ASTVผู้จัดการรายวัน-“ประจิน”ชงครม.ขอเพิ่มงบก่อสร้างรถไฟสีแดงอีก 8.1 พันล.ไม่เกินสัปดาห์หน้า ยอมรับต้องปรับแผนก่อสร้างเพื่อเร่งรัดงาน เหตุล่าสุดงานสุดอืดช้ากว่าแผนค่อนข้างมาก แต่ยังเชื่องานโยธาจะเสร็จในปี 60 ส่วนเดินรถจะช้าไปอีก 1 ปี เปิดได้ปี 61 พร้อมสั่งบขส.เร่งสรุปความชัดเจนย้ายสถานีหมอชิตใหม่ภายในปีนี้ เล็ง ออกนอกเมืองย่านรังสิต ล้มแนวคิดกลับหมอชิตเก่า (เดปโป้) ชี้อยู่ในเมืองไม่เหมาะ
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต วันวานนี้ (13 ต.ค.) ว่า กรณีการปรับแบบเพื่อให้สถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางรางรองรับระบบรางมาตรฐาน 1.435 เมตร ทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 8,140 ล้านบาท นั้นจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติได้ไม่เกินสัปดาห์หน้า หลังจากนั้นจะเร่งรัดการปรับแผนงานทั้งหมดเพื่อให้การก่อสร้างดินหน้าได้ตามสัญญา คาดว่าจะแล้วเสร็จใกล้เคียงแผนงาน โดยจะต้องนำเทคนิคการก่อสร้างที่จะช่วยเร่งรัดงานให้เร็วขึ้นมาใช้ โดยเป้าหมายการก่อสร้างงานโยธาจะต้องแล้วเสร็จในปี 2560 และเปิดเดินรถได้ในปี 2561
ส่วน พื้นที่สถานีขนส่งกรุงเทพ (หมอชิตใหม่) ซึ่งเป็นจุดก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีแดงนั้น เบื้องต้นคณะทำงานของกระทรวงคมนาคมได้เห็นชอบแนวทางการย้ายหมอชิตใหม่ออกไปใน 2 พื้นที่ตามผลการศึกษาคือบริเวณ ถ.วิภาวดี ขาเข้าและขาออกเหนือฟิวเจอร์ปาร์ครังสิตออกไปโดยให้ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เร่งศึกษาสรุปรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องค่าที่ดินและรูปแบบของสถานีภายในปีนี้ และจะต้องย้ายภายใน 1-2 ปีนี้ พร้อมกันนี้ ให้บขส.ศึกษาความชัดเจนในการใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณหมอชิตเก่า ประมาณ 1แสนตารางเมตร ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า บีทีเอส ว่ามีความเหมาะสมในการใช้รองรับเฉพาะรถบขส.สายสั้นหรือรองรับช่วงเทศกาลที่มีความคับคั่งในสถานีหลัก แต่ไม่สามารถทำเป็นสถานีหลักได้เพราะอยู่ในเมืองมากเกินไปจะเกิดความแออัด อีกทั้งล่าสุด ทางร.ฟ.ท.ได้ปรับแบบสถานีกลางบางซื่อโดยไม่มีพื้นที่สำหรับสถานี บขส.เลย ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้ทำหนังสือสงวนสิทธิ์การใช้พื้นที่บริเวณหมอชิตเก่าไปถึงกรมธนารักษ์แล้ว ในส่วนที่ต้องประสานกับหน่วยงานภายนอก เช่นไฟฟ้า ประปา เรียบร้อยแล้วเหลือการย้ายท่อน้ำมันของบริษัท Fuel Pipeline Transportation (FPT) ที่ต้องเจรจาเพิ่มเดิมเรื่องภาระค่ารื้อย้ายและการบรรจบท่อที่จะทำการวางตำแหน่งใหม่ ส่วน
สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟสายสีแดง ระยะทาง 26.3 กม. สัญญาที่ 1 (งานโยธาสำหรับสำหรับสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง มูลค่า 29,826,973,512 บาท ค่าก่อสร้างงานปรับเพิ่มเติม 4,315 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้าเอสยู (บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และบมจ.ยูนิค เอ็นจินเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น) เป็นผู้รับเหมา เริ่มสัญญา 4 มีนาคม 2556- 10 กุมภาพันธ์2560 (1,440 วัน)มีความก้าวหน้า 12.80% ล่าช้ากว่าแผน 13.34% (แผนงานกำหนด 26.14%) สัญญาที่ 2 (งานโยธาสำหรับทางรถไฟบางซื่อ-รังสิต) มูลค่า 21,235,400,000 บาท ค่าก่อสร้างงานปรับเพิ่มเติม 3,352 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้รับเหมา เริ่มสัญญา 4 มีนาคม 2556 -10 กุมภาพันธ์ 2560 (1,440วัน) มีความก้าวหน้า 21.10% ล่าช้ากว่าแผน 41.52% (แผนงานกำหนด 62.62%) ส่วนสัญญาที่ 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) มูลค่า 27,926 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานปรับเพิ่มเติม 473 ล้านบาทอยู่ในขั้นตอนการประกวดราคา
ทั้งนี้ ตามแผนจะเปิดเดินรถไฟสายสีแดงได้ในปี 2560 คาดว่าจะจำนวนผู้โดยสาร 1.29 แสนคนต่อวัน และในปี 2585 ผู้โดยสารจะเพิ่มเป็น 2.32 แสนคนต่อวัน เนื่องจากเมื่อโครงการแล้วเสร็จรถไฟสายสีแดง บริเวณสถานีกลางบางซื่อ จะเป็นศูนย์การคมนาคมที่มีการเชื่อมต่อทั้งระบบรถไฟฟ้า รถไฟชานเมืองและรถไฟทางไกล รถเมล์ รวมถึงเชื่อมกับระบบทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกได้อีกด้วย
โดยจุดเริ่มต้นโครงการจาก กม.6+000 บริเวณสามแยกประดิพัทธ์ ไปตามแนวทางรถไฟในเส้นทางสายเหนือ ผ่านจตุจักร บางเขน หลังสี่ ดอนเมือง สิ้นสุดที่สถานีรังสิต โดยเป็นทางยกระดับจากบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 19.2 กม. และระดับพื้นดินจากสถานีดอนเมือง-สถานีรังสิต ระยะทาง 7.1 กม. รองรับการเดินรถไฟ 3 ระบบ ได้แก่ รถไฟทางไกล รถไฟฟ้าชานเมือง รถไฟขนส่งสินค้า และเชื่อมต่อกับรถไฟชานเมืองสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน)
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต วันวานนี้ (13 ต.ค.) ว่า กรณีการปรับแบบเพื่อให้สถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางรางรองรับระบบรางมาตรฐาน 1.435 เมตร ทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 8,140 ล้านบาท นั้นจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติได้ไม่เกินสัปดาห์หน้า หลังจากนั้นจะเร่งรัดการปรับแผนงานทั้งหมดเพื่อให้การก่อสร้างดินหน้าได้ตามสัญญา คาดว่าจะแล้วเสร็จใกล้เคียงแผนงาน โดยจะต้องนำเทคนิคการก่อสร้างที่จะช่วยเร่งรัดงานให้เร็วขึ้นมาใช้ โดยเป้าหมายการก่อสร้างงานโยธาจะต้องแล้วเสร็จในปี 2560 และเปิดเดินรถได้ในปี 2561
ส่วน พื้นที่สถานีขนส่งกรุงเทพ (หมอชิตใหม่) ซึ่งเป็นจุดก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีแดงนั้น เบื้องต้นคณะทำงานของกระทรวงคมนาคมได้เห็นชอบแนวทางการย้ายหมอชิตใหม่ออกไปใน 2 พื้นที่ตามผลการศึกษาคือบริเวณ ถ.วิภาวดี ขาเข้าและขาออกเหนือฟิวเจอร์ปาร์ครังสิตออกไปโดยให้ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เร่งศึกษาสรุปรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องค่าที่ดินและรูปแบบของสถานีภายในปีนี้ และจะต้องย้ายภายใน 1-2 ปีนี้ พร้อมกันนี้ ให้บขส.ศึกษาความชัดเจนในการใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณหมอชิตเก่า ประมาณ 1แสนตารางเมตร ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า บีทีเอส ว่ามีความเหมาะสมในการใช้รองรับเฉพาะรถบขส.สายสั้นหรือรองรับช่วงเทศกาลที่มีความคับคั่งในสถานีหลัก แต่ไม่สามารถทำเป็นสถานีหลักได้เพราะอยู่ในเมืองมากเกินไปจะเกิดความแออัด อีกทั้งล่าสุด ทางร.ฟ.ท.ได้ปรับแบบสถานีกลางบางซื่อโดยไม่มีพื้นที่สำหรับสถานี บขส.เลย ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้ทำหนังสือสงวนสิทธิ์การใช้พื้นที่บริเวณหมอชิตเก่าไปถึงกรมธนารักษ์แล้ว ในส่วนที่ต้องประสานกับหน่วยงานภายนอก เช่นไฟฟ้า ประปา เรียบร้อยแล้วเหลือการย้ายท่อน้ำมันของบริษัท Fuel Pipeline Transportation (FPT) ที่ต้องเจรจาเพิ่มเดิมเรื่องภาระค่ารื้อย้ายและการบรรจบท่อที่จะทำการวางตำแหน่งใหม่ ส่วน
สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟสายสีแดง ระยะทาง 26.3 กม. สัญญาที่ 1 (งานโยธาสำหรับสำหรับสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง มูลค่า 29,826,973,512 บาท ค่าก่อสร้างงานปรับเพิ่มเติม 4,315 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้าเอสยู (บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และบมจ.ยูนิค เอ็นจินเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น) เป็นผู้รับเหมา เริ่มสัญญา 4 มีนาคม 2556- 10 กุมภาพันธ์2560 (1,440 วัน)มีความก้าวหน้า 12.80% ล่าช้ากว่าแผน 13.34% (แผนงานกำหนด 26.14%) สัญญาที่ 2 (งานโยธาสำหรับทางรถไฟบางซื่อ-รังสิต) มูลค่า 21,235,400,000 บาท ค่าก่อสร้างงานปรับเพิ่มเติม 3,352 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้รับเหมา เริ่มสัญญา 4 มีนาคม 2556 -10 กุมภาพันธ์ 2560 (1,440วัน) มีความก้าวหน้า 21.10% ล่าช้ากว่าแผน 41.52% (แผนงานกำหนด 62.62%) ส่วนสัญญาที่ 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) มูลค่า 27,926 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานปรับเพิ่มเติม 473 ล้านบาทอยู่ในขั้นตอนการประกวดราคา
ทั้งนี้ ตามแผนจะเปิดเดินรถไฟสายสีแดงได้ในปี 2560 คาดว่าจะจำนวนผู้โดยสาร 1.29 แสนคนต่อวัน และในปี 2585 ผู้โดยสารจะเพิ่มเป็น 2.32 แสนคนต่อวัน เนื่องจากเมื่อโครงการแล้วเสร็จรถไฟสายสีแดง บริเวณสถานีกลางบางซื่อ จะเป็นศูนย์การคมนาคมที่มีการเชื่อมต่อทั้งระบบรถไฟฟ้า รถไฟชานเมืองและรถไฟทางไกล รถเมล์ รวมถึงเชื่อมกับระบบทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกได้อีกด้วย
โดยจุดเริ่มต้นโครงการจาก กม.6+000 บริเวณสามแยกประดิพัทธ์ ไปตามแนวทางรถไฟในเส้นทางสายเหนือ ผ่านจตุจักร บางเขน หลังสี่ ดอนเมือง สิ้นสุดที่สถานีรังสิต โดยเป็นทางยกระดับจากบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 19.2 กม. และระดับพื้นดินจากสถานีดอนเมือง-สถานีรังสิต ระยะทาง 7.1 กม. รองรับการเดินรถไฟ 3 ระบบ ได้แก่ รถไฟทางไกล รถไฟฟ้าชานเมือง รถไฟขนส่งสินค้า และเชื่อมต่อกับรถไฟชานเมืองสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน)