นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่ถูกครหาเรื่องการล็อกสเปก ว่า ได้รับข้อมูลจากอดีต ส.ว.หลายจังหวัด ว่า การสรรหาสปช. มีปัญหาความไม่โปร่งใส เช่น จ.พัทลุง พังงา สุรินทร์ ซึ่งผู้มีคุณสมบัติได้รับการสรรหา รวมถึงอดีต ส.ว. ที่เป็นคนละขั้วกับกรรมการสรรหาที่ส่วนใหญ่เป็น อบจ. อบต. หรือคนที่ใกล้ชิดกับคนเหล่านี้ ขณะที่บางคน มีปัญหากับ กกต.จังหวัด ทำให้รู้ตัวล่วงหน้า ว่าจะไม่รับการคัดเลือก ทั้งที่มีคุณสมบัติ จึงหลีกมาลงสมัคร สปช.ใน 11 ด้านแทน ตนเห็นว่า หากจังหวัดใดมีปัญหาจริงๆ ก็สามารถร้องต่อคสช.ได้ และยังเห็นว่ารายชื่อสปช. ที่ได้รับการสรรหาของแต่ละจังหวัดนั้น คสช. ควรเปิดเผยให้สังคมรับทราบ เพื่อช่วยกันตรวจสอบ เพราะเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจ
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. กล่าวว่า หากการสรรหาสปช.ระดับจังหวัด มีผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น การเป็นเครือญาติระหว่างผู้สมัครกับกรรมการสรรหาจริง คสช. ก็ต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณา เพราะพระราชกฤษฎีกา เรื่องการสรรหาสปช. มีความยืดหยุ่น แต่คงไม่ถึงขั้นต้องมีการสรรหาใหม่ทั้งหมด ส่วนข้อเรียกร้องให้มีการเปิดเผยรายชื่อผู้ได้รับการสรรหาให้สังคมช่วยตรวจสอบนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ คสช.
**นายกฯยันไม่มีล็อกสเปก
ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวว่า อย่ากังวลในเรื่องของการปฏิรูป ไม่มีการล็อกเสปก เพราะตนไม่ได้ไปล็อคกับใคร และเขาจะมาช่วยอะไรตนได้ เพราะหน้าที่ของตนคือ การดูแลประเทศชาติ จะต้องมีการระดมสติปัญญามาอยู่ในคณะทำงานของแต่ละกลุ่ม เมื่อคัดเลือกมาแล้ว 250 คน ก็จะคัดเลือกให้เหลือ 173 คน บวก 77 คน ก็จะต้องมาจัดกันใหม่ ว่าใครจะอยู่กลุ่มไหนใน 11 กลุ่ม ไม่ใช่ว่าสมัครกลุ่มไหน แล้วได้กลุ่มนั้น หลังจากนั้นจะมีการเลือกประธาน สปช. ก่อนที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ซึ่งการดำเนินการจะคล้ายกับ สนช. ยืนยันว่า ตนไม่ได้มีแนวทางให้กับ สปช. ให้เขาไปคิดกันเอาเอง ปัญหาเขารู้อยู่แล้ว เพราะเราทำปฏิรูปครั้งที่ 1 ไปแล้ว โดยให้มีคณะไปศึกษามาแล้ว ทั้งนายประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส รวมทั้งนายคณิต ณ นคร ถ้าจะทำให้เร็ว ก็เอาคนพวกนี้มาดู หากมีความเห็นต่าง ก็เสนอเข้ามา ก่อนที่จะนำเข้าไปสู่คณะกรรมธิการร่างรัฐธรรมนูญ อีกส่วนหนึ่งจะเข้าไปที่ สนช. เพื่อให้ออกมาเป็นกฎหมาย เพื่อปฏิบัติ ซึ่งตนสั่งเขาไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของ สปช. ที่จะต้องโหวตยกมือกัน ว่าเห็นด้วยหรือไม่
"ผมจะไปล็อกสเปกเขามาทำไม ถ้าล็อกสเปกมาทั้งหมด มันก็ได้คนไม่มีความรู้ที่หลากหลาย ที่จะลงมาทำงานทั้ง 11 กลุ่ม ซึ่งมันทำไม่ได้ แต่ปัญหาขณะนี้ บางกลุ่มมีเยอะ โดยเฉพาะการศึกษาที่มีประมาณ 700-800 คน ขณะที่ด้านสื่อมวลชน มีเพียง 100 กว่าคน ถือว่าน้อยมาก ซึ่งรัฐบาลก็มี พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ต่างประเทศ จะเดินทางเยือน ยูเอ็น เพื่อชี้แจงรายละเอียดในการดำเนินการ ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ หลังวันที่ 22 พ.ค.แล้วทั้งช่องทางผู้ช่วยทูตทหาร และเอกอัครราชทูต ซึ่งหลายประเทศมีความเป็นห่วงเป็นใย ซึ่งเราเป็นประเทศไทย เราต้องทำอะไรเพื่อคนไทยก่อน ส่วนต่างชาติ ก็ต้องใช้ระยะเวลา เราไม่ได้ทำอะไรเสียหาย ส่วนผมจะเดินทางไปประเทศไหนเป็นประเทศแรก ยังไม่บอก" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
**ยันเก็บชื่อว่าที่สปช.เป็นความลับ
นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะกรรมการสรรหาสมาชิก สปช. ด้านการศึกษา กล่าวถึงกรณีที่มีการเรียกร้องให้เปิดรายชื่อ การสรรหาสปช.ทั้ง 11 ด้าน เพื่อความโปร่งใส ว่า การสรรหาสปช.ทั้ง 11 ด้าน ส่งรายชื่อเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไป คสช.จะคัดเลือก ว่าอยากได้ใคร ซึ่งการเป็นความลับ เห็นว่ามีความจำเป็น เพราะถ้าไม่เป็นความลับ คงมีความโกลาหลพอสมควร อันนี้เป็นนโยบาย ซึ่งต้องเก็บระดับความลับไว้ให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้
เมื่อถามว่า มีการร้องเรียนในหลายจังหวัด ว่ามีการล็อกสเปก กลัวว่าจะสะดุดการคัดเลือก สปช.ไม่ทันวันที่ 2 ต.ค. นายยงยุทธ กล่าวว่า คงไม่มีปัญหา เพราะเป็นเรื่องที่เราคาดการณ์ได้ว่า จะมีการร้องเรียนทำนองนี้ ผัวเลือกเมีย หรือ เป็นคนที่รู้จักกัน เป็นเรื่องธรรมดา เพราะสังคมไทยไม่ได้ใหญ่ถึงขนาดนั้น ต้องดูว่าผิดจริงหรือไม่ ทำสิ่งใดที่ละเมิดกฎเกณฑ์ที่ตั้งเอาไว้หรือไม่ ถ้าไม่ละเมิดกฎหมาย ไม่มีปัญหา
เมื่อถามว่า ควรตรวจสอบก่อนประกาศรายชื่อ สปช. 250 คน หรือไม่ นายยงยุทธ ตอบว่ามันก็ดี แต่จะตรวจทันหรือไม่ ตรงนี้ไม่แน่ใจ เป็นไปได้ประกาศรายชื่อมาแล้วมาตรวจาสอบกันที่หลัง ก็น่ายังเล่นงานได้อยู่ เมื่อถามว่าจะเป็นข้อครหา คสช. หรือไม่ เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา คสช.ย้ำความโปร่งใสในการสรรหา สปช. นายยงยุทธ กล่าวว่า มีความตั้งใจ และขั้นตอนที่ออกมาเป็นไปตามที่ได้บอกแล้ว ผลอาจจะไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์อย่างที่ตั้งใจ เพราะมีเรื่องต่างๆ ที่นอกเหนือการควบคุม มีอยู่บ้าง ก็ต้องดูว่าเขาได้พยายามทำแล้วหรือยัง
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. กล่าวว่า หากการสรรหาสปช.ระดับจังหวัด มีผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น การเป็นเครือญาติระหว่างผู้สมัครกับกรรมการสรรหาจริง คสช. ก็ต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณา เพราะพระราชกฤษฎีกา เรื่องการสรรหาสปช. มีความยืดหยุ่น แต่คงไม่ถึงขั้นต้องมีการสรรหาใหม่ทั้งหมด ส่วนข้อเรียกร้องให้มีการเปิดเผยรายชื่อผู้ได้รับการสรรหาให้สังคมช่วยตรวจสอบนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ คสช.
**นายกฯยันไม่มีล็อกสเปก
ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวว่า อย่ากังวลในเรื่องของการปฏิรูป ไม่มีการล็อกเสปก เพราะตนไม่ได้ไปล็อคกับใคร และเขาจะมาช่วยอะไรตนได้ เพราะหน้าที่ของตนคือ การดูแลประเทศชาติ จะต้องมีการระดมสติปัญญามาอยู่ในคณะทำงานของแต่ละกลุ่ม เมื่อคัดเลือกมาแล้ว 250 คน ก็จะคัดเลือกให้เหลือ 173 คน บวก 77 คน ก็จะต้องมาจัดกันใหม่ ว่าใครจะอยู่กลุ่มไหนใน 11 กลุ่ม ไม่ใช่ว่าสมัครกลุ่มไหน แล้วได้กลุ่มนั้น หลังจากนั้นจะมีการเลือกประธาน สปช. ก่อนที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ซึ่งการดำเนินการจะคล้ายกับ สนช. ยืนยันว่า ตนไม่ได้มีแนวทางให้กับ สปช. ให้เขาไปคิดกันเอาเอง ปัญหาเขารู้อยู่แล้ว เพราะเราทำปฏิรูปครั้งที่ 1 ไปแล้ว โดยให้มีคณะไปศึกษามาแล้ว ทั้งนายประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส รวมทั้งนายคณิต ณ นคร ถ้าจะทำให้เร็ว ก็เอาคนพวกนี้มาดู หากมีความเห็นต่าง ก็เสนอเข้ามา ก่อนที่จะนำเข้าไปสู่คณะกรรมธิการร่างรัฐธรรมนูญ อีกส่วนหนึ่งจะเข้าไปที่ สนช. เพื่อให้ออกมาเป็นกฎหมาย เพื่อปฏิบัติ ซึ่งตนสั่งเขาไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของ สปช. ที่จะต้องโหวตยกมือกัน ว่าเห็นด้วยหรือไม่
"ผมจะไปล็อกสเปกเขามาทำไม ถ้าล็อกสเปกมาทั้งหมด มันก็ได้คนไม่มีความรู้ที่หลากหลาย ที่จะลงมาทำงานทั้ง 11 กลุ่ม ซึ่งมันทำไม่ได้ แต่ปัญหาขณะนี้ บางกลุ่มมีเยอะ โดยเฉพาะการศึกษาที่มีประมาณ 700-800 คน ขณะที่ด้านสื่อมวลชน มีเพียง 100 กว่าคน ถือว่าน้อยมาก ซึ่งรัฐบาลก็มี พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ต่างประเทศ จะเดินทางเยือน ยูเอ็น เพื่อชี้แจงรายละเอียดในการดำเนินการ ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ หลังวันที่ 22 พ.ค.แล้วทั้งช่องทางผู้ช่วยทูตทหาร และเอกอัครราชทูต ซึ่งหลายประเทศมีความเป็นห่วงเป็นใย ซึ่งเราเป็นประเทศไทย เราต้องทำอะไรเพื่อคนไทยก่อน ส่วนต่างชาติ ก็ต้องใช้ระยะเวลา เราไม่ได้ทำอะไรเสียหาย ส่วนผมจะเดินทางไปประเทศไหนเป็นประเทศแรก ยังไม่บอก" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
**ยันเก็บชื่อว่าที่สปช.เป็นความลับ
นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะกรรมการสรรหาสมาชิก สปช. ด้านการศึกษา กล่าวถึงกรณีที่มีการเรียกร้องให้เปิดรายชื่อ การสรรหาสปช.ทั้ง 11 ด้าน เพื่อความโปร่งใส ว่า การสรรหาสปช.ทั้ง 11 ด้าน ส่งรายชื่อเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไป คสช.จะคัดเลือก ว่าอยากได้ใคร ซึ่งการเป็นความลับ เห็นว่ามีความจำเป็น เพราะถ้าไม่เป็นความลับ คงมีความโกลาหลพอสมควร อันนี้เป็นนโยบาย ซึ่งต้องเก็บระดับความลับไว้ให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้
เมื่อถามว่า มีการร้องเรียนในหลายจังหวัด ว่ามีการล็อกสเปก กลัวว่าจะสะดุดการคัดเลือก สปช.ไม่ทันวันที่ 2 ต.ค. นายยงยุทธ กล่าวว่า คงไม่มีปัญหา เพราะเป็นเรื่องที่เราคาดการณ์ได้ว่า จะมีการร้องเรียนทำนองนี้ ผัวเลือกเมีย หรือ เป็นคนที่รู้จักกัน เป็นเรื่องธรรมดา เพราะสังคมไทยไม่ได้ใหญ่ถึงขนาดนั้น ต้องดูว่าผิดจริงหรือไม่ ทำสิ่งใดที่ละเมิดกฎเกณฑ์ที่ตั้งเอาไว้หรือไม่ ถ้าไม่ละเมิดกฎหมาย ไม่มีปัญหา
เมื่อถามว่า ควรตรวจสอบก่อนประกาศรายชื่อ สปช. 250 คน หรือไม่ นายยงยุทธ ตอบว่ามันก็ดี แต่จะตรวจทันหรือไม่ ตรงนี้ไม่แน่ใจ เป็นไปได้ประกาศรายชื่อมาแล้วมาตรวจาสอบกันที่หลัง ก็น่ายังเล่นงานได้อยู่ เมื่อถามว่าจะเป็นข้อครหา คสช. หรือไม่ เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา คสช.ย้ำความโปร่งใสในการสรรหา สปช. นายยงยุทธ กล่าวว่า มีความตั้งใจ และขั้นตอนที่ออกมาเป็นไปตามที่ได้บอกแล้ว ผลอาจจะไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์อย่างที่ตั้งใจ เพราะมีเรื่องต่างๆ ที่นอกเหนือการควบคุม มีอยู่บ้าง ก็ต้องดูว่าเขาได้พยายามทำแล้วหรือยัง