) แต่ผมลองลดราคารับซื้อมาที่หน่วยละ 5.50 บาท ผู้ที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 3 กิโลวัตต์จะได้ผลตอบแทนปีละ 10.7% ทุกปีตลอด 25 ปีซึ่งใช้เวลา 9 ปีแรกก็ได้ทุนคืนแล้ว
ในขณะที่ปัจจุบัน บ้านใดใช้ไฟฟ้าจากระบบปัจจุบันเดือนละ 400 หน่วยจะเสียค่าไฟฟ้าและภาษีเฉลี่ยหน่วยละ 4.45 บาท และขึ้นราคาทุกปี ดังนั้นโดยใช้สามัญสำนึกธรรมดาๆ ก็สามารถรู้ว่าอย่างไหนจะดีกว่ากันทั้งเรื่องราคาและการกระจายรายได้ การลดผลกระทบต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
กลับมาที่ความจำเป็นในการใช้ก๊าซธรรมชาติครับ
จากข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพบว่า โดยเฉลี่ยการผลิตไฟฟ้า 1 หน่วยต้องใช้ก๊าซ 9.4 ลูกบาศก์ฟุต ดังนั้นหากรัฐบาลส่งเสริมให้มีการติดแผงโซลาร์เซลล์ให้เท่ากับประเทศเยอรมนีก็จะสามารถลดการใช้ก๊าซลงได้เยอะ
จากข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติปี 2556 พบว่า ประเทศไทยผลิตก๊าซธรรมชาติได้ 1.207 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต นั่นคือเราสามารถลดด้วยการติดโซลาร์เซลล์ได้ถึง 0.279 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คิดเป็น 23% ของยอดการผลิต ซึ่งสามารถทำได้ทันทีภายในเวลา 1 ถึง 2 ปี
และหากเราใช้ชีวมวลซึ่งประเทศไทยก็น่าจะมีศักยภาพมากกว่าเยอรมนี (เพราะเราอยู่ในเขตร้อนพืชเติบโตเร็ว) ถ้าเราผลิตให้ได้สัก 1 ใน 3 (เพราะอาจใช้เวลานานในการเตรียมความพร้อม) ก็จะสามารถลดการใช้ก๊าซได้อีก 12%
รวม 2 รายการก็สามารถลดการใช้ก๊าซได้ถึง 35% แล้ว
ดังนั้น เราไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องรีบเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 เลย เพียงแค่เราเปลี่ยนวิธีคิดเท่านั้นเอง โดยการหันมารับฟังประชาชนซึ่งไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัวอะไรแอบแฝงเลย
ผลประโยชน์ที่จะได้รับก็เป็นผลประโยชน์ร่วมของคนทั้งชาติ
แปลงสัมปทานรอบใหม่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่การเกษตรในภาคอีสาน ที่วันนี้แค่การสำรวจก็ทำให้บ้านของชาวบ้านร้าวจนไม่กล้าเข้าไปนอนในบ้านตนเอง พืชผลการเกษตรเสียหาย น้ำยางพาราลดลง
การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ที่กำลังรุกหนักใน 6 พื้นที่เป็นที่วิตกว่าจะทำลายแหล่งผลิตอาหารในทะเล ทำลายแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามระดับโลกและสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ
พูดก็พูดเถอะ ตอนที่เกิด คสช.ประชาชนเขาคาดหวังให้ท่านเป็นศัตรูกับการทุจริตที่มีมากมายมหาศาลแทบจะทุกโครงการ หวังให้ท่านเป็นศัตรูกับอันธพาลผู้ใช้ความรุนแรงขว้างระเบิด ยิงเอ็ม 79 ทำให้ประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมากโดยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกระดับเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ และบางครั้งตำรวจก็ลงมือทำร้ายประชาชนเสียเอง ท่านน่าจะคงยังจำได้แต่วันนี้ท่านกำลังเห็นประชาชนผู้ห่วงใยประเทศชาติเป็นอุปสรรคขัดขวางไปเสียแล้ว!
ว่าไปแล้ว นักวิเคราะห์หลายคนก็ได้คาดการณ์มานานแล้วว่าจะออกมารูปนี้ แต่ก็ยังหวังอยู่ลึกๆ ว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเรียนรู้เช่นเดียวกับศาสตราจารย์พอล ครุกแมน
แต่ความจริงได้ประจักษ์ชัดแล้วว่า ไม่เลยครับ!