ชื่นใจกับคำพูดของ วิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.)ที่กล่าวในงานจัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการทุจริต โดยยืนยันว่าจะไม่ปรองดองกับการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างเด็ดขาด
“ที่มีการฟ้องร้องหรือร้องทุกข์กล่าวโทษกันแล้วมาบอกให้ ป.ป.ช.เลิกเถอะ แยกย้ายกลับบ้าน ไม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะมี ป.ป.ช.ทำไม ในเมื่อมีการโกงปรากฏขึ้น ต้องว่ากันไปตามกระบวนการ ถ้าทำอย่างนั้นเท่ากับว่าโกงแล้ว ดังนั้น สถานการณ์ขณะนี้ ป.ป.ช.ต้องทำหน้าที่ของตัวเองไป ส่วนจะจบอย่างไร ไม่ได้จบที่เรา แต่จบที่ศาล และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ภารกิจใครมีก็ทำไป ทำหน้าที่ตนเองให้ดี”
"คนพูดกันหลายครั้งว่าบ้านเมืองปรองดองแล้วทำไม ป.ป.ช.ไม่ไปปรองดองบ้าง ถามว่าคนที่ทุจริตโกงบ้านโกงเมืองแล้วอยู่ๆ จะบอก ป.ป.ช.ว่าปรองดองเลิกกันเถอะไม่ได้ จะไปมโนทั้งที่บอกปาวๆ ว่าเผาเลยพี่น้องแล้วจะมาปรองดอง ซึ่งไม่ใช่ แต่ถ้าทะเลาะเบาะแว้งกันแล้วจะมาปรองดองอันนี้ได้ เพราะต้องอยู่ร่วมแผ่นดินกัน"
นั่นเป็นคำพูดของ กรรมการ ปปช.ที่กำลังฟาดฟันอยู่กับขบวนการโกงอย่างโดดเดี่ยว เพราะเริ่มมีแนวโน้มแล้วว่าฝ่ายอำนาจกำลังจะปรองดองโดยอ้างว่าเพื่อให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าได้
จากข้อมูลของ วิชา มหาคุณ ยืนยันว่าการทุจริตในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนเป็นที่อับอายไปทั่วโลก มีการทุจริตที่ซับซ้อน เป็นทุจริตเชิงนโยบาย มีการเข้ามาปกครองแล้วออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้พรรคพวก โดยยกตัวอย่างในโครงการรับจำนำข้าวที่เป็นกระบวนการ "สุดยอดของความชั่วร้าย"ทำให้รัฐเสียหายกว่า 7 แสนล้านเป็นการโกงที่ใหญ่มาก
นั่นเป็นข้อมูลจริง เป็นการทุจริตจริง ที่ชาวบ้านส่วนหนึ่งรับรู้ เพราะติดตามกันมาอย่างใกล้ชิด แต่ต้องย้ำว่าคนที่รู้เรื่องแบบนี้ต้องเป็นชาวบ้านที่ตื่นตัวเท่านั้น แม้ว่าระยะหลังจะเริ่มมีจำนวนมากขึ้น แต่ยังไม่มากพอ เพราะยังมีคนที่ไม่เคยรับรู้ หรือรู้แต่กลับมองว่าเป็นเรื่องของการกลั่นแกล้งทางการเมืองจากฝ่ายตรงข้าม หรืออีกกรณีหนึ่งกลับมีมุมมอง"ยอมรับได้"หากเป็นการโกงที่นำมาแบ่งกัน โดยที่พวกเขาได้รับประโยชน์ไปด้วย แม้ว่าจะเป็นเพียงส่วนแบ่งเล็กน้อยเทียบกันไม่ได้เลยกับเค้กก้อนใหญ่จำนวนกว่า 7 แสนล้านบาทดังกล่าว
อย่างไรก็ดีอีกด้านหนึ่งเป้าหมายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็คือการปฏิรูป ซึ่งกำลังเริ่มเดินหน้าหลังจากมีสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติครบจำนวน 250 คนแล้ว และเริ่มประชุมนัดแรกเพื่อวางกรอบการทำงาน กันอย่างเป็นทางการในวันอังคารที่ 21 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป
แต่ที่ผ่านมาเริ่มได้เห็นปรากฏการณ์และความเคลื่อนไหวที่ผิดสังเกต มีแนวโน้มส่อให้เกิดความระแวงบ้างแล้วว่า การปฏิรูปจะไม่เป็นไปตามที่คนส่วนใหญ่ต้องการ มีความหมายกันคนละแบบ โดยเฉพาะในการเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ที่ดูเหมือนว่ามีการเกี้ยเซี๊ยะกับผู้กระทำผิด โดยอ้างความปรองดองในบ้านเมือง เพื่อให้ทุกอย่างเดินไปข้างหน้า
ก่อนหน้านี้สังคมเริ่มผิดหวังและตั้งคำถามกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ไม่ยอมพิจารณาวาระถอดถอนอดีตสองประธานสภา คือ สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และ นิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวิฒิสภา ที่กระทำผิดกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภาโดยมิชอบ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติยื่นเรื่องให้ถอดถอน นี่เป็นอีกกรณีหนึ่งที่ทำให้สังคมเริ่มตั้งคำถามถึงเรื่องทิศทางข้างหน้าว่าจะเดินหน้าอย่างมั่นคงแค่ไหน
ขณะเดียวกันเมื่อมองย้อนหลังในเรื่องการจัดการกับปัญหาทุจริต เพราะมีหลายเรื่องที่หยุดอยู่กับที่ การจัดการสะสางปัญหาใหญ่ๆ การทุจริตที่เกี่ยวข้องกับระบอบทักษิณ กับรัฐบาลในอดีตกลับไม่มีการแตะต้อง อย่างโครงการรับจำนำข้าวที่มีการระบุตัวเลขความเสียหายกว่า 7 แสนล้านบาท กลับไม่มีการเร่งรัดหรือตรวจสอบอย่างจริงจัง เช่นการตรวจสอบโกดังข้าวที่ในตอนแรกมีมีท่าทางขึงขังแต่ตอนหลังกลับอืดอาดและทำท่าจะกลายเป็นการการันตีในทำนองว่าข้าวที่เก็บอยู่ในโกดังทั่วประเทศมีความเสียหายน้อยมาก สวนทางกับข่างคราวก่อนหน้านี้ที่มีแต่เรื่องอื้อฉาว ข้าวเสื่อมสภาพ เน่าเสีย ข้าวหายและที่สำคัญจนถึงบัดนี้ยังไม่ได้แถลงถึงผลสรุปเลย
ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะรักษาความสงบแห่งชาติต้องทำอย่างเร่งด่วนก็คือต้องสร้างความเชื่อมั่นในทิศทางการปฏิรูป ซึ่งเรื่องสำคัญในลำดับต้นๆก็คือต้องส่งสัญญาณการปราบปรามการทุจริตอย่างเต็มรูปแบบ เพราะตราบใดก็ตามหากล้มเหลวในเรื่องดังกล่าว ทุกอย่างที่ทำมาก็สูญเปล่า !!
“ที่มีการฟ้องร้องหรือร้องทุกข์กล่าวโทษกันแล้วมาบอกให้ ป.ป.ช.เลิกเถอะ แยกย้ายกลับบ้าน ไม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะมี ป.ป.ช.ทำไม ในเมื่อมีการโกงปรากฏขึ้น ต้องว่ากันไปตามกระบวนการ ถ้าทำอย่างนั้นเท่ากับว่าโกงแล้ว ดังนั้น สถานการณ์ขณะนี้ ป.ป.ช.ต้องทำหน้าที่ของตัวเองไป ส่วนจะจบอย่างไร ไม่ได้จบที่เรา แต่จบที่ศาล และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ภารกิจใครมีก็ทำไป ทำหน้าที่ตนเองให้ดี”
"คนพูดกันหลายครั้งว่าบ้านเมืองปรองดองแล้วทำไม ป.ป.ช.ไม่ไปปรองดองบ้าง ถามว่าคนที่ทุจริตโกงบ้านโกงเมืองแล้วอยู่ๆ จะบอก ป.ป.ช.ว่าปรองดองเลิกกันเถอะไม่ได้ จะไปมโนทั้งที่บอกปาวๆ ว่าเผาเลยพี่น้องแล้วจะมาปรองดอง ซึ่งไม่ใช่ แต่ถ้าทะเลาะเบาะแว้งกันแล้วจะมาปรองดองอันนี้ได้ เพราะต้องอยู่ร่วมแผ่นดินกัน"
นั่นเป็นคำพูดของ กรรมการ ปปช.ที่กำลังฟาดฟันอยู่กับขบวนการโกงอย่างโดดเดี่ยว เพราะเริ่มมีแนวโน้มแล้วว่าฝ่ายอำนาจกำลังจะปรองดองโดยอ้างว่าเพื่อให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าได้
จากข้อมูลของ วิชา มหาคุณ ยืนยันว่าการทุจริตในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนเป็นที่อับอายไปทั่วโลก มีการทุจริตที่ซับซ้อน เป็นทุจริตเชิงนโยบาย มีการเข้ามาปกครองแล้วออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้พรรคพวก โดยยกตัวอย่างในโครงการรับจำนำข้าวที่เป็นกระบวนการ "สุดยอดของความชั่วร้าย"ทำให้รัฐเสียหายกว่า 7 แสนล้านเป็นการโกงที่ใหญ่มาก
นั่นเป็นข้อมูลจริง เป็นการทุจริตจริง ที่ชาวบ้านส่วนหนึ่งรับรู้ เพราะติดตามกันมาอย่างใกล้ชิด แต่ต้องย้ำว่าคนที่รู้เรื่องแบบนี้ต้องเป็นชาวบ้านที่ตื่นตัวเท่านั้น แม้ว่าระยะหลังจะเริ่มมีจำนวนมากขึ้น แต่ยังไม่มากพอ เพราะยังมีคนที่ไม่เคยรับรู้ หรือรู้แต่กลับมองว่าเป็นเรื่องของการกลั่นแกล้งทางการเมืองจากฝ่ายตรงข้าม หรืออีกกรณีหนึ่งกลับมีมุมมอง"ยอมรับได้"หากเป็นการโกงที่นำมาแบ่งกัน โดยที่พวกเขาได้รับประโยชน์ไปด้วย แม้ว่าจะเป็นเพียงส่วนแบ่งเล็กน้อยเทียบกันไม่ได้เลยกับเค้กก้อนใหญ่จำนวนกว่า 7 แสนล้านบาทดังกล่าว
อย่างไรก็ดีอีกด้านหนึ่งเป้าหมายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็คือการปฏิรูป ซึ่งกำลังเริ่มเดินหน้าหลังจากมีสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติครบจำนวน 250 คนแล้ว และเริ่มประชุมนัดแรกเพื่อวางกรอบการทำงาน กันอย่างเป็นทางการในวันอังคารที่ 21 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป
แต่ที่ผ่านมาเริ่มได้เห็นปรากฏการณ์และความเคลื่อนไหวที่ผิดสังเกต มีแนวโน้มส่อให้เกิดความระแวงบ้างแล้วว่า การปฏิรูปจะไม่เป็นไปตามที่คนส่วนใหญ่ต้องการ มีความหมายกันคนละแบบ โดยเฉพาะในการเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ที่ดูเหมือนว่ามีการเกี้ยเซี๊ยะกับผู้กระทำผิด โดยอ้างความปรองดองในบ้านเมือง เพื่อให้ทุกอย่างเดินไปข้างหน้า
ก่อนหน้านี้สังคมเริ่มผิดหวังและตั้งคำถามกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ไม่ยอมพิจารณาวาระถอดถอนอดีตสองประธานสภา คือ สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และ นิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวิฒิสภา ที่กระทำผิดกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภาโดยมิชอบ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติยื่นเรื่องให้ถอดถอน นี่เป็นอีกกรณีหนึ่งที่ทำให้สังคมเริ่มตั้งคำถามถึงเรื่องทิศทางข้างหน้าว่าจะเดินหน้าอย่างมั่นคงแค่ไหน
ขณะเดียวกันเมื่อมองย้อนหลังในเรื่องการจัดการกับปัญหาทุจริต เพราะมีหลายเรื่องที่หยุดอยู่กับที่ การจัดการสะสางปัญหาใหญ่ๆ การทุจริตที่เกี่ยวข้องกับระบอบทักษิณ กับรัฐบาลในอดีตกลับไม่มีการแตะต้อง อย่างโครงการรับจำนำข้าวที่มีการระบุตัวเลขความเสียหายกว่า 7 แสนล้านบาท กลับไม่มีการเร่งรัดหรือตรวจสอบอย่างจริงจัง เช่นการตรวจสอบโกดังข้าวที่ในตอนแรกมีมีท่าทางขึงขังแต่ตอนหลังกลับอืดอาดและทำท่าจะกลายเป็นการการันตีในทำนองว่าข้าวที่เก็บอยู่ในโกดังทั่วประเทศมีความเสียหายน้อยมาก สวนทางกับข่างคราวก่อนหน้านี้ที่มีแต่เรื่องอื้อฉาว ข้าวเสื่อมสภาพ เน่าเสีย ข้าวหายและที่สำคัญจนถึงบัดนี้ยังไม่ได้แถลงถึงผลสรุปเลย
ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะรักษาความสงบแห่งชาติต้องทำอย่างเร่งด่วนก็คือต้องสร้างความเชื่อมั่นในทิศทางการปฏิรูป ซึ่งเรื่องสำคัญในลำดับต้นๆก็คือต้องส่งสัญญาณการปราบปรามการทุจริตอย่างเต็มรูปแบบ เพราะตราบใดก็ตามหากล้มเหลวในเรื่องดังกล่าว ทุกอย่างที่ทำมาก็สูญเปล่า !!