บล.ทรีนีตี้ ระบุการสิ้นมาตราการผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณ หรือ มาตรการ QE ที่จะสิ้นสุดประมาณเดือนกันยายน – ตุลาคม 2557 ควบคู่กับการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด จะเริ่มพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเป็นปัจจัยกดดันดัชนี ณ สิ้นปี 2557 ให้ปรับตัวลงไปเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง1,400-1,450 จุด
นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ กล่าวว่า ช่วงระยะเวลาที่ดีที่สุดของการที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะฟื้นตัวคือช่วงไตรมาส 3/57 โดยจะทะยานขึ้นทดสอบแนวต้าน 1,500 - 1,550 จุด ได้จากสภาพคล่องของตลาดที่ยังคงปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากการที่ธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB เริ่มใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินอย่างชัดเจน ส่งผลให้มีเม็ดเงินไหลเข้ามาสู่ตลาดหุ้นเกิดใหม่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งตลาดหุ้นไทยจะได้รับอานิสงส์ดังกล่าวด้วย พร้อมคาดการณ์ว่า ECB มีแนวโน้มที่จะพิจารณาใช้มาตรการขั้นสูง หรือ มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน หรือ มาตรการ QE ที่ดำเนินการทั้งอัดฉีดภาพคล่อง และปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายควบคู่กันไป ตามอย่างสหรัฐฯ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงเป็นปัญหาหนักที่ต้องเร่งแก้ไข
“ธนาคารกลางยุโรปอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการขั้นสูงแบบเดียวกับสหรัฐฯ คือ การดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE ทั้งการลดดอกเบี้ย การปล่อยโครงการเงินกู้ระดับต่ำ รวมถึงการทำ Euro carry trade คือเป็นการเอาเงินยูโรที่มีต้นทุนการกู้ยืมต่ำไปลงทุนแสวงหากำไรจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าของประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศในเอเชีย ซึ่งน่าจะทำให้ค่าเงินเอเชียแข็งค่าขึ้น และตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อตลาดหุ้นเกิดใหม่ที่มีเม็ดเงินใหลเข้าเพิ่มมากขึ้น โดยในช่วงความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมาเม็ดเงินลงทุนจากยุโรปไม่ได้เข้ามาลงทุนในไทย เพราะยุโรปยังคงกังวลต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศ และเมื่อ คสช. เข้ามาบริหารและประกาศนโยบายสร้างความเชื่อมั่นที่เป็นรูปธรรมต่อนักลงทุนและทำให้สภาพคล่องกลับเข้ามาสู่ตลาดหุ้นได้เช่นเดิม” นายณัฐชาต กล่าว
ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ กล่าวถึงกรณีที่ประเทศสหรัฐฯ ปรับลดระดับในเรื่องปัญหาการค้ามนุษย์ลงว่า เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบเพียงบางกลุ่มอุตสาหกรรมเน้นหนักไปในอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง ซึ่งบริษัทที่จะได้รับผลกระทบนั้นจำกัดอยู่เพียงบางกลุ่ม เช่น TUF , CFRESH
ในขณะที่ไตรมาสที่ 4 นายณัฐชาต คาดว่าตลาดจะผันผวนอย่างมาก จากผลกระทบของตลาดหุ้นในต่างประเทศ โดยเฉพาะในเดือนกันยายน-ตุลาคม ซึ่งหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าเฟดจะยุติมาตรการ QE ลงในเดือนตุลาคมนี้ โดยขณะนี้ตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรของสหรัฐฯ ยังไม่กังวลต่อข่าวนี้มากเท่าไหร่นัก ทั้งนี้หากใกล้วันเวลาที่เฟดจะประชุมกันในเดือนกันยายนนี้ คาดว่านักลงทุนไทยจะมีการปรับพอร์ต เพื่อรองรับสภาวะตลาดที่จะผันผวนจากมาตรการประกาศยกเลิก QE ในครั้งนี้ ทั้งนี้ในส่วนของเป้าดัชนี SET INDEX บริษัทฯมองว่าช่วงที่ดีที่สุดของตลาดหุ้นไทยไม่ได้อยู่ที่ไตรมาสที่ 4
นายณัฐชาต คาดการณ์กำไรของบริษัทจดทะเบียน ณ สิ้นปี 2557 ว่าจะยังคงออกมาดีโดยน่าจะทรงตัวใกล้เคียง ณ สิ้นปี 2556 นั้น จากการที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ไตรมาส 3/57 เป็นต้นมา โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารที่มีภาพรวมประมาณการในครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหุ้นกลุ่มอื่นที่คาดว่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญคือ กลุ่มที่เกี่ยวกับการบริโภคภายในประเทศ เช่น กลุ่มอสังหาฯ กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มเช่าซื้อ โดยมีดัชนีชี้วัดคือตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน
นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ กล่าวว่า ช่วงระยะเวลาที่ดีที่สุดของการที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะฟื้นตัวคือช่วงไตรมาส 3/57 โดยจะทะยานขึ้นทดสอบแนวต้าน 1,500 - 1,550 จุด ได้จากสภาพคล่องของตลาดที่ยังคงปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากการที่ธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB เริ่มใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินอย่างชัดเจน ส่งผลให้มีเม็ดเงินไหลเข้ามาสู่ตลาดหุ้นเกิดใหม่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งตลาดหุ้นไทยจะได้รับอานิสงส์ดังกล่าวด้วย พร้อมคาดการณ์ว่า ECB มีแนวโน้มที่จะพิจารณาใช้มาตรการขั้นสูง หรือ มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน หรือ มาตรการ QE ที่ดำเนินการทั้งอัดฉีดภาพคล่อง และปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายควบคู่กันไป ตามอย่างสหรัฐฯ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงเป็นปัญหาหนักที่ต้องเร่งแก้ไข
“ธนาคารกลางยุโรปอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการขั้นสูงแบบเดียวกับสหรัฐฯ คือ การดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE ทั้งการลดดอกเบี้ย การปล่อยโครงการเงินกู้ระดับต่ำ รวมถึงการทำ Euro carry trade คือเป็นการเอาเงินยูโรที่มีต้นทุนการกู้ยืมต่ำไปลงทุนแสวงหากำไรจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าของประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศในเอเชีย ซึ่งน่าจะทำให้ค่าเงินเอเชียแข็งค่าขึ้น และตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อตลาดหุ้นเกิดใหม่ที่มีเม็ดเงินใหลเข้าเพิ่มมากขึ้น โดยในช่วงความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมาเม็ดเงินลงทุนจากยุโรปไม่ได้เข้ามาลงทุนในไทย เพราะยุโรปยังคงกังวลต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศ และเมื่อ คสช. เข้ามาบริหารและประกาศนโยบายสร้างความเชื่อมั่นที่เป็นรูปธรรมต่อนักลงทุนและทำให้สภาพคล่องกลับเข้ามาสู่ตลาดหุ้นได้เช่นเดิม” นายณัฐชาต กล่าว
ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ กล่าวถึงกรณีที่ประเทศสหรัฐฯ ปรับลดระดับในเรื่องปัญหาการค้ามนุษย์ลงว่า เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบเพียงบางกลุ่มอุตสาหกรรมเน้นหนักไปในอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง ซึ่งบริษัทที่จะได้รับผลกระทบนั้นจำกัดอยู่เพียงบางกลุ่ม เช่น TUF , CFRESH
ในขณะที่ไตรมาสที่ 4 นายณัฐชาต คาดว่าตลาดจะผันผวนอย่างมาก จากผลกระทบของตลาดหุ้นในต่างประเทศ โดยเฉพาะในเดือนกันยายน-ตุลาคม ซึ่งหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าเฟดจะยุติมาตรการ QE ลงในเดือนตุลาคมนี้ โดยขณะนี้ตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรของสหรัฐฯ ยังไม่กังวลต่อข่าวนี้มากเท่าไหร่นัก ทั้งนี้หากใกล้วันเวลาที่เฟดจะประชุมกันในเดือนกันยายนนี้ คาดว่านักลงทุนไทยจะมีการปรับพอร์ต เพื่อรองรับสภาวะตลาดที่จะผันผวนจากมาตรการประกาศยกเลิก QE ในครั้งนี้ ทั้งนี้ในส่วนของเป้าดัชนี SET INDEX บริษัทฯมองว่าช่วงที่ดีที่สุดของตลาดหุ้นไทยไม่ได้อยู่ที่ไตรมาสที่ 4
นายณัฐชาต คาดการณ์กำไรของบริษัทจดทะเบียน ณ สิ้นปี 2557 ว่าจะยังคงออกมาดีโดยน่าจะทรงตัวใกล้เคียง ณ สิ้นปี 2556 นั้น จากการที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ไตรมาส 3/57 เป็นต้นมา โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารที่มีภาพรวมประมาณการในครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหุ้นกลุ่มอื่นที่คาดว่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญคือ กลุ่มที่เกี่ยวกับการบริโภคภายในประเทศ เช่น กลุ่มอสังหาฯ กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มเช่าซื้อ โดยมีดัชนีชี้วัดคือตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน