ยังเป็นช่วงของการรายงานตัวของ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.)ที่ได้รับการแต่งตั้งเข้ามาจำนวนทั้งหมด 250 คน พร้อมมีการแสดงความคิดเห็นของสมาชิกหลายคนถึงแนวทางปฏิรูปในเรื่องสำคัญๆ ทั้งในเรื่องการปฏิรูประบบการเมือง การเข้าสู่อำนาจและการควบคุมการใช้อำนาจของนักการเมือง การปฏิรูประบบราชการ การปฏิรูปการศึกษา การกระจายอำนาจส่วนท้องถิ่น การปฏิรูปพลังงาน เป็นต้น
บางคนก็พูดไปตามน้ำ ทั้งในเรื่องของบุคคลที่จะมาเป็นประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ตอนนี้มีตัวเต็งคือ เทียนฉาย กีระนันทน์ อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เชื่อว่ามาจากสายที่ควบคุมอำนาจด้านกฎหมายในคณะรักษาความสงบแห่งชาติผ่านทาง วิษณุ เครืองาม ที่เวลานี้เป็นรองนายกรัฐมนตรีดูแลด้านกฎหมายทั้งหมด
อย่างไรก็ดีแม้ว่าตำแหน่งประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติจะมีการความสำคัญเพราะต้องควบคุมทิศทางการปฏิรูปที่กำหนดเอาไว้จำนวน 11 ด้าน ให้เสร็จทันกำหนด ต้องใช้คนที่ไว้ใจได้ และมีแนวทางไปในด้านเดียวกัน แต่ขณะเดียวกันต้องไม่ลืมว่ายังมีอีกตำแหน่งหนึ่งที่ถือว่าสำคัญไม่แพ้กัน และในทางการเมืองในระบบใหญ่ก็คือประธานคณะกรรมธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2558 ซึ่งตอนนี้ไม่ว่าใครก็เริ่มฟันธงตรงกันล่วงหน้าแล้วว่าต้องเป็น "บวรศักดิ์ อุวรรณโณ" เพราะนอกจากถือว่าเป็น "สายตรง"จากศูนย์กลางอำนาจแล้ว ด้วยคุณสมบัติส่วนตัวก็ต้องยอมรับว่า "มีความเชี่ยวชาญ"มีความสามารถทางด้านกฎหมายครบเครื่อง ที่สำคัญถือว่าเป็น "มือร่างกฎหมาย"และ "ร่างรัฐธรรมนูญ"มาแล้วหลายฉบับ อีกทั้งด้วยภูมิหลังประสบการณ์ทำงาน ปัจจุบันเป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า พิจารณาจากประสบการณ์ก็ต้องบอกว่า "รอบตัว"ขณะเดียวกันเมื่อทอดตามองไปเวลานี้บอกตามตรงว่ายังไม่เห็นใครที่เหมาะเท่ากับเขา
แต่หากเคาะออกมาแล้วเป็น บวรศักดิ์ อุวรรณโณ จริงๆ รับรองว่าเป็นเรื่องที่ชวนติดตามกันแบบเกาะติดแน่นอน เพราะหากจำกันได้ ระหว่างการสัมนาทางวิชาการครั้งหนึ่งก่อนหน้านี้ หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พศ.2557 ได้ไม่นาน เขาได้"ชี้ให้ดูมาตรา 35 "ว่าจะเป็นกรอบในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรต่อไป ซึ่งอีกสักครู่จะมาว่ากันในรายละเอียดของมาตราดังกล่าวที่เกี่ยวโยงกับมาตราที่เกี่ยวข้อง แต่ความหมายหลักก็คือจะเป็นการ"บล็อก"นักการเมืองเก่าออกจากสารบบไปได้หลายร้อยคน เรียกว่าล้างบางกันเลยทีเดียว
ถัดมาไม่นาน คำนูณ สิทธิสมาน อดีต สว.ปัจจุบันได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านกฎหมาย เคยตั้งข้อสังเกตให้เห็นโดยอธิบายให้เห็นภาพมาแล้ว คือจาก มาตรา 8(4) มาตรา 20(4) และมาตรา 35(4)
เริ่มจากมาตรา 8(4) ที่ระบุคุณสมบัติต้องห้ามของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ว่า"เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง" ซึ่งเชื่อได้ว่าจะโยงไปถึงรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่จะยกร่างกันใหม่จะต้องกำหนดให้ครอบคลุมไปถึง สส.สว.รวมทั้งรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าวอีกด้วย หมายความว่าคนที่มีคุณสมบัติต้องห้ามแบบนี้จะถูกห้ามเข้าสู่การเมืองไปตลอดชีวิต
กลุ่มนักการเมืองที่จะต้องได้รับผลกระทบโดยตรงหากเป็นแบบนี้ก็คือพวกบ้านเลขที่ 111 พวกบ้านเลขที่ 109 นั่นก็หมายความว่า ทักษิณ ชินวัตร บรรหาร ศิลปอาชา สุวัจน์ ลิปตพัลลภ พินิจ จารุสมบัติ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นต้น จะต้องถูกกันออกไป
นอกจากนี้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ยังเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศนี้อีกเช่นกันที่มีบทบัญญัติกำหนดกรอบบังคับการออกแบบรัฐธรรมนูญถาวรเอาไว้ในมาตรา 35 ที่เรียกกันว่าบัญญัติ 10 ประการ “The Ten Commandments” เพราะมีอยู่ 10 อนุมาตรา
ในมาตรา 35 (4) ระบุไว้ว่ารัฐธรรมนูญถาวรจะต้องมีบทบัญญัติดังนี้
"กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทําการอันทําให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม เข้าดํารงตําแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด"
กรอบตามมาตรา 35 (4) ตรงคำว่า “คำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย..” หากรวมถึงคำวินิจฉัยชี้มูลความผิดขององค์กรอิสระอย่างปปช.และกกต.ด้วยแล้ว ยังจะเป็นการตัดสิทธินักการเมืองไปได้อีกเป็นร้อยทีเดียว รวมทั้งอดีตประธานสภา 2 สภาและอดีตนายกรัฐมนตรีคนล่าสุด แปลว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรที่ ป.ป.ช.มีคำสั่งชี้มูลความผิดแล้วก็จะถูกตัดสิทธิด้วยหรือไม่
นั่นเป็นข้อสังเกตของ คำนูณ สิทธิสมาน ฟันธงว่ากรอบของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พศ.2558 จะต้องเดินตามกรอบ รัฐธรรมนูญชั่วคราว พศ.2557 ซึ่งต่อมาแม้กระทั่ง สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)ก็ได้ออกมากล่าวทำนองเดียวกันว่ารัฐธรรมนูญที่ร่างใหม่ต้องเดินไปทางนี้
ดังนั้นเมื่อหันกลับมาพิจารณาตัวบุคคลที่จะมาเป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หากเป็นชื่อ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ที่เข้าใจความหมายของ รัฐธรรมนูญมาตรา 35 เป็นอย่างดี เพราะเคยชี้ช่องให้ดูมาแล้ว ทุกอย่างก็ต้องเดินไปตามทางที่ว่า แต่ปัญหาก็คือปฏิกิริยาจากพวกนักการเมืองเขี้ยวลากดินพวกนี้มันจะยอมหรือไม่ เพราะตลอดชีวิตใช้การเมืองทำมาหารับประทาน ไม่ตายไม่เลิกแล้วจะป่วนหรือไม่ !!
บางคนก็พูดไปตามน้ำ ทั้งในเรื่องของบุคคลที่จะมาเป็นประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ตอนนี้มีตัวเต็งคือ เทียนฉาย กีระนันทน์ อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เชื่อว่ามาจากสายที่ควบคุมอำนาจด้านกฎหมายในคณะรักษาความสงบแห่งชาติผ่านทาง วิษณุ เครืองาม ที่เวลานี้เป็นรองนายกรัฐมนตรีดูแลด้านกฎหมายทั้งหมด
อย่างไรก็ดีแม้ว่าตำแหน่งประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติจะมีการความสำคัญเพราะต้องควบคุมทิศทางการปฏิรูปที่กำหนดเอาไว้จำนวน 11 ด้าน ให้เสร็จทันกำหนด ต้องใช้คนที่ไว้ใจได้ และมีแนวทางไปในด้านเดียวกัน แต่ขณะเดียวกันต้องไม่ลืมว่ายังมีอีกตำแหน่งหนึ่งที่ถือว่าสำคัญไม่แพ้กัน และในทางการเมืองในระบบใหญ่ก็คือประธานคณะกรรมธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2558 ซึ่งตอนนี้ไม่ว่าใครก็เริ่มฟันธงตรงกันล่วงหน้าแล้วว่าต้องเป็น "บวรศักดิ์ อุวรรณโณ" เพราะนอกจากถือว่าเป็น "สายตรง"จากศูนย์กลางอำนาจแล้ว ด้วยคุณสมบัติส่วนตัวก็ต้องยอมรับว่า "มีความเชี่ยวชาญ"มีความสามารถทางด้านกฎหมายครบเครื่อง ที่สำคัญถือว่าเป็น "มือร่างกฎหมาย"และ "ร่างรัฐธรรมนูญ"มาแล้วหลายฉบับ อีกทั้งด้วยภูมิหลังประสบการณ์ทำงาน ปัจจุบันเป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า พิจารณาจากประสบการณ์ก็ต้องบอกว่า "รอบตัว"ขณะเดียวกันเมื่อทอดตามองไปเวลานี้บอกตามตรงว่ายังไม่เห็นใครที่เหมาะเท่ากับเขา
แต่หากเคาะออกมาแล้วเป็น บวรศักดิ์ อุวรรณโณ จริงๆ รับรองว่าเป็นเรื่องที่ชวนติดตามกันแบบเกาะติดแน่นอน เพราะหากจำกันได้ ระหว่างการสัมนาทางวิชาการครั้งหนึ่งก่อนหน้านี้ หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พศ.2557 ได้ไม่นาน เขาได้"ชี้ให้ดูมาตรา 35 "ว่าจะเป็นกรอบในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรต่อไป ซึ่งอีกสักครู่จะมาว่ากันในรายละเอียดของมาตราดังกล่าวที่เกี่ยวโยงกับมาตราที่เกี่ยวข้อง แต่ความหมายหลักก็คือจะเป็นการ"บล็อก"นักการเมืองเก่าออกจากสารบบไปได้หลายร้อยคน เรียกว่าล้างบางกันเลยทีเดียว
ถัดมาไม่นาน คำนูณ สิทธิสมาน อดีต สว.ปัจจุบันได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านกฎหมาย เคยตั้งข้อสังเกตให้เห็นโดยอธิบายให้เห็นภาพมาแล้ว คือจาก มาตรา 8(4) มาตรา 20(4) และมาตรา 35(4)
เริ่มจากมาตรา 8(4) ที่ระบุคุณสมบัติต้องห้ามของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ว่า"เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง" ซึ่งเชื่อได้ว่าจะโยงไปถึงรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่จะยกร่างกันใหม่จะต้องกำหนดให้ครอบคลุมไปถึง สส.สว.รวมทั้งรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าวอีกด้วย หมายความว่าคนที่มีคุณสมบัติต้องห้ามแบบนี้จะถูกห้ามเข้าสู่การเมืองไปตลอดชีวิต
กลุ่มนักการเมืองที่จะต้องได้รับผลกระทบโดยตรงหากเป็นแบบนี้ก็คือพวกบ้านเลขที่ 111 พวกบ้านเลขที่ 109 นั่นก็หมายความว่า ทักษิณ ชินวัตร บรรหาร ศิลปอาชา สุวัจน์ ลิปตพัลลภ พินิจ จารุสมบัติ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นต้น จะต้องถูกกันออกไป
นอกจากนี้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ยังเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศนี้อีกเช่นกันที่มีบทบัญญัติกำหนดกรอบบังคับการออกแบบรัฐธรรมนูญถาวรเอาไว้ในมาตรา 35 ที่เรียกกันว่าบัญญัติ 10 ประการ “The Ten Commandments” เพราะมีอยู่ 10 อนุมาตรา
ในมาตรา 35 (4) ระบุไว้ว่ารัฐธรรมนูญถาวรจะต้องมีบทบัญญัติดังนี้
"กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทําการอันทําให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม เข้าดํารงตําแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด"
กรอบตามมาตรา 35 (4) ตรงคำว่า “คำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย..” หากรวมถึงคำวินิจฉัยชี้มูลความผิดขององค์กรอิสระอย่างปปช.และกกต.ด้วยแล้ว ยังจะเป็นการตัดสิทธินักการเมืองไปได้อีกเป็นร้อยทีเดียว รวมทั้งอดีตประธานสภา 2 สภาและอดีตนายกรัฐมนตรีคนล่าสุด แปลว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรที่ ป.ป.ช.มีคำสั่งชี้มูลความผิดแล้วก็จะถูกตัดสิทธิด้วยหรือไม่
นั่นเป็นข้อสังเกตของ คำนูณ สิทธิสมาน ฟันธงว่ากรอบของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พศ.2558 จะต้องเดินตามกรอบ รัฐธรรมนูญชั่วคราว พศ.2557 ซึ่งต่อมาแม้กระทั่ง สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)ก็ได้ออกมากล่าวทำนองเดียวกันว่ารัฐธรรมนูญที่ร่างใหม่ต้องเดินไปทางนี้
ดังนั้นเมื่อหันกลับมาพิจารณาตัวบุคคลที่จะมาเป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หากเป็นชื่อ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ที่เข้าใจความหมายของ รัฐธรรมนูญมาตรา 35 เป็นอย่างดี เพราะเคยชี้ช่องให้ดูมาแล้ว ทุกอย่างก็ต้องเดินไปตามทางที่ว่า แต่ปัญหาก็คือปฏิกิริยาจากพวกนักการเมืองเขี้ยวลากดินพวกนี้มันจะยอมหรือไม่ เพราะตลอดชีวิตใช้การเมืองทำมาหารับประทาน ไม่ตายไม่เลิกแล้วจะป่วนหรือไม่ !!