xs
xsm
sm
md
lg

รถไฟฟ้าสีน้ำเงินฉาว สุมหัวกดดันประมูลใหม่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน -เปิดโปงขบวนการใต้ดินดันประมูลเดินรถไฟฟ้าสีน้าเงินส่วนต่อขยาย แฉ โยงใยกับกลุ่มอำนาจรัฐบาลเก่าโดยอาศัยผู้บริหาร รฟม. และกลุ่มเสนาธิการทหาร กดดันให้เกิดการประมูลโดยอ้างความโปร่งใส เผยเบื้องหลังหวังต้องการดันให้เกิดการประมูลเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนที่ต้องการจัดซื้อรถไฟฟ้าจากจีนโดยไม่สนประโยชน์และความเดือดประชาชนที่ต้องการใช้บริการรถไฟฟ้า

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ASTVผู้จัดการรายวัน” ถึงขบวนการการประมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ซึ่งพล.อ. ประจิน จั่นตอง รัฐมตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้คณะกรรมการ มาตรา 13 นำนโยบายไปทบทวนว่าจะเปิดประมูลใหม่หรือให้บริษัท BMCL เข้ามาเจรจาเพื่อเดินรถ ซึ่งเดิมเคยมีผลการศึกษาของ รฟม.ตั้งแต่ปี 2551 ที่เสนอ ครม.เห็นชอบเมื่อปี 2553 ระบุชัดเจนว่า
การเดินรถต่อเนื่อง (Through Operation) สำหรับสายสีน้าเงินทั้งหมดโดยมีผู้ให้บริการรายเดียวเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ทั้งในด้านความสะดวกและปลอดภัย ประหยัดค่าใช้จ่ายของรัฐ และเปิดให้บริการได้เร็วขึ้น สามารถทำได้ด้วยการเจรจากับผู้ให้บริการรายเดิม คือ BMCL ตามมาตรา 16 ของ พรบ.ร่วมลงทุน เหมือนเช่นที่ กทม.เจรจากับ BTS ส่วนการประมูลแบบเดินรถต่อเนื่อง ในทางปฏิบัติอาจไม่เหมาะที่จะดาเนินการเพราะ TOR จะเอื้อแก่ BMCL ดังนั้น การเจรจาจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดซึ่งเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและรัฐ


“แต่ที่ผ่านมา รัฐบาลที่แล้วกลับผลักดันให้เกิดการประมูลคัดเลือกแบบแยกระบบเดินรถไม่ต่อเนื่อง โดยแบ่งสายสีน้าเงินซึ่งเป็นสายวงกลมออกเป็น 2 ส่วน ให้มีผู้ให้บริการ 2 ราย โดยกาหนดไว้ใน TOR ให้ผู้โดยสารต้องเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีหัวลาโพงและเตาปูนทุกครั้ง โดยอ้างว่าต้องการให้เกิดการแข่งขันและโปร่งใส “แหล่งข่าวคนเดียว กัน กล่าว

**เปิดโปงโยงใยเบื้องหลังกลุ่มผลประโยชน์

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อไปถึง ขบวนการนี้มีกลุ่มผลประโยชน์โยงใยกับรัฐบาลที่แล้ว โดยใช้ผู้บริหารของรฟม.ที่เป็นผู้แทนในคณะกรรมการคัดเลือกเอกชน (คณะกรรมการ ม. 13) จากสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และจากกระทรวงการคลัง กดดันคณะกรรมการ ม.13 ให้เปิดประมูลแบบเดินรถไม่ต่อเนื่อง

โดยอ้างว่าต้องการการแข่งขันและความโปร่งใส เพราะรู้ว่าหากประมูลแบบเดินรถต่อเนื่องหรือเจรจา แม้ประชาชนจะได้ประโยชน์สูงสุดแต่มีโอกาสสูงที่ BMCL จะเป็นผู้ชนะ ซึ่งขบวนการนี้ไม่ต้องการให้ BMCL ได้รับสัมปทานเพราะที่ผ่านมากลุ่มนี้ต้องการซื้อระบบรถไฟฟ้าจากประเทศจีน ตั้งแต่สมัยสายสีม่วง แต่ BMCL ไม่ยอมดำเนินการตามที่เสนอ

ในช่วง ที่ผ่านมาคณะกรรมการ ม.13 หลายคนที่ทักท้วงว่าเหตุใดไม่เจรจา เพราะผลการศึกษาฯชี้ชัดว่าการเจรจาเป็นประโยชน์สูงสุด และ BMCL ก็ยินดีเจรจาโดยมีหนังสือยืนยันมาตั้งแต่ปี 2556 ถ้าไม่เจรจาก็เท่ากับรัฐทิ้งโอกาสและประโยชน์มหาศาลไป รวมถึงคณะกรรมการ รฟม.ก็พยายามเร่งรัดให้คณะกรรมการ ม.13 พิจารณาวิธีเจรจากับ BMCL เพราะเป็นประโยชน์

แต่ขบวนการนี้ก็บ่ายเบี่ยงจนสุดท้ายอ้างว่าเจรจาไม่ได้เพราะยุบสภา แต่พอ คสช.เข้ามาก็อ้างว่าเจรจาไม่ได้อีกเพราะไม่โปร่งใสและมีเหตุผลต่างๆ เช่น การเดินรถต่อเนื่องไม่จาเป็น ประชาชนเปลี่ยนรถเป็นเรื่องปกติยอมรับได้ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายไม่ได้ ซึ่งขัดกับข้อเท็จจริงและผลการศึกษาฯของ รฟม.อย่างสิ้นเชิง

สำหรับขบวนการนี้ใช้วิธีประสานผลประโยชน์กับผู้แทนหน่วยงานและกลุ่มเสนาธิการทหารที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้บริหารระดับสูงของ คสช. ฝังตัวอยู่ในคณะกรรมการ รฟม.และคณะกรรมการ ม.13 ผลักดันให้เกิดการประมูลโดยไม่สนใจความเดือดร้อนของประชาชนและไม่สนใจว่ารัฐจะเสียหาย เสียประโยชน์มากแค่ไหน โดยใช้การแข่งขันและความโปร่งใสมาเป็นข้ออ้างบังหน้าสร้างความชอบธรรมให้วิธีประมูลเพื่อไม่ให้สังคมเคลือบแคลง แท้จริงแล้วมุ่งหวังจะเอื้อกลุ่มทุนของตนเข้ามาจัดซื้อระบบรถไฟฟ้าที่ต้องการและรับสัมปทานเดินรถ

อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดการเปลี่ยนขั้วอำนาจจากรัฐบาล”ยิ่งลักษณ์” เดิมเป็น คสช. ขบวนการนี้กลับยังแข็งแรง มีการสร้างภาพโดยมีผลประโยชน์แอบแฝง โดยมีผู้บริหารของ รฟม. ซึ่งมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับ อดีตผู้ว่าการรถไฟ ซึ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังและผลักดันเรื่องการประมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย โดยใช้มีตำแหน่งผู้ว่า รฟม.เป็นตัวต่อรองและล่าสุดนายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ได้ขอลาออกจากตำแหน่งผู้ว่า รฟม. ไปแล้ว

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวทิ้งท้ายว่า ต้องคอยจับตาดูว่า คสช.และพล.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะตัดสินใจอย่างไร หรืออาจจะตกหลุมพรางนี้โดยมีกลุ่มผลประโยชน์ในการผลักดันให้มีการเปิดประมูลเพื่อต้องการจ้ดซื้อจัดจ้างหัวรถไฟจากประเทศจีนใหม่ เพราะผลประโยชน์มหาศาล อ้างการแข่งขันและความโปร่งใส โดยมีประชาชนเป็นเหยื่อต้องใช้ระบบรถไฟฟ้าที่ไม่มีประสิทธิภาพไปโดยตลอด ชณะที่บริษัท BMCL จะได้รับผลกระทบนี้และกลายเป็นแพะรับบาปไปเพราะไม่สนองนโยบายของขบวนการนี้

ก่อนหน้านี้คณะกรรมการ ม. 13 ที่เป็นคณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาว่าจะเปิดให้มีการประมูลหรือเจรจาใหม่ เกิดความคิดเห็นที่แตกต่างกัน จนทำให้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงนายรณชิต แย้มสะอาด รองผู้ว่า รฟม. และอดีตประธานคณะกรรมการ ม. 13 และนายสุชิน ศศิประภากุล ผู้ช่วยผู้ว่าการฯ และอดีตเลขาฯคณะกรรมการ ม 13 มีคำสั่งให้ปลดจากตำแหน่งดังกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น