ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2411-2454 หรือ ร.ศ. 87-129)
พระรัตนวงศา (คำสิงห์) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ดำริเห็นว่า ควรตั้งเมืองใหม่ขึ้นอีกสักเมืองเพื่อสะดวกแก่การปกครอง จึงให้ท้าวเดช หรือท้าวเทศ สองพี่น้องผู้บุตรนำใบบอกไปกราบทูลขอตั้งเมืองขึ้นที่บ้านเมืองเสือ ซึ่งเป็นเมืองเก่าสมัยขอม แต่ได้ร้างไปนาน ต่อมาภายหลังได้เกิดเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ขึ้น
จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเมืองเสือเป็นเมืองพยัคฆภูมิพิสัย โปรดฯ ให้ท้าวขัติย-เดช) เป็นพระศรีสุวรรณวงศา (ต่อมาคือต้นตระกูลรัตนวงศะวัต สืบมาทุกวันนี้) เป็นเจ้าเมืองคนแรก เมื่อ พ.ศ. 2411 (ร.ศ. 98) เมื่อสองพี่น้องได้นำสารตราตั้งไปถึงบ้านนาข่า อันอยู่ในท้องที่เมืองวาปีปทุม มาก่อน เห็นว่ามีชัยภูมิดีกว่า จึงตั้งเมืองพยัคฆภูมิพิสัยขึ้นที่นั่น หาได้ตั้งเมืองที่บ้านเมืองเสือที่โปรดเกล้าฯ ไม่
ครั้นต่อมาในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เสด็จมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวกาว (ประทับที่เมืองอุบลราชธานี) จึงได้เกิดร้องเรียนเรื่องเขตแดนการปกครองกันขึ้น แต่ข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวกาว ได้เสด็จกลับพระนครก่อน
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เสด็จมาแทน เมื่อ พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) จึงมีรับสั่งให้พระศรีสุวรรณวงศา (เดช) ย้ายเมืองจากบ้านนาข่าไปตั้ง ณ ตำบลที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ไว้นั้นเสีย

พระศรีสุวรรณวงศา (เดช) จึงได้ย้ายเมืองพยัคฆภูมิพิสัย จากบ้านนาข่าไปตั้งอยู่ที่บ้านปะหลาน ใกล้เคียงกับบ้านเมืองเสือที่กำหนดไว้เดิม
จุดที่ตั้งเมือง (ที่ว่าการเมือง และจวนเจ้าเมือง) แห่งที่ 2 ต่อจากบ้านนาข่า อยู่ที่บริเวณ “ต้นคางคาว” ถนนกลางเมือง บ้านปะหลาน หมู่ที่ 2 และบ้านเมืองเก่า หมู่ที่ 15 (แยกออกมาจากบ้านปะหลาน) ตำบลปะหลาน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ในปัจจุบัน
(ที่มา : เติม วิภาคย์พจนกิจ, ประวัติศาสตร์อีสาน, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2530)
วิเคราะห์...
1. หนังสือประวัติศาสตร์อีสาน เขียนโดย อาจารย์เติม วิภาคย์พจนกิจ หนังสือเล่มนี้เกิดจากความวิริยะอุตสาหะของผู้เขียน ในการค้นคว้า รวบรวมเรียบเรียงขึ้นมาเป็นเวลากว่า 20 ปี โดยอาศัยบันทึกของ พระวิภาคย์พจนกิจ ซึ่งเป็นบิดาของผู้เขียน ประกอบในการเขียนอยู่มาก
อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้เรียบเรียงพิมพ์ ได้กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ในคราวพิมพ์ครั้งแรกว่า... “ผู้เรียบเรียงพิมพ์ ยังไม่เคยเห็นเล่มใดที่ให้ข้อมูลของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือละเอียดลออเท่าเล่มนี้มาก่อน และถ้าเราต้องการเข้าใจประวัติศาสตร์ไทยให้กระจ่างกว่า ที่เรามีความรู้อยู่ในปัจจุบัน การละเลยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเสียสิ้นเชิงอย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้ จะไม่ทำให้เราประสบความสำเร็จได้เลย นักเรียนประวัติศาสตร์ไทย ไม่ว่าจะสนใจภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือไม่ ประวัติศาสตร์อีสานของคุณเติม วิภาคย์พจนกิจ จะช่วยทำให้เข้าใจประวัติศาสตร์ไทยได้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก ถ้าท่านอ่านโดยใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรองให้มากกว่าอ่านเพื่อความสนุก”
2. หัวเมืองลาวกาว เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เสด็จประทับที่เมืองอุบลราชธานี แล้วไม่นาน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก (นครจำปาศักดิ์) และตะวันออกเฉียงเหนือ (อุบลฯ) ที่ทรงโปรดฯ ให้แบ่งไว้เมื่อ พ.ศ. 2433 เป็นภาคเดียวกันเรียกว่า “หัวเมืองลาวกาว” ซึ่งมีเมือง...นครจำปาศักดิ์ เชียงแตง แสนปาง สีทันดร อัตตะปือ คำทองใหญ่ สุรินทร์ สังฆะ ขุขันธ์ เดชอุดม ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร เขมราฐ กมลาสัย กาฬสินธุ์ ภูแล่นช้าง สุวรรณภูมิ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม เมืองนอง สองคอนดอนดง รวมเมืองใหญ่ 23 เมือง เมืองขึ้นอีก 55 เมือง รวม 78 หัวเมือง อยู่ในบังคับบัญชาอธิบดีข้าหลวง (ข้าหลวงใหญ่) หัวเมืองลาวกาว
มณฑลหัวเมืองลาวกาว ได้เปลี่ยนเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ มณฑลอีสาน มณฑลอุบลราชธานี ตามลำดับ
3. ต้นค้าวคาวเป็นต้นไม้ประวัติศาสตร์ เพราะเป็นสถานที่ตั้งเมืองพยัคฆภูมิพิสัย ครั้งที่ 2 (ต่อจากบ้านนาข่า) คุณยายทา บุตรพระศรีสุวรรณวงศา (ท้าวขัติย-เดช) เล่าว่า... “การย้ายเมืองจากบ้านนาข่า มาตั้งที่บ้านปะหลาน ตรงบริเวณต้นค้าวคาว ขณะนั้นต้นค้างคาวสูงประมาณ 15 เมตร อายุประมาณ 16 ปี และยายตอนนั้นอายุประมาณ 14 ปี ที่ว่าการเมืองอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นค้างคาว จวนเจ้าเมืองอยู่ถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และทิศใต้ของต้นค้างคาว”
ปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) ต้นค้างคาวอายุประมาณ 128 ปี สูงประมาณ 60 เมตร มีต้นลูกเกิดขึ้นมาเคียงคู่บริเวณต้นค้างคาวมีศาลเก่าแก่ และศาลสร้างใหม่ รวมทั้งอนุสาวรีย์พระศรีสุวรรณวงศา ยืนตระหง่านถือดาบอยู่หน้าศาล เป็นที่เคารพบูชา และที่ศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของนักเรียนนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปตราบเท่าทุกวันนี้
4. ลูกหลานเหลนโหลนเจ้าเมืองพยัคฆภูมิพิสัย สายคุณยายทา
พระรัตนวงศา (คำสิงห์) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ มีบุตร 3 คนคือ ท้าวเดช ท้าวเทศ ท้าวราช
พระศรีสุวรรณวงศา (ท้าวขัติย-เดช) ภรรยาคนแรกชื่อ คุณแม่สมบูรณ์ มีบุตร 5 คน ได้แก่ นางอ่อน นางเที่ยง ท้าวทอน ท้าวสอน ท้าววรบุตร
เมื่อคุณแม่สมบูรณ์เสียชีวิต ได้แต่งงานใหม่กับคุณแม่สุวรรณา มีบุตร 3 คน ได้แก่ นางทา นางหมา นางผม
คุณยายทา แต่งงานกับคุณตาชาลี คำทอง มีบุตร 9 คน ได้แก่ นางสีดา นางพวง นางพัน นายจันทร์ นายบุญตา นายน้อย นางกลิ่น นายคำ นายดำ
คุณแม่สีดา แต่งงานกับคุณพ่อบุญ ชาทะศรี มีบุตร 11 คน ได้แก่...นางมณฑา นางเสงี่ยม นางสำรวย นายเฉลิม นายไพรัตน์ นายสมดี นายทวี นางยุพา นายถาวร นายสมร นาย...(ตายตอนคลอด)
ถ้าลูกหลานเหลนโหลนไม่บันทึกไว้ เราจะรู้จักวงศาคณาญาติของเราได้อย่างไร? เราส่งเสริมให้รู้จักประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์ไทย แต่ประวัติศาสตร์ตัวเอง ครอบครัวตัวเอง วงศาคณาญาติตัวเอง ไม่รู้จัก ไม่สนใจ แล้วจะมีความหมายอะไร มีกระจกคอยแต่ส่องคนอื่น แต่ตัวเองไม่ยอมส่อง อะไรกันเนี่ย เทือกเถาเหล่ากอ เชื้อสายวงศ์ตระกูล รู้ไว้บ้าง มิใช่เกิดจากกระบอกไม้ไผ่ รู้ไว้ตอบโจทย์ลูกหลานบ้างโยม
ภาพประวัติศาสตร์ลูกหลานเจ้าเมือง

นักประวัติศาสตร์เฉกเช่น อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ เสนอให้ทุกโรงเรียนมีประวัติศาสตร์ไทย ที่ควรเริ่มจากประวัติหมู่บ้าน, ตำบล, อำเภอ, จังหวัด อันเป็นมาตุภูมิของตนนี่แหละ นับเป็นข้อเสนอแนะที่ดี แต่ก็เป็นห่วงเรื่องคนเขียนประวัติศาสตร์ แทนที่จะได้ผลงานอันถูกต้อง อาจจะได้ผลงานแบบสุกเอาเผากิน คือทำอย่างลวกๆ ทำพอให้เสร็จไปตามคำสั่งเท่านั้น เรื่องทำนองนี้พึงระวัง
5. สถานที่ตั้งเมือง อาจารย์เติม วิภาคย์พจนกิจ เขียนว่า... “จึงได้ย้ายเมืองพยัคฆภูมิพิสัยจากบ้านนาข่าไปตั้งอยู่ที่บ้านปะหลาน ใกล้เคียงกับบ้านเมืองเสือ ที่กำหนดไว้เดิม คือที่ตั้งที่ว่าการอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยในปัจจุบัน” ดูแล้วไม่ค่อยจะถูกต้องนัก ที่ถูกต้องเป็นดังนี้...
คุณยายทา และคุณยายทองดี ผู้ติดตาม เล่าว่า...อพยพผู้คนจากสุวรรณภูมิ มุ่งสู่บ้านนาข่า และตั้งเมืองที่นั่น ไม่ได้แวะที่บ้านเมืองเสือ แล้วขึ้นไปบ้านนาข่าอย่างที่เล่าๆ กันมา
สร้างเมืองแห่งแรกที่บ้านนาข่า ร.ศ. 98 (พ.ศ. 2422)
แห่งที่ 2 ที่บ้านปะหลาน บริเวณต้นค้างคาว ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)
แห่งที่ 3 ย้ายมาบริเวณต้นโพธิ์ (ศาลหลักเมือง) พ.ศ. 2450 (ร.ศ. 126) สมัยนายอำเภอคนที่ 2 รองอำมาตย์โท หลวงไสยบัณฑิตย์ (ลิ วงกาไสย) (พ.ศ. 2450-2454)
แห่งที่ 4 ย้ายมาบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ในปัจจุบัน พ.ศ. 2454 สมัยนายอำเภอคนที่ 3 รองอำมาตย์โท หลวงภูมิพยัคฆเขต (ทิม ทิวะวิภาค) (พ.ศ. 2454-2463)
เนื่องจากราว ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) เมืองพยัคฆภูมิพิสัย ถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม ขึ้นตรงต่อมณฑลร้อยเอ็ด
ดังนั้น เมืองพยัคฆภูมิพิสัย จึงมีเจ้าเมืองเพียงคนเดียวคือ พระศรีสุวรรณวงศา (ท้าวขัติย-เดช) (ร.ศ. 98-116 หรือ พ.ศ. 2422-2440) หลังจากนั้นก็เป็นนายอำเภอคนแรก (ร.ศ. 116-126 หรือ พ.ศ. 2440-2450) รับราชการปกครองบ้านเมืองนานถึง 28 ปี (เป็นเจ้าเมือง 18 ปี เป็นนายอำเภอ 10 ปี)
6. พยัคฆภูมิสมญานามเมืองร้อยสระ
คำว่า “พยัคฆภูมิพิสัย” เป็นนามพระราชทาน มาจากคำ 3 คำ
- พยัคฆ หรือบาลีว่า พฺยคฺฆ แปลว่า...เสือโคร่ง
- ภูมิ แปลว่า แผ่นดิน, ที่ดิน, ฟื้นความรู้, ปัญญา, สง่า, ผึ่งผาย, องอาจ
- พิสัย แปลว่า วิสัย, ลักษณะที่เป็นอยู่, ความสามารถ, สภาพ, ความเป็นไป, ขอบ, เขตแดน, ตำบล, ถิ่น, แว่นแคว้น, ที่, มณฑล, ประเทศ, เขตหมู่บ้าน
ที่ให้ความหมายของแต่ละคำไว้มากมาย เพื่อความเป็นอิสระในการแปลความหมายของ “พยัคฆภูมิพิสัย” ได้หลายมิติ
ผู้เขียน แปลว่า... “แดนดินถิ่นเสือโคร่ง” (โดยพยัญชนะ) และ... “แดนดินถิ่นผู้กล้าหาญชาญปัญญา” (โดยอรรถรส)
เหตุผลสำคัญ ที่พระศรีสุวรรณวงศา ตัดสินใจตั้งเมืองที่บ้านปะหลาน เนื่องเพราะบ้านปะหลานเป็นเกาะ มีน้ำล้อมรอบ และมีเกาะใกล้เคียงอีก 2 เกาะ คือ เกาะบ้านโนนสูง และเกาะสวนพุทธ รอบเกาะทั้งสามเป็นทุ่งนากว้างใหญ่ไพศาล หน้าน้ำหลากปานเกาะลอยอยู่ในทะเล ทุกปีจะมีน้ำท่วมอยู่ประมาณ 1 อาทิตย์ ชะล้างบ้านเมืองให้สะอาด เพราะที่นี่พื้นที่เป็นแอ่งกระทะ ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ เป็นเมืองไปยาก (ทางวิบาก) แต่ไม่เคยทุกข์ยาก (ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว) ฟังเพลง “พยัคฆภูมิ” ดีกว่าจะได้เห็นชัดๆ
“พยัคฆภูมิมีแต่น้ำล้อมรอบ ตั้งอยู่ขอบริมน้ำสดใส น้ำหลากแลวิไล ยามอุทัยระยับจับตา ยามอรุณฉันมองไปตามทุ่ง หมู่เมฆมุงขาวงามบนนภา นกกระเจ่าบินขาวงามตา (ซ้ำ) เกาะหมู่กันมาร่อนถลาเริงลม
พยัคฆภูมิเป็นแดนที่สำราญ ตั้งตระหง่านท่ามกลางชลธาร น้ำล้อมรอบสุดสวยงามตา ดั่งพาราเทวาอินทร์แปลง ฤดูฝนทุกคนต้องเตรียมท่า ลงนาวาหาปลากันเพลิน ตกเบ็ดไปตามวังเวิน (ซ้ำ) สนุกเหลือเกินคุยกันเพลินตามลำคลอง”
พยัคฆภูมิมีแต่น้ำล้อมรอบ คำว่า น้ำล้อมรอบ ก็คือ สระ หรือหนอง เรียงร้อยรอบเมือง รวมทั้งหมด 17 สระ ได้แก่...สระสิม (สระวัด, สระบัว), สระยาว, สระเพ, สระจาน, สระกะลก, สระหญ้าคา, สระผือ (สระเกาะ), สระยาง, สระแสง, สระหว้า, สระหมู, สระจอก, สระแก, สระอาทิตย์, สระจันทร์, สระปู่ตา, สระอ่างเกลือ (สระถูกถม เช่น สระแสง ถมรวมกับสวนพุทธ สระอาทิตย์ และสระจันทร์ ถมสร้างสำนักงานเทศบาล)
ปัจจุบันเปลี่ยนไป สะพานข้ามคลองข้ามสระเปลี่ยนเป็นถนนไปหมด สระแคบเข้า ขอบสระกว้างขึ้นกลายเป็นถนน น้ำเลยเน่า ปลาเลยตาย นี่คือความมักง่ายแห่งยุคสมัยที่แย่งกันอยู่ แย่งกันกิน แล้วความสุขของประชาชนจะเกิดขึ้นได้อย่างไร?
(ที่มา : ไพรัตน์ แย้มโกสุม, ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : กรณีศึกษาประวัติเมืองพยัคฆภูมิพิสัย, เอกสาร (ทำมือ), 2547)

ประวัติศาสตร์ คืออะไร? คือร้อยแปดพันเก้านิยาม ใครจะว่าอย่างไรก็ใช่ทั้งนั้นแหละ เขาว่า ประวัติศาสตร์คืออดีต คืออนาคต คือปัจจุบัน มันก็ถูกของเขา ไม่ผิดหรอก เพราะปัจจุบันเป็นเหตุ อดีตและอนาคตเป็นผล มีปัจจุบัน จึงมีอดีต มีอนาคต
ปัจจุบันดี อดีตและอนาคตก็ดี ปัจจุบันเลว อดีตและอนาคตก็เลว
ประวัติศาสตร์ คืออดีตที่ส่องปัจจุบัน และรู้ทันอนาคต
นิยามอย่างนี้ ความหมายอย่างนี้ พอไปวัดไปวาได้ไหม? ไม่ถึงวัด ข้างวัดก็ยังดี
“ดีอยู่ที่ละ พระอยู่ที่ใจ” วลีดีๆ อย่างนี้ไม่ใช้ กลับไปใช้อย่างใหม่ที่ทรมานใจคนแก่ คุณแม่ คุณพ่อ “สวรรค์คือข้า ขี้หมาคือแก” อะไรๆ มันก็ไม่แน่ไม่นอน พากันแอ็คอาร์ตอยู่ได้ นึกว่าไม่มีใครรู้ทันหรือไร เขากำลังส่งเสริมวิชาประวัติศาสตร์อยู่นะ วิชาที่ว่าด้วยคนชั่วต้องข่ม คนดีต้องชม ที่ผ่านมาในอดีต ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน รู้ทันมันทั้งนั้น
วิชาประวัติศาสตร์ คือวิชาที่รู้ทันคน โดยเฉพาะผู้มีอำนาจปกครองบ้านเมือง ประเทศด้อยพัฒนาประเทศเผด็จการทั้งหลาย เขาจึงเกลียดวิชานี้มาก (บอกซ้ายหัน ขวาหัน มันไม่หัน แถมถามกลับว่า หันทำไม) มีแต่ประเทศพัฒนา เป็นประชาธิปไตยแล้วเท่านั้น ที่ชอบวิชานี้ จึงส่งเสริมการเรียนวิชาประวัติศาสตร์อย่างเต็มที่ ดังนั้นประเทศของเรากำลังส่งเสริมวิชานี้ แสดงว่าผู้นำประเทศ คือนายกรัฐมนตรี ท่านมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ลุ่มลึก สำนึกดีงาม ที่เปิดให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์เต็มที่ เพราะการแสดงความคิดเห็น มันคือหัวใจประวัติศาสตร์ มันคือหัวใจประชาธิปไตย มันคือแสงสว่างสู่เส้นทางสันติภาพแลสันติสุข
โอ...ผู้นำของเรา คักขนาดๆๆๆ
สภาพภูมิศาสตร์เมืองพยัคฆภูมิพิสัย
(เมืองร้อยสระ)
ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) โดย พระศรีสุวรรณวงศา (ท้าวขัติย-เดช) เจ้าเมืองและนายอำเภอคนแรกของเมืองหรืออำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ณ บริเวณต้นค้างคาว บ้านปะหลาน หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 15 ถนนกลางเมือง ตำบลปะหลาน ในปัจจุบัน

หมายเหตุ : เกาะสวนพุทธ (วัดเก่า) มีขนาด 1 ใน 2 ของเกาะบ้านโนนสูง
เกาะบ้านโนนสูงมีขนาด 1 ใน 3 ของเกาะบ้านปะหลาน
ปัจจุบันเกาะบ้านปะหลาน ประกอบด้วยหมู่ 2, 13 และ 15 เกาะบ้านโนนสูง คือหมู่ 10 สะพานเชื่อมเกาะและถนน
เกาะสวนพุทธจะพัฒนาเป็นพุทธอุทยานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชา 5 ธันวาคม 2550
พระรัตนวงศา (คำสิงห์) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ดำริเห็นว่า ควรตั้งเมืองใหม่ขึ้นอีกสักเมืองเพื่อสะดวกแก่การปกครอง จึงให้ท้าวเดช หรือท้าวเทศ สองพี่น้องผู้บุตรนำใบบอกไปกราบทูลขอตั้งเมืองขึ้นที่บ้านเมืองเสือ ซึ่งเป็นเมืองเก่าสมัยขอม แต่ได้ร้างไปนาน ต่อมาภายหลังได้เกิดเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ขึ้น
จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเมืองเสือเป็นเมืองพยัคฆภูมิพิสัย โปรดฯ ให้ท้าวขัติย-เดช) เป็นพระศรีสุวรรณวงศา (ต่อมาคือต้นตระกูลรัตนวงศะวัต สืบมาทุกวันนี้) เป็นเจ้าเมืองคนแรก เมื่อ พ.ศ. 2411 (ร.ศ. 98) เมื่อสองพี่น้องได้นำสารตราตั้งไปถึงบ้านนาข่า อันอยู่ในท้องที่เมืองวาปีปทุม มาก่อน เห็นว่ามีชัยภูมิดีกว่า จึงตั้งเมืองพยัคฆภูมิพิสัยขึ้นที่นั่น หาได้ตั้งเมืองที่บ้านเมืองเสือที่โปรดเกล้าฯ ไม่
ครั้นต่อมาในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เสด็จมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวกาว (ประทับที่เมืองอุบลราชธานี) จึงได้เกิดร้องเรียนเรื่องเขตแดนการปกครองกันขึ้น แต่ข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวกาว ได้เสด็จกลับพระนครก่อน
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เสด็จมาแทน เมื่อ พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) จึงมีรับสั่งให้พระศรีสุวรรณวงศา (เดช) ย้ายเมืองจากบ้านนาข่าไปตั้ง ณ ตำบลที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ไว้นั้นเสีย
พระศรีสุวรรณวงศา (เดช) จึงได้ย้ายเมืองพยัคฆภูมิพิสัย จากบ้านนาข่าไปตั้งอยู่ที่บ้านปะหลาน ใกล้เคียงกับบ้านเมืองเสือที่กำหนดไว้เดิม
จุดที่ตั้งเมือง (ที่ว่าการเมือง และจวนเจ้าเมือง) แห่งที่ 2 ต่อจากบ้านนาข่า อยู่ที่บริเวณ “ต้นคางคาว” ถนนกลางเมือง บ้านปะหลาน หมู่ที่ 2 และบ้านเมืองเก่า หมู่ที่ 15 (แยกออกมาจากบ้านปะหลาน) ตำบลปะหลาน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ในปัจจุบัน
(ที่มา : เติม วิภาคย์พจนกิจ, ประวัติศาสตร์อีสาน, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2530)
วิเคราะห์...
1. หนังสือประวัติศาสตร์อีสาน เขียนโดย อาจารย์เติม วิภาคย์พจนกิจ หนังสือเล่มนี้เกิดจากความวิริยะอุตสาหะของผู้เขียน ในการค้นคว้า รวบรวมเรียบเรียงขึ้นมาเป็นเวลากว่า 20 ปี โดยอาศัยบันทึกของ พระวิภาคย์พจนกิจ ซึ่งเป็นบิดาของผู้เขียน ประกอบในการเขียนอยู่มาก
อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้เรียบเรียงพิมพ์ ได้กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ในคราวพิมพ์ครั้งแรกว่า... “ผู้เรียบเรียงพิมพ์ ยังไม่เคยเห็นเล่มใดที่ให้ข้อมูลของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือละเอียดลออเท่าเล่มนี้มาก่อน และถ้าเราต้องการเข้าใจประวัติศาสตร์ไทยให้กระจ่างกว่า ที่เรามีความรู้อยู่ในปัจจุบัน การละเลยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเสียสิ้นเชิงอย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้ จะไม่ทำให้เราประสบความสำเร็จได้เลย นักเรียนประวัติศาสตร์ไทย ไม่ว่าจะสนใจภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือไม่ ประวัติศาสตร์อีสานของคุณเติม วิภาคย์พจนกิจ จะช่วยทำให้เข้าใจประวัติศาสตร์ไทยได้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก ถ้าท่านอ่านโดยใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรองให้มากกว่าอ่านเพื่อความสนุก”
2. หัวเมืองลาวกาว เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เสด็จประทับที่เมืองอุบลราชธานี แล้วไม่นาน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก (นครจำปาศักดิ์) และตะวันออกเฉียงเหนือ (อุบลฯ) ที่ทรงโปรดฯ ให้แบ่งไว้เมื่อ พ.ศ. 2433 เป็นภาคเดียวกันเรียกว่า “หัวเมืองลาวกาว” ซึ่งมีเมือง...นครจำปาศักดิ์ เชียงแตง แสนปาง สีทันดร อัตตะปือ คำทองใหญ่ สุรินทร์ สังฆะ ขุขันธ์ เดชอุดม ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร เขมราฐ กมลาสัย กาฬสินธุ์ ภูแล่นช้าง สุวรรณภูมิ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม เมืองนอง สองคอนดอนดง รวมเมืองใหญ่ 23 เมือง เมืองขึ้นอีก 55 เมือง รวม 78 หัวเมือง อยู่ในบังคับบัญชาอธิบดีข้าหลวง (ข้าหลวงใหญ่) หัวเมืองลาวกาว
มณฑลหัวเมืองลาวกาว ได้เปลี่ยนเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ มณฑลอีสาน มณฑลอุบลราชธานี ตามลำดับ
3. ต้นค้าวคาวเป็นต้นไม้ประวัติศาสตร์ เพราะเป็นสถานที่ตั้งเมืองพยัคฆภูมิพิสัย ครั้งที่ 2 (ต่อจากบ้านนาข่า) คุณยายทา บุตรพระศรีสุวรรณวงศา (ท้าวขัติย-เดช) เล่าว่า... “การย้ายเมืองจากบ้านนาข่า มาตั้งที่บ้านปะหลาน ตรงบริเวณต้นค้าวคาว ขณะนั้นต้นค้างคาวสูงประมาณ 15 เมตร อายุประมาณ 16 ปี และยายตอนนั้นอายุประมาณ 14 ปี ที่ว่าการเมืองอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นค้างคาว จวนเจ้าเมืองอยู่ถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และทิศใต้ของต้นค้างคาว”
ปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) ต้นค้างคาวอายุประมาณ 128 ปี สูงประมาณ 60 เมตร มีต้นลูกเกิดขึ้นมาเคียงคู่บริเวณต้นค้างคาวมีศาลเก่าแก่ และศาลสร้างใหม่ รวมทั้งอนุสาวรีย์พระศรีสุวรรณวงศา ยืนตระหง่านถือดาบอยู่หน้าศาล เป็นที่เคารพบูชา และที่ศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของนักเรียนนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปตราบเท่าทุกวันนี้
4. ลูกหลานเหลนโหลนเจ้าเมืองพยัคฆภูมิพิสัย สายคุณยายทา
พระรัตนวงศา (คำสิงห์) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ มีบุตร 3 คนคือ ท้าวเดช ท้าวเทศ ท้าวราช
พระศรีสุวรรณวงศา (ท้าวขัติย-เดช) ภรรยาคนแรกชื่อ คุณแม่สมบูรณ์ มีบุตร 5 คน ได้แก่ นางอ่อน นางเที่ยง ท้าวทอน ท้าวสอน ท้าววรบุตร
เมื่อคุณแม่สมบูรณ์เสียชีวิต ได้แต่งงานใหม่กับคุณแม่สุวรรณา มีบุตร 3 คน ได้แก่ นางทา นางหมา นางผม
คุณยายทา แต่งงานกับคุณตาชาลี คำทอง มีบุตร 9 คน ได้แก่ นางสีดา นางพวง นางพัน นายจันทร์ นายบุญตา นายน้อย นางกลิ่น นายคำ นายดำ
คุณแม่สีดา แต่งงานกับคุณพ่อบุญ ชาทะศรี มีบุตร 11 คน ได้แก่...นางมณฑา นางเสงี่ยม นางสำรวย นายเฉลิม นายไพรัตน์ นายสมดี นายทวี นางยุพา นายถาวร นายสมร นาย...(ตายตอนคลอด)
ถ้าลูกหลานเหลนโหลนไม่บันทึกไว้ เราจะรู้จักวงศาคณาญาติของเราได้อย่างไร? เราส่งเสริมให้รู้จักประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์ไทย แต่ประวัติศาสตร์ตัวเอง ครอบครัวตัวเอง วงศาคณาญาติตัวเอง ไม่รู้จัก ไม่สนใจ แล้วจะมีความหมายอะไร มีกระจกคอยแต่ส่องคนอื่น แต่ตัวเองไม่ยอมส่อง อะไรกันเนี่ย เทือกเถาเหล่ากอ เชื้อสายวงศ์ตระกูล รู้ไว้บ้าง มิใช่เกิดจากกระบอกไม้ไผ่ รู้ไว้ตอบโจทย์ลูกหลานบ้างโยม
ภาพประวัติศาสตร์ลูกหลานเจ้าเมือง
นักประวัติศาสตร์เฉกเช่น อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ เสนอให้ทุกโรงเรียนมีประวัติศาสตร์ไทย ที่ควรเริ่มจากประวัติหมู่บ้าน, ตำบล, อำเภอ, จังหวัด อันเป็นมาตุภูมิของตนนี่แหละ นับเป็นข้อเสนอแนะที่ดี แต่ก็เป็นห่วงเรื่องคนเขียนประวัติศาสตร์ แทนที่จะได้ผลงานอันถูกต้อง อาจจะได้ผลงานแบบสุกเอาเผากิน คือทำอย่างลวกๆ ทำพอให้เสร็จไปตามคำสั่งเท่านั้น เรื่องทำนองนี้พึงระวัง
5. สถานที่ตั้งเมือง อาจารย์เติม วิภาคย์พจนกิจ เขียนว่า... “จึงได้ย้ายเมืองพยัคฆภูมิพิสัยจากบ้านนาข่าไปตั้งอยู่ที่บ้านปะหลาน ใกล้เคียงกับบ้านเมืองเสือ ที่กำหนดไว้เดิม คือที่ตั้งที่ว่าการอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยในปัจจุบัน” ดูแล้วไม่ค่อยจะถูกต้องนัก ที่ถูกต้องเป็นดังนี้...
คุณยายทา และคุณยายทองดี ผู้ติดตาม เล่าว่า...อพยพผู้คนจากสุวรรณภูมิ มุ่งสู่บ้านนาข่า และตั้งเมืองที่นั่น ไม่ได้แวะที่บ้านเมืองเสือ แล้วขึ้นไปบ้านนาข่าอย่างที่เล่าๆ กันมา
สร้างเมืองแห่งแรกที่บ้านนาข่า ร.ศ. 98 (พ.ศ. 2422)
แห่งที่ 2 ที่บ้านปะหลาน บริเวณต้นค้างคาว ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)
แห่งที่ 3 ย้ายมาบริเวณต้นโพธิ์ (ศาลหลักเมือง) พ.ศ. 2450 (ร.ศ. 126) สมัยนายอำเภอคนที่ 2 รองอำมาตย์โท หลวงไสยบัณฑิตย์ (ลิ วงกาไสย) (พ.ศ. 2450-2454)
แห่งที่ 4 ย้ายมาบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ในปัจจุบัน พ.ศ. 2454 สมัยนายอำเภอคนที่ 3 รองอำมาตย์โท หลวงภูมิพยัคฆเขต (ทิม ทิวะวิภาค) (พ.ศ. 2454-2463)
เนื่องจากราว ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) เมืองพยัคฆภูมิพิสัย ถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม ขึ้นตรงต่อมณฑลร้อยเอ็ด
ดังนั้น เมืองพยัคฆภูมิพิสัย จึงมีเจ้าเมืองเพียงคนเดียวคือ พระศรีสุวรรณวงศา (ท้าวขัติย-เดช) (ร.ศ. 98-116 หรือ พ.ศ. 2422-2440) หลังจากนั้นก็เป็นนายอำเภอคนแรก (ร.ศ. 116-126 หรือ พ.ศ. 2440-2450) รับราชการปกครองบ้านเมืองนานถึง 28 ปี (เป็นเจ้าเมือง 18 ปี เป็นนายอำเภอ 10 ปี)
6. พยัคฆภูมิสมญานามเมืองร้อยสระ
คำว่า “พยัคฆภูมิพิสัย” เป็นนามพระราชทาน มาจากคำ 3 คำ
- พยัคฆ หรือบาลีว่า พฺยคฺฆ แปลว่า...เสือโคร่ง
- ภูมิ แปลว่า แผ่นดิน, ที่ดิน, ฟื้นความรู้, ปัญญา, สง่า, ผึ่งผาย, องอาจ
- พิสัย แปลว่า วิสัย, ลักษณะที่เป็นอยู่, ความสามารถ, สภาพ, ความเป็นไป, ขอบ, เขตแดน, ตำบล, ถิ่น, แว่นแคว้น, ที่, มณฑล, ประเทศ, เขตหมู่บ้าน
ที่ให้ความหมายของแต่ละคำไว้มากมาย เพื่อความเป็นอิสระในการแปลความหมายของ “พยัคฆภูมิพิสัย” ได้หลายมิติ
ผู้เขียน แปลว่า... “แดนดินถิ่นเสือโคร่ง” (โดยพยัญชนะ) และ... “แดนดินถิ่นผู้กล้าหาญชาญปัญญา” (โดยอรรถรส)
เหตุผลสำคัญ ที่พระศรีสุวรรณวงศา ตัดสินใจตั้งเมืองที่บ้านปะหลาน เนื่องเพราะบ้านปะหลานเป็นเกาะ มีน้ำล้อมรอบ และมีเกาะใกล้เคียงอีก 2 เกาะ คือ เกาะบ้านโนนสูง และเกาะสวนพุทธ รอบเกาะทั้งสามเป็นทุ่งนากว้างใหญ่ไพศาล หน้าน้ำหลากปานเกาะลอยอยู่ในทะเล ทุกปีจะมีน้ำท่วมอยู่ประมาณ 1 อาทิตย์ ชะล้างบ้านเมืองให้สะอาด เพราะที่นี่พื้นที่เป็นแอ่งกระทะ ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ เป็นเมืองไปยาก (ทางวิบาก) แต่ไม่เคยทุกข์ยาก (ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว) ฟังเพลง “พยัคฆภูมิ” ดีกว่าจะได้เห็นชัดๆ
“พยัคฆภูมิมีแต่น้ำล้อมรอบ ตั้งอยู่ขอบริมน้ำสดใส น้ำหลากแลวิไล ยามอุทัยระยับจับตา ยามอรุณฉันมองไปตามทุ่ง หมู่เมฆมุงขาวงามบนนภา นกกระเจ่าบินขาวงามตา (ซ้ำ) เกาะหมู่กันมาร่อนถลาเริงลม
พยัคฆภูมิเป็นแดนที่สำราญ ตั้งตระหง่านท่ามกลางชลธาร น้ำล้อมรอบสุดสวยงามตา ดั่งพาราเทวาอินทร์แปลง ฤดูฝนทุกคนต้องเตรียมท่า ลงนาวาหาปลากันเพลิน ตกเบ็ดไปตามวังเวิน (ซ้ำ) สนุกเหลือเกินคุยกันเพลินตามลำคลอง”
พยัคฆภูมิมีแต่น้ำล้อมรอบ คำว่า น้ำล้อมรอบ ก็คือ สระ หรือหนอง เรียงร้อยรอบเมือง รวมทั้งหมด 17 สระ ได้แก่...สระสิม (สระวัด, สระบัว), สระยาว, สระเพ, สระจาน, สระกะลก, สระหญ้าคา, สระผือ (สระเกาะ), สระยาง, สระแสง, สระหว้า, สระหมู, สระจอก, สระแก, สระอาทิตย์, สระจันทร์, สระปู่ตา, สระอ่างเกลือ (สระถูกถม เช่น สระแสง ถมรวมกับสวนพุทธ สระอาทิตย์ และสระจันทร์ ถมสร้างสำนักงานเทศบาล)
ปัจจุบันเปลี่ยนไป สะพานข้ามคลองข้ามสระเปลี่ยนเป็นถนนไปหมด สระแคบเข้า ขอบสระกว้างขึ้นกลายเป็นถนน น้ำเลยเน่า ปลาเลยตาย นี่คือความมักง่ายแห่งยุคสมัยที่แย่งกันอยู่ แย่งกันกิน แล้วความสุขของประชาชนจะเกิดขึ้นได้อย่างไร?
(ที่มา : ไพรัตน์ แย้มโกสุม, ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : กรณีศึกษาประวัติเมืองพยัคฆภูมิพิสัย, เอกสาร (ทำมือ), 2547)
ประวัติศาสตร์ คืออะไร? คือร้อยแปดพันเก้านิยาม ใครจะว่าอย่างไรก็ใช่ทั้งนั้นแหละ เขาว่า ประวัติศาสตร์คืออดีต คืออนาคต คือปัจจุบัน มันก็ถูกของเขา ไม่ผิดหรอก เพราะปัจจุบันเป็นเหตุ อดีตและอนาคตเป็นผล มีปัจจุบัน จึงมีอดีต มีอนาคต
ปัจจุบันดี อดีตและอนาคตก็ดี ปัจจุบันเลว อดีตและอนาคตก็เลว
ประวัติศาสตร์ คืออดีตที่ส่องปัจจุบัน และรู้ทันอนาคต
นิยามอย่างนี้ ความหมายอย่างนี้ พอไปวัดไปวาได้ไหม? ไม่ถึงวัด ข้างวัดก็ยังดี
“ดีอยู่ที่ละ พระอยู่ที่ใจ” วลีดีๆ อย่างนี้ไม่ใช้ กลับไปใช้อย่างใหม่ที่ทรมานใจคนแก่ คุณแม่ คุณพ่อ “สวรรค์คือข้า ขี้หมาคือแก” อะไรๆ มันก็ไม่แน่ไม่นอน พากันแอ็คอาร์ตอยู่ได้ นึกว่าไม่มีใครรู้ทันหรือไร เขากำลังส่งเสริมวิชาประวัติศาสตร์อยู่นะ วิชาที่ว่าด้วยคนชั่วต้องข่ม คนดีต้องชม ที่ผ่านมาในอดีต ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน รู้ทันมันทั้งนั้น
วิชาประวัติศาสตร์ คือวิชาที่รู้ทันคน โดยเฉพาะผู้มีอำนาจปกครองบ้านเมือง ประเทศด้อยพัฒนาประเทศเผด็จการทั้งหลาย เขาจึงเกลียดวิชานี้มาก (บอกซ้ายหัน ขวาหัน มันไม่หัน แถมถามกลับว่า หันทำไม) มีแต่ประเทศพัฒนา เป็นประชาธิปไตยแล้วเท่านั้น ที่ชอบวิชานี้ จึงส่งเสริมการเรียนวิชาประวัติศาสตร์อย่างเต็มที่ ดังนั้นประเทศของเรากำลังส่งเสริมวิชานี้ แสดงว่าผู้นำประเทศ คือนายกรัฐมนตรี ท่านมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ลุ่มลึก สำนึกดีงาม ที่เปิดให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์เต็มที่ เพราะการแสดงความคิดเห็น มันคือหัวใจประวัติศาสตร์ มันคือหัวใจประชาธิปไตย มันคือแสงสว่างสู่เส้นทางสันติภาพแลสันติสุข
โอ...ผู้นำของเรา คักขนาดๆๆๆ
สภาพภูมิศาสตร์เมืองพยัคฆภูมิพิสัย
(เมืองร้อยสระ)
ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) โดย พระศรีสุวรรณวงศา (ท้าวขัติย-เดช) เจ้าเมืองและนายอำเภอคนแรกของเมืองหรืออำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ณ บริเวณต้นค้างคาว บ้านปะหลาน หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 15 ถนนกลางเมือง ตำบลปะหลาน ในปัจจุบัน
หมายเหตุ : เกาะสวนพุทธ (วัดเก่า) มีขนาด 1 ใน 2 ของเกาะบ้านโนนสูง
เกาะบ้านโนนสูงมีขนาด 1 ใน 3 ของเกาะบ้านปะหลาน
ปัจจุบันเกาะบ้านปะหลาน ประกอบด้วยหมู่ 2, 13 และ 15 เกาะบ้านโนนสูง คือหมู่ 10 สะพานเชื่อมเกาะและถนน
เกาะสวนพุทธจะพัฒนาเป็นพุทธอุทยานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชา 5 ธันวาคม 2550