xs
xsm
sm
md
lg

“โรงไฟฟ้าถ่านหิน” เป็นภัยต่อมนุษย์ทั่วโลก เสียงจากชาวต่างชาติที่หลงรักกระบี่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 

ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - นักท่องเที่ยวที่หลงเสน่ห์ความสวยงามของธรรมชาติ ตัดสินใจมาใช้ชีวิตทำงานอยู่ใน จ.กระบี่ เริ่มวิตกกังวล หลังรู้ข่าว กฟผ.มีแผนสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ ห่วงทำภาพลักษณ์จังหวัดกระบี่สิ้นมนต์ขลังด้านการท่องเที่ยว ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และทำลายวิถีชุมชน ชี้โรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ได้เป็นอันตรายแต่เฉพาะกับเมืองกระบี่ และประเทศไทย แต่อันตรายต่อคนทั้งโลก ขณะที่ครูสอนภาษาจากนอร์ท แคโรไลนา สหรัฐอเมริกา เผยรัฐนี้กำลังประสบปัญหาต่อการรั่วไหลของเถ้าถ่านหิน ต้องใช้งบประมาณแก้ไขกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ และยังไม่มีวิธีจัดการผลกระทบที่ยังจะตามมา

แผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ภาคใต้ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ.ซึ่งจากข้อมูลแผนพัฒนาภาคใต้พบว่า จะมีการก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 10 โรง แต่ที่เปิดเผยออกมาแล้วคือ โรงไฟฟ้าถ่านหิน ขนาด 870 เมกะวัตต์ ใน จ.กระบี่ ซึ่งมีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสียครั้งแรก วันที่ 12 ต.ค.2557 ขณะที่โรงไฟฟ้ากำลังการผลิตโรงละ 1,000 เมกะวัตต์ จำนวน 2 โรง ทาง กฟผ.กำหนดจะสร้างในพื้นที่ อ.เทพา จ.สงขลา และเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียครั้งแรก วันที่ 2 พ.ย.2557

โครงการนี้นอกจากจะสร้างความกังวลให้แก่ประชาชนในพื้นที่แล้ว ชาวต่างประเทศจำนวนมากซึ่งก่อนหน้านี้เป็นเพียงนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวพักผ่อนในแหล่งท่องเที่ยวทางฝั่งอันดามันของประเทศไทย แต่สุดท้ายกลับตัดสินใจทำงานถูกต้องตามกฎหมาย และใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ เนื่องจากมองว่าเป็นพื้นที่ที่ยังมีความบริสุทธิ์ เหมาะต่อการดำรงชีวิต โดยพวกเขาส่วนใหญ่เดินทางมาจากประเทศที่มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินมาก่อนแล้วหลายปี ซึ่งจากประสบการณ์ของพวกเขาพบว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อมนุษยชาติ ที่ต้องเผชิญโชคชะตาร่วมกัน โดยเฉพาะกับมลพิษที่เกิดจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่แม้ขณะนี้ก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้น ล่าสุด กับโรงไฟฟ้าถ่านหินในรัฐนอร์ท แคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา “ASTVผู้จัดการภาคใต้” มีโอกาสสัมภาณ์พิเศษ ติดตามอ่านบทสัมภาษณ์ และชมคลิปสัมภาษณ์ (ซับไตเติล) ได้จากคลิปวิดีโอ

Megan Wise

 Sawasdee ka

สวัสดีค่ะ
 
*** Sawasdee ka. Please introduce yourself

สวัสดีค่ะ ช่วยแนะนำตัวเองด้วย

My name is Megan Wise and I live in Krabi. I am a teacher and a local in a community

ฉันชื่อ เมแกน ไวส์ค่ะ อาศัยอยู่กระบี่ เป็นครู และเป็นคนของชุมชนด้วยนะคะ

*** How long have you been in Krabi and what attracts you here?
อยากทราบว่าอยู่จังหวัดกระบี่มานานแค่ไหนแล้ว และอะไรดึงดูดให้คุณมาที่นี่คะ

I’ve been living in Krabi for 2 years already. And I’m attracted to the natural beauty of Krabi, the kindness and the goodheartedness of the people. And probably the amazing food

ฉันมาอยู่กระบี่ได้ 2 ปีแล้วค่ะ ฉันรักความงามตามธรรมชาติของกระบี่ และความมีจิตใจดีของคนที่นี่ แล้วยังชอบอาหารที่อร่อยสุดๆ ด้วยค่ะ

*** Have you heard about the plan to build coal power plant in Krabi and what is your view about that?

ทราบเรื่องแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดกระบี่ไหมคะ คิดเห็นยังไงกับเรื่องนี้

I have heard about the coal power company coming in and creating new facilities here in Krabi. And from experience, I can say this is not something I look forward to. The effects of coal plant are typically negative for the direct community and the environment. And I think the environment should be of greater concern than having the possible profit from having the power

ฉันได้ยินเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในกระบี่ จากประสบการณ์ฉันบอกได้ว่านี่คือ ฉันไม่อยากพบเห็น เพราะผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหินต่อชุมชนรอบข้าง และสิ่งแวดล้อมนั้นปกติเป็นเชิงลบอยู่แล้ว ฉันเห็นว่าสิ่งแวดล้อมควรเป็นเรื่องที่คนให้ความสำคัญมากกว่าเรื่องกำไรที่อาจทำได้จากการผลิตไฟฟ้า

*** Anything else you’d like to add?

อยากเพิ่มเติมอะไรไหมคะ

Well, to me as I said before, on e of the first things that I notice in Krabi is the beautiful scenery. And my concern is that if a power company (plant) is built here, that some of the things that attract me here in the first place aren’t gonna be here anymore. And it won’t attract other people to come. For a power company…for a power plant like this, the lifespan of the last power plant was 30 years, and it was shut down. And often times that’s the case that the power plant itself lasts for a short time, but the effects of the power plant last for generations and generations.

อย่างที่ได้พูดไปแล้วนะคะว่า หนึ่งในสิ่งแรกๆ ที่ฉันเป็นจุดสนใจของฉันเมื่อมาถึงกระบี่คือทิวทัศน์ที่สวยงาม สิ่งที่ฉันกังวลคือ เมื่อมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่นี่ธรรมชาติที่สวยงามที่เป็นเหตุผลทำให้ฉันมาที่นี่จะไม่เหลืออยู่อีกต่อไป จะไม่มีอะไรดึงดูดให้คนมาเที่ยวอีก และสำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินถ่านหินแบบนี้ อายุการใช้งานของโรงไฟฟ้าโรงที่แล้วมีเพียง 30 ปี และก็ถูกปิดตัวลง (โรงไฟฟ้าลิกไนต์ กระบี่-ผู้แปล) โดยส่วนใหญ่แล้วโรงไฟฟ้ามักจะมีอายุการใช้งานสั้น ส่งผลกระทบต่อไปอีกเป็นเวลานานหลายชั่วอายุคน

In Krabi, tourism is one of the most important industries. So, I think it’s more important to focus on tourism as an industry because it’s a long time goal. A power plant may produce power and income/profit for a certain among of years but then it’s finished and you ruined a natural environment. Whereas if you take the time to make sure that all these natural beauties in Krabi are not affected by things like a power plant, you have an industry that will last generations after generations. And that’s more important. So I guess my biggest concern is, at the end of the day, what will future generation come to Krabi for: will they see the things that I’ve seen and will they fall in love with it the way that I did? And I think the answer is…if there’s a power plant affecting our environment, the answer will be no. They won’t see what I now see. And that will be really a devastating thing.

สำหรับจังหวัดกระบี่นั้น การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุด ฉันเลยคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ควรเป็นจุดเน้นหลักเพราะเป็นเป้าหมายระยะยาว โรงไฟฟ้านั้นอาจผลิตกระแสไฟฟ้า และสร้างรายได้กับผลกำไรให้เพียงไม่กี่ปี แต่ธรรมชาติกลับต้องถูกทำลาย แต่ถ้าคุณเพียงใส่ใจ และปกป้องธรรมชาติที่งดงามของกระบี่ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการสร้างโรงไฟฟ้าคุณก็จะมีอุตสาหกรรมที่จะยั่งยืนไปตราบลูกหลาน และนั่นเป็นสิ่งที่สำคัญกว่านะคะ ฉันคิดว่าสิ่งที่ฉันกังวลมากที่สุดก็คือ คนรุ่นต่อไปจะได้เห็นอะไรจะในกระบี่ พวกเขาจะได้เห็นสิ่งที่ฉันได้เห็นหรือเปล่า แล้วพวกเขาจะได้ตกหลุมรักกับกระบี่อย่างที่ฉันเคยเป็นไหม ฉันคิดว่าคำตอบคงเป็นคำว่า ไม่ ถ้าหากเรามีโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ คนรุ่นหลังคงไม่ได้เห็นในสิ่งที่ฉันได้เห็น และนั่นจะเป็นสิ่งที่น่าเศร้าใจมากค่ะ

*** Thank you very much.

ขอบคุณมากค่ะ

You’re welcome.

ยินดีค่ะ

Rhianon Clarke
 
Sawasdee ka.

สวัสดีค่ะ

*** Sawasdee ka. Please introduce yourself.

สวัสดีค่ะ ช่วยแนะนำตัวเองด้วย

My name is Rhianon Clarke and I’m a teacher here in Krabi town. I’ve been living here for almost 5 years now. And this is the place I call my home.

ฉันชื่อ รีอันนอน คลาร์ก ค่ะ เป็นครูสอนอยู่ในเมืองกระบี่ ฉันมาอยู่ที่นี่เกือบ 5 ปีแล้ว และที่นี่คือที่ที่ฉันเรียกว่าบ้าน

*** Well, calling Krabi home…what attracts you here and what makes you stay?

อยากรู้ว่าอะไรดึงดูดให้มาที่นี่ และอะไรทำให้อยู่ที่นี่จนเรียกกระบี่ว่าบ้านคะ

Initially like many, I came here on holiday but I just so easily felt in love with the place because of the people and the environment and the nature that surrounds the town…the nature that surrounds the whole province. That was why I came here and that’s why I stay and that’s why I’m here now

ตอนแรกก็เหมือนกับหลายๆ คนที่ฉันมาเที่ยวพักผ่อนที่กระบี่ แต่ฉันตกหลุมรักกับกระบี่อย่างง่ายดายมาก เพราะผู้คน และสิ่งแวดล้อม กับธรรมชาติที่รายล้อมตัวเมือง และธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวจังหวัด นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้ฉันมาที่นี่ในตอนแรกทำให้ฉันอาศัยอยู่ที่นี่ และเป็นเหตุผลที่ทำให้ฉันอยู่ตรงนี้ในตอนนี้ค่ะ

*** Have you heard about the plan to build coal power plant in Krabi and what is your view about that?

ทราบเรื่องแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดกระบี่ไหมคะ คิดเห็นยังไงกับเรื่องนี้

I have heard about it, I’ve heard about it a lot, especially recently and I just can’t see how a coal plant anywhere these days could be a positive thing. I mean we’re living in a much more modern era and I don’t think that we should be focusing on something like coal, which is something of the past. And considering like in Thailand, and the country is full of natural resources that we should be focusing more on instead of something like coal, which is something of the past.

ฉันได้ยินเรื่องนี้มาเยอะค่ะ โดยเฉพาะในช่วงหลังๆ นี้ แต่ฉันไม่เห็นว่าการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ว่าที่ไหนก็ตามจะเป็นเรื่องที่ดี ฉันหมายความว่าเราอยู่ในโลกยุคใหม่ และฉันไม่คิดว่าเราควรจะเน้นการใช้ถ่านหินซึ่งเป็นเรื่องของยุคอดีต เมื่อมาคิดถึงประเทศไทย ประเทศนี้เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่นๆ ที่ควรจะเป็นจุดเน้น และถูกให้ความสำคัญมากกว่าการใช้ถ่านหิน

*** Anything else you’d like to add?

อยากเพิ่มเติมอะไรไหมคะ
In my opinion, using coal is just gonna affect the country and this province in a negative way. I’m very nervous about what’s gonna happen to the tourism industry because it’s such a big part of the economy here and if that part of the economy is to be destroyed or affected in any negative ways, I’m worried about the future of the country, not just the province.

ในความคิดของฉันการใช้ถ่านหินจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อประเทศไทย และต่อจังหวัดกระบี่ ฉันค่อนข้างเป็นกังวลว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพราะมันเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจของกระบี่ ถ้าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถูกทำลาย หรือถูกกระทบในเชิงลบ ฉันก็รู้สึกเป็นห่วงถึงอนาคตของประเทศไทยด้วย ไม่ใช่ห่วงแต่จังหวัดกระบี่ค่ะ

*** Thank you very much.

ขอบคุณมากค่ะ
 

Joseph Ferrera

สวัสดีครับ

*** Sawasdee ka. Please introduce yourself.

สวัสดีค่ะ ช่วยแนะนำตัวเองด้วย

Yes, my name is Joseph Ferrera and I’m a teacher from the United States of America and I’m now currently teaching in Krabi. I teach in Anuban Krabi School. I teach Prathom 1

ครับ ผมชื่อโจเซฟ เฟอร์เรร่า และเป็นครูมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ตอนนี้ผมสอนอยู่โรงเรียนอนุบาลกระบี่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

*** How long have you been in Krabi and what attracts you here?

อยากทราบว่าอยู่ที่นี่มานานแค่ไหนแล้ว และอะไรดึงดูดให้คุณมาที่นี่คะ

I’ve been here for 6 and a half years. I first came to teach and I was attracted to Krabi by natural beauty, being close to the beaches and the mountains and the wildlife. And the people kept me here; now I’m happily married and have 2 kids

ผมอยู่ที่นี่มา 6 ปีครึ่งแล้ว ตั้งใจมาเพื่อสอนแล้วก็ได้เห็นเสน่ห์ของกระบี่ที่มีธรรมชาติที่สวยงาม อยู่ใกล้ทะเล ภูเขา และสัตว์ป่า อีกส่วนที่ทำให้ผมมีความสุขอยู่ที่นี่คือ คน ผมแต่งงานแล้ว มีลูก 2 คนครับ

*** Have you heard about the plan to build coal power plant in Krabi and what is your view about that?

แล้วทราบเรื่องแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดกระบี่ไหมคะ คิดเห็นยังไงกับเรื่องนี้

I heard about the plan and it deeply disturbs me first off. Let’s forget about the impact it’s gonna have on a natural beauty of this surrounding area of Thailand that brings people here…that initially brought me here. But what I’m more concerned about is the effects on global population. I think that with Thai political issue, I normally stay out. But, I don’t think this is a Thai issue or political issue. I think this is a global issue and it’s going to affect the citizen of the world. So, the coal power plant in Krabi is gonna affect the people on the other side of the world; my family in America is gonna be affected by it too. So I think we should all get involved and have our say

ผมรู้เรื่องแผนการสร้างนี้ และมันรบกวนจิตใจผมมาก ขอให้เราลืมเรื่องผลกระทบของถ่านหินต่อธรรมชาติที่สวยงามในบริเวณนี้ไปก่อน สิ่งที่ผมใส่ใจยิ่งไปกว่านั้นคือ ผลกระทบของถ่านหินต่อประชากรโลก ปกติแล้วผมจะไม่ยุ่งเรื่องการเมืองภายในของประเทศไทยนะครับ แต่ผมไม่คิดว่าถ่านหินเป็นเรื่องของแค่คนไทย หรือเป็นเรื่องการเมือง ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องของโลก และจะมีผลกระทบต่อพลเมืองโลกทั้งหมด การมีถ่านหินที่จังหวัดกระบี่สามารถกระทบต่อผู้คนในอีกซีกโลกได้ ครอบครัวของผมที่อเมริกาก็จะถูกกระทบไปด้วย ผมเลยคิดว่าเราทุกคนควรมีส่วนร่วมและออกความคิดเห็นกับเรื่องนี้

As people here have said before that coal is a dying use of power source, it is no longer an acceptable form of alternative energy. In fact, there are a lot of issues that can arise from making a coal power plant:

มีหลายคนเคยกล่าวไว้ว่า ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานที่กำลังจะตาย มันไม่ได้เป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่ได้รับการยอมรับอีกต่อไป อันที่จริงแล้วมีประเด็นปัญหาหลายเรื่องที่เกิดจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน เช่น
land issues, ปัญหาเรื่องที่ดิน
 
waste management -what are you gonna do with the waste? Who’s gonna control that? Who’s gonna be in charge of the waste management? There’s a whole lots of solid waste, let alone air pollution as well

ปัญหาการจัดการของเสีย คุณจะทำอย่างไรกับของเสีย ใครจะเป็นผู้ควบคุมและรับผิดชอบต่อการจัดการของเสีย เพราะโรงไฟฟ้าถ่านหินมีของเสียที่เป็นของแข็งเป็นชิ้นก็มาก นี่ยังไม่นับของเสียที่เป็นมลพิษทางอากาศนะครับ 

Water pollution, the beautiful species of fish and corals and sea life that are in Krabi area…coal is going to affect them. 

ปัญหามลพิษทางน้ำ ปลา และปะการังสวยงามรวมถึงทั้งหลายในทะเลกระบี่จะถูกกระทบจากถ่านหิน 

And the danger of the people that work on a coal mine or the people that mine it and bring it here. It’s gonna affect the people. My children are being raised in Krabi. They’re gonna grow up in Krabi…it provides 45 % of the energy alone last year but it emitted 80% of Carbon dioxide. It’ very unbalanced in my opinion. There’s a whole bunch of alternative source of energy that you can use. WHO has estimated that burning coal can shorten over a million lives annually and that’s over a quarter of life shorten in the States alone and that’s my home country. And this is what I’m talking about. 

แล้วก็ยังมีเรื่องอันตรายต่อคนงานเหมืองถ่านหิน และคนที่อยู่ในระหว่างการขนส่ง ถ่านหินจะส่งผลกระทบต่อผู้คนเช่นลูกๆ ของผมที่เกิด และจะเติบโตอยู่ที่กระบี่ ถ่านหินสร้างพลังงานได้เป็นจำนวน 45% ของพลังงานทั้งหมดแต่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 80% ในปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่สมดุลอย่างยิ่งในความเห็นของผม มีแหล่งพลังงานทางเลือกอีกมากมายที่เราสามารถใช้ได้ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ประมาณการว่า การเผาถ่านหินทำให้อายุขัยของคนร่วมล้านสั้นลง และนั่นก็มากกว่า 1 ใน 4 ของการลดอายุขัยของประชากรในประเทศสหรัฐฯ บ้านเกิดของผมเพียงประเทศเดียว 

It’s not an efficient use of energy anymore…less efficient than petroleum energy or natural gas, which are also fossil fuels. And it produces and emits more than double the amount of carbon dioxide than those sources do. Thailand is a beautiful country and it has a lot of alternative natural renewable energy sources: nuclear energy, solar energy, global thermal energy- geothermal, wind and tidal energy and turbine energy…these power sources that could be tap into. The dangers, let alone, are not worth the risk. Coal is the most environmentally damaging fossil fuel in my opinion. It emits carbon dioxide, tons of it,…nitrogen oxides (NOx) and sulfur dioxide (SO2); those 2 contribute to the atmosphere and mixes with the rain. And they produce acid rains which are not good for us. 

ถ่านหินไม่ใช่การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของถ่านหินมีน้อยกว่าพลังงานปิโตรเลียม หรือก๊าซธรรมชาติซึ่งก็เป็นเชื้อเพลิงจากฟอสซิล นอกจากนั้นถ่านหินยังผลิต และปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับแหล่งพลังงานอื่นๆ ประเทศไทยเป็นประเทศที่สวยงาม และมีแหล่งพลังงานหมุนเวียนทางเลือกมากมาย เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานลม พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง และพลังงานจากกังหันลม เป็นต้น พลังงานพวกนี้ต่างหากที่ควรนำมาใช้เพราะอันตรายจากถ่านหินมันได้ไม่คุ้มเสียนะครับ ในความคิดของผมถ่านหินเป็นพลังงานที่ทำร้ายธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในหมู่เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ถ่านหินปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำนวนมาก และยังปล่อยออกไซด์ของไนโตรเจน และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สองอย่างนี้จะส่งผลต่อชั้นบรรยากาศและเจือปนในฝน ทำให้เกิดฝนกรดซึ่งแย่มากสำหรับเราครับ 

There’s also particle matter, which is coal ash that will enter the atmosphere, which we breathe in and then it affects our lung and our health. It’s gonna shorten us. 

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องอนุภาค (หรือ particle) จากเถ้าถ่านหินที่จะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ เมื่อเราหายใจเข้าไปจะส่งผลต่อปอด และสุขภาพของเรา อายุของเราก็จะสั้นลงด้วย 

It’s also a radioactive effect: uranium, thorium, and other radioactive waste that are taken from sedimentary rock, which is coal, which comes through the earth. So there’s also radioactive risk. 
ที่จริงแล้วถ่านหินยังมีผลกระทบเกี่ยวกับด้านกัมมันตรังสีจากกากยูเรเนียม ธอร์เรียม และกากกัมมันตรังสีอื่นๆ ที่ได้จากหินชั้น หรือหินตะกอนซึ่งในที่นี้คือ ถ่านหิน จึงมีความเสี่ยงด้านกัมมันตรังสี 

So all these risks and the damage to the environment, it doesn’t seem worth it to produce the energy that is not even feasible/ possible. So who is benefiting and why? Actually can I quote something from Bangkok Post? This is yesterday’s Bangkok Post; so Thursday October, 9th , ok? And the reporter said that 
จากความเสี่ยง และผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมมันคงไม่คุ้มค่าที่เราจะผลิตพลังงานที่ไม่ได้มีความเป็นไปได้ ใครกันแน่ที่จะได้รับผลประโยชน์จากโรงไฟฟ้าถ่านหินนี้และทำไม ผมขอยกเอาข่าวจากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ฉบับเมื่อวานมาประกอบได้ไหมครับ นี่คือหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันพฤหัสที่ 9 ตุลานะครับ นักข่าว (Apinya Wipatayotin)เขียนไว้ว่า 

“According to Nationally Appropriate Mitigation Actions (NAMAs) under the United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCC), Thailand has made a commitment under its Climate Change Master Plan to reduce emissions of greenhouse gases by 7%-20% by 2020.” 

“อ้างอิงจากการจัดทำแผนปฏิบัติการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยวิธีที่เหมาะสม หรือ Nationally Appropriate Mitigation Actions (NAMAs) ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ประเทศไทยมีพันธสัญญาภายใต้แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 7% ถึง 20%” 

“The alternative energy development projects include renewable energy such as ethanol, biofuel and repowering electricity generation by the Electricity Generating Authority of Thailand. Thailand plans to increase use of alternative energy to 25% of total generating capacity, capable of generating 9,998 megawatts by 2020. Currently, Thailand has 4,763 megawatts of electricity generated by alternative energy. ” 

(ในข่าวอ้างอิงการสัมภาษณ์จาก ดร.บัณฑิต ลิ้มมีโชคชัย แห่งสถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติสิรินธรว่า) “โครงการพัฒนาพลังงานทางเลือกรวมเอาพลังงานหมุนเวียนเช่นพลังงานจากเอทานอล ชีวมวล ไว้รวมกับการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยประเทศไทยมีแผนจะเพิ่มการใช้พลังงานทางเลือกขึ้นเป็น 25% ของกำลังการผลิตททั้งหมด ซึ่งจะผลิตได้ 9,998 เมกะวัตต์ ในปี พ.ศ.2563 จากปัจจุบันผลิตได้ 4,763 เมกะวัตต์” 

“There is no problem with lowering emissions by 7%. But if we want to go to a 20% reduction, we need the government’s help.” That would include law enforcement, technology and financial support.” 
“ประเทศไทยไม่มีปัญหาในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 7% แต่หากเราต้องการจะให้ถึงเป้าการลดลงถึง 20% เราต้องได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล ซึ่งหมายถึงการบังคับใช้กฎหมาย ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี และการเงิน” 

I’d also like to add that it should include education. People are unaware of on the impacts that it might have on those who are living here. And if they were aware, they might be more adamant about stopping this damaging project. 

สำหรับผมก็อยากจะเพิ่มเติมเรื่องความช่วยเหลือด้านการศึกษาด้วย คนขาดความตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบที่ถ่านหินอาจก่อแก่คนในพื้นที่ ผมว่าถ้าคนมีความรู้ และเข้าใจก็อาจจะมีความเด็ดเดี่ยวมากกว่านี้ที่จะยืนหยัดต่อต้านถ่านหิน  
“If the country does nothing, it could be hurt economically, as reducing emissions will be widely used as a condition for trade in the future.”

“หากประเทศไทยไม่ทำอะไรจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ เนื่องจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะถูกนำมาเป็นข้อกำหนดในการค้าในอนาคต” 

According to this reporter in Bangkok Post. So that alone said it all. One last point is coal also has a mercury and if that gets release in the water, fish will digest it and then we eat the fish. So, there’s also a danger of mercury poisoning. It just seems logical to try in a 21st century to find an alternative energy source and save the beauty of Krabi and save the health of the local residence and the world.

ข้อความจาก ดร.บัณฑิต ลิ้มมีโชคชัย และนักข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์เป็นข้อสรุปที่ดีมากเกี่ยวกับเรื่องถ่านหิน ประเด็นสุดท้ายของผมก็คือ ถ่านหินมีสารปรอท ถ้าเกิดการปนเปื้อนในน้ำ ปลาจะปนเปื้อน แล้วเราก็จะกินปลาที่ปนเปื้อนสารปรอทและมีความเสี่ยงต่อการการรับพิษจากสารปรอท ผมว่ามันเป็นเรื่องสมเหตุสมผลมากนะครับในฐานะที่เราอยู่ในศตวรรษที่ 21 ที่เราจะหาพลังงานทางเลือก และเลือกที่จะปกป้องความงดงามของกระบี่เอาไว้ รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาวะของคนพื้นที่ และรักษาโลกของเราไว้ด้วยครับ

*** ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับ

Kerry Gallagher  

Sawasdee ka.

สวัสดีค่ะ

*** Sawasdee ka. Please introduce yourself.

สวัสดีค่ะ ช่วยแนะนำตัวเองด้วย 

Hi. My name is Kerry Gallagher and I come from North Carolina in America. 
ค่ะ ฉันชื่อแครี่ กัลลาเกอร์ มาจากรัฐนอร์ท แคโรไลนา ประเทศอเมริกา

*** How long have you been in Krabi and what attracts you here?

อยากทราบว่าอยู่จังหวัดกระบี่มานานแค่ไหนแล้ว และอะไรดึงดูดให้คุณมาที่นี่คะ 

I’ve been living here off and on for 6 years. I often stay in Krabi and then go home for a bit and come back. So I have the opportunity to constantly compare Krabi to home. And I stay here because I think Krabi is better for me. I love the people and the nature and the lifestyle. 

ฉันอาศัยอยู่ที่นี่แบบไปๆ มาๆ ได้ 6 ปีแล้วนะคะ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่กระบี่มากกว่า และกลับบ้านเป็นช่วงสั้นๆ แล้วก็กลับมาอยู่ที่กระบี่อีก ฉันเลยมีโอกาสที่จะเปรียบเทียบกระบี่กับบ้านที่รัฐนอร์ท แคโรไลนาอยู่ตลอด และฉันก็เลือกที่จะอาศัยอยู่ที่นี่เพราะคิดว่าสำหรับตัวฉันแล้วกระบี่ดีกว่าค่ะ ฉันรักผู้คนที่นี่ และธรรมชาติ แล้วก็วิถีชีวิตด้วย

*** Coming from USA, have you got any direct experience with coal power plant?

คุณมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา คุณเคยมีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินบ้างไหมคะ 

When I was a college graduate and looking for work, I campaigned in the state of North Carolina for anti-coal. At that time there were a number of respiratory diseases that were being caused to the local people in a mountain and the western part of the state…all from the coal power plant pollution. So I walked around and campaigned to teach people and asked them to sign petition to educate the North Carolinian about what’s going on in their city. 

สมัยที่ฉันเพิ่งเรียนจบปริญญา และกำลังหางานอยู่ได้เคยทำการรณรงค์ต่อต้านเรื่องถ่านหินที่รัฐนอร์ท แคโรไลนา ช่วงนั้นมีชาวเมืองที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษของโรงไฟฟ้าถ่านหินมาก ผู้คนบนภูเขา และทางแถบตะวันตกของรัฐประสบกับโรคทางเดินหายใจหลายโรคมาก ฉันเดินและรณรงค์เพื่อการให้ข้อมูลแก่ประชาชน และขอให้ลงรายชื่อเพื่อเรียกร้องในการให้การศึกษาและความรู้แก่ประชาชนในรัฐนอร์ท แคโรไลนาว่าเกิดอะไรขึ้นในเมืองของพวกเขาบ้าง

*** Is that because of the negative impact of the coal power plant?

ที่รณรงค์เพราะผลกระทบเชิงลบของโรงไฟฟ้าถ่านหินใช่ไหมคะ 

We wanted to educate people because of all the negative impacts. People have diseases, suffering from lung cancer, upper respiratory diseases as well as asthma. There on were massive negative effects on the environment, on the industries, and also on the small community. 

เราต้องการให้ความรู้แก่พี่น้องชาวนอร์ท แคโรไลนา เพราะผลกระทบเชิงลบหลายข้อค่ะ คนป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจหลายโรคมาก เช่น มะเร็งปอด โรคหอบหืด โรงไฟฟ้าถ่านหินส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมหาศาลต่อสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมธุรกิจต่างๆ แล้วก็ยังกระทบต่อชุมชนขนาดเล็กอีกด้วย

*** So what is the US or North Carolina government view on this?

แล้วรัฐบาลสหรัฐฯ หรือรัฐบาลของรัฐนอร์ท แคโรไลนามีความเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้บ้างคะ 

So currently in our state, it’s a big topic for discussion because North Carolina recently has coal ash spills into the river. In February 2014, 39,000 tons of potentially toxic coal ash poured into a local river. So the Duke Energy Company had admitted that they don’t know what the long term effect of this pollution is and they’ve invested in a 10 Million US Dollars clean up act to sort of try and fix the problem that they’ve caused. So the people that didn’t know in the past are now being educated because of the mistakes and the problems that come from coal power plant and it’s a very current issue in my state.

ตอนนี้เรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังเป็นข้อถกเถียงหลักในรัฐของฉันค่ะ เพราะว่ารัฐนอร์ท แคโรไลนาเพิ่งมีปัญหาการรั่วของเถ้าถ่านหินลงในแม่น้ำเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมานี้เอง ที่มีเถ้าถ่านหินที่น่าจะเป็นพิษไหลลงสู่แม่น้ำเป็นจำนวน 39,000 ตัน และบริษัท Duke Energy ได้ยอมรับว่าไม่ทราบถึงผลกระทบในระยะยาวของการรั่วของเถ้าถ่านหินนี้ และต้องลงทุนถึง 10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อพยายามเช็ดล้าง และแก้ปัญหาที่สร้างขึ้น ตอนนี้ผู้คนที่ไม่ได้รู้เรื่องถ่านหินในอดีตเลยได้เรียนรู้จากปัญหาและข้อผิดพลาดในการมีโรงไฟฟ้าถ่านหิน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่กำลังอยู่ในความสนใจของทุกๆ คนเป็นอย่างมากในรัฐนอร์ท แคโรไลนาค่ะ

*** Then, have you heard about the plan to build coal power plant in Krabi and what is your view about that?


แล้วทราบเรื่องแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดกระบี่ไหมคะ คิดเห็นยังไงกับเรื่องนี้ 

I have heard a lot about it. I know a lot of local people campaigning against this coal in Krabi. I view that it’s not a good idea to start a coal power plant here. I understand that my state has its problem with the coal power plant, but the plants are already built. We’re not talking about the building of new plant. We’re talking about solving the problem that the plant caused currently. Krabi has the opportunity to say no to coal and not put a power plant in a beautiful province. So I have heard about it. I know about it. I’m not a fan of it and I think that it’s a logical answer to say no to coal if you have just the basic facts. 

ฉันได้ยินเรื่องนี้มามากค่ะ ฉันรู้ว่าชาวบ้านคนกระบี่รณรงค์คัดค้านถ่านหิน สำหรับฉันคิดว่าการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มันไม่ใช่ความคิดที่ดีเลย เพราะฉันเข้าใจว่ารัฐของฉันพบปัญหาเพราะโรงไฟฟ้าถ่านหินมาแล้ว แต่โรงไฟฟ้าถ่านหินของเราก็สร้างได้ไปแล้ว เราไม่ได้พูดถึงแผน หรือสิ่งที่ยังไม่ได้สร้าง เราพูดถึงการแก้ปัญหาที่เกิดไปแล้วแต่กระบี่ยังมีโอกาสที่จะปฏิเสธถ่านหินและการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดที่สวยงามนี้ ใช่ค่ะ ฉันได้ยินและรับทราบเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ฉันไม่ปลื้มเกี่ยวกับเรื่องนี้ และคิดว่ามันเป็นเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลมากที่คุณจะปฏิเสธ และคัดค้านการใช้ถ่านหินได้แค่คุณได้รู้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับมัน

*** Anything else you’d like to add?

อยากเพิ่มเติมอะไรไหมคะ

I just believe that we’re in a 21st century and the information revolution has caused a lot of advances. So, I don’t know why we would resolve back to something from the industrial revolution. It’s an outdated practice. And we have more sustainable renewable energy resources here in Krabi. 

ฉันเชื่อว่าเราอยู่ในศตวรรษที่ 21 และมีความเจริญก้าวหน้าไปมากจากการปฏิวัติทางข้อมูลข่าวสาร ฉันเลยไม่เข้าใจว่าทำไมเราถึงอยากกลับไปใช้เทคโนโลยีจากสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งล้าสมัยไปแล้ว อีกอย่างเราก็มีทรัพยากรอีกมากมายในกระบี่ที่จะนำมาใช้เพื่อสร้างพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืนได้มากค่ะ

*** Last but not least, what do you think about “clean coal”?

สุดท้ายนี้มีความคิดเห็นอย่างไรต่อคำว่า “ถ่านหินสะอาด” บ้างคะ 

Well if anyone has ever touched coal, they know that there’s no such thing as clean coal. We’re discussing the issue…the fight right now is not to build the plant but what about when the plant’s built: who’s gonna regulate it, who’s gonna have enough knowledge to keep the coal as “clean” as possible. I grew up in rural island where my father coming from burning coal fire and I can tell you first hand: coal can never be clean. 

ถ้าใครก็ตามเคยได้สัมผัสกับถ่านหินจะรู้ได้เลยว่าถ่านหินสะอาดไม่มีอยู่จริง ตอนนี้เรากำลังถกเถียง กำลังต่อสู้กับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่ลองคิดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นถ้าเกิดการสร้างสิคะ ใครจะเป็นคนควบคุม และใครจะมีองค์ความรู้ที่เพียงพอในการทำให้ถ่านหิน “สะอาด” ฉันโตในเกาะที่ค่อนข้างห่างไกล พ่อของฉันก็มาจากการเผาถ่านหิน ฉันบอกคุณได้เลยจากประสบการณ์ตรงว่า ถ่านหินไม่มีวันสะอาด

*** Thank you very much. 

ขอบคุณมากค่ะ 

You’re welcome. 

ยินดีค่ะ
 
 
 


กำลังโหลดความคิดเห็น