พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ได้รับทราบแนวทางการปรับแผนพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 วงเงิน 62,503.214 ล้านบาท ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้ว โดยผู้บริหาร บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท.ได้เสนอปรับแผนการดำเนินงานใหม่ โดยจะก่อสร้าง 3 แผนงาน คือ อาคารผู้โดยสารหลังใหม่บริเวณด้านเหนือของอาคารเทียบเครื่องบิน A หรือ North Terminal ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารภายในประเทศ และระหว่างประเทศได้ เรียกว่า Multi-Function Terminal ซึ่งจะแทนอาคารผู้โดยสารเดิมในแผนเฟส 2 ที่อยู่ด้านทิศตะวันออก, ก่อสร้างลานจอดอากาศยานระยะไกลจำนวน 28 หลุม (Remote Parking) และก่อสร้างอุโมงค์ต่อเชื่อมไปยังลานจอดอากาศยานระยะไกล
ส่วนการก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) เส้นที่ 3 วงเงิน 1.9 หมื่นล้านบาทนั้น ได้ให้ทอท.ไปศึกษาให้มีความชัดเจนอีก 1 แผนงาน ที่ความยาว 3,200 เมตร ว่าสามารถรองรับเครื่องบินได้ทุกประเภทหรือไม่ หากรับได้ครบ ก็ไม่จำเป็นต้องก่อสร้างถึง 4,000 เมตร เพื่อลดผลกระทบด้านเสียง
ทั้งนี้ สิ่งที่ทอท.นำเสนอเข้ามาถือเป็นการทำหน้าที่ของหน่วยงาน ที่หากเห็นว่ามีแผนที่ดีกว่าเดิมก็เสนอปรับเปลี่ยนได้ ซึ่งกระทรวงคมนาคมจำเป็นต้องตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาความเหมาะสมก่อน โดยมี ปลัดกระทรวงคมนาคม ,ที่ปรึกษารัฐมนตรีคมนาคม, ผู้แทน ทอท.และผู้เชี่ยวชาญขึ้นมาพิจารณารายละเอียด โดยให้ได้ข้อสรุปภายใน 7 วัน โดยจะยึดความจำเป็น เหมาะสมเป็นหลัก และหากจำเป็นต้องปรับแก้แผนเฟส 2 ใหม่ ก็ต้องเร่งสรุปเพื่อนำเสนอ ครม.ทบทวนมติเดิม
“เป้าหมายของสุวรรณภูมิเฟส 2 คือ ขยายการรองรับผู้โดยสารจาก 45 ล้านคนเป็น 60 ล้านคนต่อปี และต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ที่สอดคล้องด้วย โดยต้องประเมินการเติบโตของผู้โดยสารและเที่ยวบินในอีก 10 ปีประกอบด้วย ซึ่งทอท.ได้บอกเหตุผลการย้ายจุดสร้างอาคารผู้โดยสารจากด้านตะวันออกเป็นด้านเหนือแล้ว รวมถึงบอกว่าได้หารือกับทางบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) แล้วว่าจะให้การบินไทยใช้เป็นอาคารหลัก หรืออาคารของสายการบินแห่งชาติ ซึ่งรัฐบาลยืนยันว่าไม่ยกเลิกสุวรรณภูมิเฟส 2 แต่เมื่อมีข้อเสนอเพิ่มเติมจึงให้พิจารณาให้เหมาะสม โดยเป็นไปได้อาจมีการแบ่งการขยายเฟส 2 เป็น 2 ช่วงก็ได้” พล.อ.อ.ประจินกล่าว
ด้านนายนิรันตร์ ธีรนาทสิน กรรมการและรักษาการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.กล่าวว่า เหตุผลหนึ่งที่มีการย้ายอาคารผู้โดยสารใหม่จากด้านตะวันออกตามแผนเฟส 2 เป็นด้านเหนือแทนเพราะ ด้านตะวันออกมีพื้นที่น้อย ประกอบกับจากที่คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ได้เข้ามาตรวจสอบและมีความเห็นว่า ให้ปรับลดงบประมาณในเฟส 2 ลง ซึ่งแผนที่ปรับใหม่จะใช้เงินลงทุนน้อยลงถึงกว่า 2 หมื่นล้านบาท โดยใช้วงเงินลงทุนประมาณ 4.2 หมื่นล้านบาท สามารถรองรับผู้โดยสารได้เหมือนเฟส 2
แหล่งข่าวจากทอท.กล่าวว่า ทอท.ได้เสนอปรับแผนสุวรรณภูมิเฟส 2 ใหม่ ดำเนินงานปี 2558-2561 ต่อที่ประชุมเชิงปฎิบัติการ (Work Shop) แนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการคมนาคมขนส่งทางอากาศ ที่มี พล.อ.อ.ประจิน เป็นประธานเมื่อวันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ในแผนงาน จะประกอบด้วย 1. งานออกแบบและก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่บริเวณด้านเหนือของอาคารเทียบเครื่องบิน A ให้สามารถรองรับผู้โดยสารภายในประเทศ และระหว่างประเทศได้รวมประมาณ 20-26 ล้านคนต่อปี พร้อมกับการก่อสร้างรถไฟฟ้า Monorail วงเงินรวม 2.9 หมื่นล้านบาท
2. ก่อสร้างลานจอดอากาศยานระยะไกลจำนวน 28 หลุม (Remote Parking) และ 3. ก่อสร้าง อุโมงค์ต่อเชื่อมไปยังลานจอดอากาศยานระยะไกล วงเงินประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2558 – 2561 ซึ่งจะสามารถรองรับเที่ยวบินได้ 68 เที่ยวบินต่อชั่วโมง รองรับผู้โดยสารได้ 65-71 ล้านคนต่อปี ซึ่งจะรองรับปริมาณจราจรทางอากาศได้จนถึงปี 2563
โดยจะปรับการก่อสร้างงานในเฟส 2 ใน 3 แผนงาน คือ ตัดงานก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Midfield Satellite) วงเงิน 27,864.653 ล้านบาท และอาคารผู้โดยสารด้านทิศตะวันออก สำหรับรองรับ ผู้โดยสารระหว่างประเทศ พื้นที่ ประมาณ 14,580 ตารางเมตร พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้อาคารผู้โดยสารหลัก วงเงินประมาณ 6,780.190 ล้านบาท และชะลอการก่อสร้างอาคารที่จอดรถเพิ่มเติมวงเงิน 625.673 ล้านบาท
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า การที่นายปะสงค์ พูนธเนศ ประธายบอร์ดทอท.ระบุเหตุผลยกเลิกอาคารผู้โดยสารด้านตะวันออกและการขยายพื้นที่อาคารหลักซึ่งอยู่ในแผนเฟส 2 เดิมแล้วปรับไปก่อสร้างอาคารผู้โดยสารด้านเหนือแทน ว่าพื้นที่เดิมมีน้อยส่วนการตัดงานMidfield Satellite ออกเพราะสร้างแล้วไม่ได้ช่วยลดแออัดของอาคารหลัก เนื่องจาก Midfield Satellite ไม่มีเคาน์เตอร์เช็คอินและโหลดกระเป๋าเป็นเพียงจุดรอขึ้นเครื่องบิน ผู้โดยสารยังต้องเช็คอินและโหลดกระเป๋าที่อาคารหลักเหมือนเดิมนั้นเป็นข้ออ้างที่ไม่ตรงกับความจริงทั้งหมด
เนื่องจากการขยายอาคารหลักในแผนเฟส2 จะมีการเพิ่มเคาน์เตอร์เช็คอินและสายพานโหลดกระเป๋าอีก 12-14 เคาน์เตอร์ รวมถึงเพิ่มพื้นที่ศุลกากรและตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) อยู่แล้ว เพื่อให้ผู้โดยสารเช็คอินและโหลดกระเป๋าที่อาคารหลักและเชื่อมผู้โดยสารไปที่ Midfield Satellite ตามหลักสนามบินทั่วโลกทำเหมือนกัน ประเด็นคือการขยายอาคารหลักดังกล่าว จะต้องทุบโครงการซิตี้ การ์เด้นท์ ซึ่งเป็นร้านค้าในอาคารผู้โดยสารหลัก ของบริษัท คิงเพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป ที่ก่อสร้างเป็นอาคาร 2 ชั้น บนพื้นที่ 1,500 ตารางเมตร มีพื้นที่ใช้สอย 2,500 ตารางเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนเกินจากสัญญาสัมปทาน และเคยถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิด ความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) สอบสวน สมัยรัฐบาล คมช.แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นรัฐบาลพรรคพลังประชาชน ได้มีการไกล่เกลี่ยคดีคิงเพาเวอร์จนยุติข้อพิพาท และสรุปให้มีการประเมินพื้นที่ส่วนเกิน โดยให้เก็บค่าเช่าเพิ่ม ในส่วนของดิวตี้ฟรียังมีพื้นที่ส่วนเกินอีก 4,000 ตารางเมตร ร้านค้าเชิงพาณิชย์มีพื้นที่ส่วนเกิน 8,000 ตารางเมตร
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต้องการเร่งรัดการขยายสุวรรณภูมิโดยใช้เงินลงทุนที่เหมาะสมคุ้มค่าซึ่งเฟส 2 พร้อมดำเนินการแล้ว ขณะที่ North Terminal ที่ทอท.เสนอยังไม่มีรายละเอียด ยังไม่มีแบบ ยังต้องรอกระบวนการเสนอครม.ใหม่ และยังไม่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เท่ากับต้องเริ่มต้นกันใหม่ ไม่รู้เมื่อไรจะได้ก่อสร้าง ขณะที่ต้องยกเลิกสัญญาจ้างกลุ่มบริษัท EPM Consortium ซึ่งเป็นที่ปรึกษาออกแบบและก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค และงานจ้างที่ปรึกษาบริหารจัดการโครงการสุวรรณภูมิเฟส2 (PMC) ซึ่งเชื่อว่าจะถูกฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยแน่นอน ส่วน อุโมงค์และระบบขนส้งผู้โดยสาร และกระเป๋า(APM) ในแวดวงผู้รับเหมารู้ดีว่า กลุ่มการเมืองเก่ามีการล็อคเสปคไว้ ทำให้วงเงินลงทุนสูงกว่าความจริง หากปรับลดวงเงินและประมูลเปิดกว้างจะประหยัดได้หลายพันล้านบาท
แต่ ทอท.ถือโอกาส ปรับย้ายอาคารผู้โดยสารด้านตะวันออกไปด้านเหนือแทน เพื่อหลบเลี่ยงไม่ให้กระทบกับพื้นที่ของคิงเพาเวอร์ ซึ่งต้องยอมรับว่า ผู้บริหารของทอท.ในยุคนี้ มีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับกลุ่มคิงเพาเวอร์ และที่ต้องจับตามองต่อไป คือการต่อสัญญาสัมปทานคิงเพาเวอร์ เนื่องจากสัญญาเดิมจะหมดอายุ ในวันที่ 27 กันยายน 2559 จึงต้องรอดูว่า พล.อ.อ.ประจิน และรัฐบาลจะหาทางออกของสุวรรณภูมิเฟส2 อย่างไร.
ส่วนการก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) เส้นที่ 3 วงเงิน 1.9 หมื่นล้านบาทนั้น ได้ให้ทอท.ไปศึกษาให้มีความชัดเจนอีก 1 แผนงาน ที่ความยาว 3,200 เมตร ว่าสามารถรองรับเครื่องบินได้ทุกประเภทหรือไม่ หากรับได้ครบ ก็ไม่จำเป็นต้องก่อสร้างถึง 4,000 เมตร เพื่อลดผลกระทบด้านเสียง
ทั้งนี้ สิ่งที่ทอท.นำเสนอเข้ามาถือเป็นการทำหน้าที่ของหน่วยงาน ที่หากเห็นว่ามีแผนที่ดีกว่าเดิมก็เสนอปรับเปลี่ยนได้ ซึ่งกระทรวงคมนาคมจำเป็นต้องตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาความเหมาะสมก่อน โดยมี ปลัดกระทรวงคมนาคม ,ที่ปรึกษารัฐมนตรีคมนาคม, ผู้แทน ทอท.และผู้เชี่ยวชาญขึ้นมาพิจารณารายละเอียด โดยให้ได้ข้อสรุปภายใน 7 วัน โดยจะยึดความจำเป็น เหมาะสมเป็นหลัก และหากจำเป็นต้องปรับแก้แผนเฟส 2 ใหม่ ก็ต้องเร่งสรุปเพื่อนำเสนอ ครม.ทบทวนมติเดิม
“เป้าหมายของสุวรรณภูมิเฟส 2 คือ ขยายการรองรับผู้โดยสารจาก 45 ล้านคนเป็น 60 ล้านคนต่อปี และต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ที่สอดคล้องด้วย โดยต้องประเมินการเติบโตของผู้โดยสารและเที่ยวบินในอีก 10 ปีประกอบด้วย ซึ่งทอท.ได้บอกเหตุผลการย้ายจุดสร้างอาคารผู้โดยสารจากด้านตะวันออกเป็นด้านเหนือแล้ว รวมถึงบอกว่าได้หารือกับทางบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) แล้วว่าจะให้การบินไทยใช้เป็นอาคารหลัก หรืออาคารของสายการบินแห่งชาติ ซึ่งรัฐบาลยืนยันว่าไม่ยกเลิกสุวรรณภูมิเฟส 2 แต่เมื่อมีข้อเสนอเพิ่มเติมจึงให้พิจารณาให้เหมาะสม โดยเป็นไปได้อาจมีการแบ่งการขยายเฟส 2 เป็น 2 ช่วงก็ได้” พล.อ.อ.ประจินกล่าว
ด้านนายนิรันตร์ ธีรนาทสิน กรรมการและรักษาการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.กล่าวว่า เหตุผลหนึ่งที่มีการย้ายอาคารผู้โดยสารใหม่จากด้านตะวันออกตามแผนเฟส 2 เป็นด้านเหนือแทนเพราะ ด้านตะวันออกมีพื้นที่น้อย ประกอบกับจากที่คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ได้เข้ามาตรวจสอบและมีความเห็นว่า ให้ปรับลดงบประมาณในเฟส 2 ลง ซึ่งแผนที่ปรับใหม่จะใช้เงินลงทุนน้อยลงถึงกว่า 2 หมื่นล้านบาท โดยใช้วงเงินลงทุนประมาณ 4.2 หมื่นล้านบาท สามารถรองรับผู้โดยสารได้เหมือนเฟส 2
แหล่งข่าวจากทอท.กล่าวว่า ทอท.ได้เสนอปรับแผนสุวรรณภูมิเฟส 2 ใหม่ ดำเนินงานปี 2558-2561 ต่อที่ประชุมเชิงปฎิบัติการ (Work Shop) แนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการคมนาคมขนส่งทางอากาศ ที่มี พล.อ.อ.ประจิน เป็นประธานเมื่อวันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ในแผนงาน จะประกอบด้วย 1. งานออกแบบและก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่บริเวณด้านเหนือของอาคารเทียบเครื่องบิน A ให้สามารถรองรับผู้โดยสารภายในประเทศ และระหว่างประเทศได้รวมประมาณ 20-26 ล้านคนต่อปี พร้อมกับการก่อสร้างรถไฟฟ้า Monorail วงเงินรวม 2.9 หมื่นล้านบาท
2. ก่อสร้างลานจอดอากาศยานระยะไกลจำนวน 28 หลุม (Remote Parking) และ 3. ก่อสร้าง อุโมงค์ต่อเชื่อมไปยังลานจอดอากาศยานระยะไกล วงเงินประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2558 – 2561 ซึ่งจะสามารถรองรับเที่ยวบินได้ 68 เที่ยวบินต่อชั่วโมง รองรับผู้โดยสารได้ 65-71 ล้านคนต่อปี ซึ่งจะรองรับปริมาณจราจรทางอากาศได้จนถึงปี 2563
โดยจะปรับการก่อสร้างงานในเฟส 2 ใน 3 แผนงาน คือ ตัดงานก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Midfield Satellite) วงเงิน 27,864.653 ล้านบาท และอาคารผู้โดยสารด้านทิศตะวันออก สำหรับรองรับ ผู้โดยสารระหว่างประเทศ พื้นที่ ประมาณ 14,580 ตารางเมตร พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้อาคารผู้โดยสารหลัก วงเงินประมาณ 6,780.190 ล้านบาท และชะลอการก่อสร้างอาคารที่จอดรถเพิ่มเติมวงเงิน 625.673 ล้านบาท
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า การที่นายปะสงค์ พูนธเนศ ประธายบอร์ดทอท.ระบุเหตุผลยกเลิกอาคารผู้โดยสารด้านตะวันออกและการขยายพื้นที่อาคารหลักซึ่งอยู่ในแผนเฟส 2 เดิมแล้วปรับไปก่อสร้างอาคารผู้โดยสารด้านเหนือแทน ว่าพื้นที่เดิมมีน้อยส่วนการตัดงานMidfield Satellite ออกเพราะสร้างแล้วไม่ได้ช่วยลดแออัดของอาคารหลัก เนื่องจาก Midfield Satellite ไม่มีเคาน์เตอร์เช็คอินและโหลดกระเป๋าเป็นเพียงจุดรอขึ้นเครื่องบิน ผู้โดยสารยังต้องเช็คอินและโหลดกระเป๋าที่อาคารหลักเหมือนเดิมนั้นเป็นข้ออ้างที่ไม่ตรงกับความจริงทั้งหมด
เนื่องจากการขยายอาคารหลักในแผนเฟส2 จะมีการเพิ่มเคาน์เตอร์เช็คอินและสายพานโหลดกระเป๋าอีก 12-14 เคาน์เตอร์ รวมถึงเพิ่มพื้นที่ศุลกากรและตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) อยู่แล้ว เพื่อให้ผู้โดยสารเช็คอินและโหลดกระเป๋าที่อาคารหลักและเชื่อมผู้โดยสารไปที่ Midfield Satellite ตามหลักสนามบินทั่วโลกทำเหมือนกัน ประเด็นคือการขยายอาคารหลักดังกล่าว จะต้องทุบโครงการซิตี้ การ์เด้นท์ ซึ่งเป็นร้านค้าในอาคารผู้โดยสารหลัก ของบริษัท คิงเพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป ที่ก่อสร้างเป็นอาคาร 2 ชั้น บนพื้นที่ 1,500 ตารางเมตร มีพื้นที่ใช้สอย 2,500 ตารางเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนเกินจากสัญญาสัมปทาน และเคยถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิด ความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) สอบสวน สมัยรัฐบาล คมช.แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นรัฐบาลพรรคพลังประชาชน ได้มีการไกล่เกลี่ยคดีคิงเพาเวอร์จนยุติข้อพิพาท และสรุปให้มีการประเมินพื้นที่ส่วนเกิน โดยให้เก็บค่าเช่าเพิ่ม ในส่วนของดิวตี้ฟรียังมีพื้นที่ส่วนเกินอีก 4,000 ตารางเมตร ร้านค้าเชิงพาณิชย์มีพื้นที่ส่วนเกิน 8,000 ตารางเมตร
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต้องการเร่งรัดการขยายสุวรรณภูมิโดยใช้เงินลงทุนที่เหมาะสมคุ้มค่าซึ่งเฟส 2 พร้อมดำเนินการแล้ว ขณะที่ North Terminal ที่ทอท.เสนอยังไม่มีรายละเอียด ยังไม่มีแบบ ยังต้องรอกระบวนการเสนอครม.ใหม่ และยังไม่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เท่ากับต้องเริ่มต้นกันใหม่ ไม่รู้เมื่อไรจะได้ก่อสร้าง ขณะที่ต้องยกเลิกสัญญาจ้างกลุ่มบริษัท EPM Consortium ซึ่งเป็นที่ปรึกษาออกแบบและก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค และงานจ้างที่ปรึกษาบริหารจัดการโครงการสุวรรณภูมิเฟส2 (PMC) ซึ่งเชื่อว่าจะถูกฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยแน่นอน ส่วน อุโมงค์และระบบขนส้งผู้โดยสาร และกระเป๋า(APM) ในแวดวงผู้รับเหมารู้ดีว่า กลุ่มการเมืองเก่ามีการล็อคเสปคไว้ ทำให้วงเงินลงทุนสูงกว่าความจริง หากปรับลดวงเงินและประมูลเปิดกว้างจะประหยัดได้หลายพันล้านบาท
แต่ ทอท.ถือโอกาส ปรับย้ายอาคารผู้โดยสารด้านตะวันออกไปด้านเหนือแทน เพื่อหลบเลี่ยงไม่ให้กระทบกับพื้นที่ของคิงเพาเวอร์ ซึ่งต้องยอมรับว่า ผู้บริหารของทอท.ในยุคนี้ มีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับกลุ่มคิงเพาเวอร์ และที่ต้องจับตามองต่อไป คือการต่อสัญญาสัมปทานคิงเพาเวอร์ เนื่องจากสัญญาเดิมจะหมดอายุ ในวันที่ 27 กันยายน 2559 จึงต้องรอดูว่า พล.อ.อ.ประจิน และรัฐบาลจะหาทางออกของสุวรรณภูมิเฟส2 อย่างไร.