วานนี้ (23 ต.ค.) นพ.กุลเดช เตชะนภารักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหาดใหญ่ เปิดเผยว่า นโยบายพัฒนาระบบบริการแบบแบ่งพื้นที่ให้บริการ 12 เขตและกรุงเทพมหานคร ด้วยการจัดบริการแบบเบ็ดเสร็จภายในเขตบริการสุขภาพโดยไร้รอยต่อระหว่างจังหวัด เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรเหมาะสมและคุ้มค่าในการดูแลประชาชน 5 ล้านคน ประสบความสำเร็จอย่างมาก ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะให้บริการทางการแพทย์ขั้นสูงดูแลผู้ป่วยโรคร้ายแรงให้พ้นขีดอันตรายและอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น ตัวอย่างเช่นการสวนหัวใจ ทำได้ที่โรงพยาบาลตรัง และโรงพยาบาลหาดใหญ่ และโรงพยาบาลยะลา ทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจเข้าถึงบริการเปิดหลอดเลือดเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80 จากเดิมที่น้อยกว่าร้อยละ 50
นพ.กุลเดช กล่าวอีกว่า สำหรับการรักษามะเร็งด้วยศัลยกรรมและเคมีบำบัดนั้น ขณะนี้ทำได้ในโรงพยาบาลจังหวัดทุกแห่ง ผู้ป่วยโรคหัวใจเฉียบพลัน โรงพยาบาลชุมชนสามารถให้ละลายลิ่มเลือดภายใต้ระบบการให้คำปรึกษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนส่งรักษาต่อ ทำให้อัตราการตายด้วยโรคหัวใจเฉียบพลันลดลงร้อยละ 10 ส่วนในผู้ป่วยที่ช็อคจากการติดเชื้อในระบบเลือด โรงพยาบาลชุมชนสามารถดูแลรักษาเบื้องต้น ก่อนที่จะส่งต่อไปโรงพยาบาลจังหวัดเช่นกัน ทำให้ลดอัตราตายจากร้อยละ 60 เหลือร้อยละ 40 และมีการวางเป้าหมายจะลดให้เหลือร้อยละ 30 ในปี 2558
นพ.กุลเดช กล่าวว่านโยบายดังกล่าวยังทำให้การส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุ-ผู้ป่วยฉุกเฉินทุกประเภท มีการวางระบบอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการติดต่อประสานงานในการรักษาผู้ป่วย รวมทั้งได้มีช่องทางด่วน ในการรับส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลชุมชน หลายๆระบบ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ผู้บาดเจ็บ ติดเชื้อในกระแสเลือด โรคหัวใจเฉียบพลัน ซึ่งช่วยลดอัตราการตายและความพิการของผู้ป่วยลงอย่างชัดเจน
ผอ.ร.พ.หาดใหญ่ กล่าวด้วยว่า ในระยะต่อไปมีแผนที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของงานให้วัคซีนเด็ก การดูแลหญิงตั้งครรภ์ สุขภาพฟันในเด็ก ซึ่งเป็นปัญหาในภาคใต้ตอนล่างซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมจากการบริหารจัดการแบบเขตบริการสุขภาพ "ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายด้วยใจ รู้หน้าที่ของตัวเอง ความเป็นพี่น้องกลับมาเหมือนเดิม การช่วยเหลือซึ่งกันและกันเกิดขึ้น สถานบริการที่ใหญ่กว่า มีบุคลาดร อุปกรณ์ และเทคโนโลยีมากกว่าต้องช่วยสถานบริการที่เล็กกว่าเป็นที่พึ่งพิงได้ตลอดเวลา เพื่อเป้าหมายเดียวกัน คือสุขภาพของประชาชน โดยไม่เลือกชนชั้นวรรณะ" นพ.กุลเดช ระบุ
นพ.กุลเดช กล่าวอีกว่า สำหรับการรักษามะเร็งด้วยศัลยกรรมและเคมีบำบัดนั้น ขณะนี้ทำได้ในโรงพยาบาลจังหวัดทุกแห่ง ผู้ป่วยโรคหัวใจเฉียบพลัน โรงพยาบาลชุมชนสามารถให้ละลายลิ่มเลือดภายใต้ระบบการให้คำปรึกษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนส่งรักษาต่อ ทำให้อัตราการตายด้วยโรคหัวใจเฉียบพลันลดลงร้อยละ 10 ส่วนในผู้ป่วยที่ช็อคจากการติดเชื้อในระบบเลือด โรงพยาบาลชุมชนสามารถดูแลรักษาเบื้องต้น ก่อนที่จะส่งต่อไปโรงพยาบาลจังหวัดเช่นกัน ทำให้ลดอัตราตายจากร้อยละ 60 เหลือร้อยละ 40 และมีการวางเป้าหมายจะลดให้เหลือร้อยละ 30 ในปี 2558
นพ.กุลเดช กล่าวว่านโยบายดังกล่าวยังทำให้การส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุ-ผู้ป่วยฉุกเฉินทุกประเภท มีการวางระบบอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการติดต่อประสานงานในการรักษาผู้ป่วย รวมทั้งได้มีช่องทางด่วน ในการรับส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลชุมชน หลายๆระบบ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ผู้บาดเจ็บ ติดเชื้อในกระแสเลือด โรคหัวใจเฉียบพลัน ซึ่งช่วยลดอัตราการตายและความพิการของผู้ป่วยลงอย่างชัดเจน
ผอ.ร.พ.หาดใหญ่ กล่าวด้วยว่า ในระยะต่อไปมีแผนที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของงานให้วัคซีนเด็ก การดูแลหญิงตั้งครรภ์ สุขภาพฟันในเด็ก ซึ่งเป็นปัญหาในภาคใต้ตอนล่างซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมจากการบริหารจัดการแบบเขตบริการสุขภาพ "ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายด้วยใจ รู้หน้าที่ของตัวเอง ความเป็นพี่น้องกลับมาเหมือนเดิม การช่วยเหลือซึ่งกันและกันเกิดขึ้น สถานบริการที่ใหญ่กว่า มีบุคลาดร อุปกรณ์ และเทคโนโลยีมากกว่าต้องช่วยสถานบริการที่เล็กกว่าเป็นที่พึ่งพิงได้ตลอดเวลา เพื่อเป้าหมายเดียวกัน คือสุขภาพของประชาชน โดยไม่เลือกชนชั้นวรรณะ" นพ.กุลเดช ระบุ