ก่อนที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปเยือนประเทศเมียนมาร์ ท่านได้พูดถึงการจะไปเจรจาความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้า พร้อมกับพูดถึงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ของประเทศไทย ในทำนองต่อว่าต่อขานประชาชนที่ออกมาคัดค้านว่า “ไฟฟ้าก็ต้องใช้แต่เวลาเขาจะสร้างโรงไฟฟ้าก็ค้านกัน” (10 ตุลาคม 2557)
ก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน ในการรับฟังความคิดเห็นต่อโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่ขนาด 800 เมกะวัตต์ ผู้ที่คัดค้านจะถูกกองกำลังทั้งตำรวจและทหารกว่า 700 นายกีดกันไม่ให้เข้าร่วม ขณะเดียวกันทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยก็กำลังเริ่มกระบวนการที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลาอีก 2,000 เมกะวัตต์ โดยให้เหตุผลว่า “การใช้ไฟฟ้าภาคใต้มีการเติบโตทุกปีเฉลี่ย 6% แต่การผลิตได้น้อยกว่าความต้องการที่ผ่านมาเราจึงต้องส่งไฟจากภาคกลางผ่านระบบส่งไปป้อนให้ ดังนั้นเพื่อความมั่นคงและป้องกันไฟตกดับ จึงควรก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มและการเลือกถ่านหินสะอาดก็เพราะมีค่าไฟฟ้าที่ต่ำหากเทียบกับเชื้อเพลิงอื่นๆ โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ลดลงและต้องพึ่งพาก๊าซแอลเอ็นจีนำเข้าเพิ่มมากขึ้น” (สำนักข่าวไทย 2 ต.ค.57)
ในบทความนี้ ผมจะร้อยข้อเท็จจริงทั้งหมดตั้งแต่ความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้ากับต่างประเทศโดยยกเอากรณีระหว่างประเทศไทย-มาเลเซียมาเป็นตัวอย่าง พร้อมกับนำเสนอสถานการณ์ไฟฟ้าในภาคใต้ซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการแต่ไม่ตรงกับที่ปรากฏในสื่อมวลชน และสุดท้ายเพื่อให้คนไทยเราได้ทราบว่า ต่างประเทศเขามีแนวคิดในการแก้ปัญหาเรื่องไฟฟ้ากันอย่างไร ผมจึงขอยกสิ่งดีๆ จากประเทศอินเดียมานำเสนอครับ
เพราะนอกจากกลุ่มขุนนางพลังงานไทยได้ให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงแล้ว เขายังปิดหูปิดตาคนไทยทั้งประเทศเช่นเดียวกับที่เขากำลังทำกับชาวกระบี่ ชาวสงขลาและที่อื่นๆ ด้วย
กรณีความร่วมมือระหว่างประเทศไทย-มาเลเซีย
ความร่วมมือดังกล่าวได้เริ่มคิดมาตั้งแต่ปี 2513 บนฐานคิด 2 ประการคือ (1) เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของมาเลเซียกับภาคใต้ของประเทศไทยเกิดไม่พร้อมกัน ดังนั้นจึงควรจะมีการแลกไฟฟ้ากันในบางช่วงเวลา เขาใช้คำว่า Power Exchange ซึ่งหมายถึงการแลกไฟฟ้า (2) เพื่อลดโรงไฟฟ้าสำรองของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นหลักคิดที่ดีมากครับ ในทวีปยุโรปเขาก็ทำอย่างนี้
โครงการนี้ได้เริ่มลงมือก่อสร้างในปี 2540 ด้วยงบประมาณ 5 พันล้านบาท เป็นระบบสายส่งแรงดันสูงไฟฟ้ากระแสตรง (HVDC) ขนาด 300 เมกะวัตต์ ระยะยาว 110 กิโลเมตร และเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ 21 ธันวาคม 2545 หลังเหตุการณ์ตำรวจใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมคัดค้านโครงการโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาเพียงหนึ่งวัน
ผมเองเข้าใจมาตลอดว่าเป็นโครงการแลกเปลี่ยนไฟฟ้ากัน เมื่อสิ้นปีใครใช้มากกว่ากันก็จ่ายเงินเพิ่มเติมในราคาที่สมเหตุสมผล ถ้าเป็นราคาการผลิตในประเทศไทยต้นทุนก็ประมาณหน่วยละ 3.00- 4.00 บาทเพราะถือว่าเป็นความร่วมมือระหว่างเพื่อนบ้านแล้วต่างฝ่ายต่างก็ได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน
แต่จากหนังสือตอบของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (ที่ พน 0605/3838 ลงวันที่ 6 ส.ค. 56) ต่อประธานคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (ตามมาตรา 61 แห่งรัฐธรรมนูญ 2550) กลับเป็นคนละเรื่องกับที่ผมเคยเข้าใจครับ
เขาชี้แจงว่า เป็นการขายไฟฟ้าที่ต้องเสนอราคาล่วงหน้า 1 เดือน
ในกรณีไฟฟ้าดับใน 14 จังหวัดภาคใต้ เมื่อวันที่21 พฤษภาคม 2556 เวลาประมาณ 1 ทุ่ม ราคาที่ทางมาเลเซียเสนอมี 3 ราคา คือ PriceA 6.12 บาทต่อหน่วย priceB 6.93 บาทต่อหน่วย และ Price C 16.16 บาทต่อหน่วยซึ่งขณะเกิดไฟฟ้าดับในบ้านเรา เขาเสนอราคา 16.16 บาทต่อหน่วย
อนึ่ง การใช้ไฟฟ้าสูงสุดในภาคใต้ของไทยอยู่ที่เวลาประมาณ 1 ทุ่ม ดังนั้นแม้ว่าไม่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจนไฟฟ้าดับ ถ้าเราจะขอใช้ไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซียเพื่อลดภาระการสร้างโรงไฟฟ้าในยามปกติ เราก็ใช้ไม่คุ้มค่าอยู่ดี หรือถ้าสร้างโรงไฟฟ้าเองน่าจะดีกว่า
สิ่งที่ผมอยากจะถามก็คือ แล้วเรามีโครงการนี้ไว้ทำไม อุตส่าห์ลงทุนไปตั้ง 5 พันล้านบาท และที่อยากถามมากกว่านั้นก็คือ นี่หรือคือความร่วมมือระหว่างมิตรประเทศผมไม่เข้าใจ
นอกจากนี้ จากจดหมายฉบับดังกล่าวได้ชี้แจงอีกว่า “หลังจากไทยรับไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซียได้ 1.3 วินาที ระบบป้องกันสายส่ง HVDC ที่สถานีไฟฟ้ากูรูน ประเทศมาเลเซีย ทำงานผิดพลาดสั่งปลดสายส่ง HVDC ออก ทำให้ระบบไฟฟ้าของภาคใต้ขาดเสถียรภาพ ส่งผลให้ระบบเชื่อมโยงภาคกลาง-ภาคใต้ที่เหลืออยู่ ถูกปลดออกจากระบบโดยอัตโนมัติ”
เรียกว่าเมื่อระบบไฟฟ้าในประเทศไทยเกิดอุบัติเหตุฟ้าผ่าเวลา 17.26 น. (หลังจากระบบสายส่งบางส่วนได้ถูกปลดออกมาซ่อมบำรุงฉุกเฉิน หรือ unplanned ตั้งแต่เวลา 8.27 น.) ระบบไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซียก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้ ทั้งๆ ที่ทำงานผิดพลาด แต่โดยสัญญาไม่มีบทปรับระหว่างกัน
ผมไม่ได้มีเจตนาที่นำเรื่องนี้มาให้คนไทยไม่พอใจการไฟฟ้าประเทศมาเลเซีย แต่ผมต้องการให้มีการตรวจสอบและเปิดเผยสัญญาว่าทำกันอย่างไร มีการแก้ไขสัญญาหรือไม่
และที่สำคัญกว่านั้นก็คือต้องการจะเตือนพลเอกประยุทธ์ว่า ในการไปเยือนและทำสัญญากับต่างประเทศต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ
ผมเข้าใจว่า นี่คือสิ่งที่รัฐธรรมนูญ 2550 ได้บัญญัติไว้ (มาตรา 190) ว่าต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา เรียกว่าให้รัฐสภาได้กลั่นกรองตรวจสอบให้รอบคอบเสียก่อน ให้ประชาชนได้รับรู้ด้วย แต่นักการเมืองพยายามจะขอตัดออก
และนี่ก็คืออีกสาระสำคัญหนึ่งของเจตจำนงของประชาชนจนนำไปสู่การชุมนุมใหญ่ของประชาชน และกลายมาเป็นการรัฐประหารในที่สุด ผมว่าท่านประยุทธ์น่าจะจำเรื่องนี้ได้ดีนะครับ
กำลังการผลิตไฟฟ้าในภาคใต้ไม่พอจริงหรือ
เรื่องนี้มีความซับซ้อนที่ถูกทำให้สับสน ผมจึงต้องขอเวลาทำความเข้าใจกันสักนิดนะครับกล่าวคือ กำลังผลิตไฟฟ้าในภาคใต้ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ คือส่วนที่เป็นโรงไฟฟ้าจริงๆ กับระบบสายส่งเพื่อเตรียมรับไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซีย (ที่กล่าวมาแล้ว) กับที่รับจากภาคกลางผ่านระบบสายส่งด้วย
เราได้ลงทุนประมาณ 5 หมื่นล้านบาทเพื่อเปลี่ยนระบบสายส่งจากภาคกลางไปสู่ภาคใต้ให้เป็นระบบ 500 กิโลโวลต์ (kv) ซึ่งเพิ่งได้เปลี่ยนเสร็จไปเมื่อไม่กี่ปีมานี้ดังนั้น เราจึงต้องคิดว่าทั้ง 2 ส่วนดังกล่าวข้างต้นเป็นตัวผลิตไฟฟ้าของภาคใต้ด้วย ไม่ใช่ระบบสายตรงธรรมดา
เพราะเป็นแผนการที่รัฐบาลไทยได้ออกแบบและลงทุนไปจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถ้าเราไม่ยอมให้ไฟฟ้าที่ผลิตจากภาคกลาง (จังหวัดราชบุรี) ไปสู่ภาคใต้ นอกจากเราจะเสียเงินค่าสายส่ง 5 หมื่นล้านบาทแล้ว กำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าในภาคกลางก็จะเกินความจำเป็นมากขึ้นไปอีกจึงกลายเป็นว่าเราจะต้องสูญเสียเงินสองต่อ
คราวนี้เรามาดูว่า ข้าราชการในกระทรวงพลังงานให้ข้อมูลประชาชนว่าอย่างไร ทำไมข้อมูลเรื่องนี้ของภาคใต้จึงได้สับสนนักผมขอเริ่มจากข้อมูลในจดหมายที่อ้างถึงแล้ว
จากข้อมูลดังกล่าวมี 2 สิ่งที่น่าสนใจ คือ
1. ไม่มีการนับว่าระบบสายส่งจากภาคกลางและจากมาเลเซียเป็นส่วนหนึ่งระบบการผลิต
2. แม้กระนั้นก็ตาม ในวันเวลาที่เกิดเหตุ (21 พ.ค.) ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดยังน้อยกว่า “กำลังผลิตไฟฟ้าในพื้นที่”ถึง 99 เมกะวัตต์ หรือมีสำรองเหลือประมาณ 5%
คราวนี้มาดูข้อมูลของปลัดกระทรวงพลังงานบ้าง
เราพบสิ่งที่น่าสังเกต 3 อย่างคือ
(1) ภาพซ้ายมือแสดงว่ามีระบบสายส่งจากภาคกลาง (ซึ่งถือเสมือนว่าเป็นกำลังการผลิต) 650 เมกะวัตต์ แต่ตารางทางขวามือก็ไม่ได้นำมาคิดรวม แต่ได้รวมระบบสายส่งจากมาเลเซียแล้ว กำลังผลิตไฟฟ้ารวมจึงเท่ากับ 2,415.7 เมกะวัตต์ทำไมเรื่องเดียวกันจึงมีสองวิธีคิด
(2) ไม่รวมโรงไฟฟ้ากังหันแก๊สสุราษฎร์ธานี 234 เมกะวัตต์ ในขณะที่ข้อมูลของสำนักงานนโยบายพลังงานได้คิดรวม
(3) โรงไฟฟ้าจะนะชุดที่ 2 ได้สร้างเสร็จแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2557 ในเอกสารนี้บอกว่ามีขนาด 766 เมกะวัตต์ แต่จากข้อมูลที่ทางการไฟฟ้าเผยแพร่พบว่ามีขนาด 800 เมกะวัตต์ด้วยเงินลงทุน 23,000 ล้านบาท (น่าจะไม่รวมค่าที่ดินเพราะได้ซื้อมาตั้งแต่โรงไฟฟ้าจะนะชุดที่ 1 แล้ว)
ดังนั้น หากยึดตามเอกสารของปลัดกระทรวงพลังงานและบวกด้วยไฟฟ้าที่ส่งมาจากภาคกลาง กังหันแก๊สจากสุราษฎร์ธานี และจากจะนะชุด 2 แล้ว
ภาคใต้จึงมีกำลังผลิตรวมทั้งระบบ 4,097.7 เมกะวัตต์
ในปี 2556 คนใน 14 จังหวัดภาคใต้ใช้ไฟฟ้ารวมกันจำนวน 14,140 ล้านหน่วยจากข้อมูลของทางราชการอ้างว่าการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้เพิ่มขึ้นปีละ 6% (ผมยังไม่ได้ตรวจสอบ) ดังนั้นเราสามารถคำนวณโดยคณิตศาสตร์เบื้องต้นได้ว่า
ถ้าเราไม่ใช้ไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซียเลย เพราะเขาคิดค่าไฟฟ้าแพงเกินความเป็นจริงหลายเท่าตัว เราพอคาดการณ์ได้ว่า ในปี 2558 ระบบไฟฟ้าในภาคใต้จะเดินเครื่องเฉลี่ยวันละ 11 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้นจำนวนชั่วโมงการทำงานดังกล่าว มันน้อยเกินไปหรือไม่ ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านสามารถใช้สามัญสำนึกคิดเองได้ดังกล่าว ว่ามันน้อยหรือมันมากเกินไป
(หมายเหตุ จากข้อมูลของผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงานท่านหนึ่งซึ่งเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตพบว่า มีโรงไฟฟ้าดีเซลในค่ายทหารอีก 26 เมกะวัตต์ ไม่ใช่เล็กๆ แต่ไม่ปรากฏอยู่ในเอกสารที่อ้างแล้ว)
คราวนี้มาถึงเรื่องสุดท้ายครับ
พลังงานแสงอาทิตย์ในอินเดีย
ปัจจุบัน 2557 ชาวอินเดียมีประมาณ 400 ล้านคน (จากทั้งหมดประมาณ 1,210 ล้านคน) ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ รัฐบาล NarendraModi ซึ่งชนะการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคมได้ประกาศทันทีว่าจะทำให้ชาวชนบท 400 ล้านคนได้ใช้ไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์
Nature ซึ่งเป็นวารสารรายสัปดาห์ด้านวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก(หอสมุดของมหาวิทยาลัยที่ผมเคยสอนรับเป็นประจำมาหลายสิบปีแล้ว) ฉบับต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ได้รายงานข้อมูลพื้นฐานว่า ในต้นปี 2557 การใช้แผงโซลาร์เซลล์ที่ต่อกับระบบสายส่งในอินเดียได้เพิ่มขึ้นเป็น2,028 เมกกะวัตต์ จาก 17.8 เมกะวัตต์เมื่อ 4 ปีก่อน หรือเพิ่มขึ้น 124 เท่าตัว
รัฐบาลกลางของอินเดียได้วางแผนเมื่อปี 2554 ว่าจะเพิ่มการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้ได้ 20,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2565 ซึ่งจากข้อมูลพลังงานแสงแดดคาดว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 1,700 ถึง 1,900 หน่วยต่อปีต่อหนึ่งกิโลวัตต์ นั่นคือสามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 34,000 ถึง 38,000 ล้านหน่วย (หมายเหตุ 14 จังหวัดภาคใต้ของไทยใช้ไฟฟ้าในปี 2556 เท่ากับ 14,140 ล้านหน่วย)
วารสารฉบับนี้ยังได้รายงานต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ว่า ได้ลดลงจากหน่วยละ 17 รูปี เมื่อ 3 ปีก่อน ลงมาเหลือ 7.5 รูปี (ประมาณ 3.98 บาท) ในขณะที่ต้นทุนจากถ่านหิน นิวเคลียร์และก๊าซธรรมชาติเท่ากับ 2.50, 3.0 และ 5.5 รูปี (หมายเหตุราคาถูกกว่าประเทศไทย!) ในขณะที่ราคาดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ราคาต้นทุนจากโซลาร์เซลล์กลับลดลง
อนึ่ง จากเอกสารที่ผมค้นเจอทราบว่า ถ่านหินที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าในอินเดียมาจากการผูกขาดของบริษัทของรัฐ โดยมีต้นทุนแค่ 44% ของราคาตลาดโลก ในขณะที่บริษัทค้าถ่านหินในประเทศไทยเป็นของเอกชน
เมื่อเดือนสิงหาคม 2557 คณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้าของนิวเดลี (Delhi Electricity Regulatorory Commission, DERC) ได้ออกระเบียบว่าด้วยการส่งเสริมการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา พร้อมกับคำแนะนำดังแผ่นภาพที่ผมนำมาเสนอในที่นี้ด้วย โดยสรุปก็คือมีการส่งเสริมทั้งบนหลังคาบ้านและสถานที่ราชการ
คำแนะนำเริ่มต้นจากการให้ตรวจสอบความแข็งแรงของหลังบ้าน ทิศทางของแสงแดด ให้ซื้อแผงจากบริษัทที่ได้ลงทะเบียนไว้กับทางราชการคือ Ministry of New and Renewable Energy, MNRE) แล้วจะสามารถได้รับการชดเชยการลงทุนถึง 30%
สำหรับระบบการรับซื้อไฟฟ้า ถ้าเป็นรายใหญ่จะต้องมีการเจรจาเป็นรายกรณี แต่สำหรับรายเล็กๆ บนหลังคา เท่าที่ผมเข้าใจก็ประมาณว่าให้สามารถชดเชยหรือพอคุ้มกับค่าไฟฟ้าที่ใช้ (For individuals, the energy they produce can offset their electricity bills.)
ประเด็นสำคัญเท่าที่ผมอ่านพบก็คือ ไม่มีการจำกัดจำนวน เช่นเดียวกับประเทศเยอรมนีซึ่งประสบผลสำเร็จมากที่สุดในโลก ในขณะที่ประเทศไทยเรามีการจำกัดจำนวน เช่น 100 เมกะวัตต์
สรุป
ผมอยากจะยกเหตุผลของทางราชการที่ว่า “การเลือกถ่านหินสะอาดก็เพราะมีค่าไฟฟ้าที่ต่ำหากเทียบกับเชื้อเพลิงอื่นๆ โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ลดลง”
คำว่าถ่านหินสะอาด เป็นวาทกรรมที่ทางราชการนำออกมาโฆษณา เป็นคำที่มีความหมายขัดแย้งกันเองเช่นเดียวกับว่า “เกลือหวาน” “ความน่าเกลียดที่สวยงาม” เป็นต้น
ในภาษาอังกฤษเขาเรียกคำที่มีความหมายขัดแย้งกันเองว่า oxymoron ซึ่งคำว่า “oxy” มาจากภาษากรีซที่แปลว่า แหลม หรือ คม ในขณะที่ “moron” เป็นภาษาอังกฤษแปลว่า “คนโง่” ดังนั้น ผมจึงเข้าใจเอาเองว่า “oxymoron” หมายถึง “โง่อย่างแหลมคม” (ย้ำ ในเครื่องหมายคำพูดสุดท้ายนี้ ผมตีความเอาเองนะครับ)
อดีตรองประธานาธิบดี Al Gore ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ วิจารณ์ว่า “ถ่านหินสะอาด” ก็คล้ายกับ “บุหรี่เพื่อสุขภาพ” ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงทั้งสองอย่างขณะนี้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดยังไม่มีอยู่จริงในโลก นักวิชาการประเมินว่าถ้าจะเป็นจริงก็ต้องไม่ก่อนปี 2030 โดยที่ต้นทุนการก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 70%
ในขณะนี้ต้นทุนแผงโซลาร์เซลล์ได้ลดต่ำลงมามากแล้ว ต้นทุนในอินเดียที่วารสาร Nature อ้างถึง ก็ถูกกว่าราคาไฟฟ้าที่คนไทยใช้อยู่ในขณะนี้
สิ่งที่ทางราชการไทยและพ่อค้าพลังงานในประเทศไทยไม่ยอมพูดก็คือ บริษัทผู้ค้าถ่านหินที่มีเหมืองอยู่ต่างประเทศเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการกำหนดนโยบายพลังงานของประเทศไทยมาตลอด เขาคิดอยู่อย่างเดียวคือจะขายถ่านหินที่ตนซื้อไว้แล้วเท่านั้นเองไม่ได้คิดถึงปัญหามลพิษต่อสุขภาพของชุมชน และแหล่งทรัพยากรที่เป็นฐานชีวิตของชาวบ้านแต่อย่างใด
ดังนั้นจึงสมแล้วที่นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย The Stuttgart University ของประเทศเยอรมนี ได้สรุปว่า “โรงไฟฟ้าถ่านหินคือฆาตกรเงียบ”
ก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน ในการรับฟังความคิดเห็นต่อโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่ขนาด 800 เมกะวัตต์ ผู้ที่คัดค้านจะถูกกองกำลังทั้งตำรวจและทหารกว่า 700 นายกีดกันไม่ให้เข้าร่วม ขณะเดียวกันทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยก็กำลังเริ่มกระบวนการที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลาอีก 2,000 เมกะวัตต์ โดยให้เหตุผลว่า “การใช้ไฟฟ้าภาคใต้มีการเติบโตทุกปีเฉลี่ย 6% แต่การผลิตได้น้อยกว่าความต้องการที่ผ่านมาเราจึงต้องส่งไฟจากภาคกลางผ่านระบบส่งไปป้อนให้ ดังนั้นเพื่อความมั่นคงและป้องกันไฟตกดับ จึงควรก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มและการเลือกถ่านหินสะอาดก็เพราะมีค่าไฟฟ้าที่ต่ำหากเทียบกับเชื้อเพลิงอื่นๆ โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ลดลงและต้องพึ่งพาก๊าซแอลเอ็นจีนำเข้าเพิ่มมากขึ้น” (สำนักข่าวไทย 2 ต.ค.57)
ในบทความนี้ ผมจะร้อยข้อเท็จจริงทั้งหมดตั้งแต่ความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้ากับต่างประเทศโดยยกเอากรณีระหว่างประเทศไทย-มาเลเซียมาเป็นตัวอย่าง พร้อมกับนำเสนอสถานการณ์ไฟฟ้าในภาคใต้ซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการแต่ไม่ตรงกับที่ปรากฏในสื่อมวลชน และสุดท้ายเพื่อให้คนไทยเราได้ทราบว่า ต่างประเทศเขามีแนวคิดในการแก้ปัญหาเรื่องไฟฟ้ากันอย่างไร ผมจึงขอยกสิ่งดีๆ จากประเทศอินเดียมานำเสนอครับ
เพราะนอกจากกลุ่มขุนนางพลังงานไทยได้ให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงแล้ว เขายังปิดหูปิดตาคนไทยทั้งประเทศเช่นเดียวกับที่เขากำลังทำกับชาวกระบี่ ชาวสงขลาและที่อื่นๆ ด้วย
กรณีความร่วมมือระหว่างประเทศไทย-มาเลเซีย
ความร่วมมือดังกล่าวได้เริ่มคิดมาตั้งแต่ปี 2513 บนฐานคิด 2 ประการคือ (1) เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของมาเลเซียกับภาคใต้ของประเทศไทยเกิดไม่พร้อมกัน ดังนั้นจึงควรจะมีการแลกไฟฟ้ากันในบางช่วงเวลา เขาใช้คำว่า Power Exchange ซึ่งหมายถึงการแลกไฟฟ้า (2) เพื่อลดโรงไฟฟ้าสำรองของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นหลักคิดที่ดีมากครับ ในทวีปยุโรปเขาก็ทำอย่างนี้
โครงการนี้ได้เริ่มลงมือก่อสร้างในปี 2540 ด้วยงบประมาณ 5 พันล้านบาท เป็นระบบสายส่งแรงดันสูงไฟฟ้ากระแสตรง (HVDC) ขนาด 300 เมกะวัตต์ ระยะยาว 110 กิโลเมตร และเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ 21 ธันวาคม 2545 หลังเหตุการณ์ตำรวจใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมคัดค้านโครงการโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาเพียงหนึ่งวัน
ผมเองเข้าใจมาตลอดว่าเป็นโครงการแลกเปลี่ยนไฟฟ้ากัน เมื่อสิ้นปีใครใช้มากกว่ากันก็จ่ายเงินเพิ่มเติมในราคาที่สมเหตุสมผล ถ้าเป็นราคาการผลิตในประเทศไทยต้นทุนก็ประมาณหน่วยละ 3.00- 4.00 บาทเพราะถือว่าเป็นความร่วมมือระหว่างเพื่อนบ้านแล้วต่างฝ่ายต่างก็ได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน
แต่จากหนังสือตอบของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (ที่ พน 0605/3838 ลงวันที่ 6 ส.ค. 56) ต่อประธานคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (ตามมาตรา 61 แห่งรัฐธรรมนูญ 2550) กลับเป็นคนละเรื่องกับที่ผมเคยเข้าใจครับ
เขาชี้แจงว่า เป็นการขายไฟฟ้าที่ต้องเสนอราคาล่วงหน้า 1 เดือน
ในกรณีไฟฟ้าดับใน 14 จังหวัดภาคใต้ เมื่อวันที่21 พฤษภาคม 2556 เวลาประมาณ 1 ทุ่ม ราคาที่ทางมาเลเซียเสนอมี 3 ราคา คือ PriceA 6.12 บาทต่อหน่วย priceB 6.93 บาทต่อหน่วย และ Price C 16.16 บาทต่อหน่วยซึ่งขณะเกิดไฟฟ้าดับในบ้านเรา เขาเสนอราคา 16.16 บาทต่อหน่วย
อนึ่ง การใช้ไฟฟ้าสูงสุดในภาคใต้ของไทยอยู่ที่เวลาประมาณ 1 ทุ่ม ดังนั้นแม้ว่าไม่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจนไฟฟ้าดับ ถ้าเราจะขอใช้ไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซียเพื่อลดภาระการสร้างโรงไฟฟ้าในยามปกติ เราก็ใช้ไม่คุ้มค่าอยู่ดี หรือถ้าสร้างโรงไฟฟ้าเองน่าจะดีกว่า
สิ่งที่ผมอยากจะถามก็คือ แล้วเรามีโครงการนี้ไว้ทำไม อุตส่าห์ลงทุนไปตั้ง 5 พันล้านบาท และที่อยากถามมากกว่านั้นก็คือ นี่หรือคือความร่วมมือระหว่างมิตรประเทศผมไม่เข้าใจ
นอกจากนี้ จากจดหมายฉบับดังกล่าวได้ชี้แจงอีกว่า “หลังจากไทยรับไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซียได้ 1.3 วินาที ระบบป้องกันสายส่ง HVDC ที่สถานีไฟฟ้ากูรูน ประเทศมาเลเซีย ทำงานผิดพลาดสั่งปลดสายส่ง HVDC ออก ทำให้ระบบไฟฟ้าของภาคใต้ขาดเสถียรภาพ ส่งผลให้ระบบเชื่อมโยงภาคกลาง-ภาคใต้ที่เหลืออยู่ ถูกปลดออกจากระบบโดยอัตโนมัติ”
เรียกว่าเมื่อระบบไฟฟ้าในประเทศไทยเกิดอุบัติเหตุฟ้าผ่าเวลา 17.26 น. (หลังจากระบบสายส่งบางส่วนได้ถูกปลดออกมาซ่อมบำรุงฉุกเฉิน หรือ unplanned ตั้งแต่เวลา 8.27 น.) ระบบไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซียก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้ ทั้งๆ ที่ทำงานผิดพลาด แต่โดยสัญญาไม่มีบทปรับระหว่างกัน
ผมไม่ได้มีเจตนาที่นำเรื่องนี้มาให้คนไทยไม่พอใจการไฟฟ้าประเทศมาเลเซีย แต่ผมต้องการให้มีการตรวจสอบและเปิดเผยสัญญาว่าทำกันอย่างไร มีการแก้ไขสัญญาหรือไม่
และที่สำคัญกว่านั้นก็คือต้องการจะเตือนพลเอกประยุทธ์ว่า ในการไปเยือนและทำสัญญากับต่างประเทศต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ
ผมเข้าใจว่า นี่คือสิ่งที่รัฐธรรมนูญ 2550 ได้บัญญัติไว้ (มาตรา 190) ว่าต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา เรียกว่าให้รัฐสภาได้กลั่นกรองตรวจสอบให้รอบคอบเสียก่อน ให้ประชาชนได้รับรู้ด้วย แต่นักการเมืองพยายามจะขอตัดออก
และนี่ก็คืออีกสาระสำคัญหนึ่งของเจตจำนงของประชาชนจนนำไปสู่การชุมนุมใหญ่ของประชาชน และกลายมาเป็นการรัฐประหารในที่สุด ผมว่าท่านประยุทธ์น่าจะจำเรื่องนี้ได้ดีนะครับ
กำลังการผลิตไฟฟ้าในภาคใต้ไม่พอจริงหรือ
เรื่องนี้มีความซับซ้อนที่ถูกทำให้สับสน ผมจึงต้องขอเวลาทำความเข้าใจกันสักนิดนะครับกล่าวคือ กำลังผลิตไฟฟ้าในภาคใต้ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ คือส่วนที่เป็นโรงไฟฟ้าจริงๆ กับระบบสายส่งเพื่อเตรียมรับไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซีย (ที่กล่าวมาแล้ว) กับที่รับจากภาคกลางผ่านระบบสายส่งด้วย
เราได้ลงทุนประมาณ 5 หมื่นล้านบาทเพื่อเปลี่ยนระบบสายส่งจากภาคกลางไปสู่ภาคใต้ให้เป็นระบบ 500 กิโลโวลต์ (kv) ซึ่งเพิ่งได้เปลี่ยนเสร็จไปเมื่อไม่กี่ปีมานี้ดังนั้น เราจึงต้องคิดว่าทั้ง 2 ส่วนดังกล่าวข้างต้นเป็นตัวผลิตไฟฟ้าของภาคใต้ด้วย ไม่ใช่ระบบสายตรงธรรมดา
เพราะเป็นแผนการที่รัฐบาลไทยได้ออกแบบและลงทุนไปจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถ้าเราไม่ยอมให้ไฟฟ้าที่ผลิตจากภาคกลาง (จังหวัดราชบุรี) ไปสู่ภาคใต้ นอกจากเราจะเสียเงินค่าสายส่ง 5 หมื่นล้านบาทแล้ว กำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าในภาคกลางก็จะเกินความจำเป็นมากขึ้นไปอีกจึงกลายเป็นว่าเราจะต้องสูญเสียเงินสองต่อ
คราวนี้เรามาดูว่า ข้าราชการในกระทรวงพลังงานให้ข้อมูลประชาชนว่าอย่างไร ทำไมข้อมูลเรื่องนี้ของภาคใต้จึงได้สับสนนักผมขอเริ่มจากข้อมูลในจดหมายที่อ้างถึงแล้ว
จากข้อมูลดังกล่าวมี 2 สิ่งที่น่าสนใจ คือ
1. ไม่มีการนับว่าระบบสายส่งจากภาคกลางและจากมาเลเซียเป็นส่วนหนึ่งระบบการผลิต
2. แม้กระนั้นก็ตาม ในวันเวลาที่เกิดเหตุ (21 พ.ค.) ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดยังน้อยกว่า “กำลังผลิตไฟฟ้าในพื้นที่”ถึง 99 เมกะวัตต์ หรือมีสำรองเหลือประมาณ 5%
คราวนี้มาดูข้อมูลของปลัดกระทรวงพลังงานบ้าง
เราพบสิ่งที่น่าสังเกต 3 อย่างคือ
(1) ภาพซ้ายมือแสดงว่ามีระบบสายส่งจากภาคกลาง (ซึ่งถือเสมือนว่าเป็นกำลังการผลิต) 650 เมกะวัตต์ แต่ตารางทางขวามือก็ไม่ได้นำมาคิดรวม แต่ได้รวมระบบสายส่งจากมาเลเซียแล้ว กำลังผลิตไฟฟ้ารวมจึงเท่ากับ 2,415.7 เมกะวัตต์ทำไมเรื่องเดียวกันจึงมีสองวิธีคิด
(2) ไม่รวมโรงไฟฟ้ากังหันแก๊สสุราษฎร์ธานี 234 เมกะวัตต์ ในขณะที่ข้อมูลของสำนักงานนโยบายพลังงานได้คิดรวม
(3) โรงไฟฟ้าจะนะชุดที่ 2 ได้สร้างเสร็จแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2557 ในเอกสารนี้บอกว่ามีขนาด 766 เมกะวัตต์ แต่จากข้อมูลที่ทางการไฟฟ้าเผยแพร่พบว่ามีขนาด 800 เมกะวัตต์ด้วยเงินลงทุน 23,000 ล้านบาท (น่าจะไม่รวมค่าที่ดินเพราะได้ซื้อมาตั้งแต่โรงไฟฟ้าจะนะชุดที่ 1 แล้ว)
ดังนั้น หากยึดตามเอกสารของปลัดกระทรวงพลังงานและบวกด้วยไฟฟ้าที่ส่งมาจากภาคกลาง กังหันแก๊สจากสุราษฎร์ธานี และจากจะนะชุด 2 แล้ว
ภาคใต้จึงมีกำลังผลิตรวมทั้งระบบ 4,097.7 เมกะวัตต์
ในปี 2556 คนใน 14 จังหวัดภาคใต้ใช้ไฟฟ้ารวมกันจำนวน 14,140 ล้านหน่วยจากข้อมูลของทางราชการอ้างว่าการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้เพิ่มขึ้นปีละ 6% (ผมยังไม่ได้ตรวจสอบ) ดังนั้นเราสามารถคำนวณโดยคณิตศาสตร์เบื้องต้นได้ว่า
ถ้าเราไม่ใช้ไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซียเลย เพราะเขาคิดค่าไฟฟ้าแพงเกินความเป็นจริงหลายเท่าตัว เราพอคาดการณ์ได้ว่า ในปี 2558 ระบบไฟฟ้าในภาคใต้จะเดินเครื่องเฉลี่ยวันละ 11 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้นจำนวนชั่วโมงการทำงานดังกล่าว มันน้อยเกินไปหรือไม่ ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านสามารถใช้สามัญสำนึกคิดเองได้ดังกล่าว ว่ามันน้อยหรือมันมากเกินไป
(หมายเหตุ จากข้อมูลของผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงานท่านหนึ่งซึ่งเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตพบว่า มีโรงไฟฟ้าดีเซลในค่ายทหารอีก 26 เมกะวัตต์ ไม่ใช่เล็กๆ แต่ไม่ปรากฏอยู่ในเอกสารที่อ้างแล้ว)
คราวนี้มาถึงเรื่องสุดท้ายครับ
พลังงานแสงอาทิตย์ในอินเดีย
ปัจจุบัน 2557 ชาวอินเดียมีประมาณ 400 ล้านคน (จากทั้งหมดประมาณ 1,210 ล้านคน) ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ รัฐบาล NarendraModi ซึ่งชนะการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคมได้ประกาศทันทีว่าจะทำให้ชาวชนบท 400 ล้านคนได้ใช้ไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์
Nature ซึ่งเป็นวารสารรายสัปดาห์ด้านวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก(หอสมุดของมหาวิทยาลัยที่ผมเคยสอนรับเป็นประจำมาหลายสิบปีแล้ว) ฉบับต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ได้รายงานข้อมูลพื้นฐานว่า ในต้นปี 2557 การใช้แผงโซลาร์เซลล์ที่ต่อกับระบบสายส่งในอินเดียได้เพิ่มขึ้นเป็น2,028 เมกกะวัตต์ จาก 17.8 เมกะวัตต์เมื่อ 4 ปีก่อน หรือเพิ่มขึ้น 124 เท่าตัว
รัฐบาลกลางของอินเดียได้วางแผนเมื่อปี 2554 ว่าจะเพิ่มการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้ได้ 20,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2565 ซึ่งจากข้อมูลพลังงานแสงแดดคาดว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 1,700 ถึง 1,900 หน่วยต่อปีต่อหนึ่งกิโลวัตต์ นั่นคือสามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 34,000 ถึง 38,000 ล้านหน่วย (หมายเหตุ 14 จังหวัดภาคใต้ของไทยใช้ไฟฟ้าในปี 2556 เท่ากับ 14,140 ล้านหน่วย)
วารสารฉบับนี้ยังได้รายงานต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ว่า ได้ลดลงจากหน่วยละ 17 รูปี เมื่อ 3 ปีก่อน ลงมาเหลือ 7.5 รูปี (ประมาณ 3.98 บาท) ในขณะที่ต้นทุนจากถ่านหิน นิวเคลียร์และก๊าซธรรมชาติเท่ากับ 2.50, 3.0 และ 5.5 รูปี (หมายเหตุราคาถูกกว่าประเทศไทย!) ในขณะที่ราคาดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ราคาต้นทุนจากโซลาร์เซลล์กลับลดลง
อนึ่ง จากเอกสารที่ผมค้นเจอทราบว่า ถ่านหินที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าในอินเดียมาจากการผูกขาดของบริษัทของรัฐ โดยมีต้นทุนแค่ 44% ของราคาตลาดโลก ในขณะที่บริษัทค้าถ่านหินในประเทศไทยเป็นของเอกชน
เมื่อเดือนสิงหาคม 2557 คณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้าของนิวเดลี (Delhi Electricity Regulatorory Commission, DERC) ได้ออกระเบียบว่าด้วยการส่งเสริมการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา พร้อมกับคำแนะนำดังแผ่นภาพที่ผมนำมาเสนอในที่นี้ด้วย โดยสรุปก็คือมีการส่งเสริมทั้งบนหลังคาบ้านและสถานที่ราชการ
คำแนะนำเริ่มต้นจากการให้ตรวจสอบความแข็งแรงของหลังบ้าน ทิศทางของแสงแดด ให้ซื้อแผงจากบริษัทที่ได้ลงทะเบียนไว้กับทางราชการคือ Ministry of New and Renewable Energy, MNRE) แล้วจะสามารถได้รับการชดเชยการลงทุนถึง 30%
สำหรับระบบการรับซื้อไฟฟ้า ถ้าเป็นรายใหญ่จะต้องมีการเจรจาเป็นรายกรณี แต่สำหรับรายเล็กๆ บนหลังคา เท่าที่ผมเข้าใจก็ประมาณว่าให้สามารถชดเชยหรือพอคุ้มกับค่าไฟฟ้าที่ใช้ (For individuals, the energy they produce can offset their electricity bills.)
ประเด็นสำคัญเท่าที่ผมอ่านพบก็คือ ไม่มีการจำกัดจำนวน เช่นเดียวกับประเทศเยอรมนีซึ่งประสบผลสำเร็จมากที่สุดในโลก ในขณะที่ประเทศไทยเรามีการจำกัดจำนวน เช่น 100 เมกะวัตต์
สรุป
ผมอยากจะยกเหตุผลของทางราชการที่ว่า “การเลือกถ่านหินสะอาดก็เพราะมีค่าไฟฟ้าที่ต่ำหากเทียบกับเชื้อเพลิงอื่นๆ โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ลดลง”
คำว่าถ่านหินสะอาด เป็นวาทกรรมที่ทางราชการนำออกมาโฆษณา เป็นคำที่มีความหมายขัดแย้งกันเองเช่นเดียวกับว่า “เกลือหวาน” “ความน่าเกลียดที่สวยงาม” เป็นต้น
ในภาษาอังกฤษเขาเรียกคำที่มีความหมายขัดแย้งกันเองว่า oxymoron ซึ่งคำว่า “oxy” มาจากภาษากรีซที่แปลว่า แหลม หรือ คม ในขณะที่ “moron” เป็นภาษาอังกฤษแปลว่า “คนโง่” ดังนั้น ผมจึงเข้าใจเอาเองว่า “oxymoron” หมายถึง “โง่อย่างแหลมคม” (ย้ำ ในเครื่องหมายคำพูดสุดท้ายนี้ ผมตีความเอาเองนะครับ)
อดีตรองประธานาธิบดี Al Gore ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ วิจารณ์ว่า “ถ่านหินสะอาด” ก็คล้ายกับ “บุหรี่เพื่อสุขภาพ” ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงทั้งสองอย่างขณะนี้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดยังไม่มีอยู่จริงในโลก นักวิชาการประเมินว่าถ้าจะเป็นจริงก็ต้องไม่ก่อนปี 2030 โดยที่ต้นทุนการก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 70%
ในขณะนี้ต้นทุนแผงโซลาร์เซลล์ได้ลดต่ำลงมามากแล้ว ต้นทุนในอินเดียที่วารสาร Nature อ้างถึง ก็ถูกกว่าราคาไฟฟ้าที่คนไทยใช้อยู่ในขณะนี้
สิ่งที่ทางราชการไทยและพ่อค้าพลังงานในประเทศไทยไม่ยอมพูดก็คือ บริษัทผู้ค้าถ่านหินที่มีเหมืองอยู่ต่างประเทศเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการกำหนดนโยบายพลังงานของประเทศไทยมาตลอด เขาคิดอยู่อย่างเดียวคือจะขายถ่านหินที่ตนซื้อไว้แล้วเท่านั้นเองไม่ได้คิดถึงปัญหามลพิษต่อสุขภาพของชุมชน และแหล่งทรัพยากรที่เป็นฐานชีวิตของชาวบ้านแต่อย่างใด
ดังนั้นจึงสมแล้วที่นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย The Stuttgart University ของประเทศเยอรมนี ได้สรุปว่า “โรงไฟฟ้าถ่านหินคือฆาตกรเงียบ”