ASTV ผู้จัดการรายวัน – นักวิเคราะห์ฟันธงปัจจัยสนับสนุนในประเทศแข็งแกร่ง ประกอบกับมีมาตรการอัดฉีดสภาพค่องทั้งในยุโรป และญี่ปุ่นช่วยหนุนหุ้นไทย จับตาQ4 ทำนิวไฮใหม่ ด้าน“เกศรา” ยืนยันบริษัทจดทะเบียนไทยแข็งแกร่งไม่เกิดภาวะฟองสบู่ ขณะเดียวกันเตือนนักลงทุนอย่างไล่ซื้อหุ้น พิจารณาพื้นฐานให้ดี
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ MBKET คาดว่ามีโอกาสที่จะเห็นตลาดหุ้นไทยขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ (นิวไฮ) ของปีนี้ในช่วงไตรมาส 4/57 ทั้งในแง่ของดัชนีและมูลค่าการซื้อขาย ซึ่งเป็นไปตามความเชื่อมั่นของนักลงทุนหลังจากปัญหาการเมืองในประเทศสงบลง โดยประเมินว่าอีก 6 เดือนข้างหน้าจะมีแต่ปัจจัยบวกเข้ามาสนับสนุนเศรษฐกิจไทย ทั้งด้านการบริโภคภายในประเทศ การใช้จ่ายของภาครัฐ การท่องเที่ยว รวมถึงการส่งออก ดังนั้นดัชนีมีโอกาสขึ้นไปที่ระดับ 1,650 จุดได้ในปีหน้า ส่วนตลาดไอพีโอที่ค่อนข้างร้อนแรงในระยะหลัง เป็นไปตามภาวะตลาดหุ้นที่อยู่ในช่วงขาขึ้น การตั้งราคาก็สมเหตุสมผล เพราะโดยปกติต้องมีส่วนลดให้กับนักลงทุน
"ตลาดหุ้นไทยในปีนี้เริ่มต้นปีด้วยการลงไปสู่จุดต่ำสุด และค่อยๆปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้วอลุ่มตลาดขึ้นมาใกล้ๆระดับ 60,000 ล้านบาทแล้ว จาก 30,000 ล้านบาทในช่วงต้นปี และยังคงเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ไตรมาส 2 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นไปตามความเชื่อมั่นของนักลงทุนหลังจากปัญหาการเมืองในประเทศสงบลง อย่างไรก็ดีแม้ตลาดหุ้นจะอยู่ในช่วงขาขึ้นนักลงทุนอย่าได้ชะล่าใจ อย่าใช้อารมณ์หรือตามกระแสข่าวลือต่างๆ ควรศึกษาปัจจัยพื้นฐานให้รอบคอบว่าราคาหุ้นขณะนั้นสมเหตสมผลและมีปัจจัยพื้นฐานรองรับหรือไม่" นายมนตรี กล่าว
นายมนตรี กล่าวถึงความเสี่ยงของการเกิดฟองสบู่ในตลาดหุ้นไทย ว่า มีโอกาสน้อยมาก เนื่องจากสัดส่วนการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ หรือ มาร์จิ้น โลน ในระบบปัจจุบันมีเพียง 50,000-55,000 ล้านบาท เทียบกับมาร์เก็ตแคปของตลาดที่อยู่ประมาณ 14 ล้านล้านบาท ถือว่าอยู่ในระดับต่ำมาก เมื่อเทียบกับในช่วงที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งมีมาร์จิ้นโลนอยู่ในระบบ 120,000 ล้านบาท ขณะที่มาร์เก็ตแคปอยู่ที่เพียง 3.5 ล้านล้านบาทเท่านั้น
"เรื่องฟองสบู่ไม่น่ากังวลมากนัก เพราะมาร์จิ้น โลน ต่ำมากเมื่อเทียบกับช่วงต้มยำกุ้ง ซึ่งการที่มาร์จิ้นโลนต่ำก็ทำให้ความเสี่ยงที่จะถูกฟอร์ซเซลและกดราคาหุ้นให้ร่วงหนักๆ จะเกิดขึ้นน้อยลง ขณะที่ปัจจัยด้านเศรษฐกิจก็อยู่ในระดับที่ดีรองรับกับพื้นฐานที่ควรจะเป็น อีกทั้งในปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนไทยมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่งมาก" นายมนตรี กล่าว
"เกศรา" ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ มั่นใจหุ้นไทยยังไร้วี่แววฟองสบู่ ระบุดัชนีระดับใกล้ 1,600 จุดไม่แพงเกินไป
สอดคล้องกับนางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. ยอมรับว่าอาจมีฟองสบู่ในหุ้นขนาดเล็กที่ปรับตัวขึ้นร้อนแรงในช่วงที่ผ่านมา ทำให้บางบริษัทราคาหุ้นปรับขึ้นจนเกินพื้นฐาน ซึ่ง ตลท.ก็ได้ติดตามอย่างใกล้ชิดว่ามีความผิดปกติหรือไม่ และให้รายงานข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นนักลงทุนควรใช้วิจารณญานให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน
อย่างไรก็ตามยืนยันว่าโอกาสการเกิดภาวะฟองสบู่กับตลาดหุ้นไทยเป็นไปได้ยาก แม้ดัชนีจะปรับตัวขึ้นไปใกล้เคียงระดับ 1600 จุด จนทำให้ P/E ในวันนี้ขึ้นไปถึงระดับ 18 เท่า แต่ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาค ประกอบกับหุ้นไทยยังมีพื้นฐานรองรับ โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนที่ยังมีแนวโน้มเติบโต และฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง
"บจ.ไทยถือว่ามีความแข็งแกร่ง มีพื้นฐานและฐานะการเงินที่ดี มีโอกาสเติบโตได้อีกในระยะยาว ส่วนเรื่องการเกิดฟองสบู่คงเป็นไปได้ยาก แม้ดัชนีฯ จะปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีพื้นฐานรองรับ รวมถึง P/E ที่แม้จะอยู่ในระดับสูงแต่ก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกับภูมิภาค" นางเกศรา กล่าว
ด้านนายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ คาดการณ์ความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหลักทรพัย์แห่งประเทศไทยในระยะ 2 สัปดาห์ ว่า ยังสามารถปรับตัวขึ้นได้อย่างต่อเนื่องด้วยเม็ดเงินจากกองทุนใหม่ 2 กองวงเงิน 2,500 ล้านบาทที่พร้อมจะเข้ามาหนุนไม่ให้ดัชนีอ่อนตัวลงแรงมาก รวมถึงน่าจะมีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติเข้ามาหลังการประชุมธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ในวันที่ 2 ตุลาคม ด้วยความคาดหวังว่าจะมีการประกาศวงเงินอัดฉีดสภาพคล่องผ่านมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน หรือ มาตรการ QE ที่สามารถสร้างเซอร์ไพร์สให้ตลาดได้
“มองว่าดัชนีหุ้นไทยไม่น่าจะลงลึกในระดับ 100 – 200 จุด อาจมีการปรับตัวลงบ้างบริเวณแนวต้าน 1600 จุด เพราะกองทุนน่าจะทยอยช้อนซื้อ และคาดว่า ECB จะประกาศวงเงินอัดฉีดสภาพคล่องในปริมาณที่สามารถซ๊อกตลาดได้ เพราะมาตรการเดิมไม่ได้ผลธนาคารเข้ามากู้เงินน้อยมาก จึงมองว่า ECB มีทางเลือกน้อยลง” นายณัฐชาต กล่าว
อย่างไรก็ตามการดำเนินนโยบายสวนทางกันระหว่างธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟดที่เตรียมจะยุติมาตรการ QE ลงในเดือนตุลาคม 2557 นี้กับการที่ ECB จะใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น นายณัฐชาต ยอมรับว่าจะส่งผลกระทบกับค่าเงิน โดยดอลลาร์น่าจะแข็งค่าต่อเนื่อง ขณะที่ค่าเงินยูโรจะอ่อนลง แต่ในทางปฏิบัติสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจโลกไม่หายไป ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกยังคงเป็นที่ต้องการรวมถึงตลาดทุนไทย
“ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเราพูดกันแต่ “ดอลลาร์เทรด” ซึ่งจากนี้ไปน่าจะเริ่มมีการพูดถึง “ยูโรเทรด” และ “เยนเทรด” กันมากขึ้นเพราะคงต้องยอมรับว่าการที่ดอลลาร์แข็งค่า สภาพคล่องจะถูกดูดกลับไปลงทุนในสหรัฐมากขึ้น แต่การที่ยุโรป และญี่ปุ่นประกาศดำเนินมาตรการ QE จะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจยังคงอยู่ รวมถึงเฟดเองก็ไม่ได้ยุติการซื้อพันธบัตร 100% เพราะหากมีพันธบัตรหมดอายุ ก็จะซื้อต่อในวงเงินเท่าเดิม ซึ่งก็ส่งผลดีต่อสินทรัพย์เสี่ยง และตลาดทุนไทยก็เป็นอันดับต้นๆ ที่ต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุน” นายณัฐชาต กล่าว
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ MBKET คาดว่ามีโอกาสที่จะเห็นตลาดหุ้นไทยขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ (นิวไฮ) ของปีนี้ในช่วงไตรมาส 4/57 ทั้งในแง่ของดัชนีและมูลค่าการซื้อขาย ซึ่งเป็นไปตามความเชื่อมั่นของนักลงทุนหลังจากปัญหาการเมืองในประเทศสงบลง โดยประเมินว่าอีก 6 เดือนข้างหน้าจะมีแต่ปัจจัยบวกเข้ามาสนับสนุนเศรษฐกิจไทย ทั้งด้านการบริโภคภายในประเทศ การใช้จ่ายของภาครัฐ การท่องเที่ยว รวมถึงการส่งออก ดังนั้นดัชนีมีโอกาสขึ้นไปที่ระดับ 1,650 จุดได้ในปีหน้า ส่วนตลาดไอพีโอที่ค่อนข้างร้อนแรงในระยะหลัง เป็นไปตามภาวะตลาดหุ้นที่อยู่ในช่วงขาขึ้น การตั้งราคาก็สมเหตุสมผล เพราะโดยปกติต้องมีส่วนลดให้กับนักลงทุน
"ตลาดหุ้นไทยในปีนี้เริ่มต้นปีด้วยการลงไปสู่จุดต่ำสุด และค่อยๆปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้วอลุ่มตลาดขึ้นมาใกล้ๆระดับ 60,000 ล้านบาทแล้ว จาก 30,000 ล้านบาทในช่วงต้นปี และยังคงเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ไตรมาส 2 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นไปตามความเชื่อมั่นของนักลงทุนหลังจากปัญหาการเมืองในประเทศสงบลง อย่างไรก็ดีแม้ตลาดหุ้นจะอยู่ในช่วงขาขึ้นนักลงทุนอย่าได้ชะล่าใจ อย่าใช้อารมณ์หรือตามกระแสข่าวลือต่างๆ ควรศึกษาปัจจัยพื้นฐานให้รอบคอบว่าราคาหุ้นขณะนั้นสมเหตสมผลและมีปัจจัยพื้นฐานรองรับหรือไม่" นายมนตรี กล่าว
นายมนตรี กล่าวถึงความเสี่ยงของการเกิดฟองสบู่ในตลาดหุ้นไทย ว่า มีโอกาสน้อยมาก เนื่องจากสัดส่วนการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ หรือ มาร์จิ้น โลน ในระบบปัจจุบันมีเพียง 50,000-55,000 ล้านบาท เทียบกับมาร์เก็ตแคปของตลาดที่อยู่ประมาณ 14 ล้านล้านบาท ถือว่าอยู่ในระดับต่ำมาก เมื่อเทียบกับในช่วงที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งมีมาร์จิ้นโลนอยู่ในระบบ 120,000 ล้านบาท ขณะที่มาร์เก็ตแคปอยู่ที่เพียง 3.5 ล้านล้านบาทเท่านั้น
"เรื่องฟองสบู่ไม่น่ากังวลมากนัก เพราะมาร์จิ้น โลน ต่ำมากเมื่อเทียบกับช่วงต้มยำกุ้ง ซึ่งการที่มาร์จิ้นโลนต่ำก็ทำให้ความเสี่ยงที่จะถูกฟอร์ซเซลและกดราคาหุ้นให้ร่วงหนักๆ จะเกิดขึ้นน้อยลง ขณะที่ปัจจัยด้านเศรษฐกิจก็อยู่ในระดับที่ดีรองรับกับพื้นฐานที่ควรจะเป็น อีกทั้งในปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนไทยมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่งมาก" นายมนตรี กล่าว
"เกศรา" ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ มั่นใจหุ้นไทยยังไร้วี่แววฟองสบู่ ระบุดัชนีระดับใกล้ 1,600 จุดไม่แพงเกินไป
สอดคล้องกับนางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. ยอมรับว่าอาจมีฟองสบู่ในหุ้นขนาดเล็กที่ปรับตัวขึ้นร้อนแรงในช่วงที่ผ่านมา ทำให้บางบริษัทราคาหุ้นปรับขึ้นจนเกินพื้นฐาน ซึ่ง ตลท.ก็ได้ติดตามอย่างใกล้ชิดว่ามีความผิดปกติหรือไม่ และให้รายงานข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นนักลงทุนควรใช้วิจารณญานให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน
อย่างไรก็ตามยืนยันว่าโอกาสการเกิดภาวะฟองสบู่กับตลาดหุ้นไทยเป็นไปได้ยาก แม้ดัชนีจะปรับตัวขึ้นไปใกล้เคียงระดับ 1600 จุด จนทำให้ P/E ในวันนี้ขึ้นไปถึงระดับ 18 เท่า แต่ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาค ประกอบกับหุ้นไทยยังมีพื้นฐานรองรับ โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนที่ยังมีแนวโน้มเติบโต และฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง
"บจ.ไทยถือว่ามีความแข็งแกร่ง มีพื้นฐานและฐานะการเงินที่ดี มีโอกาสเติบโตได้อีกในระยะยาว ส่วนเรื่องการเกิดฟองสบู่คงเป็นไปได้ยาก แม้ดัชนีฯ จะปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีพื้นฐานรองรับ รวมถึง P/E ที่แม้จะอยู่ในระดับสูงแต่ก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกับภูมิภาค" นางเกศรา กล่าว
ด้านนายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ คาดการณ์ความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหลักทรพัย์แห่งประเทศไทยในระยะ 2 สัปดาห์ ว่า ยังสามารถปรับตัวขึ้นได้อย่างต่อเนื่องด้วยเม็ดเงินจากกองทุนใหม่ 2 กองวงเงิน 2,500 ล้านบาทที่พร้อมจะเข้ามาหนุนไม่ให้ดัชนีอ่อนตัวลงแรงมาก รวมถึงน่าจะมีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติเข้ามาหลังการประชุมธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ในวันที่ 2 ตุลาคม ด้วยความคาดหวังว่าจะมีการประกาศวงเงินอัดฉีดสภาพคล่องผ่านมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน หรือ มาตรการ QE ที่สามารถสร้างเซอร์ไพร์สให้ตลาดได้
“มองว่าดัชนีหุ้นไทยไม่น่าจะลงลึกในระดับ 100 – 200 จุด อาจมีการปรับตัวลงบ้างบริเวณแนวต้าน 1600 จุด เพราะกองทุนน่าจะทยอยช้อนซื้อ และคาดว่า ECB จะประกาศวงเงินอัดฉีดสภาพคล่องในปริมาณที่สามารถซ๊อกตลาดได้ เพราะมาตรการเดิมไม่ได้ผลธนาคารเข้ามากู้เงินน้อยมาก จึงมองว่า ECB มีทางเลือกน้อยลง” นายณัฐชาต กล่าว
อย่างไรก็ตามการดำเนินนโยบายสวนทางกันระหว่างธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟดที่เตรียมจะยุติมาตรการ QE ลงในเดือนตุลาคม 2557 นี้กับการที่ ECB จะใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น นายณัฐชาต ยอมรับว่าจะส่งผลกระทบกับค่าเงิน โดยดอลลาร์น่าจะแข็งค่าต่อเนื่อง ขณะที่ค่าเงินยูโรจะอ่อนลง แต่ในทางปฏิบัติสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจโลกไม่หายไป ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกยังคงเป็นที่ต้องการรวมถึงตลาดทุนไทย
“ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเราพูดกันแต่ “ดอลลาร์เทรด” ซึ่งจากนี้ไปน่าจะเริ่มมีการพูดถึง “ยูโรเทรด” และ “เยนเทรด” กันมากขึ้นเพราะคงต้องยอมรับว่าการที่ดอลลาร์แข็งค่า สภาพคล่องจะถูกดูดกลับไปลงทุนในสหรัฐมากขึ้น แต่การที่ยุโรป และญี่ปุ่นประกาศดำเนินมาตรการ QE จะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจยังคงอยู่ รวมถึงเฟดเองก็ไม่ได้ยุติการซื้อพันธบัตร 100% เพราะหากมีพันธบัตรหมดอายุ ก็จะซื้อต่อในวงเงินเท่าเดิม ซึ่งก็ส่งผลดีต่อสินทรัพย์เสี่ยง และตลาดทุนไทยก็เป็นอันดับต้นๆ ที่ต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุน” นายณัฐชาต กล่าว