ถ้าผู้เขียนแนะนำผู้หญิงที่ชื่อ โคะอิสุมิ เคียวโกะ (小泉 今日子) หรือที่รู้จักในชื่อเล่นว่า คยอง-คยอง (キョンキョン) ก็ต้องแนะนำผู้หญิงคนนี้ ยะคุชิมะรู ฮิโรโกะ (薬師丸 ひろ子) เพราะเส้นทางเดินในชีวิตของทั้งสองคนมีอะไรอีกหลายๆ อย่างที่ทั้งเหมือนและตรงกันข้าม
ฮิโรโกะ (1964) มีอายุใกล้เคียงกับ คยอง-คยอง (1966) แต่แจ้งเกิดในวงการบันเทิงตั้งแต่ปี 1978 ในขณะที่มีอายุเพียง 13 ปีจากการคัดเลือกผู้แสดงที่มีผู้สมัครถึง 1224 คนในหนังเรื่อง ยะเซ โนะ โชเม (野性の証明) ที่จะต้องมาเล่นบทเด็กอายุ 8 ปีตามท้องเรื่องกับ ทะกะกุระ เคน (高倉健) ที่หลายคนอาจจำได้จากเรื่อง Black Rain ยอดนักแสดงชายชั้นนำผู้หนึ่งของวงการหนังญี่ปุ่น
หนังเรื่องต่อมาที่แสดง ท่นดะ โนะ คับพูรุ (翔んだカップル) ในปี 1980 ก็ได้รับการกล่าวถึงเป็นอย่างมากในฐานะหนังวัยรุ่น แต่ที่ทำให้เธอกลายเป็นไอดอลขวัญใจคนญี่ปุ่นทั้งประเทศในปี 1981 กลับกลายเป็นหนังแก๊งอาชญากรรม เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู (セーラー服と機関銃) ทั้ง 2 เรื่องกำกับการแสดงโดย โซมัย ชินจิ (相米 慎二)
นอกจากความนิยมแล้วหนังเรื่อง เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู นี้เมื่อนำออกฉายที่ย่านอุเมดะในเมืองโอซะกะในวันที่ 2 ก็เกิดการชมนุมของบรรดาสมาชิกยะกุซะและผู้ที่ไม่ใช่กว่า 8,000 คนที่ต้องการมาชมการปรากฏตัวของเธอจนทำให้ผู้จัดต้องยกเลิกเพราะมีมวลชนมามากจนเกรงว่าจะเกิดความไม่สงบ แม้จะยกเลิกการปรากฏตัวแต่แฟนๆ ก็แห่ไปที่สนามบินโอซะกะเพื่อหวังจะพบเธอจนทำให้ต้องขึ้นแท็กซี่ไปขึ้นเครื่องบินที่สนามบินนาโกยะที่อยู่อีกเมืองหนึ่งเพื่อกลับโตเกียวแทน แม้ในอีกหลายปีภายหลังทางตำรวจโอซะกะยังขอร้องให้เธอแจ้งขออนุญาตเพื่อปรากฏตัว
เธอจึงกลายเป็นไอดอลที่แตกต่างไปจากไอดอลคนอื่นๆ ในยุคนั้นตรงที่ไม่ร้องเพลงก็ดังได้ โดยตั้งแต่ปี 1978 จนถึงหนังเรื่อง เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู นี้นำออกฉายกว่า 3 ปีเธอสามารถเป็นขวัญใจประชาชนได้โดยไม่ร้องเพลงแม้แต่เพลงเดียวถึงจะทำได้ก็ตาม เหตุผลที่เธอให้ก็คือ งานร้องเพลงทำให้เธอต้องปรากฏตัวต่อสาธารณชนมากกว่าแสดงหนัง ในขณะนั้นเธอกำลังเรียนในชั้นมัธยมปลายโดยอาศัยการขึ้นรถไฟไปกลับคนเดียวทุกวัน คงไม่เป็นการดีแน่หากมีคนมาสนใจรุมล้อมอยู่เสมอๆ
เพลงที่เธอร้องเป็นเพลงแรกก็คือเพลงชื่อเดียวกับหนังเรื่องนี้นำสู่สาธารณะในปลายปี 1981 ติดอันดับหนึ่งของ Oricon 5 สัปดาห์ติดต่อกัน อันดับหนึ่งของ The Best Ten ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ และเป็บเพลงยอดนิยมอันดับ 2 ของปี 1982 ของ Oricon ในขณะที่ยอดขายเพลงนี้ที่เธอร้องจนถึงปัจจุบันทำได้เกือบ 9 แสนแผ่น
ความจริงเพลงนี้มี 2 ชื่อแทนที่จะมีชื่อเดียวแต่ผู้ร้องหลายคน กล่าวคือมีคนร้องคนแรกและคนที่นำไปร้องใหม่ หรือ Cover เหมือนเพลงทั่วไป ผู้แต่งเนื้อและทำนองเพลงนี้คือพี่น้อง คิซึกิ เอ็ดซึโกะ+ทะกะโอะที่แต่งเพลง รักครั้งที่สอง (เซคเคน เลิฟ) ให้อะกินะร้องแจ้งเกิด แต่เจ้าของหนังและเป็นเจ้าของค่ายเพลงเสนอให้เจ้าของเพลงคือพี่น้อง คิซึกิ ร้องเองในชื่อ ยูเม โนะ โทะชู (夢の途中) ส่วนเธอร้องในชื่อ เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู อันเป็นชื่อเดียวกับหนังโดยให้เหตุผลว่าจะได้ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ยูเม โนะ โทะชู ทำยอดขายได้เกือบ 5 แสนแผ่น เพลงนี้จึงแปลกที่เนื้อร้องเดียวแต่มี 2 ชื่อและผู้ร้องต่างก็เป็นผู้ร้องคนแรกด้วยกันทั้งคู่มิใช่นำมาร้องใหม่อีกครั้ง
นอกจากนี้แล้วความดังของเพลงนี้ยังทำให้เธอได้รับเชิญไปร้องเพลงรายการวันปีใหม่ของสถานีโทรทัศน์ NHK ในปี 1982 ซึ่งเป็นรายการใหญ่ที่มีผู้ชมมาก ความ “ดัง” ของนักร้องจึงวัดได้จากการได้รับเชิญ แต่เธอปฏิเสธคำเชิญโดยให้เหตุผลว่าต้องดูหนังสือเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ร้องได้แต่ไม่อยากร้อง ต่างจากไม่อยากร้องเพราะร้องไม่ได้ เธอจึงข้ามเส้นแบ่งแดนข้ามจากนักแสดงไปสู่นักร้องซึ่งกลับกันกับ คยอง-คยอง เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู แม้เป็นเพลงแรกของเธอที่ได้รับความนิยมแต่คงมิใช่ความบังเอิญหรือแรงส่งจากหนังมาสู่เพลง หากแต่ยังมีเพลงดีๆ ติดตามมา เช่น ทังเท โมโนคะตะริ (探偵物語) Main Theme (メイン・テーマ) เกงกิโอ๊ะ ดาชิเตะ (元気を出して) W โนะ เกกิโจ (Wの悲劇) อะนะตะโอ๊ะ โมตโตะ จิริตะคุเตะ (あなたを・もっと・知りたくて) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพลงในภาพยนตร์ที่เธอนำแสดง
แนวเพลงของเธอจึงออกมาในรูปของการร้องที่มีน้ำเสียงสูง-ใส-ทรงพลัง-ฟังดูมีเสน่ห์เป็นของตนเอง เป็นสิ่งที่เกิดจากการฝึกฝนบวกประสบการณ์ หรือ “พรแสวง” มิใช่แนวทางแบบไอดอลทั่วไป เพลง เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู นี้ผู้แต่งเพลงยังออกปากว่ามิได้แต่งมาเพื่อให้ไอดอลร้องเพราะยากเกินไป ส่วนภาพลักษณ์ในการนำเสนอก็เป็นไปในลักษณะสาวเรียบร้อยเหมือนผ้าพับไว้ มิใช่เปรี้ยวสุดฤทธิ์หรือแบบผ้ายับๆ พับไว้ในโรงจำนำเหมือน เช่น คยอง-คยอง แต่อย่างใด
ก่อนจะจบก็มีเพลงจาก “ผู้หญิงที่ผมรู้จัก” มาแนะนำเช่นเคย
เริ่มจากคลิปแรกด้วยเพลง เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู มีสองแบบคือที่ ทะกะโอะ ร้อง และ ฮิโรโกะร้อง ในฐานะผู้แต่งเพลง ทะกะโอะ เปิดตัวได้เก๋มากโดยแนะนำนักดนตรีเป็นเพลง http://www.youtube.com/watch?v=ayVQazF392U 夢の途中 ที่ คิซึกิ ทะกะโอะ ร้อง http://www.youtube.com/watch?v=AnIcsi-y7E8
ทังเท โมโนคะตะริ (探偵物語)
http://www.youtube.com/watch?v=nIKx91EJCYA 1987 http://www.youtube.com/watch?v=oCeuxnGbGDo
Main Theme (メイン・テーマ) http://www.youtube.com/watch?v=FD26VZEG6y4 1990
W โนะ เกกิโจ (Wの悲劇) จากหนังชื่อเดียวกัน เธอสามารถไล่เสียงจากต่ำไปหาสูงในท่อนแยกได้เด็ดขาดจริงๆ http://www.youtube.com/watch?v=K6e3vABktFc
อะนะตะโอ๊ะ โมตโตะ จิริตะคุเตะ ที่มีความหมายว่า อยากรู้จักเธอมากขึ้น เพลงนี้เหมือนแต่งมาเพื่อบริษัทโทรศัพท์โดยเฉพาะเลยก็ว่าได้ จึงขอนำเสนอจากคลิปโฆษณา http://www.youtube.com/watch?v=8rB63wYkLwE
เกงกิโอ๊ะ ดาชิเตะ เป็นเพลงที่ ทะเคะอุจิ มะริยะ (竹内まりや) แต่งให้เธอร้องโดยเฉพาะ ลองฟังทั้งที่เธอร้องและที่คนแต่งร้องเองว่าใครร้องดีกว่ากัน
http://www.youtube.com/watch?v=MacFKmjwhO0 ฮิโรโกะ
http://www.youtube.com/watch?v=8FUO2y9IYyU มะริยะ
จบด้วยหนังโฆษณาเครื่องสำอางขนาดยาวจนแทบจะเป็นหนังสั้นได้ ที่อาศัยเสน่ห์จากความเป็นไอดอลของ ยะคุชิมะรู ฮิโรโกะ ในช่วงเข้าวงการใหม่มานำเสนอโดยแท้ไม่ต้องมีการแต่งเติมอะไรอีก ไม่ต้องร้องไม่ต้องเต้นก็สามารถเป็นไอดอลได้ http://www.youtube.com/watch?v=IYaB0DYneP8&list=RDKBkvuxb5B1Q&index=6 เรื่องแรก “รักแรก” ปี 1978 http://www.youtube.com/watch?v=hZfARmTdjcw เรื่องที่สอง กุจิบิรุ . . . อะโคะกะเระ (口紅・・・あこがれ) ปี 1980
รูปที่แนบมาจากภาพโฆษณาหนังที่เธอเล่น
ฮิโรโกะ (1964) มีอายุใกล้เคียงกับ คยอง-คยอง (1966) แต่แจ้งเกิดในวงการบันเทิงตั้งแต่ปี 1978 ในขณะที่มีอายุเพียง 13 ปีจากการคัดเลือกผู้แสดงที่มีผู้สมัครถึง 1224 คนในหนังเรื่อง ยะเซ โนะ โชเม (野性の証明) ที่จะต้องมาเล่นบทเด็กอายุ 8 ปีตามท้องเรื่องกับ ทะกะกุระ เคน (高倉健) ที่หลายคนอาจจำได้จากเรื่อง Black Rain ยอดนักแสดงชายชั้นนำผู้หนึ่งของวงการหนังญี่ปุ่น
หนังเรื่องต่อมาที่แสดง ท่นดะ โนะ คับพูรุ (翔んだカップル) ในปี 1980 ก็ได้รับการกล่าวถึงเป็นอย่างมากในฐานะหนังวัยรุ่น แต่ที่ทำให้เธอกลายเป็นไอดอลขวัญใจคนญี่ปุ่นทั้งประเทศในปี 1981 กลับกลายเป็นหนังแก๊งอาชญากรรม เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู (セーラー服と機関銃) ทั้ง 2 เรื่องกำกับการแสดงโดย โซมัย ชินจิ (相米 慎二)
นอกจากความนิยมแล้วหนังเรื่อง เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู นี้เมื่อนำออกฉายที่ย่านอุเมดะในเมืองโอซะกะในวันที่ 2 ก็เกิดการชมนุมของบรรดาสมาชิกยะกุซะและผู้ที่ไม่ใช่กว่า 8,000 คนที่ต้องการมาชมการปรากฏตัวของเธอจนทำให้ผู้จัดต้องยกเลิกเพราะมีมวลชนมามากจนเกรงว่าจะเกิดความไม่สงบ แม้จะยกเลิกการปรากฏตัวแต่แฟนๆ ก็แห่ไปที่สนามบินโอซะกะเพื่อหวังจะพบเธอจนทำให้ต้องขึ้นแท็กซี่ไปขึ้นเครื่องบินที่สนามบินนาโกยะที่อยู่อีกเมืองหนึ่งเพื่อกลับโตเกียวแทน แม้ในอีกหลายปีภายหลังทางตำรวจโอซะกะยังขอร้องให้เธอแจ้งขออนุญาตเพื่อปรากฏตัว
เธอจึงกลายเป็นไอดอลที่แตกต่างไปจากไอดอลคนอื่นๆ ในยุคนั้นตรงที่ไม่ร้องเพลงก็ดังได้ โดยตั้งแต่ปี 1978 จนถึงหนังเรื่อง เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู นี้นำออกฉายกว่า 3 ปีเธอสามารถเป็นขวัญใจประชาชนได้โดยไม่ร้องเพลงแม้แต่เพลงเดียวถึงจะทำได้ก็ตาม เหตุผลที่เธอให้ก็คือ งานร้องเพลงทำให้เธอต้องปรากฏตัวต่อสาธารณชนมากกว่าแสดงหนัง ในขณะนั้นเธอกำลังเรียนในชั้นมัธยมปลายโดยอาศัยการขึ้นรถไฟไปกลับคนเดียวทุกวัน คงไม่เป็นการดีแน่หากมีคนมาสนใจรุมล้อมอยู่เสมอๆ
เพลงที่เธอร้องเป็นเพลงแรกก็คือเพลงชื่อเดียวกับหนังเรื่องนี้นำสู่สาธารณะในปลายปี 1981 ติดอันดับหนึ่งของ Oricon 5 สัปดาห์ติดต่อกัน อันดับหนึ่งของ The Best Ten ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ และเป็บเพลงยอดนิยมอันดับ 2 ของปี 1982 ของ Oricon ในขณะที่ยอดขายเพลงนี้ที่เธอร้องจนถึงปัจจุบันทำได้เกือบ 9 แสนแผ่น
ความจริงเพลงนี้มี 2 ชื่อแทนที่จะมีชื่อเดียวแต่ผู้ร้องหลายคน กล่าวคือมีคนร้องคนแรกและคนที่นำไปร้องใหม่ หรือ Cover เหมือนเพลงทั่วไป ผู้แต่งเนื้อและทำนองเพลงนี้คือพี่น้อง คิซึกิ เอ็ดซึโกะ+ทะกะโอะที่แต่งเพลง รักครั้งที่สอง (เซคเคน เลิฟ) ให้อะกินะร้องแจ้งเกิด แต่เจ้าของหนังและเป็นเจ้าของค่ายเพลงเสนอให้เจ้าของเพลงคือพี่น้อง คิซึกิ ร้องเองในชื่อ ยูเม โนะ โทะชู (夢の途中) ส่วนเธอร้องในชื่อ เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู อันเป็นชื่อเดียวกับหนังโดยให้เหตุผลว่าจะได้ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ยูเม โนะ โทะชู ทำยอดขายได้เกือบ 5 แสนแผ่น เพลงนี้จึงแปลกที่เนื้อร้องเดียวแต่มี 2 ชื่อและผู้ร้องต่างก็เป็นผู้ร้องคนแรกด้วยกันทั้งคู่มิใช่นำมาร้องใหม่อีกครั้ง
นอกจากนี้แล้วความดังของเพลงนี้ยังทำให้เธอได้รับเชิญไปร้องเพลงรายการวันปีใหม่ของสถานีโทรทัศน์ NHK ในปี 1982 ซึ่งเป็นรายการใหญ่ที่มีผู้ชมมาก ความ “ดัง” ของนักร้องจึงวัดได้จากการได้รับเชิญ แต่เธอปฏิเสธคำเชิญโดยให้เหตุผลว่าต้องดูหนังสือเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ร้องได้แต่ไม่อยากร้อง ต่างจากไม่อยากร้องเพราะร้องไม่ได้ เธอจึงข้ามเส้นแบ่งแดนข้ามจากนักแสดงไปสู่นักร้องซึ่งกลับกันกับ คยอง-คยอง เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู แม้เป็นเพลงแรกของเธอที่ได้รับความนิยมแต่คงมิใช่ความบังเอิญหรือแรงส่งจากหนังมาสู่เพลง หากแต่ยังมีเพลงดีๆ ติดตามมา เช่น ทังเท โมโนคะตะริ (探偵物語) Main Theme (メイン・テーマ) เกงกิโอ๊ะ ดาชิเตะ (元気を出して) W โนะ เกกิโจ (Wの悲劇) อะนะตะโอ๊ะ โมตโตะ จิริตะคุเตะ (あなたを・もっと・知りたくて) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพลงในภาพยนตร์ที่เธอนำแสดง
แนวเพลงของเธอจึงออกมาในรูปของการร้องที่มีน้ำเสียงสูง-ใส-ทรงพลัง-ฟังดูมีเสน่ห์เป็นของตนเอง เป็นสิ่งที่เกิดจากการฝึกฝนบวกประสบการณ์ หรือ “พรแสวง” มิใช่แนวทางแบบไอดอลทั่วไป เพลง เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู นี้ผู้แต่งเพลงยังออกปากว่ามิได้แต่งมาเพื่อให้ไอดอลร้องเพราะยากเกินไป ส่วนภาพลักษณ์ในการนำเสนอก็เป็นไปในลักษณะสาวเรียบร้อยเหมือนผ้าพับไว้ มิใช่เปรี้ยวสุดฤทธิ์หรือแบบผ้ายับๆ พับไว้ในโรงจำนำเหมือน เช่น คยอง-คยอง แต่อย่างใด
ก่อนจะจบก็มีเพลงจาก “ผู้หญิงที่ผมรู้จัก” มาแนะนำเช่นเคย
เริ่มจากคลิปแรกด้วยเพลง เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู มีสองแบบคือที่ ทะกะโอะ ร้อง และ ฮิโรโกะร้อง ในฐานะผู้แต่งเพลง ทะกะโอะ เปิดตัวได้เก๋มากโดยแนะนำนักดนตรีเป็นเพลง http://www.youtube.com/watch?v=ayVQazF392U 夢の途中 ที่ คิซึกิ ทะกะโอะ ร้อง http://www.youtube.com/watch?v=AnIcsi-y7E8
ทังเท โมโนคะตะริ (探偵物語)
http://www.youtube.com/watch?v=nIKx91EJCYA 1987 http://www.youtube.com/watch?v=oCeuxnGbGDo
Main Theme (メイン・テーマ) http://www.youtube.com/watch?v=FD26VZEG6y4 1990
W โนะ เกกิโจ (Wの悲劇) จากหนังชื่อเดียวกัน เธอสามารถไล่เสียงจากต่ำไปหาสูงในท่อนแยกได้เด็ดขาดจริงๆ http://www.youtube.com/watch?v=K6e3vABktFc
อะนะตะโอ๊ะ โมตโตะ จิริตะคุเตะ ที่มีความหมายว่า อยากรู้จักเธอมากขึ้น เพลงนี้เหมือนแต่งมาเพื่อบริษัทโทรศัพท์โดยเฉพาะเลยก็ว่าได้ จึงขอนำเสนอจากคลิปโฆษณา http://www.youtube.com/watch?v=8rB63wYkLwE
เกงกิโอ๊ะ ดาชิเตะ เป็นเพลงที่ ทะเคะอุจิ มะริยะ (竹内まりや) แต่งให้เธอร้องโดยเฉพาะ ลองฟังทั้งที่เธอร้องและที่คนแต่งร้องเองว่าใครร้องดีกว่ากัน
http://www.youtube.com/watch?v=MacFKmjwhO0 ฮิโรโกะ
http://www.youtube.com/watch?v=8FUO2y9IYyU มะริยะ
จบด้วยหนังโฆษณาเครื่องสำอางขนาดยาวจนแทบจะเป็นหนังสั้นได้ ที่อาศัยเสน่ห์จากความเป็นไอดอลของ ยะคุชิมะรู ฮิโรโกะ ในช่วงเข้าวงการใหม่มานำเสนอโดยแท้ไม่ต้องมีการแต่งเติมอะไรอีก ไม่ต้องร้องไม่ต้องเต้นก็สามารถเป็นไอดอลได้ http://www.youtube.com/watch?v=IYaB0DYneP8&list=RDKBkvuxb5B1Q&index=6 เรื่องแรก “รักแรก” ปี 1978 http://www.youtube.com/watch?v=hZfARmTdjcw เรื่องที่สอง กุจิบิรุ . . . อะโคะกะเระ (口紅・・・あこがれ) ปี 1980
รูปที่แนบมาจากภาพโฆษณาหนังที่เธอเล่น