สำหรับ ยะคุชิมะรู ฮิโรโกะ (薬師丸 ひろ子) ช่วงเวลารุ่งโรจน์ของเธอน่าจะอยู่ที่หนังเรื่อง เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู (セーラー服と機関銃) ในปี 1981
ชื่อหนังเรื่องนี้ถ้าจะแปลแบบตรงตัวก็คือ เสื้อนักเรียนหญิงที่มีปกใหญ่อยู่ข้างหลังแบบทหารเรือ กับปืนกลมือ ซึ่งจะไม่ได้ใจความเพราะเนื้อเรื่องเกี่ยวประเพณีของแก๊งอาชญากรรมญี่ปุ่นที่รู้จักว่า ยะกุซะ ที่เธอเข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะผู้สืบทอดตำแหน่งหัวหน้าทางสายเลือดเมื่อพ่อของเธอที่เป็นญาติที่ห่างมากคนสุดท้ายของหัวหน้าแก๊งเมะดะกะ ตายจากไปในเวลาเดียวกัน หวยจึงมาออกที่เธอแทน ชื่อที่เหมาะสมน่าจะเป็น สาวม.ปลายหัวหน้าแก๊ง เสียมากกว่า
ตั้งแต่หนังเรื่องแรก ยะเซ โนะ โชเม (野性の証明) ที่ทำรายได้ถึงเกือบ 2,200 ล้านเยน หนังที่เธอนำแสดงต่อมาไม่ว่าจะเป็น ท่นดะคับพูรุ (翔んだカップル) ในปี 1980 ก็ทำรายได้ 800 ล้านเยน เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู (セーラー服と機関銃) ในปี 1981 ทำรายได้มากถึง 4,700 ล้านเยน ทังเท โมโนคะตะริ (探偵物語) ในปี 1983 ทำรายได้ 5,100 ล้านเยน W โนะ ฮิเกกิ (Wの悲劇) ในปี 1984 ก็ทำรายได้ถึง 1,550 ล้านเยน แต่ที่น่าจะถูกกล่าวถึงมากที่สุดก็คือ สาวม.ปลายหัวหน้าแก๊ง เธอจึงกลายเป็นทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัท คะโดคะว่า ที่ปลุกปั้นเธอขึ้นมาจากการคัดตัวเมื่อสามปีก่อน
หนังเรื่องนี้กำกับโดย โซมัย ชินจิ ที่เคยกำกับในเรื่อง ท่นดะคับพูรุ มาก่อน เริ่มถ่ายทำในฤดูร้อนของปี 1981 ขณะที่เธอยังเรียนอยู่ในชั้น ม.5 โดยเนื้อเรื่องมาจากหนังสือของ อะกะคะว่า จิโร่ (赤川次郎) ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในภายหลังก็คือ หนังเรื่องนี้ไม่ได้มีการวางแผนที่จะสร้างมาก่อน มีเพียงผู้ผลิตกับโซมัยเห็นว่าหนังสือของอะกะคะว่าน่าสนใจ ขณะที่ตัวอะกะคะว่าก็ยินดีที่จะทำบทหนังให้โดยไม่รั้งรอ ส่วนเธอเมื่อได้อ่านบทแล้วก็สนใจที่จะเล่นเพราะเหมาะสมกับอายุและสภาพแวดล้อมของเธอพอดีไม่ต้องปรับตัวแต่อย่างใด ผลก็คือมีการตกลงกับเจ้าสังกัดที่ยินยอมออกทุนครึ่งหนึ่งของงบ 150 ล้านเยนที่ใช้สร้างพร้อมให้นักแสดงในสังกัดคือ ฮิโรโกะ ไปแสดง
ความน่าสนใจของหนังเรื่องนี้ในความเห็นของผู้เขียนก็คือ ความซื่อสัตย์แม้จะในหมู่อาชญากร เมื่อหัวหน้าแก๊งตาย แทนที่ ซะคุมะ รองหัวหน้าแก๊งจะรวบอำนาจขึ้นมาเป็นหัวแทนหรือไปอยู่กับแก๊งคู่แข่งที่กำลังแผ่ขยายอำนาจเพราะทายาทสืบทอดตามสายเลือดที่หัวหน้าให้ไปหาเพื่อมารับตำแหน่งก็ตายไปในเวลาเดียวกัน แต่ ซะคุมะก็ยังซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และขนบธรรมเนียมประเพณีการสืบทอดอำนาจดั้นด้นไปหา โฮชิ อิสุมิ (ยะคุชิมะรู ฮิโรโกะ) ที่เป็นลูกสาวในวัยเรียนแทน
ในอีกทางหนึ่ง การยอมรับตำแหน่งหัวหน้าแก๊งของ อิสุมิ ทั้งๆ ที่เธอยังเป็นแค่นักเรียน ม.ปลายนั้นก็เพราะเหตุผลว่าเป็นหน้าที่ของพ่อเธอที่ต้องสืบทอด
ฉากที่ ซะคุมะ นำลูกแก๊งไปยืนเรียงแถวรอหน้าประตูโรงเรียนเรียกหาเธอเพื่อเชิญมาเป็นหัวหน้า ในขณะที่เธอก็ “กล้า” ขัดกับขนบของสังคมที่ไม่ยอมร่วมสังฆกรรมกับบรรดาเหล่ายะกุซะอันเป็นบรรดาบุคคลต้องห้าม โดยเดินออกมาพบอย่างไม่กลัวเกรงสายตาหรือการห้ามปรามของผู้อื่นจึงเป็นฉากสำคัญที่มีในคลิปที่ดูแล้วขนลุก
ส่วนฉากที่เธอถือปืนกลมือไปยิงกราดเพื่ออวดศักดากับแก๊งคู่แข่งอันเป็นที่มาของชื่อหนังในภาษาญี่ปุ่นนั้น หากสังเกตดูให้ดีจะเห็นว่าน่าจะมีเศษแก้วจากเอฟเฟกต์ระเบิดพุ่งเข้าใส่บริเวณใต้ตาซ้ายเหนือแก้มจนมีเลือดไหลออกมาให้เห็น โซมัยซึ่งเป็นผู้กำกับที่ชอบใช้ Long Shot ก็ปล่อยให้ถ่ายต่อไปจนจบโดยไม่มีการหยุดตัดแต่อย่างใด
ที่สุดก็คือ นอกจากการสั่งให้เธอตัดผมเสียสั้น ฉากสุดท้ายยังให้เธอใส่รองเท้าส้นสูงสีแดงไปยืนบนปล่องระบายอากาศของรถไฟใต้ดินเพื่อให้ลมพัดกระโปรงเช่นเดียวกับหนัง Seven Years Itch ที่มาริริน มอนโร เคยเล่น ฉากนี้ถ่ายที่ถนนชินจุกุหน้าห้างสรรพสินค้าอิเซตันกรุงโตเกียวที่บริเวณนี้มีคนเดินพลุกพล่านทั้งวัน โซมัยไปซ่อนกล้องบนตึกใกล้เคียงห่างออกมาไกลจนคนทั่วไปไม่รู้ว่ามีการถ่ายหนัง ขณะที่ผู้คนที่อยู่รอบข้างที่มารุมล้อมดูเธอก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของหนังไปอย่างไม่ขัดเขิน
ที่มาเปิดเผยในภายหลังก็คือ ชุดนักเรียนที่ ฮิโรโกะ ใส่แสดงในหนังนั้นเป็นชุดนักเรียนจริงที่เธอยังคงใส่ขึ้นรถไฟไปเรียนตามปกติแม้ในภายหลังถ่ายหนังเรื่องนี้เสร็จ
ความนิยมของหนังเรื่องนี้นอกจากจะเกือบทำให้มีการจลาจลเกิดขึ้นที่เมืองโอซะกะเมื่อตอนไปเปิดตัวของ ฮิโรโกะ ที่กล่าวไปเมื่อตอนที่แล้ว ที่โตเกียวก็สร้างปรากฏการณ์ปิดประตูโรงหนังไม่ได้เพราะมีคนเข้าไปดูมากเกินที่แม้ต้องนั่งพื้นดูก็ยอม
ความสำเร็จของหนังเรื่องนี้จึงมีมาจากส่วนผสมที่ลงตัว ทั้งจากตัวเธอที่เริ่มแสดงฝีมือได้เก่งมากขึ้นเพราะแสดงเป็นเรื่องที่ 3 แล้ว ยังมาจากผู้กำกับที่คุณลักษณะเฉพาะตัวอย่างโซมัย และสนับสนุนด้วยเจ้าของเรื่องที่มาเป็นผู้เขียนบทให้ มิพักจะกล่าวถึงเพลงที่ชื่อเดียวกับหนังที่ร้องโดย ฮิโรโกะ ที่ดังระเบิด
นอกจากหนังแล้วยังมีการสร้างซ้ำในรูปของละครโทรทัศน์ถึงอีก 2 ครั้งในปี 1982 และ 2006 ซึ่งแสดงถึงความนิยมที่คนดูมีต่อหนังเรื่องนี้
2 คลิปแรกเป็นประมวลหนังในแบบรวบรัดประกอบเพลงที่เธอร้อง โดยคลิปที่สองมีคำพูดที่ฮิตมากในเวลานั้นคือ “ไ-ค-คั-ง” ที่เธอพูดออกมาเองหลังจากยิงเสร็จโดยไม่มีในบท
http://www.youtube.com/watch?v=ihxc5zSmpmM
http://www.youtube.com/watch?v=RM7zYdjv9vU
คลิปต่อมาเป็นการให้สัมภาษณ์ในช่วงประมาณ 6 เดือนหลังจากหนังออกฉายที่เรียกว่า Silent Feaver เพราะเธอ “ดัง” ด้วยความเงียบโดยไม่ปรากฏตัวเนื่องจากยังอยู่ในช่วงต้องเรียนหนังสือเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย ฟังไม่ออกไม่เป็นไร แต่ให้ดูความเป็นธรรมชาติของเธอขณะอายุ 18 ปีอยู่ ม. 6 สังเกตหรือไม่ ตาเธอยิ้มได้
http://www.youtube.com/watch?v=7cX0oFeRvZE&list=PL028621B7B1A117A1
เพลงท่อนแรกที่ร้องว่า ซาโยนะระ วะ วะกะเร โนะ โคโตะบะ จะนะคุเตะ “ซาโนะระ มิใช่คำสุดท้ายเพื่อลาจาก” จึงได้ใจและน่าจะจริงสำหรับแฟนๆของเธอ ยะคุชิมารู ฮิโรโกะ
ภาพทั้งหมดจาก http://www.bulletsnbabesdvd.com/
ชื่อหนังเรื่องนี้ถ้าจะแปลแบบตรงตัวก็คือ เสื้อนักเรียนหญิงที่มีปกใหญ่อยู่ข้างหลังแบบทหารเรือ กับปืนกลมือ ซึ่งจะไม่ได้ใจความเพราะเนื้อเรื่องเกี่ยวประเพณีของแก๊งอาชญากรรมญี่ปุ่นที่รู้จักว่า ยะกุซะ ที่เธอเข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะผู้สืบทอดตำแหน่งหัวหน้าทางสายเลือดเมื่อพ่อของเธอที่เป็นญาติที่ห่างมากคนสุดท้ายของหัวหน้าแก๊งเมะดะกะ ตายจากไปในเวลาเดียวกัน หวยจึงมาออกที่เธอแทน ชื่อที่เหมาะสมน่าจะเป็น สาวม.ปลายหัวหน้าแก๊ง เสียมากกว่า
ตั้งแต่หนังเรื่องแรก ยะเซ โนะ โชเม (野性の証明) ที่ทำรายได้ถึงเกือบ 2,200 ล้านเยน หนังที่เธอนำแสดงต่อมาไม่ว่าจะเป็น ท่นดะคับพูรุ (翔んだカップル) ในปี 1980 ก็ทำรายได้ 800 ล้านเยน เซล่า ฟุกุ โตะ คิคังจู (セーラー服と機関銃) ในปี 1981 ทำรายได้มากถึง 4,700 ล้านเยน ทังเท โมโนคะตะริ (探偵物語) ในปี 1983 ทำรายได้ 5,100 ล้านเยน W โนะ ฮิเกกิ (Wの悲劇) ในปี 1984 ก็ทำรายได้ถึง 1,550 ล้านเยน แต่ที่น่าจะถูกกล่าวถึงมากที่สุดก็คือ สาวม.ปลายหัวหน้าแก๊ง เธอจึงกลายเป็นทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัท คะโดคะว่า ที่ปลุกปั้นเธอขึ้นมาจากการคัดตัวเมื่อสามปีก่อน
หนังเรื่องนี้กำกับโดย โซมัย ชินจิ ที่เคยกำกับในเรื่อง ท่นดะคับพูรุ มาก่อน เริ่มถ่ายทำในฤดูร้อนของปี 1981 ขณะที่เธอยังเรียนอยู่ในชั้น ม.5 โดยเนื้อเรื่องมาจากหนังสือของ อะกะคะว่า จิโร่ (赤川次郎) ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในภายหลังก็คือ หนังเรื่องนี้ไม่ได้มีการวางแผนที่จะสร้างมาก่อน มีเพียงผู้ผลิตกับโซมัยเห็นว่าหนังสือของอะกะคะว่าน่าสนใจ ขณะที่ตัวอะกะคะว่าก็ยินดีที่จะทำบทหนังให้โดยไม่รั้งรอ ส่วนเธอเมื่อได้อ่านบทแล้วก็สนใจที่จะเล่นเพราะเหมาะสมกับอายุและสภาพแวดล้อมของเธอพอดีไม่ต้องปรับตัวแต่อย่างใด ผลก็คือมีการตกลงกับเจ้าสังกัดที่ยินยอมออกทุนครึ่งหนึ่งของงบ 150 ล้านเยนที่ใช้สร้างพร้อมให้นักแสดงในสังกัดคือ ฮิโรโกะ ไปแสดง
ความน่าสนใจของหนังเรื่องนี้ในความเห็นของผู้เขียนก็คือ ความซื่อสัตย์แม้จะในหมู่อาชญากร เมื่อหัวหน้าแก๊งตาย แทนที่ ซะคุมะ รองหัวหน้าแก๊งจะรวบอำนาจขึ้นมาเป็นหัวแทนหรือไปอยู่กับแก๊งคู่แข่งที่กำลังแผ่ขยายอำนาจเพราะทายาทสืบทอดตามสายเลือดที่หัวหน้าให้ไปหาเพื่อมารับตำแหน่งก็ตายไปในเวลาเดียวกัน แต่ ซะคุมะก็ยังซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และขนบธรรมเนียมประเพณีการสืบทอดอำนาจดั้นด้นไปหา โฮชิ อิสุมิ (ยะคุชิมะรู ฮิโรโกะ) ที่เป็นลูกสาวในวัยเรียนแทน
ในอีกทางหนึ่ง การยอมรับตำแหน่งหัวหน้าแก๊งของ อิสุมิ ทั้งๆ ที่เธอยังเป็นแค่นักเรียน ม.ปลายนั้นก็เพราะเหตุผลว่าเป็นหน้าที่ของพ่อเธอที่ต้องสืบทอด
ฉากที่ ซะคุมะ นำลูกแก๊งไปยืนเรียงแถวรอหน้าประตูโรงเรียนเรียกหาเธอเพื่อเชิญมาเป็นหัวหน้า ในขณะที่เธอก็ “กล้า” ขัดกับขนบของสังคมที่ไม่ยอมร่วมสังฆกรรมกับบรรดาเหล่ายะกุซะอันเป็นบรรดาบุคคลต้องห้าม โดยเดินออกมาพบอย่างไม่กลัวเกรงสายตาหรือการห้ามปรามของผู้อื่นจึงเป็นฉากสำคัญที่มีในคลิปที่ดูแล้วขนลุก
ส่วนฉากที่เธอถือปืนกลมือไปยิงกราดเพื่ออวดศักดากับแก๊งคู่แข่งอันเป็นที่มาของชื่อหนังในภาษาญี่ปุ่นนั้น หากสังเกตดูให้ดีจะเห็นว่าน่าจะมีเศษแก้วจากเอฟเฟกต์ระเบิดพุ่งเข้าใส่บริเวณใต้ตาซ้ายเหนือแก้มจนมีเลือดไหลออกมาให้เห็น โซมัยซึ่งเป็นผู้กำกับที่ชอบใช้ Long Shot ก็ปล่อยให้ถ่ายต่อไปจนจบโดยไม่มีการหยุดตัดแต่อย่างใด
ที่สุดก็คือ นอกจากการสั่งให้เธอตัดผมเสียสั้น ฉากสุดท้ายยังให้เธอใส่รองเท้าส้นสูงสีแดงไปยืนบนปล่องระบายอากาศของรถไฟใต้ดินเพื่อให้ลมพัดกระโปรงเช่นเดียวกับหนัง Seven Years Itch ที่มาริริน มอนโร เคยเล่น ฉากนี้ถ่ายที่ถนนชินจุกุหน้าห้างสรรพสินค้าอิเซตันกรุงโตเกียวที่บริเวณนี้มีคนเดินพลุกพล่านทั้งวัน โซมัยไปซ่อนกล้องบนตึกใกล้เคียงห่างออกมาไกลจนคนทั่วไปไม่รู้ว่ามีการถ่ายหนัง ขณะที่ผู้คนที่อยู่รอบข้างที่มารุมล้อมดูเธอก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของหนังไปอย่างไม่ขัดเขิน
ที่มาเปิดเผยในภายหลังก็คือ ชุดนักเรียนที่ ฮิโรโกะ ใส่แสดงในหนังนั้นเป็นชุดนักเรียนจริงที่เธอยังคงใส่ขึ้นรถไฟไปเรียนตามปกติแม้ในภายหลังถ่ายหนังเรื่องนี้เสร็จ
ความนิยมของหนังเรื่องนี้นอกจากจะเกือบทำให้มีการจลาจลเกิดขึ้นที่เมืองโอซะกะเมื่อตอนไปเปิดตัวของ ฮิโรโกะ ที่กล่าวไปเมื่อตอนที่แล้ว ที่โตเกียวก็สร้างปรากฏการณ์ปิดประตูโรงหนังไม่ได้เพราะมีคนเข้าไปดูมากเกินที่แม้ต้องนั่งพื้นดูก็ยอม
ความสำเร็จของหนังเรื่องนี้จึงมีมาจากส่วนผสมที่ลงตัว ทั้งจากตัวเธอที่เริ่มแสดงฝีมือได้เก่งมากขึ้นเพราะแสดงเป็นเรื่องที่ 3 แล้ว ยังมาจากผู้กำกับที่คุณลักษณะเฉพาะตัวอย่างโซมัย และสนับสนุนด้วยเจ้าของเรื่องที่มาเป็นผู้เขียนบทให้ มิพักจะกล่าวถึงเพลงที่ชื่อเดียวกับหนังที่ร้องโดย ฮิโรโกะ ที่ดังระเบิด
นอกจากหนังแล้วยังมีการสร้างซ้ำในรูปของละครโทรทัศน์ถึงอีก 2 ครั้งในปี 1982 และ 2006 ซึ่งแสดงถึงความนิยมที่คนดูมีต่อหนังเรื่องนี้
2 คลิปแรกเป็นประมวลหนังในแบบรวบรัดประกอบเพลงที่เธอร้อง โดยคลิปที่สองมีคำพูดที่ฮิตมากในเวลานั้นคือ “ไ-ค-คั-ง” ที่เธอพูดออกมาเองหลังจากยิงเสร็จโดยไม่มีในบท
http://www.youtube.com/watch?v=ihxc5zSmpmM
http://www.youtube.com/watch?v=RM7zYdjv9vU
คลิปต่อมาเป็นการให้สัมภาษณ์ในช่วงประมาณ 6 เดือนหลังจากหนังออกฉายที่เรียกว่า Silent Feaver เพราะเธอ “ดัง” ด้วยความเงียบโดยไม่ปรากฏตัวเนื่องจากยังอยู่ในช่วงต้องเรียนหนังสือเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย ฟังไม่ออกไม่เป็นไร แต่ให้ดูความเป็นธรรมชาติของเธอขณะอายุ 18 ปีอยู่ ม. 6 สังเกตหรือไม่ ตาเธอยิ้มได้
http://www.youtube.com/watch?v=7cX0oFeRvZE&list=PL028621B7B1A117A1
เพลงท่อนแรกที่ร้องว่า ซาโยนะระ วะ วะกะเร โนะ โคโตะบะ จะนะคุเตะ “ซาโนะระ มิใช่คำสุดท้ายเพื่อลาจาก” จึงได้ใจและน่าจะจริงสำหรับแฟนๆของเธอ ยะคุชิมารู ฮิโรโกะ
ภาพทั้งหมดจาก http://www.bulletsnbabesdvd.com/