ASTV ผู้จัดการรายวัน - โบรกฯคาดนักลงทุนเฝ้าแผนบริหารจัดการประเทศของ คสช.เพื่อผลักดันเศรษฐกิจ พร้อมหวั่นหากยังไม่มีการจัดตั้งรัฐบาล ไทยอาจถูกปรับลดอันดับเครดิต ชี้รอบนี้ดัชนีปรับตัวลดลงไปมากแม้ต่างชาติขายออก เหตุนักลงทุนไทยชะลอลงทุนเก็บเงินสดไปรอซื้อจำนวนมาก พร้อมเชื่อกลุ่มชินคอร์ป จะผันผวนระยะสั้นจากแรงเทขาย
บล.กสิกรไทยและศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปภาวะตลาดทุนรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (19-23 พ.ค.) ดัชนี SET ปรับตัวลดลง ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยดัชนีปิดที่ระดับ 1,396.84 จุด ลดลง 0.60% จากสัปดาห์ก่อน ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลง 2.68% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 39,401.24 ล้านบาท โดยนักลงทุนรายย่อย นักลงทุนสถาบันและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 419.56 จุด เพิ่มขึ้น 0.96% จากสัปดาห์ก่อน
ภาพรวม สัปดาห์ที่19 - 23 พ.ค. ตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มตัวขึ้นในวันจันทร์ ก่อนที่จะขยับลงในวันอังคาร โดยมีแรงขายของนักลงทุนต่างชาติหลังการประกาศใช้กฎอัยการศึก อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นสามารถฟื้นตัวขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ ท่ามกลางความคาดหวังเชิงบวกจากการประชุมหาทางออกของประเทศ โดยตลาดหุ้นปรับตัวลดลงอีกครั้งในวันศุกร์ จากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ เพื่อรอดูความชัดเจนเกี่ยวกับรัฐบาลชุดใหม่ หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้าควบคุมอำนาจการปกครอง
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ ระหว่างวันที่ 26-30 พ.ค. 2557 คาดว่า ดัชนีน่าจะแกว่งตัวผันผวน โดยตลาดคงจะให้น้ำหนักกับปัจจัยการเมืองในประเทศ ขณะที่การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เครื่องชี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ และความเชื่อมั่นผู้บริโภค ขณะที่บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,375 และ 1,356 จุด ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,397 และ 1,402-1,407 จุด ตามลำดับ
ด้านนายชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ สายงานวิจัยลูกค้าบุคคล บล.บัวหลวง(BLS)กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเทรดคล้ายคลึงกับข้อมูลในอดีตจากที่มีการรัฐประหารในไทยมา 2 ครั้งแล้วในรอบ 20 ปี แต่รอบนี้นักลงทุนถือเงินสดไว้พอควร ทำให้ในแง่ของการปรับตัวของดัชนีฯจึงน้อยกว่า 2 ครั้งในอดีตที่มีค่าเฉลี่ยของการปรับตัวลงประมาณ 4%
"นักลงทุนในประเทศต่างจ้องซื้ออยู่แล้วเมื่อตลาดฯปรับตัวลง เพราะมีการเตรียมเงินสดไว้ลงทุนพอควร ดังนั้นแรงขายของนักลงทุนในประเทศจึงไม่มาก แต่จะเป็นการขายของนักลงทุนต่างชาติมากกว่า อย่างไรก็ดี ยังต้องรอดูรายชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และคณะรัฐมนตรี(ครม.)ชุดใหม่ด้วย ว่าจะเป็นใครบ้าง โดยรวมตลาดฯคงจะยังแกว่งตัวไม่มาก เพราะยังเฝ้ารอดูรายชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่อยู่ ซึ่งปกติกว่าจะรู้ก็จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ แต่ถ้ารับทราบในช่วงสุดสัปดาห์นี้จะยิ่งดี จะช่วยส่งให้ตลาดฯปรับตัวขึ้นได้ ซึ่งแนวรับอยู่ที่ 1,380 จุด แนวต้าน และ 1,410-1,420 จุด
นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัท หลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ปรับตัวลดลงจากความวิตกกังวลในเรื่องการทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการชั่วคราว ซึ่งดัชนี SET INDEX ปรับฐานไปอยู่ที่ 1,360-1,380 ตามที่ได้ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งหากพิจารณาตั้งแต่ที่ทาง กอ.รส.ได้ประกาศกฏอัยการศึกออกมาเมื่อ เวลา 03.00 น. ของวันที่ 20 พ.ค. ที่ผ่านมาซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่รับรู้ข่าวนี้และได้ทยอยขายหุ้นออกไปส่วนหนึ่งแล้ว เมื่อทาง กอ.รส.ทำการยึดอำนาจจึงปรับตัวลดลงไม่มากนัก
ทั้งนี้ความเสี่ยงที่จะต้องตามต่อจากนี้ คือหากยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้อย่างรวดเร็ว โอกาสที่ประเทศไทยจะถูกปรับลดความน่าเชื่อถือในไตรมาสที่ 4 มีความเป็นไปได้สูงจากทั้ง สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (S&P)และฟิตช์ เรตติงส์ เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา ประเทศมีความขัดแย้งต่อเนื่องยาวนาน และรัฐบาลขาดเสถียรภาพและความโปร่งใสชัดเจนในนโยบายต่างๆ อีกทั้งยังไม่อะไรที่จะสร้างความเชื่อมั่นว่าจะสามารถปฏิรูปและจัดตั้งรัฐบาลได้แล้วเสร็จทันในไตรมาสที่ 4
ขณะที่แนวโน้มธุรกิจหุ้นที่เกี่ยวข้องกับตระกูลชินวัตร หลังการรัฐประหาร อาจเกิดแรงเทขายจากฟันโฟลในพอร์ตขนาดใหญ่ของนักลงทุนต่างชาติที่ถือครองหุ้นในสัดส่วนที่สูง แต่หากพิจารณาจากมาร์เก็ตแคปที่มีถึง 9 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 8% ของมาร์เก็ตแคปรวมในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก จะเป็นแค่ในช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อสถานการณ์การเมืองคลีคลายลงตลาดหุ้นปรับตัวฟื้นขึ้นมา ธุรกิจในเครือชินคอร์ปก็จะทยอยปรับตัวฟื้นขึ้นมาตามทิศทางตลาด
ส่วนแนวโน้มการลงทุนในระยะนี้ตลาดจะมีการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงโดยในระยะสั้น จะเคลื่อนใหวอยู่ในกรอบ 1,400-1420 จุด ให้นักลงทุนทยอยขายหุ้นปรับพอร์ตออกมาก่อนเพื่อเลี่ยงความเสี่ยงจากความไม่แน่นอน อย่างไรก็ดีในเดือนหน้าคาดว่าจะแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวขึ้น โดยตลาดหุ้นไทยจะได้รับอานิสงส์จากการที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะประชุมกันในวันที่ 5 มิถุนายน และอาจจะมีมาตรการเพิ่มเติมในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ SET INDEX จะขยับขึ้นแตะ 1,450 จุด
ทั้งนี้คำแนะนำนักลงทุนในช่วงนี้ ให้พิจารณาปรับลดและย้ายหุ้นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การเมืองได้แก่ กลุ่มสื่อสาร ธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง โดยหุ้นที่คาดว่าจะมีราคาปรับตัวขึ้นได้แก่ กลุ่มบันเทิง เช่น บมจ.อาเอส ที่ได้สิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2014 และกลุ่มอสังหาฯที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวขึ้น ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองในประเทศ ได้แก่หุ้นกลุ่มพลังงาน อิเล็กโทรนิกส์ และ กลุ่มค้าปลีก ซึ่งจะปรับตัวขึ้นตามทิศทางความต้องการของตลาดโลก
บล.กสิกรไทยและศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปภาวะตลาดทุนรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (19-23 พ.ค.) ดัชนี SET ปรับตัวลดลง ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยดัชนีปิดที่ระดับ 1,396.84 จุด ลดลง 0.60% จากสัปดาห์ก่อน ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลง 2.68% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 39,401.24 ล้านบาท โดยนักลงทุนรายย่อย นักลงทุนสถาบันและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 419.56 จุด เพิ่มขึ้น 0.96% จากสัปดาห์ก่อน
ภาพรวม สัปดาห์ที่19 - 23 พ.ค. ตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มตัวขึ้นในวันจันทร์ ก่อนที่จะขยับลงในวันอังคาร โดยมีแรงขายของนักลงทุนต่างชาติหลังการประกาศใช้กฎอัยการศึก อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นสามารถฟื้นตัวขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ ท่ามกลางความคาดหวังเชิงบวกจากการประชุมหาทางออกของประเทศ โดยตลาดหุ้นปรับตัวลดลงอีกครั้งในวันศุกร์ จากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ เพื่อรอดูความชัดเจนเกี่ยวกับรัฐบาลชุดใหม่ หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้าควบคุมอำนาจการปกครอง
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ ระหว่างวันที่ 26-30 พ.ค. 2557 คาดว่า ดัชนีน่าจะแกว่งตัวผันผวน โดยตลาดคงจะให้น้ำหนักกับปัจจัยการเมืองในประเทศ ขณะที่การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เครื่องชี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ และความเชื่อมั่นผู้บริโภค ขณะที่บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,375 และ 1,356 จุด ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,397 และ 1,402-1,407 จุด ตามลำดับ
ด้านนายชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ สายงานวิจัยลูกค้าบุคคล บล.บัวหลวง(BLS)กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเทรดคล้ายคลึงกับข้อมูลในอดีตจากที่มีการรัฐประหารในไทยมา 2 ครั้งแล้วในรอบ 20 ปี แต่รอบนี้นักลงทุนถือเงินสดไว้พอควร ทำให้ในแง่ของการปรับตัวของดัชนีฯจึงน้อยกว่า 2 ครั้งในอดีตที่มีค่าเฉลี่ยของการปรับตัวลงประมาณ 4%
"นักลงทุนในประเทศต่างจ้องซื้ออยู่แล้วเมื่อตลาดฯปรับตัวลง เพราะมีการเตรียมเงินสดไว้ลงทุนพอควร ดังนั้นแรงขายของนักลงทุนในประเทศจึงไม่มาก แต่จะเป็นการขายของนักลงทุนต่างชาติมากกว่า อย่างไรก็ดี ยังต้องรอดูรายชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และคณะรัฐมนตรี(ครม.)ชุดใหม่ด้วย ว่าจะเป็นใครบ้าง โดยรวมตลาดฯคงจะยังแกว่งตัวไม่มาก เพราะยังเฝ้ารอดูรายชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่อยู่ ซึ่งปกติกว่าจะรู้ก็จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ แต่ถ้ารับทราบในช่วงสุดสัปดาห์นี้จะยิ่งดี จะช่วยส่งให้ตลาดฯปรับตัวขึ้นได้ ซึ่งแนวรับอยู่ที่ 1,380 จุด แนวต้าน และ 1,410-1,420 จุด
นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัท หลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ปรับตัวลดลงจากความวิตกกังวลในเรื่องการทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการชั่วคราว ซึ่งดัชนี SET INDEX ปรับฐานไปอยู่ที่ 1,360-1,380 ตามที่ได้ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งหากพิจารณาตั้งแต่ที่ทาง กอ.รส.ได้ประกาศกฏอัยการศึกออกมาเมื่อ เวลา 03.00 น. ของวันที่ 20 พ.ค. ที่ผ่านมาซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่รับรู้ข่าวนี้และได้ทยอยขายหุ้นออกไปส่วนหนึ่งแล้ว เมื่อทาง กอ.รส.ทำการยึดอำนาจจึงปรับตัวลดลงไม่มากนัก
ทั้งนี้ความเสี่ยงที่จะต้องตามต่อจากนี้ คือหากยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้อย่างรวดเร็ว โอกาสที่ประเทศไทยจะถูกปรับลดความน่าเชื่อถือในไตรมาสที่ 4 มีความเป็นไปได้สูงจากทั้ง สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (S&P)และฟิตช์ เรตติงส์ เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา ประเทศมีความขัดแย้งต่อเนื่องยาวนาน และรัฐบาลขาดเสถียรภาพและความโปร่งใสชัดเจนในนโยบายต่างๆ อีกทั้งยังไม่อะไรที่จะสร้างความเชื่อมั่นว่าจะสามารถปฏิรูปและจัดตั้งรัฐบาลได้แล้วเสร็จทันในไตรมาสที่ 4
ขณะที่แนวโน้มธุรกิจหุ้นที่เกี่ยวข้องกับตระกูลชินวัตร หลังการรัฐประหาร อาจเกิดแรงเทขายจากฟันโฟลในพอร์ตขนาดใหญ่ของนักลงทุนต่างชาติที่ถือครองหุ้นในสัดส่วนที่สูง แต่หากพิจารณาจากมาร์เก็ตแคปที่มีถึง 9 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 8% ของมาร์เก็ตแคปรวมในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก จะเป็นแค่ในช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อสถานการณ์การเมืองคลีคลายลงตลาดหุ้นปรับตัวฟื้นขึ้นมา ธุรกิจในเครือชินคอร์ปก็จะทยอยปรับตัวฟื้นขึ้นมาตามทิศทางตลาด
ส่วนแนวโน้มการลงทุนในระยะนี้ตลาดจะมีการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงโดยในระยะสั้น จะเคลื่อนใหวอยู่ในกรอบ 1,400-1420 จุด ให้นักลงทุนทยอยขายหุ้นปรับพอร์ตออกมาก่อนเพื่อเลี่ยงความเสี่ยงจากความไม่แน่นอน อย่างไรก็ดีในเดือนหน้าคาดว่าจะแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวขึ้น โดยตลาดหุ้นไทยจะได้รับอานิสงส์จากการที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะประชุมกันในวันที่ 5 มิถุนายน และอาจจะมีมาตรการเพิ่มเติมในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ SET INDEX จะขยับขึ้นแตะ 1,450 จุด
ทั้งนี้คำแนะนำนักลงทุนในช่วงนี้ ให้พิจารณาปรับลดและย้ายหุ้นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การเมืองได้แก่ กลุ่มสื่อสาร ธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง โดยหุ้นที่คาดว่าจะมีราคาปรับตัวขึ้นได้แก่ กลุ่มบันเทิง เช่น บมจ.อาเอส ที่ได้สิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2014 และกลุ่มอสังหาฯที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวขึ้น ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองในประเทศ ได้แก่หุ้นกลุ่มพลังงาน อิเล็กโทรนิกส์ และ กลุ่มค้าปลีก ซึ่งจะปรับตัวขึ้นตามทิศทางความต้องการของตลาดโลก