สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน นำโดย นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมฯ พร้อมด้วยชาวบ้านที่พักอาศัยใน ซอยพหลโยธิน 8 (ซอยสายลม) ถ.พหลโยธิน กรุงเทพฯ ประมาณ 100 คน เข้ายื่นหนังสือร้องศาลปกครอง ระบุ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพญาไท เลขาธิการสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชนภายในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-4 ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้สั่งผู้ถูกฟ้องคดี ระงับ หรือเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างคอนโดดิเมโมเรีย-พหลโยธิน 8 ของบริษัท ดีเวล แกรนด์เอสเสท จำกัด รวมทั้งสั่งเพิกถอนความเห็นเกี่ยวกับรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)ของบริษัทฯ ที่เป็นเท็จ และให้ศาลสั่งให้ผู้ถูกฟ้องจัดให้มีวิธีการที่ให้ประชาชนในพื้นที่และผู้มีส่วนได้เสีย มีส่วนร่วมเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวก่อนที่จะมีการดำเนินโครงการต่อไป โดยในระหว่างพิจารณาคดี ขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา สั่งให้บริษัทดีเวลฯ หยุดการดำเนินการก่อสร้างโครงการไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา
ทั้งนี้ นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า การขออนุญาตก่อสร้างคอนโดดังกล่าว ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยพื้นที่ที่จะก่อสร้าง ขนาด 1 ไร่ 95 ตารางวา เป็นอาคาร 8 ชั้น ขนาด 128 ห้อง อยู่บริเวณกลางซอยพหลโยธิน 8 ซึ่งถนนซอยมีความกว้างเพียง 7 เมตรเท่านั้น และยังเป็นถนนส่วนบุคคล ไม่ใช่ถนนสาธารณะ จึงเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2522 อย่างชัดเจน อีกทั้งตามที่โครงการระบุ เมื่อสร้างแล้วเสร็จอาคารจะสามารถรองรับรถยนต์ของผู้พักอาศัยได้เพียงประมาณ 60 คัน ซึ่งหากทุกห้องมีรถส่วนตัว ที่จอดรถย่อมไม่เพียงพอ ต้องมีการนำมาจอดริมถนนในซอย ซึ่งปัจจุบัน การจราจรในซอยก็ติดขัดอยู่แล้ว เพราะถนนซอยเล็กและแคบ
นอกจากนี้ การทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อ้างว่า มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แต่เมื่อสอบถามประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย กลับไม่มีใครทราบเรื่องว่าจะมีก่อสร้างโครงการดังกล่าว โดยที่ผ่านมาชาวบ้านได้มีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนแล้ว แต่ก็กลับนิ่งเฉย
ด้าน น.ส.ริรินดา พูนพิพัฒน์ ตัวแทนชาวบ้าน กล่าวว่า ชาวบ้านที่พักอาศัยในซอยส่วนใหญ่จะอยู่กันมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรษ นับเริ่มโครงการ ชาวบ้านพยายามติดต่อไปยังบริษัทที่ก่อสร้าง เพื่อสอบถามว่าจะทำโครงการอะไร รวมทั้งขอให้บริษัทเชิญประชุมชาวบ้าน เพราะชาวบ้านไม่มั่นใจกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หากมีการก่อสร้างโครงการ อีกทั้งที่โครงการอ้างว่ามาสอบถามความเห็นชาวบ้านแล้ว เจอบ้านร้าง เจ้าของบ้านไปทำงานต่างจังหวัด ก็ไม่เป็นความจริง เวลานี้โครงการเริ่มมีการตอกเสาเข็มแล้ว ก็สร้างผลกระทบให้กับชาวบ้านที่พักอาศัยและโรงเรียนอนุบาล 3 แห่งในบริเวณใกล้เคียงอย่างมาก ทั้งเรื่องเสียงรบกวน เพราะคนงานเริ่มทำงานตั้งแต่ 07.00-22.00 น. โดยไม่มีวันหยุด ฝุ่นละออง และแรงสั่นสะเทือน ซึ่งที่บ้านฝ้าเพดานห้องเคยหล่นลงมาแล้ว
ทั้งนี้ นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า การขออนุญาตก่อสร้างคอนโดดังกล่าว ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยพื้นที่ที่จะก่อสร้าง ขนาด 1 ไร่ 95 ตารางวา เป็นอาคาร 8 ชั้น ขนาด 128 ห้อง อยู่บริเวณกลางซอยพหลโยธิน 8 ซึ่งถนนซอยมีความกว้างเพียง 7 เมตรเท่านั้น และยังเป็นถนนส่วนบุคคล ไม่ใช่ถนนสาธารณะ จึงเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2522 อย่างชัดเจน อีกทั้งตามที่โครงการระบุ เมื่อสร้างแล้วเสร็จอาคารจะสามารถรองรับรถยนต์ของผู้พักอาศัยได้เพียงประมาณ 60 คัน ซึ่งหากทุกห้องมีรถส่วนตัว ที่จอดรถย่อมไม่เพียงพอ ต้องมีการนำมาจอดริมถนนในซอย ซึ่งปัจจุบัน การจราจรในซอยก็ติดขัดอยู่แล้ว เพราะถนนซอยเล็กและแคบ
นอกจากนี้ การทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อ้างว่า มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แต่เมื่อสอบถามประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย กลับไม่มีใครทราบเรื่องว่าจะมีก่อสร้างโครงการดังกล่าว โดยที่ผ่านมาชาวบ้านได้มีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนแล้ว แต่ก็กลับนิ่งเฉย
ด้าน น.ส.ริรินดา พูนพิพัฒน์ ตัวแทนชาวบ้าน กล่าวว่า ชาวบ้านที่พักอาศัยในซอยส่วนใหญ่จะอยู่กันมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรษ นับเริ่มโครงการ ชาวบ้านพยายามติดต่อไปยังบริษัทที่ก่อสร้าง เพื่อสอบถามว่าจะทำโครงการอะไร รวมทั้งขอให้บริษัทเชิญประชุมชาวบ้าน เพราะชาวบ้านไม่มั่นใจกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หากมีการก่อสร้างโครงการ อีกทั้งที่โครงการอ้างว่ามาสอบถามความเห็นชาวบ้านแล้ว เจอบ้านร้าง เจ้าของบ้านไปทำงานต่างจังหวัด ก็ไม่เป็นความจริง เวลานี้โครงการเริ่มมีการตอกเสาเข็มแล้ว ก็สร้างผลกระทบให้กับชาวบ้านที่พักอาศัยและโรงเรียนอนุบาล 3 แห่งในบริเวณใกล้เคียงอย่างมาก ทั้งเรื่องเสียงรบกวน เพราะคนงานเริ่มทำงานตั้งแต่ 07.00-22.00 น. โดยไม่มีวันหยุด ฝุ่นละออง และแรงสั่นสะเทือน ซึ่งที่บ้านฝ้าเพดานห้องเคยหล่นลงมาแล้ว