ปัญญาพลวัตร
โดย...พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
สังคมไทยมีพลเมืองตื่นตัวทางการเมืองเป็นจำนวนมาก พวกเขามีความปรารถนาเห็นสังคมไทยมีความก้าวหน้ารุ่งเรือง มีการกระจายทรัพยากรของสังคมอย่างเป็นธรรม เกิดความสันติสงบสุข ผู้คนมีปัญญา มีเหตุมีผล รู้จักจำแนกแยกแยะเลือกกระทำสิ่งดี ละเว้นสิ่งเลวร้าย ช่วยเหลือผู้เดือดร้อนทุกข์ยากตามศักยภาพและความเหมาะสม มีความสัมพันธ์ทางสังคมอย่างมีน้ำใจ เป็นมิตร และเคารพซึ่งกันและกัน
พลเมืองเหล่านั้นมีจิตใจแห่งการเสียสละสูง ยึดถือเอาส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ไม่กลัวความยากลำบาก ไม่กลัวแม้กระทั่งความเจ็บปวดหรือความเสี่ยงในการถูกทำร้าย พวกเขาเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงความเสื่อมโทรมของบ้านเมืองให้กลายเป็นความจำเริญรุ่งเรือง
พลเมืองผู้ตื่นตัวต่อสู้กับกลุ่มคนอันเป็นทรชนผู้ยึดกุมอำนาจรัฐ ผู้นำอำนาจไปใช้อย่างบิดเบือน เพื่อหยิบฉวยเคลื่อนย้ายผลประโยชน์โภคทรัพย์ของสังคมให้มาสุมกองอยู่ภายในเครือข่ายส่วนตน ทั้งยังมีสมุนบริวารคอยรังควานทำร้ายพลเมืองผู้รู้เท่าทันไม่ว่างเว้นด้วยความป่าเถื่อนรุนแรง
ในท่ามกลางกระบวนการต่อสู้ แม้พลเมืองจำนวนมากถูกสมุนบริวารของทรชนทำร้ายจนบาดเจ็บ พิการ และล้มตาย แต่พวกเขาก็ยังยืนหยัดไม่ท้อถอย จนกระทั่งเกิดการรัฐประหาร แกนนำกลุ่มทรชนส่วนหนึ่งหมดอำนาจรัฐไปชั่วคราว แต่สมุนบริวารจำนวนมากของทรชนยังคงทรงอำนาจในหน่วยงานราชการหลายแห่ง รอจังหวะฟื้นกลับมา
กลุ่มอำนาจใหม่ก็หาได้ใหม่ตามความหมายที่แท้จริงไม่ แกนนำหลายคนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มทรชน พวกเขาไม่ได้มองว่ากลุ่มทรชนเป็นผู้สร้างความเสื่อมโทรมแก่บ้านเมือง ตรงกันข้ามกลับมีแนวโน้มมองว่าพลเมืองผู้ตื่นรู้เป็นปัญหาของบ้านเมือง นี่นับเป็นเรื่อง "น่าขบขันอย่างอนาถา" เสียจริงๆ
ยิ่งสมุนบริวารของหัวหน้าทรชนผู้ชอบอวดอ้างวุฒิการศึกษาออกมาวิเคราะห์ว่า หัวหน้าทรชนได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการรัฐประหาร เมื่อผู้เป็นสมุนออกมายืนยันเช่นนี้ก็คงมีความจริงอยู่บ้าง แม้ว่าในอดีตคนผู้นี้จะกล่าวความเท็จเสียเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม ดังนั้นคำสวยหรูที่คณะรัฐประหารยกมาอ้างเมื่อคราวยึดอำนาจจึงถูกทำให้เลือนหายไป ความจริงที่ซ่อนเร้นจึงเผยตัวออกมา
มิใช่แต่เพียงคำพูดของสมุนทรชนเท่านั้นที่เป็นหลักฐาน แต่ข้อมูลจากการตัดสินใจของคณะรัฐประหารหลายเรื่องทำให้เราเห็นว่า มีร่องรอยของการได้ประโยชน์ดำรงอยู่จริง
การแต่งตั้งคนในเครือข่ายด้วยข้ออ้างของความเป็นเอกภาพทางความคิดและการทำงานเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติเพื่อกำกับการตัดสินใจส่งผลให้เห็นอย่างชัดเจน เมื่อสภาแห่งนี้ไม่กล้ารับเรื่องการถอดถอน “นิคม – สมศักดิ์” ผู้ละเมิดรัฐธรรมนูญ และมีการกระทำรับใช้กลุ่มอำนาจเก่าระบอบทักษิณ ละเมิดกฎหมาย
ทำท่าจะเอาจริงเอาจังเรื่องภาษีมรดก แต่เมื่อดูพฤติกรรมของ สนช. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความพยายามยับยั้งไม่ให้เปิดเผยทรัพย์สิน ความโลเลในการรับเรื่องถอดถอนนักการเมือง ย่อมสะท้อนสิ่งที่ดำรงอยู่ในจิตใจของคนเหล่านั้น การจะคาดหวังให้บรรดาคนที่มีจิตใจเยี่ยงนี้กล้ากระทำสิ่งที่กระทบกับผลประโยชน์ของพวกเขาย่อมยากยิ่งกว่าการส่งยางพาราไปขายที่ดาวอังคาร
ภาษีมรดกก็คงเป็นอีกเรื่องที่มีแนวโน้มล้มเหลว เหมือนกับการแก้ปัญหาราคาสลากกินแบ่งรัฐบาลนั่นแหละ เข้าทำนองท่าดีที่เหลว เจออุปสรรคนิดหน่อยก็ถอยกรูด
ส่วนปฏิรูปพลังงาน คำตอบก็คงชัดเจนขึ้นเมื่อมีการประมูลโดยใช้ระบบสัมปทานแบบเดิม หลักคิดของรัฐบาลยังคงเป็นเช่นเดียวกับผู้ปกครองในยุคอาณานิคม รอรับเศษส่วนแบ่งที่เขาให้ ไร้การพัฒนาความคิด ไร้ปัญญา และไร้ความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง
ถึงเวลานี้ใครยังมีความหวังว่ารัฐบาลกับสภานิติบัญญัติจะทำการปฏิรูปพลังงานได้ เห็นจะเป็นความเพ้อฝันส่วนใครที่ยังเชื่อว่าพวกเขาจะกลับใจและหันมาปฏิรูปเพื่อประชาชน ก็น่าจะเป็นเรื่องของความงมงาย แต่ประสบการณ์บอกเราว่าสังคมไทยมีพวกเพ้อฝันและงมงายเป็นจำนวนมาก เป็นสังคมที่เข้าข่าย “จิตอนาถา”
บรรดาสมุนทรชนแถวหน้าเริ่มอ่านความระหว่างบรรทัดออกแล้วว่า ที่แท้บรรดาผู้มาขับไล่นายของพวกเขานั้นมีบทบาทหลายชั้น ด้านหนึ่งทำขึงขังใช้กฎหมายปราบปรามพวกปลายแถว อีกด้านหนึ่งประนีประนอมผลประโยชน์กับนายตนเองอีกด้านหนึ่งใช้อำนาจเผด็จการกดข่มบรรดาพลเมืองผู้ตื่นรู้ ไปๆมาๆถึงบางอ้อว่านายตนเองได้ประโยชน์มากกว่าใคร
ตั้งสภาปฏิรูปมีแต่คนแก่เต็มสภา แกนนำที่ถูกวางตัวก็มีบทบาทปฏิรูปมาหลายครั้งในช่วงยี่สิบปีมานี้ แต่ไม่เคยปฏิรูปอะไรสำเร็จ แถมบางช่วงยังรับใช้ทรชน กว่าจะดูออกว่าคนที่ตนรับใช้เป็นทรชนและถอยออกมาใช้เวลานานมาก แล้วคนแบบนี้มาเป็นแกนนำในการปฏิรูปประเทศได้อย่างไร
ภายใต้ผู้คนที่มีความคิดและผลประโยชน์ผูกติดกับระบบเดิมรวมตัวกันเพื่อสร้างกฎกติกาใหม่ หลายคนประเมินล่วงหน้าไปแล้วว่าการปฏิรูปเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงคงมีไม่มากนัก คงไม่กล้าทำอะไรหักล้างผลประโยชน์ของกลุ่มตนเอง และคงไม่กล้าทำอะไรที่ไปกระทบสถานภาพของกลุ่มระบอบทักษิณมากนัก ดังนั้นเมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว แนวโน้มที่กลุ่มอำนาจเก่าจะกลับเข้ามามีอำนาจอีกครั้งก็มีความเป็นไปได้สูง
ผู้นำรัฐบาลที่ทำท่าเหมือนจะมีอำนาจ ประกาศขึงขังจะคืนความสุขแก่ประชาชน ผ่านไปไม่กี่เดือน ความจริงก็เกิดขึ้น ความสุขชั่วก้านธูปที่ได้รับช่วงแรกของการยึดอำนาจจากกลุ่มทรชนก็มลายหายไป การใช้อำนาจเพื่อการปฏิรูปเกิดขึ้นน้อยมากจนแทบมองไม่เห็น
หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าผู้นำรัฐบาลมีอำนาจจริงหรือไม่ เพราะพวกเขามองเห็นหลักฐานว่าอิทธิพลของบุคคลที่เป็นรุ่นพี่ของผู้นำรัฐบาลมีมากเหลือเกิน นั่นยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าหนทางการปฏิรูปยิ่งลางเลือนออกไป จะทำอะไรที่สร้างการ เปลี่ยนแปลง ก็ดูติดขัดไปหมด เปลี่ยนนั่นก็กระทบ เปลี่ยนนี่ก็กระทบ ท้ายที่สุดก็เปลี่ยนอะไรไม่ได้เลย ก็เสมือนว่าไม่มีอำนาจที่แท้จริงแต่อย่างใด
สังคมไทยจึงกลายเป็นสังคมอนาถา ดูไปแล้วก็น่าสังเวช ไปเปรียบเทียบกับประเทศจีนแล้วเหมือนอยู่บนดาวคนละดวง เพียงยี่สิบกว่าปีที่เปิดประเทศและพัฒนาอย่างอย่างจริงจัง ประเทศจีนก็รุดหน้ากว่าประเทศไทยหลายเท่าตัว ปัจจัยหลักที่สำคัญอย่างยิ่งที่จีนมีแต่ไทยไม่มีคือ การมีกลุ่มผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความมุ่งมั่น เสียสละเพื่อส่วนรวม รวมทั้งมีความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงนั่นเอง
ความอนาถาของสังคมไทยคือการมีกลุ่มผู้นำที่น่าอนาถา ทำอะไรครึ่งๆกลางๆ กล้าๆกลัวๆ จดๆจ้องๆ ท้ายที่สุดก็จบลงด้วยประโยคที่ว่าปัญหามันมีมาก ปัญหามันทับถมมานาน มีเวลาอยู่ในอำนาจไม่มาก จะใจร้อนใจเร็วแก้ปัญหาให้เสร็จในเร็ววันได้อย่างไร ที่มาอยู่ในตำแหน่งรับผิดชอบบ้านเมืองก็ถือว่าเสียสละมากแล้ว
ถามว่าเสียสละอะไร หากเทียบกับพลเมืองที่ต้องสูญเสียอวัยวะ ชีวิต และทรัพย์สิน เทียบไม่ได้แม้แต่น้อย หากรู้ตัวว่าทำไม่ได้จะอยู่ให้อายไปทำไม หรือจะอยู่จนเป็นผู้นำแบบอนาถาจริงๆ
โดย...พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
สังคมไทยมีพลเมืองตื่นตัวทางการเมืองเป็นจำนวนมาก พวกเขามีความปรารถนาเห็นสังคมไทยมีความก้าวหน้ารุ่งเรือง มีการกระจายทรัพยากรของสังคมอย่างเป็นธรรม เกิดความสันติสงบสุข ผู้คนมีปัญญา มีเหตุมีผล รู้จักจำแนกแยกแยะเลือกกระทำสิ่งดี ละเว้นสิ่งเลวร้าย ช่วยเหลือผู้เดือดร้อนทุกข์ยากตามศักยภาพและความเหมาะสม มีความสัมพันธ์ทางสังคมอย่างมีน้ำใจ เป็นมิตร และเคารพซึ่งกันและกัน
พลเมืองเหล่านั้นมีจิตใจแห่งการเสียสละสูง ยึดถือเอาส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ไม่กลัวความยากลำบาก ไม่กลัวแม้กระทั่งความเจ็บปวดหรือความเสี่ยงในการถูกทำร้าย พวกเขาเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงความเสื่อมโทรมของบ้านเมืองให้กลายเป็นความจำเริญรุ่งเรือง
พลเมืองผู้ตื่นตัวต่อสู้กับกลุ่มคนอันเป็นทรชนผู้ยึดกุมอำนาจรัฐ ผู้นำอำนาจไปใช้อย่างบิดเบือน เพื่อหยิบฉวยเคลื่อนย้ายผลประโยชน์โภคทรัพย์ของสังคมให้มาสุมกองอยู่ภายในเครือข่ายส่วนตน ทั้งยังมีสมุนบริวารคอยรังควานทำร้ายพลเมืองผู้รู้เท่าทันไม่ว่างเว้นด้วยความป่าเถื่อนรุนแรง
ในท่ามกลางกระบวนการต่อสู้ แม้พลเมืองจำนวนมากถูกสมุนบริวารของทรชนทำร้ายจนบาดเจ็บ พิการ และล้มตาย แต่พวกเขาก็ยังยืนหยัดไม่ท้อถอย จนกระทั่งเกิดการรัฐประหาร แกนนำกลุ่มทรชนส่วนหนึ่งหมดอำนาจรัฐไปชั่วคราว แต่สมุนบริวารจำนวนมากของทรชนยังคงทรงอำนาจในหน่วยงานราชการหลายแห่ง รอจังหวะฟื้นกลับมา
กลุ่มอำนาจใหม่ก็หาได้ใหม่ตามความหมายที่แท้จริงไม่ แกนนำหลายคนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มทรชน พวกเขาไม่ได้มองว่ากลุ่มทรชนเป็นผู้สร้างความเสื่อมโทรมแก่บ้านเมือง ตรงกันข้ามกลับมีแนวโน้มมองว่าพลเมืองผู้ตื่นรู้เป็นปัญหาของบ้านเมือง นี่นับเป็นเรื่อง "น่าขบขันอย่างอนาถา" เสียจริงๆ
ยิ่งสมุนบริวารของหัวหน้าทรชนผู้ชอบอวดอ้างวุฒิการศึกษาออกมาวิเคราะห์ว่า หัวหน้าทรชนได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการรัฐประหาร เมื่อผู้เป็นสมุนออกมายืนยันเช่นนี้ก็คงมีความจริงอยู่บ้าง แม้ว่าในอดีตคนผู้นี้จะกล่าวความเท็จเสียเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม ดังนั้นคำสวยหรูที่คณะรัฐประหารยกมาอ้างเมื่อคราวยึดอำนาจจึงถูกทำให้เลือนหายไป ความจริงที่ซ่อนเร้นจึงเผยตัวออกมา
มิใช่แต่เพียงคำพูดของสมุนทรชนเท่านั้นที่เป็นหลักฐาน แต่ข้อมูลจากการตัดสินใจของคณะรัฐประหารหลายเรื่องทำให้เราเห็นว่า มีร่องรอยของการได้ประโยชน์ดำรงอยู่จริง
การแต่งตั้งคนในเครือข่ายด้วยข้ออ้างของความเป็นเอกภาพทางความคิดและการทำงานเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติเพื่อกำกับการตัดสินใจส่งผลให้เห็นอย่างชัดเจน เมื่อสภาแห่งนี้ไม่กล้ารับเรื่องการถอดถอน “นิคม – สมศักดิ์” ผู้ละเมิดรัฐธรรมนูญ และมีการกระทำรับใช้กลุ่มอำนาจเก่าระบอบทักษิณ ละเมิดกฎหมาย
ทำท่าจะเอาจริงเอาจังเรื่องภาษีมรดก แต่เมื่อดูพฤติกรรมของ สนช. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความพยายามยับยั้งไม่ให้เปิดเผยทรัพย์สิน ความโลเลในการรับเรื่องถอดถอนนักการเมือง ย่อมสะท้อนสิ่งที่ดำรงอยู่ในจิตใจของคนเหล่านั้น การจะคาดหวังให้บรรดาคนที่มีจิตใจเยี่ยงนี้กล้ากระทำสิ่งที่กระทบกับผลประโยชน์ของพวกเขาย่อมยากยิ่งกว่าการส่งยางพาราไปขายที่ดาวอังคาร
ภาษีมรดกก็คงเป็นอีกเรื่องที่มีแนวโน้มล้มเหลว เหมือนกับการแก้ปัญหาราคาสลากกินแบ่งรัฐบาลนั่นแหละ เข้าทำนองท่าดีที่เหลว เจออุปสรรคนิดหน่อยก็ถอยกรูด
ส่วนปฏิรูปพลังงาน คำตอบก็คงชัดเจนขึ้นเมื่อมีการประมูลโดยใช้ระบบสัมปทานแบบเดิม หลักคิดของรัฐบาลยังคงเป็นเช่นเดียวกับผู้ปกครองในยุคอาณานิคม รอรับเศษส่วนแบ่งที่เขาให้ ไร้การพัฒนาความคิด ไร้ปัญญา และไร้ความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง
ถึงเวลานี้ใครยังมีความหวังว่ารัฐบาลกับสภานิติบัญญัติจะทำการปฏิรูปพลังงานได้ เห็นจะเป็นความเพ้อฝันส่วนใครที่ยังเชื่อว่าพวกเขาจะกลับใจและหันมาปฏิรูปเพื่อประชาชน ก็น่าจะเป็นเรื่องของความงมงาย แต่ประสบการณ์บอกเราว่าสังคมไทยมีพวกเพ้อฝันและงมงายเป็นจำนวนมาก เป็นสังคมที่เข้าข่าย “จิตอนาถา”
บรรดาสมุนทรชนแถวหน้าเริ่มอ่านความระหว่างบรรทัดออกแล้วว่า ที่แท้บรรดาผู้มาขับไล่นายของพวกเขานั้นมีบทบาทหลายชั้น ด้านหนึ่งทำขึงขังใช้กฎหมายปราบปรามพวกปลายแถว อีกด้านหนึ่งประนีประนอมผลประโยชน์กับนายตนเองอีกด้านหนึ่งใช้อำนาจเผด็จการกดข่มบรรดาพลเมืองผู้ตื่นรู้ ไปๆมาๆถึงบางอ้อว่านายตนเองได้ประโยชน์มากกว่าใคร
ตั้งสภาปฏิรูปมีแต่คนแก่เต็มสภา แกนนำที่ถูกวางตัวก็มีบทบาทปฏิรูปมาหลายครั้งในช่วงยี่สิบปีมานี้ แต่ไม่เคยปฏิรูปอะไรสำเร็จ แถมบางช่วงยังรับใช้ทรชน กว่าจะดูออกว่าคนที่ตนรับใช้เป็นทรชนและถอยออกมาใช้เวลานานมาก แล้วคนแบบนี้มาเป็นแกนนำในการปฏิรูปประเทศได้อย่างไร
ภายใต้ผู้คนที่มีความคิดและผลประโยชน์ผูกติดกับระบบเดิมรวมตัวกันเพื่อสร้างกฎกติกาใหม่ หลายคนประเมินล่วงหน้าไปแล้วว่าการปฏิรูปเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงคงมีไม่มากนัก คงไม่กล้าทำอะไรหักล้างผลประโยชน์ของกลุ่มตนเอง และคงไม่กล้าทำอะไรที่ไปกระทบสถานภาพของกลุ่มระบอบทักษิณมากนัก ดังนั้นเมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว แนวโน้มที่กลุ่มอำนาจเก่าจะกลับเข้ามามีอำนาจอีกครั้งก็มีความเป็นไปได้สูง
ผู้นำรัฐบาลที่ทำท่าเหมือนจะมีอำนาจ ประกาศขึงขังจะคืนความสุขแก่ประชาชน ผ่านไปไม่กี่เดือน ความจริงก็เกิดขึ้น ความสุขชั่วก้านธูปที่ได้รับช่วงแรกของการยึดอำนาจจากกลุ่มทรชนก็มลายหายไป การใช้อำนาจเพื่อการปฏิรูปเกิดขึ้นน้อยมากจนแทบมองไม่เห็น
หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าผู้นำรัฐบาลมีอำนาจจริงหรือไม่ เพราะพวกเขามองเห็นหลักฐานว่าอิทธิพลของบุคคลที่เป็นรุ่นพี่ของผู้นำรัฐบาลมีมากเหลือเกิน นั่นยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าหนทางการปฏิรูปยิ่งลางเลือนออกไป จะทำอะไรที่สร้างการ เปลี่ยนแปลง ก็ดูติดขัดไปหมด เปลี่ยนนั่นก็กระทบ เปลี่ยนนี่ก็กระทบ ท้ายที่สุดก็เปลี่ยนอะไรไม่ได้เลย ก็เสมือนว่าไม่มีอำนาจที่แท้จริงแต่อย่างใด
สังคมไทยจึงกลายเป็นสังคมอนาถา ดูไปแล้วก็น่าสังเวช ไปเปรียบเทียบกับประเทศจีนแล้วเหมือนอยู่บนดาวคนละดวง เพียงยี่สิบกว่าปีที่เปิดประเทศและพัฒนาอย่างอย่างจริงจัง ประเทศจีนก็รุดหน้ากว่าประเทศไทยหลายเท่าตัว ปัจจัยหลักที่สำคัญอย่างยิ่งที่จีนมีแต่ไทยไม่มีคือ การมีกลุ่มผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความมุ่งมั่น เสียสละเพื่อส่วนรวม รวมทั้งมีความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงนั่นเอง
ความอนาถาของสังคมไทยคือการมีกลุ่มผู้นำที่น่าอนาถา ทำอะไรครึ่งๆกลางๆ กล้าๆกลัวๆ จดๆจ้องๆ ท้ายที่สุดก็จบลงด้วยประโยคที่ว่าปัญหามันมีมาก ปัญหามันทับถมมานาน มีเวลาอยู่ในอำนาจไม่มาก จะใจร้อนใจเร็วแก้ปัญหาให้เสร็จในเร็ววันได้อย่างไร ที่มาอยู่ในตำแหน่งรับผิดชอบบ้านเมืองก็ถือว่าเสียสละมากแล้ว
ถามว่าเสียสละอะไร หากเทียบกับพลเมืองที่ต้องสูญเสียอวัยวะ ชีวิต และทรัพย์สิน เทียบไม่ได้แม้แต่น้อย หากรู้ตัวว่าทำไม่ได้จะอยู่ให้อายไปทำไม หรือจะอยู่จนเป็นผู้นำแบบอนาถาจริงๆ