น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. เปิดเผยว่า ในการประชุม คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) ที่จะมีขึ้นในวันนี้ (13ต.ค.) ควรจับตาวาระการอนุมัติ ผังรายการหลักของช่อง 3 ในระบบความคมชัดปกติ และ ช่อง 3 Family ที่ส่งเข้ามาให้กรรมการพิจารณาอีกครั้ง หลังจากที่มีการแก้ไขปรับปรุงผังตามข้อเสนอแนะของกรรมการแล้ว และเป็นที่น่าจับตา ช่องเด็ก เยาวชนและครอบครัว ทั้ง 3 ช่อง ที่ขณะนี้ยังไม่ได้รับอนุมัติผังรายการจากกรรมการ เนื่องจากมีการวางผังที่ยังไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการประกอบกิจการประเภทนี้ ซึ่งในเงื่อนไขใบอนุญาต ผู้ประกอบการจะต้องนำเสนอรายการส่งเสริมการเรียนรู้ การศึกษาสาขาวิทยาการต่างๆ รวมถึงรายการสาระ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน หรือ ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีของสมาชิกในครอบครัว โดยที่เนื้อหารายการ และเวลาการออกอากาศรายการ จะต้องมีความปลอดภัย และเหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชน และต้องไม่มีเนื้อหาที่แสดงออกถึงความรุนแรง ผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย หรือใช้ภาษาที่หยาบคาย และคำนึงถึงความเท่าเทียมและโอกาสของเด็ก และเยาวชนทุกกลุ่มในสังคม ซึ่งเร็วๆ นี้ สำนักงาน กสทช. จะเชิญผู้รับใบอนุญาตมาหารือ เพื่อชี้แจงแนวทางการทำผังรายการ และเนื้อหารายการที่เหมาะสมกับเด็ก เยาวชน และครอบครัว
"ในหลายๆประเทศที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของเด็ก และเยาวชน จึงมีโทรทัศน์ที่เป็นช่องรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัวโดยเฉพาะ สำหรับประเทศไทยนับเป็นความก้าวหน้าของฟรีทีวี ที่มีช่องรายการดังกล่าวเป็นการเฉพาะ แต่ทั้ง 3 ช่องหมวดหมู่ เด็ก เยาวชน และครอบครัว เสนอผังรายการเข้ามามีแต่รายการระดับความเหมาะสม “ท.”ทั้งหมด ไม่มีรายการสำหรับเด็กที่จัดระดับความเหมาะสม “ด.”หรือ“ป.” จึงต้องหารือเพื่อปรับปรุงอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวร่วมกับผู้แทนองค์กรเด็ก เยาวชน จะไปเยี่ยมช่อง 9 Family ในวันอังคารนี้ เป็นแห่งแรก หลังจากนั้น จะเป็นช่อง 3 family และ LOCA เป็นลำดับถัดไป เพื่อร่วมกันหาแนวทางพัฒนา และสร้างสรรค์รายการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการมีช่องรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว" น.ส.สุภิญญา กล่าว
นอกจากนี้ ยังมีวาระที่บริษัท ซีทีเอช เคเบิล ทีวี จำกัด ขออุทธรณ์คำสั่ง กสท. กรณีให้ระงับการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค โดยผู้ร้องใช้บริการจานรับสัญญาณดาวเทียมของ บริษัท ซีทีเอช เคเบิล ทีวี จำกัด แบบบริการเหมาจ่าย 10 เดือน ดูได้ 12 เดือน แต่ถูกตัดสัญญาณก่อนครบกำหนดสัญญา โดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า ซึ่งถือเป็นการกระทำผิดตามประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาฯ พ.ศ. 2556 ข้อ 30 กำหนดว่า
"...ผู้ให้บริการ มีสิทธิระงับการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก เป็นการชั่วคราวต่อผู้ใช้บริการก็ได้ โดยแจ้งเป็นหนังสือ พร้อมทั้งระบุเหตุในการใช้สิทธิดังกล่าว ให้แก่ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน เว้นแต่กรณี ผู้ใช้บริการผิดนัดชำระค่าบริการเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ ในสัญญาสองคราวติดต่อกัน กรณีดังกล่าวพบว่า เป็นปัญหาที่ผู้บริโภคอาจพบได้ เพราะมีการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างชัดเจน ดังนั้นกรณีอุทธรณ์คำสั่งของ บริษัท ซีทีเอช ครั้งนี้ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคยืนความผิดตาม มาตรา 31 เช่นเดิม และเสนอเข้าพิจารณาใน กสท. วันจันทร์นี้ด้วย และฝากเตือนผู้รับใบอนุญาตโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก ให้เคร่งครัดในการดำเนินการตามมาตรฐานสัญญา หากผู้บริโภคที่เป็นสมาชิกได้รับความเดือดร้อนจากการถูกเอาเปรียบ ขอให้แจ้งมายังสำนักงาน กสทช. โทร. 1200 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย"
สำหรับเรื่องร้องเรียนที่เข้ามายัง กสท. จำนวนมากในช่วงนี้ เป็นเรื่องของกล่องดาวเทียมรุ่นเก่าบางรุ่น ที่ไม่สามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้ ต้องติดอุปกรณ์บางตัวเพิ่ม จึงจะสามารถรับชมได้ตามปกติ ทั้งนี้ บริษัทพยายามแก้ปัญหาให้ผู้บริโภคแต่ละรายแล้ว แต่ยังคงมีเรื่องร้องเรียนมาอย่างต่อเนื่อง คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ จึงจะเชิญผู้ประกอบการกล่องดาวเทียมมาหารือแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อน จากการรับชมโทรทัศน์
ส่วนวาระที่อื่นๆ ที่น่าจับตา ได้แก่ การขอผ่อนผันการจัดลำดับบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป ของเคเบิลท้องถิ่นที่เป็นระบบอนาล็อก เนื่องจากไม่สามารถนำพาสัญญาณทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่อง ให้ประชาชนได้รับชมได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางเทคนิค และสำนักงานฯ ได้เสนอ กสท. ให้ความเห็นชอบรายงานผลการศึกษาแผนการเริ่มระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิตอลด้วย
"ในหลายๆประเทศที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของเด็ก และเยาวชน จึงมีโทรทัศน์ที่เป็นช่องรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัวโดยเฉพาะ สำหรับประเทศไทยนับเป็นความก้าวหน้าของฟรีทีวี ที่มีช่องรายการดังกล่าวเป็นการเฉพาะ แต่ทั้ง 3 ช่องหมวดหมู่ เด็ก เยาวชน และครอบครัว เสนอผังรายการเข้ามามีแต่รายการระดับความเหมาะสม “ท.”ทั้งหมด ไม่มีรายการสำหรับเด็กที่จัดระดับความเหมาะสม “ด.”หรือ“ป.” จึงต้องหารือเพื่อปรับปรุงอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวร่วมกับผู้แทนองค์กรเด็ก เยาวชน จะไปเยี่ยมช่อง 9 Family ในวันอังคารนี้ เป็นแห่งแรก หลังจากนั้น จะเป็นช่อง 3 family และ LOCA เป็นลำดับถัดไป เพื่อร่วมกันหาแนวทางพัฒนา และสร้างสรรค์รายการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการมีช่องรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว" น.ส.สุภิญญา กล่าว
นอกจากนี้ ยังมีวาระที่บริษัท ซีทีเอช เคเบิล ทีวี จำกัด ขออุทธรณ์คำสั่ง กสท. กรณีให้ระงับการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค โดยผู้ร้องใช้บริการจานรับสัญญาณดาวเทียมของ บริษัท ซีทีเอช เคเบิล ทีวี จำกัด แบบบริการเหมาจ่าย 10 เดือน ดูได้ 12 เดือน แต่ถูกตัดสัญญาณก่อนครบกำหนดสัญญา โดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า ซึ่งถือเป็นการกระทำผิดตามประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาฯ พ.ศ. 2556 ข้อ 30 กำหนดว่า
"...ผู้ให้บริการ มีสิทธิระงับการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก เป็นการชั่วคราวต่อผู้ใช้บริการก็ได้ โดยแจ้งเป็นหนังสือ พร้อมทั้งระบุเหตุในการใช้สิทธิดังกล่าว ให้แก่ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน เว้นแต่กรณี ผู้ใช้บริการผิดนัดชำระค่าบริการเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ ในสัญญาสองคราวติดต่อกัน กรณีดังกล่าวพบว่า เป็นปัญหาที่ผู้บริโภคอาจพบได้ เพราะมีการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างชัดเจน ดังนั้นกรณีอุทธรณ์คำสั่งของ บริษัท ซีทีเอช ครั้งนี้ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคยืนความผิดตาม มาตรา 31 เช่นเดิม และเสนอเข้าพิจารณาใน กสท. วันจันทร์นี้ด้วย และฝากเตือนผู้รับใบอนุญาตโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก ให้เคร่งครัดในการดำเนินการตามมาตรฐานสัญญา หากผู้บริโภคที่เป็นสมาชิกได้รับความเดือดร้อนจากการถูกเอาเปรียบ ขอให้แจ้งมายังสำนักงาน กสทช. โทร. 1200 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย"
สำหรับเรื่องร้องเรียนที่เข้ามายัง กสท. จำนวนมากในช่วงนี้ เป็นเรื่องของกล่องดาวเทียมรุ่นเก่าบางรุ่น ที่ไม่สามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้ ต้องติดอุปกรณ์บางตัวเพิ่ม จึงจะสามารถรับชมได้ตามปกติ ทั้งนี้ บริษัทพยายามแก้ปัญหาให้ผู้บริโภคแต่ละรายแล้ว แต่ยังคงมีเรื่องร้องเรียนมาอย่างต่อเนื่อง คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ จึงจะเชิญผู้ประกอบการกล่องดาวเทียมมาหารือแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อน จากการรับชมโทรทัศน์
ส่วนวาระที่อื่นๆ ที่น่าจับตา ได้แก่ การขอผ่อนผันการจัดลำดับบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป ของเคเบิลท้องถิ่นที่เป็นระบบอนาล็อก เนื่องจากไม่สามารถนำพาสัญญาณทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่อง ให้ประชาชนได้รับชมได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางเทคนิค และสำนักงานฯ ได้เสนอ กสท. ให้ความเห็นชอบรายงานผลการศึกษาแผนการเริ่มระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิตอลด้วย