นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยกำหนดการเยือนสาธารณะรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์ อย่างเป็นทางการ ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ระหว่างวันที่ 9-10 ต.ค. ว่า ในวันที่ 9 ต.ค. ที่กรุงเนปิดอร์ นายกฯ มีกำหนดการหารือร่วมวงเล็กในด้านต่างๆ กับพล.อ.เต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีเมียนมาร์ และในวันเดียวกัน จะมีหารือร่วมในคณะใหญ่ ที่มีทั้งภาคการต่างประเทศ ธุรกิจ และรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ในวันที่ 10 ต.ค. นายกฯ มีกำหนดการเดินทางไปยังนครย่างกุ้ง เพื่อพบปะพูดคุยกับนักธุรกิจภาคเอกชนของไทย ที่มีฐานลงทุนอยู่ในเมียนมาร์ ซึ่งนายกฯจะรับฟังปัญหา อุปสรรคในการประกอบธุรกิจ พร้อมทั้งหาแนวทางประสานให้การช่วยเหลือในด้านต่างๆ ที่นักลงทุนไทยต้องการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงบ่ายวานนี้ (7ต.ค.) ที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี พล.ต.ต.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รรท.รอง ผบช.น. หัวหน้าคณะสืบสวนสอบสวนคดีฆาตรกรรมนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ ที่เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี เดินทางเข้าร่วมประชุม เตรียมความพร้อมในการเดินทางเยือนสหภาพเมียนมาร์ ของ พล.อ.ประยุทธ์ และคณะ
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้มีการเน้นย้ำให้มีการจัดทำเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเตรียมไว้เป็นข้อมูล หากมีการสอบถาม หรือเกิดกรณีข้อสงสัยในคดีดังกล่าว จะได้มีความพร้อมในการชี้แจง
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีได้กำชับด้วยว่า หากมีการสอบถาม ในการชี้แจงจะต้องอธิบายถึงคดีที่เกิดขึ้นในภาพรวมของผู้ต้องหา โดยจะต้องไม่ระบุว่าเป็นชาวพม่า แต่ให้ใช้ว่า เป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาก่อเหตุ
พล.ต.ต.สุวัฒน์ กล่าวว่า ตนมารายงาน ความคืบหน้าของคดีที่เกาะเต่า และมีการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อจัดทำเอกสารของคดีทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเตรียมไว้ให้นายกรัฐมนตรี ชี้แจงหากมีการสอบถามจากรัฐบาลเมียนมาร์ ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้ให้กำลังใจในการทำงาน แต่ยังไม่มีการพูดถึงรางวัลให้กับผู้ปฏิบัติงานในคดีดังกล่าว เพราะยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม
ขณะที่นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ในการเดินทางไปเยือนสหภาพเมียนมาร์ ของนายกรัฐมนตรี ครั้งนี้ นอกจากจะมีการหารือร่วมกันของสองประเทศแล้ว หากมีการสอบถามถึงคดีเกาะเต่า ที่ผู้ต้องหาเป็นชาวพม่านั้น ทางฝ่ายรัฐบาลไทย ก็พร้อมที่จะชี้แจงในทุกกรณี ซึ่งเราสามารถอธิบายได้ ทั้งหมดถึงความเป็นมาต่างๆ รวมทั้งกระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ดำเนินการอย่างเต็มที่จากข้อมูลและพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ และเบื้องต้นทางสถานเอกอัครราชทูตเมียนมาร์ ได้มีการติดต่อมายังกระทรวงการต่างประเทศแล้ว เพื่อสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการการดำเนินคดี รวมถึงการช่วยเหลือเบื้องต้น ต่อผู้ต้องหา ซึ่งถือเป็นวิธีปฏิบัติเบื้องต้นทางกงศุล หากมีกรณีคนถูกจับในต่างประเทศ ทั้งนี้ไม่ได้มีการตั้งข้อสังเกตใดๆ เกี่ยวกับการทำคดีของเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย
ทั้งนี้ ในวันที่ 10 ต.ค. นายกฯ มีกำหนดการเดินทางไปยังนครย่างกุ้ง เพื่อพบปะพูดคุยกับนักธุรกิจภาคเอกชนของไทย ที่มีฐานลงทุนอยู่ในเมียนมาร์ ซึ่งนายกฯจะรับฟังปัญหา อุปสรรคในการประกอบธุรกิจ พร้อมทั้งหาแนวทางประสานให้การช่วยเหลือในด้านต่างๆ ที่นักลงทุนไทยต้องการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงบ่ายวานนี้ (7ต.ค.) ที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี พล.ต.ต.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รรท.รอง ผบช.น. หัวหน้าคณะสืบสวนสอบสวนคดีฆาตรกรรมนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ ที่เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี เดินทางเข้าร่วมประชุม เตรียมความพร้อมในการเดินทางเยือนสหภาพเมียนมาร์ ของ พล.อ.ประยุทธ์ และคณะ
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้มีการเน้นย้ำให้มีการจัดทำเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเตรียมไว้เป็นข้อมูล หากมีการสอบถาม หรือเกิดกรณีข้อสงสัยในคดีดังกล่าว จะได้มีความพร้อมในการชี้แจง
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีได้กำชับด้วยว่า หากมีการสอบถาม ในการชี้แจงจะต้องอธิบายถึงคดีที่เกิดขึ้นในภาพรวมของผู้ต้องหา โดยจะต้องไม่ระบุว่าเป็นชาวพม่า แต่ให้ใช้ว่า เป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาก่อเหตุ
พล.ต.ต.สุวัฒน์ กล่าวว่า ตนมารายงาน ความคืบหน้าของคดีที่เกาะเต่า และมีการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อจัดทำเอกสารของคดีทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเตรียมไว้ให้นายกรัฐมนตรี ชี้แจงหากมีการสอบถามจากรัฐบาลเมียนมาร์ ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้ให้กำลังใจในการทำงาน แต่ยังไม่มีการพูดถึงรางวัลให้กับผู้ปฏิบัติงานในคดีดังกล่าว เพราะยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม
ขณะที่นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ในการเดินทางไปเยือนสหภาพเมียนมาร์ ของนายกรัฐมนตรี ครั้งนี้ นอกจากจะมีการหารือร่วมกันของสองประเทศแล้ว หากมีการสอบถามถึงคดีเกาะเต่า ที่ผู้ต้องหาเป็นชาวพม่านั้น ทางฝ่ายรัฐบาลไทย ก็พร้อมที่จะชี้แจงในทุกกรณี ซึ่งเราสามารถอธิบายได้ ทั้งหมดถึงความเป็นมาต่างๆ รวมทั้งกระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ดำเนินการอย่างเต็มที่จากข้อมูลและพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ และเบื้องต้นทางสถานเอกอัครราชทูตเมียนมาร์ ได้มีการติดต่อมายังกระทรวงการต่างประเทศแล้ว เพื่อสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการการดำเนินคดี รวมถึงการช่วยเหลือเบื้องต้น ต่อผู้ต้องหา ซึ่งถือเป็นวิธีปฏิบัติเบื้องต้นทางกงศุล หากมีกรณีคนถูกจับในต่างประเทศ ทั้งนี้ไม่ได้มีการตั้งข้อสังเกตใดๆ เกี่ยวกับการทำคดีของเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย