สำหรับคนช่วง 40 ปีขึ้นไป จะมีครอบครัวคนรักหรือไม่ก็ตาม แต่ “กังวลและเปล่าเปลี่ยว” คือความหมายที่แท้จริงของ “ผู้ใหญ่” ในวัยนี้ใช่หรือไม่ ครึ่งทางของชีวิตได้ผ่านพ้นไปแล้ว ยังเหลืออีกครึ่งหนึ่งที่ยังคงจะต้องเดินต่อไป
ยิ่งหากเป็นหญิงโสดตัวคนเดียวด้วยแล้ว ความหมายของชีวิตนับจากนี้คือการแสวงหา “ความรัก” ที่คงไม่ใช่ครั้งสุดท้ายเพราะยังต้องแสวงหาอยู่เรื่อยไปตราบชีวิตยังไม่สิ้นจริงหรือไม่?
หนังชุดทีวี ไซโกะ คะระ นิบังเมะโนะโค่ย (最後から二番目の恋) หรือ Second to Last Love จึงเป็นภาพจำลองของหญิงโสดในวัยกลางคนผ่าน โยชิโนะ ชิอะกิ (吉野 千明) แสดงโดยโคะอิสุมิ เคียวโกะ (小泉 今日子) โปรดิวเซอร์หนังชุดทีวีที่ใช้ชีวิตในครึ่งแรกของตนไปอย่างรวดเร็ว จนวันหนึ่งก็พบว่าตนเองนั้นแท้จริงแล้ว “กังวลและเปล่าเปลี่ยว” เมื่อคิดว่าจะต้องใช้ชีวิตอีกครึ่งหนึ่งที่เหลืออย่างไรดี
เมื่อชิอะกิมาสำรวจดูโลเกชันที่ คะมะกุระ เมืองหลวงเก่าก็ติดใจในความสงบและสวยงามของเมืองนี้ การตัดสินใจซื้อบ้านเก่าที่เผอิญอยู่ติดกับครอบครัว นะงะกุระ ที่มีพี่ชายคนโต คือ วะเฮ น้องสาว โนริโกะ น้องฝาแฝด ชาย ชินเป หญิง มะริโกะ และลูกสาวกำพร้าแม่ของวะเฮ คือ เอะรินะ ทำให้ความเกี่ยวพันระหว่าง ชิอะกิ กับสมาชิกในครอบครัว นะงะกุระ ที่มีบุคลิกแตกต่างกันไปจึงเกิดขึ้นและเป็นท้องเรื่องของหนังชุดนี้
คยอง-คยองเล่นหนังชุดเรื่องนี้ได้อย่างเหมาะสมเพราะน่าจะมีความใกล้เคียงกับตัวเธอมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นอายุของชิอะกิ (45) ที่เท่ากับของเธอ หรือประพฤติปฏิบัติที่เป็นสิงห์สาวอมควัน ดื่มเหล้าเก่ง ปากจัด ตรงไปตรงมาไม่ยอมคน รวมถึงแม้จะผ่านชายมาแล้วแต่ก็ยังครองตัวเป็นโสด
ความเหมาะสมลงตัวจึงเป็นเฉกเช่นเดียวกับ ยะกุชิมารุ ฮิโรโกะ (薬師丸 ひろ子) ที่เล่นเป็น โฮชิ อิสุมิ นักเรียนสาว ม.ปลายที่ต้องไปเป็นหัวหน้าแก๊งยะกุซะในเรื่อง เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู (セーラー服と機関銃) ในปี 1981 แม้ในภายหลังจะมีการสร้างใหม่อีก 2 ครั้งแต่ผู้ที่มาแสดงบทของอิสุมิก็ไม่สอดคล้องลงตัวเพราะมองอย่างไรก็ไม่ใช่สาว ม.ปลายเช่นเธอ
ในอีกด้านหนึ่งความสัมพันธ์กับพี่ชาย นะงะกุระ วะเฮ (長倉 和平) แสดงโดย นะกะอิ คิอิชิ (中井貴一) พ่อหม้ายเมียตาย (50) หัวหน้าแผนกท่องเที่ยวของเมือง คะมะกุระ ที่ดูไปแล้วน่าจะเป็นตัวแทนของชายวัยกลางคนที่เป็นหัวหน้าครอบครัวญี่ปุ่นทั่วไป-จู้จี้ขี้บ่น หัวอนุรักษนิยม-ทั้งคู่จึงมีการปะทะคารมอยู่ตลอดเวลา หรือกับน้องชาย (35) ชินเป (長倉 真平) แสดงโดย ซะกะกุจิ เคจิ (坂口 憲二) หนุ่มหล่อใจดีที่มีแต่ให้โดยเฉพาะความรักกับสาวๆ ทุกคน จึงเป็นไปอย่างน่าสนใจและหักมุมไปมาจนคาดไม่ถึง จากความสามารถของผู้เขียนบท โอกะดะ โยชิคัดซึ (岡田 惠和)
คยอง-คยองในช่วงหลังแสดงหนังมาแล้วจำนวนมากซึ่งเป็นสิ่งที่เหมือนกันกับ ยะคุชิมะรู ฮิโรโกะ ที่ทั้งสองสามารถผันตัวเองข้ามแดนไปมาระหว่างนักร้องไปสู่นักแสดงได้เป็นอย่างดี แม้ อะมะจัง (ชื่อไทย เด็กน้อยนักดำน้ำ) อาจได้รับความนิยมแต่ในความเห็นของผู้เขียนแล้ว 最後から二番目の恋 ดีเด่นกว่าโดยเฉพาะสำหรับเธอ
ส่วนผสมของความสำเร็จน่าจะอยู่ที่เธอได้เล่นเป็นตัวเองไม่ต้องเสริมเติมแต่ง เป็นบทแสดงนำ มิใช่ตัวรองเหมือน อามะจัง อีกทั้งสถานที่ที่เป็นท้องเรื่องคือเมืองคะมะกุระก็สงบสวยงามในแบบฉบับของตนเองไม่ต้องเหมือนใคร
สถานที่เด่นในท้องเรื่องน่าจะเป็นสถานีรถไฟเล็กๆ ใกล้บ้านแต่ร่มรื่นชื่อโคะระคุจิ ตั้งตามวัดโคะระคุ (極楽寺) ที่อยู่ใกล้ๆ มีคนใช้สถานีนี้วันละประมาณพันคนเศษเท่านั้น อยู่ห่างจากสถานีคะมะกุระเพียง 4 สถานีบนรถไฟสายเอโนเด็งที่เชื่อมระหว่างคะมะกุระกับฟุจิวะระ หากใครได้ไปเที่ยวคะมะกุระก็น่าจะลองนั่งดูเป็นรถไฟสายสั้นๆ ที่เหมือนรถรางมากกว่ารถไฟ บางช่วงวิ่งกลางถนนหรือผ่านหลังบ้านคน เป็นชีวิตแบบช้าๆ ในเมืองเล็กๆ ริมทะเลที่มีเสน่ห์อย่างน่าสนใจ
ส่วนเพลงประกอบนั้น ที่น่าสนใจคือมิใช่ที่ ฮามะซะกิ อายุมิ (浜崎 あゆみ) ร้องในตอบจบ หากแต่เป็นเพลงประกอบเป็นแบ็กกราวด์ในท้องเรื่องซึ่งมีอยู่ 2 เพลงคือ Far Far และ Go To The Sea ของนักร้องคนเดียวกันคือ Yael Naim และ David Donatien เมื่อนำมาประกอบกับหนังที่มีภาพเคลื่อนไหวแทนการร้องของนักร้องกลับให้ความรู้สึกที่ได้อารมณ์กลมกลืนไปกับท้องเรื่องมากกว่า จริงไม่จริงลองฟัง-ชมเปรียบเทียบดู
หนังทีวีเรื่องนี้สร้างชุดแรก 11 ตอน + 1 ตอนพิเศษ เมื่อปี 2012 และสร้างชุดสองตามมาในปีนี้ (2014) อีก 11 ตอน โดยผู้แสดงชุดเดียวกันทั้งหมด เรตติ้งผู้ชมเฉลี่ยประมาณ 12% เศษทั้งสองชุด
อยากชมหาได้ไม่ยากจาก “อากู๋”
การร้องสดของ Yael Naim และ David Donatien
http://www.youtube.com/watch?v=_mq8oTSvTnQ Go To The Sea
http://www.youtube.com/watch?v=mvtP9PRvi60 Far Far
เมื่อใช้ประกอบภาพเมืองคะมะกุระ วัดโคะระคุ และสถานีโคะระคุจิ (อาคารชั้นเดียวที่มีป้ายสถานีสีเขียวบนหลังคา) ของรถไฟสายเอโนเด็ง
http://www.youtube.com/watch?v=L0VPxauTxT0 Go To The Sea
http://www.youtube.com/watch?v=nHckuz1jeH4 Far Far
เว็บเพจของทางสถานีผู้ผลิต http://fod.fujitv.co.jp/s/genre/drama/ser4329/
ยิ่งหากเป็นหญิงโสดตัวคนเดียวด้วยแล้ว ความหมายของชีวิตนับจากนี้คือการแสวงหา “ความรัก” ที่คงไม่ใช่ครั้งสุดท้ายเพราะยังต้องแสวงหาอยู่เรื่อยไปตราบชีวิตยังไม่สิ้นจริงหรือไม่?
หนังชุดทีวี ไซโกะ คะระ นิบังเมะโนะโค่ย (最後から二番目の恋) หรือ Second to Last Love จึงเป็นภาพจำลองของหญิงโสดในวัยกลางคนผ่าน โยชิโนะ ชิอะกิ (吉野 千明) แสดงโดยโคะอิสุมิ เคียวโกะ (小泉 今日子) โปรดิวเซอร์หนังชุดทีวีที่ใช้ชีวิตในครึ่งแรกของตนไปอย่างรวดเร็ว จนวันหนึ่งก็พบว่าตนเองนั้นแท้จริงแล้ว “กังวลและเปล่าเปลี่ยว” เมื่อคิดว่าจะต้องใช้ชีวิตอีกครึ่งหนึ่งที่เหลืออย่างไรดี
เมื่อชิอะกิมาสำรวจดูโลเกชันที่ คะมะกุระ เมืองหลวงเก่าก็ติดใจในความสงบและสวยงามของเมืองนี้ การตัดสินใจซื้อบ้านเก่าที่เผอิญอยู่ติดกับครอบครัว นะงะกุระ ที่มีพี่ชายคนโต คือ วะเฮ น้องสาว โนริโกะ น้องฝาแฝด ชาย ชินเป หญิง มะริโกะ และลูกสาวกำพร้าแม่ของวะเฮ คือ เอะรินะ ทำให้ความเกี่ยวพันระหว่าง ชิอะกิ กับสมาชิกในครอบครัว นะงะกุระ ที่มีบุคลิกแตกต่างกันไปจึงเกิดขึ้นและเป็นท้องเรื่องของหนังชุดนี้
คยอง-คยองเล่นหนังชุดเรื่องนี้ได้อย่างเหมาะสมเพราะน่าจะมีความใกล้เคียงกับตัวเธอมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นอายุของชิอะกิ (45) ที่เท่ากับของเธอ หรือประพฤติปฏิบัติที่เป็นสิงห์สาวอมควัน ดื่มเหล้าเก่ง ปากจัด ตรงไปตรงมาไม่ยอมคน รวมถึงแม้จะผ่านชายมาแล้วแต่ก็ยังครองตัวเป็นโสด
ความเหมาะสมลงตัวจึงเป็นเฉกเช่นเดียวกับ ยะกุชิมารุ ฮิโรโกะ (薬師丸 ひろ子) ที่เล่นเป็น โฮชิ อิสุมิ นักเรียนสาว ม.ปลายที่ต้องไปเป็นหัวหน้าแก๊งยะกุซะในเรื่อง เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู (セーラー服と機関銃) ในปี 1981 แม้ในภายหลังจะมีการสร้างใหม่อีก 2 ครั้งแต่ผู้ที่มาแสดงบทของอิสุมิก็ไม่สอดคล้องลงตัวเพราะมองอย่างไรก็ไม่ใช่สาว ม.ปลายเช่นเธอ
ในอีกด้านหนึ่งความสัมพันธ์กับพี่ชาย นะงะกุระ วะเฮ (長倉 和平) แสดงโดย นะกะอิ คิอิชิ (中井貴一) พ่อหม้ายเมียตาย (50) หัวหน้าแผนกท่องเที่ยวของเมือง คะมะกุระ ที่ดูไปแล้วน่าจะเป็นตัวแทนของชายวัยกลางคนที่เป็นหัวหน้าครอบครัวญี่ปุ่นทั่วไป-จู้จี้ขี้บ่น หัวอนุรักษนิยม-ทั้งคู่จึงมีการปะทะคารมอยู่ตลอดเวลา หรือกับน้องชาย (35) ชินเป (長倉 真平) แสดงโดย ซะกะกุจิ เคจิ (坂口 憲二) หนุ่มหล่อใจดีที่มีแต่ให้โดยเฉพาะความรักกับสาวๆ ทุกคน จึงเป็นไปอย่างน่าสนใจและหักมุมไปมาจนคาดไม่ถึง จากความสามารถของผู้เขียนบท โอกะดะ โยชิคัดซึ (岡田 惠和)
คยอง-คยองในช่วงหลังแสดงหนังมาแล้วจำนวนมากซึ่งเป็นสิ่งที่เหมือนกันกับ ยะคุชิมะรู ฮิโรโกะ ที่ทั้งสองสามารถผันตัวเองข้ามแดนไปมาระหว่างนักร้องไปสู่นักแสดงได้เป็นอย่างดี แม้ อะมะจัง (ชื่อไทย เด็กน้อยนักดำน้ำ) อาจได้รับความนิยมแต่ในความเห็นของผู้เขียนแล้ว 最後から二番目の恋 ดีเด่นกว่าโดยเฉพาะสำหรับเธอ
ส่วนผสมของความสำเร็จน่าจะอยู่ที่เธอได้เล่นเป็นตัวเองไม่ต้องเสริมเติมแต่ง เป็นบทแสดงนำ มิใช่ตัวรองเหมือน อามะจัง อีกทั้งสถานที่ที่เป็นท้องเรื่องคือเมืองคะมะกุระก็สงบสวยงามในแบบฉบับของตนเองไม่ต้องเหมือนใคร
สถานที่เด่นในท้องเรื่องน่าจะเป็นสถานีรถไฟเล็กๆ ใกล้บ้านแต่ร่มรื่นชื่อโคะระคุจิ ตั้งตามวัดโคะระคุ (極楽寺) ที่อยู่ใกล้ๆ มีคนใช้สถานีนี้วันละประมาณพันคนเศษเท่านั้น อยู่ห่างจากสถานีคะมะกุระเพียง 4 สถานีบนรถไฟสายเอโนเด็งที่เชื่อมระหว่างคะมะกุระกับฟุจิวะระ หากใครได้ไปเที่ยวคะมะกุระก็น่าจะลองนั่งดูเป็นรถไฟสายสั้นๆ ที่เหมือนรถรางมากกว่ารถไฟ บางช่วงวิ่งกลางถนนหรือผ่านหลังบ้านคน เป็นชีวิตแบบช้าๆ ในเมืองเล็กๆ ริมทะเลที่มีเสน่ห์อย่างน่าสนใจ
ส่วนเพลงประกอบนั้น ที่น่าสนใจคือมิใช่ที่ ฮามะซะกิ อายุมิ (浜崎 あゆみ) ร้องในตอบจบ หากแต่เป็นเพลงประกอบเป็นแบ็กกราวด์ในท้องเรื่องซึ่งมีอยู่ 2 เพลงคือ Far Far และ Go To The Sea ของนักร้องคนเดียวกันคือ Yael Naim และ David Donatien เมื่อนำมาประกอบกับหนังที่มีภาพเคลื่อนไหวแทนการร้องของนักร้องกลับให้ความรู้สึกที่ได้อารมณ์กลมกลืนไปกับท้องเรื่องมากกว่า จริงไม่จริงลองฟัง-ชมเปรียบเทียบดู
หนังทีวีเรื่องนี้สร้างชุดแรก 11 ตอน + 1 ตอนพิเศษ เมื่อปี 2012 และสร้างชุดสองตามมาในปีนี้ (2014) อีก 11 ตอน โดยผู้แสดงชุดเดียวกันทั้งหมด เรตติ้งผู้ชมเฉลี่ยประมาณ 12% เศษทั้งสองชุด
อยากชมหาได้ไม่ยากจาก “อากู๋”
การร้องสดของ Yael Naim และ David Donatien
http://www.youtube.com/watch?v=_mq8oTSvTnQ Go To The Sea
http://www.youtube.com/watch?v=mvtP9PRvi60 Far Far
เมื่อใช้ประกอบภาพเมืองคะมะกุระ วัดโคะระคุ และสถานีโคะระคุจิ (อาคารชั้นเดียวที่มีป้ายสถานีสีเขียวบนหลังคา) ของรถไฟสายเอโนเด็ง
http://www.youtube.com/watch?v=L0VPxauTxT0 Go To The Sea
http://www.youtube.com/watch?v=nHckuz1jeH4 Far Far
เว็บเพจของทางสถานีผู้ผลิต http://fod.fujitv.co.jp/s/genre/drama/ser4329/