เมื่อเวลา 08.00. วานนี้ ( 22 ก.ย.) ที่กระทรวงกลาโหม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ก่อนประชุมกลาโหมว่า นโยบายแก้ไขปัญหาพื้นที่ภาคใต้จะต้องดูแลให้เกิดความสงบให้ได้ เป็นหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ดูแลโดยตรงอยู่แล้ว โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแลสูงสุด
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้มอบหมายให้ตนไปดูแลศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และหากมีเวลาจะเดินทางลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย สำหรับความคืบหน้าในการพูดคุยเพื่อสันติภาพนั้น ยังไม่ได้กำหนดผู้ทำหน้าที่หัวหน้าคณะ และยังไม่ได้พูดคุยเรื่องนี้กับนายกรัฐมนตรี
เมื่อถามว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะมีการประชุมกำหนดนโยบายทำงานคู่ขนานกับรัฐบาลอย่างไร พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า นายกรัฐมนตรียังไม่ได้กำหนดว่าจะประชุมเดือนละกี่วัน แต่ยืนยันว่าจะต้องมีแน่นอน เพื่อทำงานคู่ขนานกับรัฐบาล เพราะว่ารัฐบาลชุดนี้ต้องเดินตามนโยบาย คสช. และขณะนี้คสช. เดินมาได้ถูกต้องและประชาชนก็พอใจ
** จัดเสวนาต้องขออนุญาตคสช.
พล.อ.ประวิตร ยังกล่าวถึงกรณี 60 นักวิชาการ ที่เข้าชื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับการระงับงานเสวนา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 18 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า “ทุกอย่างต้องทำตามกฎหมาย ซึ่งต้องเดินไปเช่นนั้น อย่าให้ล้ำเส้น อะไรทำตามกฎหมายได้ก็ทำ”
เมื่อถามย้ำว่า นักวิชาการที่เรียกร้องให้เปิดพื้นที่แสดงความคิดเห็น และจัดเสวนา พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เรื่องนี้สามารถทำเรื่องไปที่ คสช. เพราะคสช. จะเป็นผู้กำหนดว่า จะดำเนินการอย่างไร ซึ่งตนขอย้ำว่า ทุกอย่างดำเนินการตามกฎหมาย เพราะคสช. ต้องการให้เกิดความสงบสุข และความปรองดอง แต่อะไรที่จะเกี่ยวข้องกับการเมือง คงไม่ได้
เมื่อถามว่า หากนักวิชาการจะเสนอเสวนาวิชาการได้หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ทุกเรื่องคสช.จะประชุมกัน ถ้ามีความชัดเจนทางวิชาการ ก็ไม่มีใครว่าอะไร
ด้านนายยุทธพร อิสรชัย คณบดีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวถึง กรณีที่ 60 นักวิชาการออกจดหมายเปิดผนึกประณามกรณีที่ ทหารและตำรวจบังคับให้นักวิชาการและนักศึกษายุติงานเสวนาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า 60 อาจารย์ที่ออกมาล้วนแต่เป็นนักวิชาการรุ่นใหม่ ความขัดแย้งในสังคมวันนี้ไม่ใช่แค่วาทะกรรม บรรยากาศการเมืองเปลี่ยนไป ความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่จึงเปลี่ยนไปด้วย เรื่องนี้ทาง คสช.จะละเลยไม่ได้ ต้องทำความเข้าใจรวมทั้ง ยอมรับความคิดเห็น เปิดพื้นที่ปลอดภัยให้สามารถคุยกันและแสดงความคิดเห็นได้บ้าง เหมือนกับเวลาเราต้มน้ำในกา เราต้องปล่อยไอน้ำออกมา ไม่เช่นนั้นกาอาจระเบิดได้ เรื่องนี้ก็เหมือนกัน เพราะหากปิดกั้นมากเกิดไปอาจจะเป็นแรงกดดันและเป็นฉนวนเหตุในการออกมาชุมนุมในอนาคตได้
**สั่งกลาโหมทำแผนใช้จ่ายงบฯ
ต่อมาเวลา 10.00 น. พล.อ.ประวิตร ได้เป็นประธานการประชุมสภากลาโหมครั้งแรก ภายหลังจากที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม โดยมี พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รอง ผู้บัญชาการทหารบก และรมช.กลาโหม พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ และตัวแทนหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมประชุม ส่วน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก และ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ไม่ได้เดินทางมาร่วมประชุมด้วย เนื่องจากติดภารกิจโดยมอบหมายให้ผู้แทนเข้าร่วมประชุมมาแทน
ต่อมาในเวลา 12.00 น. พ.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงผลการประชุมสภากลาโหม ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมสภากลาโหมครั้งสุดท้ายของปีงบประมาณ 2557 โดยพล.อ.ประวิตร ได้เน้นย้ำแนวทางปฏิบัติงาน และให้ความสำคัญกับงานความมั่นคง พร้อมกันนั้น จะน้อมนำเอาแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯไปปฏิบัติ เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติที่ยั่งยืน รวมทั้งต้องปกป้อง และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเต็มกำลังความสามารถ อีกทั้งจะสนับสนุนการเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ สร้างความเชื่อมั่น และสร้างสภาวะแวดล้อมให้ประชานมีความปลอดภัย และสร้างความปรองดองต่อคนในสร้าง ส่วนการรักษาความม่นคงตามแนวชายแดน ต้องดำเนินการปกป้องผลประโยชน์ของชาติ และสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนตามแนวชายแดน โดยจะเน้นการรักษาอธิปไตยตามแนวชายแดนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด และอาวุธสงคราม การลักลอบขนสิ่งของผิดกฎหมาย และการหลบหนีเข้าเมือง และแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ
นอกจากนี้ยังได้เน้นย้ำการรักษาความมั่นคงภายใน โดยมุ่งเน้นการป้องกัน และการแก้ไขปัญหายาเสพติด สิ่งผิดกฎหมาย และการป้องกันภัยธรรมชาติ จากการกระทำของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม ซึ่ง พล.อ.ประวิตร เน้นย้ำให้ทุกส่วนราชการไปดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน โดยจะเน้นความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก และขอให้ทุกฝ่ายฟื้นฟูเต็มความสามารถ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการพัฒนาเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ พล.อ.ประวิตร ได้เน้นย้ำเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับมิตรประเทศ และเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
ส่วนการป้องกันประเทศ เน้นการเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพให้มีความพร้อมในการรักษาเอกราช อธิปไตย และพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทุกรูปแบบ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือประชาชน เพื่อให้ประชาชนศรัทธากองทัพ ในด้านกำลังพล และยุทโธปกรณ์ ต้องมีความทันสมัย มีประสิทธิภาพ เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน เน้นย้ำการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความมั่นคงในปัจจุบัน
"สำหรับงบประมาณ ขอให้ทุกส่วนราชการดำเนินการผ่านงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกระทรวงกลาโหม ปี 2558 โดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนา และยกระดับความพร้อมของกองทัพอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด ตามเป้าหมายของรัฐบาล และ คสช.กำหนด โดยจะต้องโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ทางรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อให้เป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจ ฉะนั้นจึงให้ทุกส่วนของกระทรวงกลาโหมจัดทำแผนปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องต่อการใช้จ่ายงบประมาณ โดยเน้นการวางแผนการเบิกจ่ายงบประมาณในไตรมาสที่ 1 เพื่อไม่ให้เกิดการกระจุกตัวในปลายปีงบประมาณ” พ.อ.คงชีพ กล่าว
ทั้งนี้ที่ประชุมสภากลาโหมได้พิจารณาเห็นชอบให้ พล.อ.พินพาทย์ สริวัฒน์ ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (อผศ.) แทน พล.อ.ชัยวัฒน์ สท้อนดี ที่จะเกษียณอายุราชการสิ้นเดือนก.ย.ที่จะถึงนี้
เมื่อถามว่า การบริหารงานของกระทรวงกลาโหม จะดำเนินการอย่างไร จากการถูกปรับลดงบประมาณ พ.อ.คงชีพ กล่าวว่า พล.อ.ประวิตรให้นโยบายไปแล้ว โดยแต่ละส่วนราชการต้องไปวางแผนงบประมาณในรอบ 3 เดือน เพื่อให้มีผลต่อการปฏิบัติ และการเบิกจ่ายต้องสอดคล้องกับบนโยบาย คสช. เพราะรัฐบาลปฏิบัติตามแผนงาน คสช.
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้มอบหมายให้ตนไปดูแลศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และหากมีเวลาจะเดินทางลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย สำหรับความคืบหน้าในการพูดคุยเพื่อสันติภาพนั้น ยังไม่ได้กำหนดผู้ทำหน้าที่หัวหน้าคณะ และยังไม่ได้พูดคุยเรื่องนี้กับนายกรัฐมนตรี
เมื่อถามว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะมีการประชุมกำหนดนโยบายทำงานคู่ขนานกับรัฐบาลอย่างไร พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า นายกรัฐมนตรียังไม่ได้กำหนดว่าจะประชุมเดือนละกี่วัน แต่ยืนยันว่าจะต้องมีแน่นอน เพื่อทำงานคู่ขนานกับรัฐบาล เพราะว่ารัฐบาลชุดนี้ต้องเดินตามนโยบาย คสช. และขณะนี้คสช. เดินมาได้ถูกต้องและประชาชนก็พอใจ
** จัดเสวนาต้องขออนุญาตคสช.
พล.อ.ประวิตร ยังกล่าวถึงกรณี 60 นักวิชาการ ที่เข้าชื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับการระงับงานเสวนา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 18 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า “ทุกอย่างต้องทำตามกฎหมาย ซึ่งต้องเดินไปเช่นนั้น อย่าให้ล้ำเส้น อะไรทำตามกฎหมายได้ก็ทำ”
เมื่อถามย้ำว่า นักวิชาการที่เรียกร้องให้เปิดพื้นที่แสดงความคิดเห็น และจัดเสวนา พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เรื่องนี้สามารถทำเรื่องไปที่ คสช. เพราะคสช. จะเป็นผู้กำหนดว่า จะดำเนินการอย่างไร ซึ่งตนขอย้ำว่า ทุกอย่างดำเนินการตามกฎหมาย เพราะคสช. ต้องการให้เกิดความสงบสุข และความปรองดอง แต่อะไรที่จะเกี่ยวข้องกับการเมือง คงไม่ได้
เมื่อถามว่า หากนักวิชาการจะเสนอเสวนาวิชาการได้หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ทุกเรื่องคสช.จะประชุมกัน ถ้ามีความชัดเจนทางวิชาการ ก็ไม่มีใครว่าอะไร
ด้านนายยุทธพร อิสรชัย คณบดีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวถึง กรณีที่ 60 นักวิชาการออกจดหมายเปิดผนึกประณามกรณีที่ ทหารและตำรวจบังคับให้นักวิชาการและนักศึกษายุติงานเสวนาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า 60 อาจารย์ที่ออกมาล้วนแต่เป็นนักวิชาการรุ่นใหม่ ความขัดแย้งในสังคมวันนี้ไม่ใช่แค่วาทะกรรม บรรยากาศการเมืองเปลี่ยนไป ความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่จึงเปลี่ยนไปด้วย เรื่องนี้ทาง คสช.จะละเลยไม่ได้ ต้องทำความเข้าใจรวมทั้ง ยอมรับความคิดเห็น เปิดพื้นที่ปลอดภัยให้สามารถคุยกันและแสดงความคิดเห็นได้บ้าง เหมือนกับเวลาเราต้มน้ำในกา เราต้องปล่อยไอน้ำออกมา ไม่เช่นนั้นกาอาจระเบิดได้ เรื่องนี้ก็เหมือนกัน เพราะหากปิดกั้นมากเกิดไปอาจจะเป็นแรงกดดันและเป็นฉนวนเหตุในการออกมาชุมนุมในอนาคตได้
**สั่งกลาโหมทำแผนใช้จ่ายงบฯ
ต่อมาเวลา 10.00 น. พล.อ.ประวิตร ได้เป็นประธานการประชุมสภากลาโหมครั้งแรก ภายหลังจากที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม โดยมี พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รอง ผู้บัญชาการทหารบก และรมช.กลาโหม พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ และตัวแทนหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมประชุม ส่วน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก และ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ไม่ได้เดินทางมาร่วมประชุมด้วย เนื่องจากติดภารกิจโดยมอบหมายให้ผู้แทนเข้าร่วมประชุมมาแทน
ต่อมาในเวลา 12.00 น. พ.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงผลการประชุมสภากลาโหม ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมสภากลาโหมครั้งสุดท้ายของปีงบประมาณ 2557 โดยพล.อ.ประวิตร ได้เน้นย้ำแนวทางปฏิบัติงาน และให้ความสำคัญกับงานความมั่นคง พร้อมกันนั้น จะน้อมนำเอาแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯไปปฏิบัติ เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติที่ยั่งยืน รวมทั้งต้องปกป้อง และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเต็มกำลังความสามารถ อีกทั้งจะสนับสนุนการเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ สร้างความเชื่อมั่น และสร้างสภาวะแวดล้อมให้ประชานมีความปลอดภัย และสร้างความปรองดองต่อคนในสร้าง ส่วนการรักษาความม่นคงตามแนวชายแดน ต้องดำเนินการปกป้องผลประโยชน์ของชาติ และสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนตามแนวชายแดน โดยจะเน้นการรักษาอธิปไตยตามแนวชายแดนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด และอาวุธสงคราม การลักลอบขนสิ่งของผิดกฎหมาย และการหลบหนีเข้าเมือง และแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ
นอกจากนี้ยังได้เน้นย้ำการรักษาความมั่นคงภายใน โดยมุ่งเน้นการป้องกัน และการแก้ไขปัญหายาเสพติด สิ่งผิดกฎหมาย และการป้องกันภัยธรรมชาติ จากการกระทำของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม ซึ่ง พล.อ.ประวิตร เน้นย้ำให้ทุกส่วนราชการไปดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน โดยจะเน้นความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก และขอให้ทุกฝ่ายฟื้นฟูเต็มความสามารถ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการพัฒนาเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ พล.อ.ประวิตร ได้เน้นย้ำเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับมิตรประเทศ และเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
ส่วนการป้องกันประเทศ เน้นการเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพให้มีความพร้อมในการรักษาเอกราช อธิปไตย และพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทุกรูปแบบ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือประชาชน เพื่อให้ประชาชนศรัทธากองทัพ ในด้านกำลังพล และยุทโธปกรณ์ ต้องมีความทันสมัย มีประสิทธิภาพ เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน เน้นย้ำการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความมั่นคงในปัจจุบัน
"สำหรับงบประมาณ ขอให้ทุกส่วนราชการดำเนินการผ่านงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกระทรวงกลาโหม ปี 2558 โดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนา และยกระดับความพร้อมของกองทัพอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด ตามเป้าหมายของรัฐบาล และ คสช.กำหนด โดยจะต้องโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ทางรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อให้เป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจ ฉะนั้นจึงให้ทุกส่วนของกระทรวงกลาโหมจัดทำแผนปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องต่อการใช้จ่ายงบประมาณ โดยเน้นการวางแผนการเบิกจ่ายงบประมาณในไตรมาสที่ 1 เพื่อไม่ให้เกิดการกระจุกตัวในปลายปีงบประมาณ” พ.อ.คงชีพ กล่าว
ทั้งนี้ที่ประชุมสภากลาโหมได้พิจารณาเห็นชอบให้ พล.อ.พินพาทย์ สริวัฒน์ ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (อผศ.) แทน พล.อ.ชัยวัฒน์ สท้อนดี ที่จะเกษียณอายุราชการสิ้นเดือนก.ย.ที่จะถึงนี้
เมื่อถามว่า การบริหารงานของกระทรวงกลาโหม จะดำเนินการอย่างไร จากการถูกปรับลดงบประมาณ พ.อ.คงชีพ กล่าวว่า พล.อ.ประวิตรให้นโยบายไปแล้ว โดยแต่ละส่วนราชการต้องไปวางแผนงบประมาณในรอบ 3 เดือน เพื่อให้มีผลต่อการปฏิบัติ และการเบิกจ่ายต้องสอดคล้องกับบนโยบาย คสช. เพราะรัฐบาลปฏิบัติตามแผนงาน คสช.