xs
xsm
sm
md
lg

ไทย อาเซียน จีน 2015 (Thai-Eng)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: วริษฐ์ ลิ้มทองกุล



ต้นเดือนกันยายนที่ผ่าน ก่อนจะถึงเทศกาลไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ผมได้รับการเชิญชวนจากกรมสารนิเทศ กระทรวงต่างประเทศจีน ให้เดินทางไปเยือนกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เพื่อเข้าร่วมการประชุมเกี่ยวกับ “พัฒนาการและความร่วมมือของเว็บไซต์ข่าวในภูมิภาค” ซึ่งมีผู้บริหาร บรรณาธิการ และผู้รับผิดชอบเว็บไซต์ข่าวจากจีน และ 10 ประเทศในอาเซียน พร้อมกับตัวแทนจากสำนักงานเลขาธิการอาเซียน จากกรุงจากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซียอีกสองท่าน

การจัดการประชุมกลุ่มย่อยดังกล่าวมีผู้บริหารสื่อออนไลน์ยักษ์ใหญ่จากทั่วทั้งภูมิภาคเข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็นบรรณาธิการบริหารของเว็บไซต์เหลียนเหอเจ่าเป้าจากสิงคโปร์, ซีอีโอด้านมัลติมีเดียของกลุ่มสื่อภาษาจีน Sin Chew จากมาเลเซียที่มีเครือข่ายหนังสือพิมพ์-เว็บไซต์ข่าวภาษาจีนครอบคลุมทั่วโลก, หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจบริการอินเทอร์แอคทีฟของกลุ่มมีเดีย พรีมาแห่งมาเลเซีย, บรรณาธิการบริหารของเว็บไซต์ Rappler และ Inquirer ยักษ์ใหญ่ด้านสื่อออนไลน์จากฟิลิปปินส์ รวมไปถึงผู้บริหารระดับสูงของเว็บไซต์ข่าวจากทั้งอินโดนีเซีย บรูไน เวียดนาม ลาว กัมพูชา และพม่า

ข้อสังเกตที่ผมพบในการเข้าร่วมการประชุม และทำความคุ้นเคยรู้จักกับสื่อออนไลน์ในภูมิภาค ประการแรกคือ ภาษาอังกฤษยังเป็นภาษาสากลในการติดต่อสื่อสารของคนในภูมิภาคนี้ ขณะที่ภาษาจีนเริ่มถีบตัวกลายเป็นภาษาที่ 2 ในการติดต่อสื่อสารของคนภูมิภาคอย่างเป็นทางการ สังเกตได้จากตัวเลขของผู้เข้าร่วมการประชุม 7 คนจาก 22 คน หรือ ราว 1 ใน 3 สามารถใช้ภาษาจีนกลางในการสื่อสารได้อย่างดี

ในจำนวนผู้บริหารสื่อ 7 คน จาก 22 คนที่สามารถสื่อสารภาษาจีนได้นั้นมาจาก 5 ชาติหรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของสมาชิกอาเซียน ประกอบไปด้วยสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย รวมไปถึงพม่าและบรูไน

การจัดการประชุมกลุ่มย่อย และเวิร์กช็อปสื่อออนไลน์ครั้งนี้ของกรมสารนิเทศถือเป็นความก้าวหน้า และการดำเนินการเชิงรุกในการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลของประเทศในภูมิภาค และอาจกล่าวได้ว่าเป็นการเล็งเห็นความสำคัญของ “สื่อออนไลน์” ที่กำลังกลายเป็นสื่อกระแสหลัก (Mainstream Media) ซึ่งเข้ามามีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต กระบวนการในการสร้างความคิด ความเชื่อ ค่านิยม รวมถึงการสร้างความเข้าใจระหว่างผู้คนในภูมิภาค

ตัวผมเองในฐานะที่ทำงานด้านข่าวออนไลน์มา 14 ปี การริเริ่มการจัดการประชุมและแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์เว็บไซต์ข่าวออนไลน์ที่ทรงอิทธิพลในภูมิภาคครั้งนี้ของกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศจีนเช่นนี้ถือเป็นครั้งแรก โดยมีผู้บริหารเว็บไซต์ข่าวสารข้อมูลยักษ์ใหญ่ของจีนเข้าร่วมการประชุม หรือ การเยี่ยมชมแลกเปลี่ยนด้วยอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็น Sina.com, People.cn, Xinhuanet, Globaltimes.cn, Sohu.com รวมไปถึงนักวิชาการชั้นนำด้านสื่อสารมวลชนของจีน เช่น ศ.ดร.หลิว ฉ่าง คณบดีจากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยสื่อสารมวลชนแห่งประเทศจีน, หลิน จื้อโป ผู้สื่อข่าวและนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนชื่อดังของจีน

ทั้งนี้หากวัดจากจำนวนผู้เข้าชมทั้งหมดของเว็บไซต์ใหญ่ยักษ์ในภูมิภาคเหล่านี้ ก็อาจกล่าวได้ว่าครอบคลุมจำนวนผู้ชมหลายร้อยล้านคน และน่าจะแตะพันล้านคนในระยะเวลาอันใกล้นี้เสียด้วยซ้ำ

จากจำนวนประชากรทั้งหมดของทั้งอาเซียนและจีนที่มีรวมกว่า 1,900 ล้านคน ในระยะสั้นปัญหาที่สร้างความร้าวฉานที่สุดระหว่างอาเซียนและจีน ยังคงเป็นปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ (South China Sea) หรือที่จีนเรียกว่า หนานหยาง (南洋) ซึ่งนอกจากจีนและไต้หวันและมี 4 ชาติอาเซียนเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยคือ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย บรูไน ทั้งนี้คู่กรณีหลักของจีนก็คือ ฟิลิปปินส์และเวียดนาม

หากปัญหานี้มิได้มีการทำความเข้าใจกันอย่างกว้างขวางทั้งในเชิงการทูต การทหาร การเมือง และที่สำคัญการสร้างการรับรู้ข้อมูลอย่างเท่าเทียมของสาธารณะ ปัญหาก็อาจถูกยกระดับขึ้นเป็นวิกฤตได้ไม่ยาก เนื่องจากปัญหาเรื่องอาณาเขต พรมแดน ซึ่งเบื้องหลังก็คือการแย่งชิงและจัดสรรทรัพยากรนั้นเรื่องที่มีความอ่อนไหวต่อการหยิบโยงความเป็น “ชาตินิยม” ขึ้นมาเกี่ยวพันได้อย่างง่ายดาย มิว่าจะชาติใดก็ตาม รวมไปถึงรัฐบาลจีนที่แม้จะปกครองในระบบพรรคเดียว แต่ก็มีความจำเป็นต้องรักษาและเสริมสร้างคะแนนนิยมของตัวเองในหมู่ประชาชนเช่นกัน

ในจุดนี้เองที่ผมเห็นว่ารัฐบาลและกระทรวงต่างประเทศจีนเองเล็งเห็นหน้าที่และความสำคัญของอิทธิพลของสื่อและเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ในการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสาร รวมไปถึงการสร้างความเข้าใจร่วมกันว่าคนในภูมิภาคต้องการแก้ปัญหาที่อ่อนไหวเช่นนี้ด้วยสันติวิธี ขณะเดียวกันก็พยายามกระชับความสัมพันธ์กับสื่อในอาเซียนที่แต่ไหนแต่ไรมาค่อนข้างจะถูกครอบงำด้วยอิทธิพลของสื่อตะวันตก ให้เพิ่มน้ำหนักกับข้อมูลข่าวสารฝั่งจีนมากขึ้น

นายถาน ฉิงเซิง (檀勍生) นักการทูตระดับผู้บริหาร ตัวแทนจากกรมจีน-อาเซียน กล่าวยอมรับกับสื่อมวลชนจากอาเซียนว่า 3 สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องเร่งแก้ไขมิให้ “ปัญหา” ยกระดับขึ้นกลายเป็น “วิกฤต” ก็คือ หนึ่ง ต้องแก้ไขปัญหาการขาดความเชื่อถือ (Trust Deficit) ระหว่างกัน สอง จีนต้องมีอ่อนไหวและต้องทำเข้าใจต่อความกังวลของชาติอาเซียนให้มากขึ้น ไม่เฉพาะแต่ปัญหาเรื่องข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ ซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงการขยายแสนยานุภาพทางการทหารของจีน แต่ยังรวมถึงประเด็นอื่นๆ ทั้ง ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองด้วย

ขณะที่ เรื่องที่สาม ก็คือ การสร้างความเชื่อมั่น-เชื่อถือระหว่างกัน ระหว่างอาเซียน-จีน เพื่อลดการแทรกแซงจากประเทศมหาอำนาจอื่นที่พยายามเข้ามายุ่งเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ภายในภูมิภาค โดยแม้จะไม่มีเอ่ยชื่อว่าชาติใด แต่ทุกคนก็รับรู้ว่าคือสหรัฐอเมริกา

ในส่วนของประเทศไทยเอง แม้เราจะมิได้เป็นหนึ่งในคู่พิพาทกับจีนในปัญหาทะเลจีนใต้ แต่ปัญหาของการสื่อสารที่ขาดประสิทธิภาพ การสร้างความเข้าใจอย่างเร่งด่วนในหลายๆ เรื่อง รวมไปถึงปัญหาการเมืองภายในประเทศเราที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และน่าจะยังคงอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านในช่วงอีกหลายปีข้างหน้าก็กลายเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดการสื่อสารที่ผิดพลาด ซึ่งสร้างความเข้าใจที่ผิดพลาด และการตัดสินใจที่ผิดพลาดของผู้นำ นักธุรกิจ และประชาชนของสองชาติอยู่บ่อยครั้ง โดยประเด็นใหญ่ล่าสุดก็คือ ปัญหาโครงการข้าวสารแลกรถไฟความเร็วสูง (大米换高铁) ซึ่งมีการผูกปมกับรัฐบาลจีนไว้ในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ประเด็นเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องกล่าวถึง โดยผมจะใช้พื้นที่ในคอลัมน์นี้เพื่อการกล่าวถึงรายละเอียดต่อไป

Thailand-ASEAN-China Relations in 2015

Varit Limthongkul (林力)


Earlier this September, prior to the Chinese Moon Festival, I was invited by the Ministry of Foreign Affairs P.R.C. to visit Beijing to represent Thailand in a meeting on the “Regional Online News Media Development and Cooperation”. The meeting was organized by the Information Department, Ministry of Foreign Affairs P.R.C. with the objectives to exchange information and strength collaboration between the people working in the online news media in the region.

The meeting received much attention with participations from executives, editors and those who are responsible for online news from China and management of online media giants from and ten ASEAN countries along with two representatives from the ASEAN Secretariat in Jakarta, Indonesia. The participant list includes: executives from the China online giant websites such as Sina.com, People.cn, Xinhuanet, Globaltimes.cn, Sohu.com, a well known Chinese academics - Prof. Liu Chang (刘昶), Dean of the School of Journalism, Communication University of China - Mr.Lin Zhibo (林治波), journalists of People’s daily, chief editor of Lianhe Zaobao website, Singapore, CEO and general manager of company under Sin Chew media group, Malaysia, Head of Business Development & Interactive Services of Malaysia’s Media Prima Group, Philippines, executive editor of the news site, Rappler and Inquirer online, and senior management of news websites from Indonesia, Brunei, Vietnam, Laos, Cambodia and Myanmar.

During the meeting, I had gained much insight about development of online news across the region. The first thing that I noticed was that although English is still a universal language of communication for the people in this region, Chinese language has started to become the second language of communication. According to the number of participants in the meeting, 7 out of 22 people or one third of the participants can use Chinese language to communicate very well. These seven media executives were from Singapore, Malaysia, Thailand, Myanmar and Brunei which was five countries in total equaling half of the ASEAN members.

The meeting initiated by the Ministry of Foreign Affairs P.R.C. could be count as the progression and proactive implementation on information exchange in the region and also could be interpreted as a message that the Chinese government is very well aware of the importance of online media. The online media is currently becoming a mainstream media that are greatly affecting people's lifestyle, idea generating, beliefs and, values. It could also promote better understanding among people from the different geography.

Measuring the number of visitors to the giant regional websites, such websites have the audience coverage in the order of the hundreds of millions and this figure will reach the billion figure in the near futures.

At present, ASEAN and China which the combined population exceeded 1.9 billion people still have to deal with inter-regional relation issues. The most heated issue is the territorial disputes in the South China Sea. Apart from China and Taiwan, there are four ASEAN countries involved in the disputes: Philippines, Vietnam, Malaysia, Brunei with the main litigants of China in this issue is Philippines and Vietnam.

If such issue are not well widely discussed and aligned in the diplomatic, military, political levels, and facts are not distributed equally to public between ASEAN members and China, the problem might be easily elevated to a major crisis. As we all know that in every country and society, the issue of territorial conflict, which in the background is the competition for natural resources, is often linked with nationalism sentiment of people. Even for China who is politically governed by one-party system still has to maintain and enhance its own popularity among the public.

Under such circumstance, I notice that the Chinese government and the Ministry of Foreign Affairs P.R.C. recognized the influence and duty of media and online news sites to spread information and to increase mutual understanding between people within the region to help solve this sensitive problem by peaceful means. Knowing that the media in ASEAN has so long been dominated by the influence of the western media, China is taking an effort to strengthen the relationship with media in ASEAN and thus has asked us to pay more attention to information from China.

Mr. Tan Qingsheng (檀 勍 生), director for China-ASEAN division, department of ASEAN affairs, Ministry of Foreign Affairs P.R.C., also admitted to the ASEAN media delegations that there are three most important items that are needed to be rectified as soon as possible. First, we must resolve the problem of trust deficit between ASEAN and China. Second, Chinese must be more sensitive and need to pay more attention to concerns of the ASEAN countries, not only the issue on disputes in the South China Sea, which are linked to the expansion of China’s military force, but also others such as environmental, economic, social and political issues.

Third is to build trust between each other and to reduce intervention from other big powers that have tried to get involve with several regional issues. Although there was no mention of countries' name, but we all recognizes that the major one was the U.S.A.

For Thailand, although we do not have direct conflict with China in the South China Sea problem, but the problem of the lack of effective communications and an increase in understanding between two sides could not be neglected. Such area that needs communication improvements includes Thailand political transitions, which already last for several years and is likely to continue over the next several years. This local issue has created misunderstandings, which consequently has led to not only wrong decisions made by leaders from both countries, but also from the business and public sectors. The latest major issue that is needed to be resolved is the “Rice for High-speed Rail (大米 换 高 铁)” project, which the knot was tied by Yingluck Shinawatra’s government.

These matters worth our time to talk about and I will use this space to discuss the details further.



แฟ้มภาพ



นายถาน ฉิงเซิง (กลาง)
กำลังโหลดความคิดเห็น