ผู้ค้าน้ำมันและนักวิชาการหนุนรัฐบาลใช้จังหวะน้ำมันโลกขาลงช่วงต.ค.-พ.ย.ปรับโครงสร้างราคาน้ำมันให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง แนะแนวทางปรับภาษีสรรพสามิตดีเซลโยกเงินกองทุนน้ำมันฯโปะได้หวังปลดล้อคตรึงราคาดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร พร้อมให้ชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนถึงแนวทางขณะที่”กลุ่มปฏิรูปพลังงาน “ยื่นหนังสื่อร้องเรียน คสช. ระงับสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 อีกรอบ พร้อมยื่นผู้ตรวจฯ สอบจริยธรรม"ณรงค์ชัย" ให้ข่าวน้ำมัน-ก๊าซหมดใน 8 ปี บิดเบือนข้อเท็จจริง เข้าข่ายเอื้อประโยชน์ตนเองพวกพ้อง
นาย วิเชียร อุษณาโชติ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำมันตลาดโลกขณะนี้คาดว่ายังคงมีคยามผันผวนตามข่าวรายวันและมีทิศทางไปในทางขาลงในช่วง 1-2 เดือนนี้เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจทั้งสหรัฐอเมริกา จีน ยุโรปภาพรวมปีนี้ชะลอตัว อย่างไรก็ตามคาดว่าเดือนธ.ค.ราคาน้ำมันก็จะกลับมากระเตื้องอีกครั้งจากการเข้าสู่ฤดูหนาว ดังนั้นเห็นว่าจังหวะน้ำมันขาลงรัฐควรจะพิจารณาปรับโครงสร้างราคาน้ำมันให้สะท้อนกลไกต้นทุนที่แท้จริง
“ รัฐควรใช้จังหวะนี้ปรับโครงสร้างเพื่อนำไปสู่การยกเลิกนโยบายตรึงราคาดีเซลไว้ไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตรให้สะท้อนกลไกตลาดแต่สิ่งสำคัญคือควรทำความเข้าใจกับประชาชนว่ามีเป้าหมายอย่างไร เพื่ออะไร เพื่อให้ประชาชนทั้งหมดเข้าใจตรงกัน และที่สำคัญประชาชนจะได้วางแผนถูกโดยเฉพาะคนซื้อรถ”นายวิเชียรกล่าว
ทั้งนี้เห็นว่านอกจากน้ำมันตลาดโลกยังเป็นขาลงแล้วฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใกล้จะเป็นบวกจึงเหมาะที่จะทำการปรับโครงสร้างโดยเฉพาะภาษีสรรพสามิตดีเซลควรเริ่มทยอยปรับเพราะจะไม่กระทบต่อราคาขายปลีกของประชาชนที่เพิ่มขึ้น
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการด้านพลังงาน กล่าวว่า ช่วงเดือนตุลาคม -พฤศจิกายนนี้ ราคาพลังงานในตลาดโลกยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องดังนั้นถือเป็นโอกาสดีสุดที่รัฐจะปรับโครงสร้างราคาพลังงานแต่ละชนิดให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยดีเซลรัฐควรจะใช้จังหวะนี้ยกเลิกการตรึงราคาขายปลีกไม่เกิน 30บาทต่อลิตรโดยให้สลับการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับดีเซลจากปัจจุบันเก็บอยู่ที่ 3 บาทต่อลิตรลดเหลือ 75 สตางค์ต่อลิตรและให้นำไปเพิ่มเป็นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตดีเซลในระดับ 3 บาทต่อลิตรแทนจากปัจจุบันที่อยู่ระดับ 75 สตางค์ต่อลิตรเพื่อให้อยู่ใกล้เคียงกับกลุ่มเบนซินซึ่งจะไม่กระทบกับประชาชน
ทั้งนี้ จากการลดภาษีดีเซลที่เริ่มจาก เดือนเมษายน 2554 ทำให้รายได้ของรัฐจัดเก็บต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และในปี 2557 ในส่วนของภาษีน้ำมัน จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 28,597 ล้านบาท หรือร้อยละ 31.1 กระทรวงการคลังระบุเป็นผลจากการขยายเวลาปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน และการเปลี่ยนไปใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ซึ่งมีอัตราภาษีต่ำและก๊าซ NGV ซึ่งไม่เสียภาษี ทดแทนการใช้น้ำมันเบนซิน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ค่าการตลาดน้ำมันของผู้ค้าอยู่ในเกณฑ์สูงโดยราคากลุ่มเบนซินเฉลี่ยอยู่ในระดับ 2 บาทต่อลิตร ดีเซล 1.70 บาทต่อลิตร หลังจากที่ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด วานนี้ (15 ต.ค.) ดิ่งลงอย่างรุนแรง โดยราคาดิบดูไบ ลดลง 4.14 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ปิดที่ 83.5 ดอลลาร์/บาร์เรล เบรนท์ ลดลง 1.26 ดอลลาร์ ปิดที่ 83.78 ดอลลาร์/บาร์เรล เวสต์เท็กซัส ลดลง0.06 ปิด 81.78ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ เบนซิน ลดลง 3.23 ดอลลาร์ ปิด 97.51 ดอลลาร์/บาร์เรล ดีเซล ลดลง 4.33 ดอลลาร์ ปิด 96.38 ดอลลาร์/บาร์เรล
**** ยื่นหนังสื่อร้องเรียน คสช. ระงับสัมปทานปิโตรเลียม
เมื่อเวลา 09.10 น. วานนี้ (16 ต.ค.) ที่ศูนย์บริการประชาชนชั่วคราว อาคารสำนักงานก.พ. สภาปฏิรูปพลังงานไทย กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย นำโดย ม.ล.รุ่งคุณ กิตติยากร และพล.อ.ดร.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ พร้อมคณะประมาณ 20 คน เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อติดตามเรื่องขอให้ หยุดการให้สัมปทาน ครั้งที่ 21 และหยุดขึ้นราคาก๊าซ น้ำมัน พร้อมทั้งตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ
ม.ล.รุ่งคุณ เปิดเผยว่า ทางเครือข่ายฯ ขอให้นายกรัฐมนตรี ยับยั้งการให้สัมปทาน ยับยั้งการขึ้นราคาก๊าซและน้ำมันเพื่อรอผลการหารือ ของคณะปฏิรูปที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้นให้ได้ข้อสรุปออกมาก่อน เนื่องจากก่อนหน้านี้ มีปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใสในการให้ข้อมูลต้นทุน และผลตอบแทนของภาครัฐ ที่ยังมีข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีการร้องเรียนให้ตรวจสอบเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน และการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งสมาชิก คสช. ว่ามีการกระทำเข้าข่ายขัดกันแห่งผลประโยชน์หรือไม่
นอกจากนี้ขอให้นายกรัฐมนตรี ตรวจสอบการทำหน้าที่ของนายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน ที่ออกมาแสดงความเห็นเรื่องก๊าซและน้ำมัน ว่าจะหมดในเร็วๆนี้ จึงต้องเร่งปิดสัมปทาน รวมทั้งนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เกี่ยวกับการแสดงความเห็นเรื่องต้นทุนก๊าซแอลพีจี และ เอ็นจีวี และสาเหตุที่จะขึ้นราคาของก๊าซ และขอให้ตรวจสอบด้วยว่า มีบุคคลใกล้ชิดกับพล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ผบ.ตร. และ คสช. มีความเกี่ยวข้องกับ บริษัท เวิลด์ ก๊าซ ซึ่งเป็นธุรกิจจำหน่ายก๊าซหุงต้ม หรือไม่ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และเกิดความเสมอภาคกับประชาชนชาวไทย ที่ต้องได้รับการคุ้มครองเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรม
ทั้งนี้ นายสุขสวัสดิ์ สุวรรณวงศ์ หัวหน้าฝ่ายประสานมวลชน ศูนย์บริการประชาชน เป็นผู้รับเรื่องเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
** จี้ผู้ตรวจฯสอบจริยธรรม"ณรงคชัย"
พ.ญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ในฐานะตัวแทน เครือข่าวประชาชนปกป้องประเทศ สภาธรรมาภิบาล สภาปฏิรูปพลังงานไทย ได้เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ผ่านนายรักษเกชา แฉ่ฉาย รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และโฆษกสำนักงาน ขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน กรณีให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ระบุว่า น้ำมันและก๊าซจะหมดไปภายใน 7-8 ปี จึงต้องมีการเร่งให้สัมปทาน ซึ่งการให้สัมภาษณ์ดังกล่าว เข้าข่ายขัดประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง เป็นการให้ข้อมูลบิดเบือนต่อสาธารณชน เป็นการทำงานที่ไม่โปร่งใส หรืออาจจะมีการใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่น ขัดต่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง 2551 จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน เร่งตรวจสอบและมีหนังสือแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว เนื่องจากในวันที่ 22 ต.ค. จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องการให้สัมปทานพลังงานของกระทรวงพลังงาน เพราะหากมีการขึ้นราคาก๊าซและอนุมัติสัมปทานไปก่อนแล้ว การจะแก้ไขหรือดำเนินการใด ๆ ย้อนหลังก็ยากจะทำได้
"จากข้อมูลการรายงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ปี 56 ระบุว่า แหล่งสัมปทานที่ให้ไปแล้วมีพื้นที่กว่า 84% ยังไม่ได้ขุดเจาะ มีเพียง 16% เท่านั้นที่ขุดเจาะไปแล้ว ซึ่งก็มีรายงานการขุดเจาะของบริษัทเชฟรอน ที่ขุดก๊าซจากประเทศไทยเป็นอันดับสอง จากที่ลงทุนทั่วโลก ดังนั้นที่รัฐมนตรีให้ข้อมูลกับสื่อ จึงไม่เป็นความจริง" พ.ญ.กมลพรรณ กล่าว
ด้านนายรักษเกชา กล่าวว่า จะพยายามเร่งศึกษาคำร้องและเสนอผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณา รวมถึงจะรับประเด็นที่ทางเครือข่ายอยากให้มีหนังสือไปถึงรัฐบาล ก่อนวันที่ 22 ต.ค. ไปแจ้งต่อผู้ตรวจการทราบ แต่ทั้งนี้การจะดำเนินการอะไร ก็ต้องพิจารณาข้อมูลด้วยความรอบคอบ และให้กับความเป็นธรรมกับทั้งผู้ร้องและผู้ร้องด้วย ซึ่งผู้ตรวจการก็จะพยายามทำตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่
นาย วิเชียร อุษณาโชติ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำมันตลาดโลกขณะนี้คาดว่ายังคงมีคยามผันผวนตามข่าวรายวันและมีทิศทางไปในทางขาลงในช่วง 1-2 เดือนนี้เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจทั้งสหรัฐอเมริกา จีน ยุโรปภาพรวมปีนี้ชะลอตัว อย่างไรก็ตามคาดว่าเดือนธ.ค.ราคาน้ำมันก็จะกลับมากระเตื้องอีกครั้งจากการเข้าสู่ฤดูหนาว ดังนั้นเห็นว่าจังหวะน้ำมันขาลงรัฐควรจะพิจารณาปรับโครงสร้างราคาน้ำมันให้สะท้อนกลไกต้นทุนที่แท้จริง
“ รัฐควรใช้จังหวะนี้ปรับโครงสร้างเพื่อนำไปสู่การยกเลิกนโยบายตรึงราคาดีเซลไว้ไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตรให้สะท้อนกลไกตลาดแต่สิ่งสำคัญคือควรทำความเข้าใจกับประชาชนว่ามีเป้าหมายอย่างไร เพื่ออะไร เพื่อให้ประชาชนทั้งหมดเข้าใจตรงกัน และที่สำคัญประชาชนจะได้วางแผนถูกโดยเฉพาะคนซื้อรถ”นายวิเชียรกล่าว
ทั้งนี้เห็นว่านอกจากน้ำมันตลาดโลกยังเป็นขาลงแล้วฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใกล้จะเป็นบวกจึงเหมาะที่จะทำการปรับโครงสร้างโดยเฉพาะภาษีสรรพสามิตดีเซลควรเริ่มทยอยปรับเพราะจะไม่กระทบต่อราคาขายปลีกของประชาชนที่เพิ่มขึ้น
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการด้านพลังงาน กล่าวว่า ช่วงเดือนตุลาคม -พฤศจิกายนนี้ ราคาพลังงานในตลาดโลกยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องดังนั้นถือเป็นโอกาสดีสุดที่รัฐจะปรับโครงสร้างราคาพลังงานแต่ละชนิดให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยดีเซลรัฐควรจะใช้จังหวะนี้ยกเลิกการตรึงราคาขายปลีกไม่เกิน 30บาทต่อลิตรโดยให้สลับการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับดีเซลจากปัจจุบันเก็บอยู่ที่ 3 บาทต่อลิตรลดเหลือ 75 สตางค์ต่อลิตรและให้นำไปเพิ่มเป็นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตดีเซลในระดับ 3 บาทต่อลิตรแทนจากปัจจุบันที่อยู่ระดับ 75 สตางค์ต่อลิตรเพื่อให้อยู่ใกล้เคียงกับกลุ่มเบนซินซึ่งจะไม่กระทบกับประชาชน
ทั้งนี้ จากการลดภาษีดีเซลที่เริ่มจาก เดือนเมษายน 2554 ทำให้รายได้ของรัฐจัดเก็บต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และในปี 2557 ในส่วนของภาษีน้ำมัน จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 28,597 ล้านบาท หรือร้อยละ 31.1 กระทรวงการคลังระบุเป็นผลจากการขยายเวลาปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน และการเปลี่ยนไปใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ซึ่งมีอัตราภาษีต่ำและก๊าซ NGV ซึ่งไม่เสียภาษี ทดแทนการใช้น้ำมันเบนซิน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ค่าการตลาดน้ำมันของผู้ค้าอยู่ในเกณฑ์สูงโดยราคากลุ่มเบนซินเฉลี่ยอยู่ในระดับ 2 บาทต่อลิตร ดีเซล 1.70 บาทต่อลิตร หลังจากที่ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดตลาด วานนี้ (15 ต.ค.) ดิ่งลงอย่างรุนแรง โดยราคาดิบดูไบ ลดลง 4.14 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ปิดที่ 83.5 ดอลลาร์/บาร์เรล เบรนท์ ลดลง 1.26 ดอลลาร์ ปิดที่ 83.78 ดอลลาร์/บาร์เรล เวสต์เท็กซัส ลดลง0.06 ปิด 81.78ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ เบนซิน ลดลง 3.23 ดอลลาร์ ปิด 97.51 ดอลลาร์/บาร์เรล ดีเซล ลดลง 4.33 ดอลลาร์ ปิด 96.38 ดอลลาร์/บาร์เรล
**** ยื่นหนังสื่อร้องเรียน คสช. ระงับสัมปทานปิโตรเลียม
เมื่อเวลา 09.10 น. วานนี้ (16 ต.ค.) ที่ศูนย์บริการประชาชนชั่วคราว อาคารสำนักงานก.พ. สภาปฏิรูปพลังงานไทย กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย นำโดย ม.ล.รุ่งคุณ กิตติยากร และพล.อ.ดร.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ พร้อมคณะประมาณ 20 คน เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อติดตามเรื่องขอให้ หยุดการให้สัมปทาน ครั้งที่ 21 และหยุดขึ้นราคาก๊าซ น้ำมัน พร้อมทั้งตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ
ม.ล.รุ่งคุณ เปิดเผยว่า ทางเครือข่ายฯ ขอให้นายกรัฐมนตรี ยับยั้งการให้สัมปทาน ยับยั้งการขึ้นราคาก๊าซและน้ำมันเพื่อรอผลการหารือ ของคณะปฏิรูปที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้นให้ได้ข้อสรุปออกมาก่อน เนื่องจากก่อนหน้านี้ มีปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใสในการให้ข้อมูลต้นทุน และผลตอบแทนของภาครัฐ ที่ยังมีข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีการร้องเรียนให้ตรวจสอบเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน และการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งสมาชิก คสช. ว่ามีการกระทำเข้าข่ายขัดกันแห่งผลประโยชน์หรือไม่
นอกจากนี้ขอให้นายกรัฐมนตรี ตรวจสอบการทำหน้าที่ของนายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน ที่ออกมาแสดงความเห็นเรื่องก๊าซและน้ำมัน ว่าจะหมดในเร็วๆนี้ จึงต้องเร่งปิดสัมปทาน รวมทั้งนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เกี่ยวกับการแสดงความเห็นเรื่องต้นทุนก๊าซแอลพีจี และ เอ็นจีวี และสาเหตุที่จะขึ้นราคาของก๊าซ และขอให้ตรวจสอบด้วยว่า มีบุคคลใกล้ชิดกับพล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ผบ.ตร. และ คสช. มีความเกี่ยวข้องกับ บริษัท เวิลด์ ก๊าซ ซึ่งเป็นธุรกิจจำหน่ายก๊าซหุงต้ม หรือไม่ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และเกิดความเสมอภาคกับประชาชนชาวไทย ที่ต้องได้รับการคุ้มครองเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรม
ทั้งนี้ นายสุขสวัสดิ์ สุวรรณวงศ์ หัวหน้าฝ่ายประสานมวลชน ศูนย์บริการประชาชน เป็นผู้รับเรื่องเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
** จี้ผู้ตรวจฯสอบจริยธรรม"ณรงคชัย"
พ.ญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ในฐานะตัวแทน เครือข่าวประชาชนปกป้องประเทศ สภาธรรมาภิบาล สภาปฏิรูปพลังงานไทย ได้เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ผ่านนายรักษเกชา แฉ่ฉาย รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และโฆษกสำนักงาน ขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน กรณีให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ระบุว่า น้ำมันและก๊าซจะหมดไปภายใน 7-8 ปี จึงต้องมีการเร่งให้สัมปทาน ซึ่งการให้สัมภาษณ์ดังกล่าว เข้าข่ายขัดประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง เป็นการให้ข้อมูลบิดเบือนต่อสาธารณชน เป็นการทำงานที่ไม่โปร่งใส หรืออาจจะมีการใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่น ขัดต่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง 2551 จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน เร่งตรวจสอบและมีหนังสือแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว เนื่องจากในวันที่ 22 ต.ค. จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องการให้สัมปทานพลังงานของกระทรวงพลังงาน เพราะหากมีการขึ้นราคาก๊าซและอนุมัติสัมปทานไปก่อนแล้ว การจะแก้ไขหรือดำเนินการใด ๆ ย้อนหลังก็ยากจะทำได้
"จากข้อมูลการรายงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ปี 56 ระบุว่า แหล่งสัมปทานที่ให้ไปแล้วมีพื้นที่กว่า 84% ยังไม่ได้ขุดเจาะ มีเพียง 16% เท่านั้นที่ขุดเจาะไปแล้ว ซึ่งก็มีรายงานการขุดเจาะของบริษัทเชฟรอน ที่ขุดก๊าซจากประเทศไทยเป็นอันดับสอง จากที่ลงทุนทั่วโลก ดังนั้นที่รัฐมนตรีให้ข้อมูลกับสื่อ จึงไม่เป็นความจริง" พ.ญ.กมลพรรณ กล่าว
ด้านนายรักษเกชา กล่าวว่า จะพยายามเร่งศึกษาคำร้องและเสนอผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณา รวมถึงจะรับประเด็นที่ทางเครือข่ายอยากให้มีหนังสือไปถึงรัฐบาล ก่อนวันที่ 22 ต.ค. ไปแจ้งต่อผู้ตรวจการทราบ แต่ทั้งนี้การจะดำเนินการอะไร ก็ต้องพิจารณาข้อมูลด้วยความรอบคอบ และให้กับความเป็นธรรมกับทั้งผู้ร้องและผู้ร้องด้วย ซึ่งผู้ตรวจการก็จะพยายามทำตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่